November 22, 2024

กรุงเทพฯ 30 กันยายน 2565 -- ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อสอดรับกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น โดยมุ่งเน้นดูแลลูกค้าสินเชื่อรายย่อยให้สามารถปรับตัวและบริหารจัดการสภาพคล่องได้ พร้อมขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มผลตอบแทนและส่งเสริมการออม

 

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า จากการที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ ทำให้ภาพรวมการปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.50% เพื่อสอดรับกับทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นดังกล่าว ทีเอ็มบีธนชาตได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบและยึดมั่นในแนวทางการช่วยเหลือและดูแลลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่จะใช้แนวทางการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับตัวและบริหารจัดการสภาพคล่องได้ โดยธนาคารจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail Rate) สำหรับกลุ่มลูกค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น 0.20% ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นที่น้อยกว่าการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย MLR (Minimum Loan Rate) สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี 0.25% และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย MOR (Minimum Overdraft Rate) สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี 0.25% โดยการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

ในขณะเดียวกัน สำหรับกลุ่มลูกค้าเงินฝากที่มองหาผลตอบแทนมาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูง และเพื่อเก็บออมสำหรับอนาคต ธนาคารจึงได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ อยู่ที่ระหว่าง 0.15% - 0.80% ต่อปี ซึ่งรวมถึงบัญชีเงินฝากพิเศษ ทีทีบี อัพ แอนด์ อัพ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุก ๆ 6 เดือน และได้รับดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเงินฝากที่มุ่งเน้นการออมในบัญชีดอกเบี้ยสูง เพิ่มสภาพคล่อง ถอนได้ก่อนกำหนดไม่ถูกลดดอกเบี้ย และเริ่มฝากขั้นต่ำได้ที่ 5,000 บาท โดยธนาคารได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดจาก 1.80% เป็น 2.50% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปเช่นกัน

นายปิติ กล่าวว่า “ทีเอ็มบีธนชาตมีความเข้าใจและมีความห่วงใยถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อลูกค้ากับทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าสินเชื่อรายย่อย จึงได้ใช้แนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อช่วยให้ลูกค้ายังคงมีสภาพคล่องในการใช้ชีวิตในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และเชื่อว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำจะเป็นการช่วยส่งเสริมการออม เพื่อเป็นการสร้างรากฐานชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้าได้”

ในทศวรรษที่ผ่านมาเศรษฐกิจหลายประเทศถูกขับเคลื่อนส่วนหนึ่งจากการก่อหนี้ สะท้อนจากตัวเลขหนี้ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ล่าสุดหนี้ในโลกสูงขึ้นถึงกว่า 270% ของ GDP ทั้งโลก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะธนาคารกลางทั่วโลกยังสามารถคงดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ จากการที่เศรษฐกิจโลกไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม KKP Research วิเคราะห์ว่าเมื่อเงินเฟ้อกลับมาจนนโยบายการเงินต้องกลับมาตึงตัวอย่างรวดเร็วเช่นในปัจจุบันและอัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับสูงขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูงรวมทั้งเศรษฐกิจไทยที่มีหนี้ในระดับสูงเช่นกัน

X

Right Click

No right click