December 23, 2024

การศึกษาฉบับใหม่ “อนาคตของไทยสตาร์ทอัพ และ Venture Capital”โดยดีลอยท์ คอนซัลติ้ง (“ดีลอยท์”) ชี้ว่า Startup ไทยจำนวนมากเผชิญความยากลำบากในการแข่งขันและดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Startup ในไทยยังคงประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุนระยะเริ่มต้นจากแหล่งเงินทุนอย่างเช่น Venture Capital Firm (VC) ส่งผลให้ Startup ในไทยขาดแคลนเงินทุนที่ต้องการเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

การศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ Startup ไม่ว่าจะเป็น ผู้ก่อตั้ง Startup VC และหน่วยงานภาครัฐมากกว่า 20 ราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงอ้างอิงผลการวิจัยจากสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการศึกษาฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวทางที่เป็นไปได้ในการพัฒนาสตาร์ทอัพและ Venture Capital ในประเทศไทย

 

ปัญหาหลักของระบบนิเวศในประเทศไทยที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

จากการศึกษาระบบนิเวศในประเทศไทย เราพบว่าระบบนิเวศในประเทศไทยนั้นประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน โดยปัญหาหลักที่ขัดขวางการเติบโตของระบบนิเวศนั้น มีตั้งแต่ปัญหาการเข้าถึงเงินทุน จนไปถึงความยากลำบากในการหาผู้ประกอบกิจการที่มีความสามารถ ยกตัวอย่างเช่น

· Startup ในไทยประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Stage) จำนวนรอบระดมทุนของ Startup ในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Stage ลดลงตั้งแต่ปี 2562 จากเดิมจำนวนรอบระดมทุน 33 รอบ ลดลงไปกว่าครึ่งในปี 2563 ตามข้อมูลจาก Innovation Club Thailand หนึ่งในสาเหตุของการลดจำนวนลง เกิดจากการที่ Accelerator แบบไม่เฉพาะเจาะจงประเภทธุรกิจของ Startup ระยะเริ่มต้นนั้นมีจำนวนลดลง นอกจากนั้น พื้นฐานของตลาด VC ในไทยยังมี VC จากบริษัทใหญ่ หรือ Corporate VCs (CVCs) ถือครองอยู่ ที่มักจะเน้นลงทุนใน Startup ระยะท้าย หรือ Later Stage

· โครงการสนับสนุน Startup จากหน่วยงานภาครัฐนั้นยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ความต้องการของ Startup อันเนื่องมาจากมูลค่าเงินทุนสนับสนุนของโครงการนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของ Startup การออกแบบโครงการที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของ Startup ยกตัวอย่างเช่น การที่โครงการให้การสนับสนุน Startup ด้วยเงินทุนจำนวน 20,000 ถึง 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยที่แท้จริงแล้ว Startup ต้องการเงินทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ดำเนินการสำหรับ 1-2 ปี นอกจากนั้น จากการสัมภาษณ์ Startup เกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานภาครัฐ Startup หลายๆ ที่ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการทำเอกสาร และการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน ซึ่งมีความยุ่งยากและใช้เวลานาน ความลำบากในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนนั้น ยังได้เพิ่มความกดดันให้กับผู้ประกอบกิจการในการบริหารเงินสะพัดของ Startups อีกด้วย

· Startup ไทยประสบปัญหาในการเข้าถึงที่ปรึกษาในประเทศเนื่องจากจำนวนที่ปรึกษาในประเทศไทยนั้นมีจำนวนจำกัด โดยปัญหานี้เกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทย ไม่ได้มีจำนวนผู้ประกอบการ Startup เกิดขึ้นภายในประเทศเยอะ ส่งผลให้จำนวนปรึกษาที่สามารถให้คำปรึกษาแก่ Startup รุ่นใหม่นั้น มีจำนวนน้อยตาม ถึงแม้ว่าปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้ในอนาคตโดยอาศัยเวลาและประสบการณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ก่อตั้ง Startup ในไทย มีปัญหาในการเปิดรับแนวคิดความกล้ายอมรับความเสี่ยง และวิสัยทัศน์การขยายธุรกิจออกสู่สากล ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้าง Unicorn Startups ในไทย

“ปัญหาที่ Startup ไทยเผชิญอยู่นั้นเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน” ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง กรรมการผู้จัดการ ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว “เงินทุนระยะเริ่มต้นนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อ Startup ในการดำเนินธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง VC หลายๆ เจ้ายังคงมองว่าระบบนิเวศ Startup ในประเทศไทยนั้นยังมีขนาดเล็กและยังไม่ได้พัฒนามากนัก รวมถึง Startup ไทยที่ประสบความสำเร็จยังมีจำนวนน้อย ส่งผลให้ VC ยังไม่กล้าที่จะลงทุนใน Startup ไทยซักเท่าไหร่”

“มีคำกล่าวที่ว่า It takes a village to raise a startup ในกรณีของประเทศไทยเราเชื่อว่าระบบนิเวศที่สนับสนุน Startup นั้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาเป็นอย่างแรก” ดร.เมธินี กล่าว

 

แนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศไทย:

จากการศึกษาระบบนิเวศในประเทศต่างๆ เราพบว่าระบบนิเวศที่ประสบความสำเร็จนั้น เกิดจากการร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงความเพียงพอของช่องทางในการรับแหล่งเงินทุน โดยเราเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำในการแก้ปัญหาต่างๆ ในระบบนิเวศและส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศผ่านแนวทางต่อไปนี้

1) จัดตั้งโครงการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เหมือนอย่างในประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โครงการ SEEDS Capital ในประเทศสิงคโปร์ โครงการ London Co-Investment Fund

ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อเป็นการดึงดูด VC ให้เข้าร่วมโครงการ หน่วยงานภาครัฐสามารถที่จะพิจารณาออกแบบโครงการร่วมลงทุนนี้ให้ช่วยลดความเสี่ยงที่ VC ต้องแบกรับในการลงทุนใน Startup และนำเสนอโอกาสสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Upside Return) แก่ VC โดยโครงการเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สนับสนุนด้านการเงินแก่ Startup แต่ยังช่วยให้ Startup ได้ความรู้ความสามารถในการดำเนินการธุรกิจ ความเข้าใจตลาด และเครือข่ายในการดำเนินธุรกิจ จาก VC อีกด้วย

2) พิจารณาการเพิ่มงบประมาณสำหรับการส่งเสริม Startup และพัฒนาโครงการเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มเงินทุนสนับสนุน Startup สำหรับแต่ละโครงการให้มีมูลค่าเพียงพอต่อการสนับสนุน Startup เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี (เช่น การให้เงินสนับสนุนจำนวนอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ) นอกจากนี้ โครงการควรที่จะลดความยุ่งยากในการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และเบิกจ่ายเงินสนับสนุน (เช่น การเปิดรับสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ และการเพิ่มความรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน)

3) จัดตั้งและมอบหมายอำนาจให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการพัฒนาระบบนิเวศ โดยหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย จะช่วยพัฒนาและดูแลโครงการส่งเสริม Startup และ VC ในระบบนิเวศ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรม กำกับดูแลให้โครงการสนับสนุน Startup จากหน่วยงานต่างๆ ให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน และจัดโครงสร้างให้กับโครงการที่มาจากแต่ละภาคส่วน อีกทั้ง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายนั้น จะช่วยพัฒนาการสื่อสาร และร่วมมือ ระหว่าง Startup และหน่วยงานของภาครัฐ นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยจัดหาทรัพยากรที่ Startup สามารถเข้าถึงได้ง่ายอีกด้วย

เราได้เห็นแล้วว่า โครงการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ผ่านการออกแบบมาเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น โครงการในประเทศสิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และ ประเทศอิสราเอล นั้นมีความสามารถที่จะช่วยผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรมของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโครงการเหล่านี้ยังช่วยดึงดูด VC จากทั้งในประเทศและนอกประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบนิเวศ Startup อีกด้วยดร.เมธินี กล่าว

จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศต่างๆ เราค้นพบว่าแต่ละประเทศนั้นล้วนมีปัญหาหรือความท้าทายในการพัฒนาระบบนิเวศที่แตกต่างกันไป และประเทศเหล่านั้นมีการพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป การค้นพบครั้งนี้ช่วยยืนยันกับเราว่า โครงการหรือแนวทางแก้ปัญหาแบบ One-size Fits All นั้นไม่มีอยู่จริง และเราควรที่จะทำการศึกษาแนวทางแก้ปัญหาที่แตกต่างกันเหล่านั้นเพื่อเรียนรู้ว่าเราจะสามารถปรับปรุงและนำบทเรียนจากโครงการเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาระบบนิเวศในประเทศไทยต่อไปได้อย่างไรเคนเนท เทย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายอุตสาหกรรมการเงิน ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว

“การพัฒนาระบบนิเวศนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา” เคนเนท กล่าวเสริม “การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ การปลูกฝังแนวคิดที่กล้ายอมรับความเสี่ยง รวมไปถึงการค้นพบไอเดียใหม่ๆ ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้เวลา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่สามารถจะพัฒนาหรือสร้างขึ้นได้ชั่วข้ามคืน”

เราเชื่อว่าระบบนิเวศในประเทศไทยนั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต เป็นระบบนิเวศที่เต็มไปด้วย Startup ที่ประสบความสำเร็จ เป็นระบบนิเวศที่สามารถดึงดูด VC ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศให้มาลงทุนใน Startup ไทย รวมไปถึงเป็นระบบนิเวศที่เต็มไปด้วยที่ปรึกษาที่พร้อมจะให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือแก่ Startup หน้าใหม่ สุดท้ายนี้เราเชื่อว่าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการพัฒนาครั้งนี้” ดร.เมธินี กล่าวเสริม

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่  https://www2.deloitte.com/sg/en/pages/human-capital/articles/venture-capital-ecosystem-thai.html

จากผลรายงานการศึกษาการเติบโตของธนาคารดิจิทัลทั่วโลกครั้งที่ 5 ร่วมกับ 40 ประเทศผู้นำ เพื่อเตรียมก้าวสู่ยุคใหม่แห่งโลกดิจิทัลและธนาคารเสมือนจริง

X

Right Click

No right click