SCB CIO ประเมินมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุน หลังผลเลือกตั้งอินโดนีเซีย ที่นายปราโบโว ซูเบียนโต ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด เตรียมเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ 20 ต.ค. นี้ เดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และสวัสดิการสังคม พร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดเดิม สร้างเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ทั้ง ด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ตั้งเป้าเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี SCB CIO ยังคงมุมมอง Neutral แม้หุ้นกลุ่มธนาคารเติบโตดี Valuationของตลาดหุ้น อยู่ในระดับต่ำ และรายได้ (Earning) ของบริษัทจดทะเบียน คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีนี้ที่กว่า 12% และปี 2568 กว่า 9% แต่ยังมีปัจจัยกังวลในเรื่องภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และความเสี่ยงที่รัฐบาล อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จาก 3% เป็น 6% ที่อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาวได้

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 ผลการนับคะแนนแบบไม่เป็นทางการ (Quick Count) ที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูง ชี้ว่า นายปราโบโว ซูเบียนโต (Prabowo Subianto)ได้คะแนนเฉลี่ย 58% ของคะแนนเสียงทั้งหมด ทำให้ นายปราโบโว คว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี และเตรียมรอเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ต.ค.นี้ โดยไม่น่าจะต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง เนื่องจากเป็นไปตามกฎการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ระบุว่า กรณีผู้สมัครชนะการเลือกตั้ง ต้องได้คะแนนมากกว่า 50% และ ได้คะแนนอย่างน้อย 20% ในจังหวัดต่างๆ มากกว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดทั้งประเทศ หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงถึงเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะจัดเลือกตั้งรอบสอง ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเสียงอันดับ 1 และ 2 ชิงชัยชนะกัน

เมื่อวิเคราะห์นโยบายหาเสียงของนายปราโบโว พบว่า โดยภาพรวมเน้นไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจ และด้านสวัสดิการสังคม นโยบายหลักๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ อสังหาริมทรัพย์ แรงงาน การคลัง และ สวัสดิการสังคม โดยตัวอย่างนโยบายเด่นๆ เช่น จัดตรวจสุขภาพฟรีให้ประชาชนทุกคนปีละ 1 ครั้ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้านและตำบลอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเงินเดือนข้าราชการ จัดตั้งสำนักงานสรรพากรของรัฐ แยกออกมาจากกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มอัตราส่วนรายได้ภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเพิ่มโปรแกรมบัตรสวัสดิการสังคม เพื่อขจัดความยากจนอย่างแท้จริง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพร้อมสานต่อนโยบายรัฐบาลของนายโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เช่น นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการสร้าง "นูซันตารา" เมืองหลวงแห่งใหม่ ทั้งยังต้องการมุ่งเน้นให้เศรษฐกิจเติบโตด้วยกลไกตลาดเสรี ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ และเน้นการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นด้านพลังงาน อาหาร และน้ำ รวมทั้ง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย

สำหรับช่วง 5 ปีต่อจากนี้ที่ นายปราโบโว จะเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่ IMF คาดอยู่ที่ 5% ระหว่างปี 2024-2025 นอกจากนี้ ยังต้องการลดจำนวนคนว่างงานลงประมาณ 2 ล้านคน ภายใน 5 ปี ผ่านการสืบสานและต่อยอดนโยบายประธานาธิบดี โจโก ซีโดโด โดยเราคาดว่า จะช่วยสนับสนุนภาคการลงทุน จากการที่ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้น และการเพิ่มการใช้จ่ายงบลงทุน (CAPEX) ส่วนการบริโภค คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการใช้จ่ายภาครัฐฯ ในด้านสังคม ที่มีแนวโน้มดำเนินต่อไป ตามที่ได้ผ่านงบประมาณรายจ่ายไว้แล้ว ขณะเดียวกัน นายปราโบโว ประกาศไว้ว่าจะเริ่มต้นเดินหน้านโยบายที่หาเสียงไว้หลายประการทันทีที่เข้ามาบริหารประเทศเต็มตัว จึงเป็นแรงกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะต่อไป

ทั้งนี้ SCB CIO มีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้นต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยมองว่าตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนระยะสั้น จากปัจจัยดังนี้ 1) การเลือกตั้งที่มีแนวโน้มสำเร็จในรอบแรก ส่งผลบวกต่อ sentiment บนตลาดหุ้นอินโดนีเซีย 2) ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารยังมีแนวโน้มเติบโตดี 3) Valuation ของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย อยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยเทรดอยู่บน ราคาต่อกำไรต่อหุ้นในระยะข้างหน้า (forward PE) ที่ 13.7x หรือยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ประมาณ -1 s.d. และ 4) Earnings ของบริษัทจดทะเบียนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2567 ที่ประมาณ +12.2% และในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ +9.4%

อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมอง Neutral (ถือ) บนตลาดหุ้นอินโดนีเซียอยู่ เนื่องจากประเด็นความกังวลที่มีอยู่ ได้แก่ 1) ภาคการส่งออกที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง 2) การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก ดุลบัญชีเดินสะพัด และรายได้ภาครัฐฯ ของอินโดนีเซีย 3) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลง อาจส่งผลกดดันต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลให้ปรับลดลง และ 4) ความเสี่ยงที่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายปราโบโว อาจปรับเพิ่มเพดานขาดดุลการคลังต่อ GDP จากปัจจุบันที่ 3% เป็น 6% ซึ่งหากเกิดขึ้น จะกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังระยะกลางถึงยาว และส่งผลลบต่อค่าเงินรูเปี๊ยะให้อ่อนค่าลง และ Bond Yield อินโดนีเซีย อาจกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้

SCB CIO คาดเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงแบบSoft landing จากเงินเฟ้อที่ชะลอลงต่อเนื่อง แม้อีก 1-2 ปีถึงจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2%มองในปี 2567–2568 เฟดจะลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. มาอยู่ที่ 3.4% พร้อมแนะนำหลีกเลี่ยงหุ้นกู้High Yield โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์จีนจากภาวะหนี้สินสูงและการฟื้นตัวช้า ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นและเวียดนามเป็น Neutral และยังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทยหลังความชัดเจนทางการเมืองมีมากขึ้น

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า SCB CIO ได้ปรับมุมมองที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยคาดว่า จะชะลอตัวลงแบบจัดการได้ (Soft landing) จากเดิมที่มองว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่รุนแรง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง แม้จะยังต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปีกว่าที่จะเข้าสู่อัตราเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายในช่วงปี 2568 แต่ด้วยตลาดแรงงานโดยเฉพาะในภาคบริการที่ยังแข็งแกร่ง ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงปี 2566-2567 มีการชะลอตัวแบบจัดการได้ โดยจากประมาณการล่าสุดของ Fed (มิ.ย. 2566) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2566-2568 จะเติบโต 1.0% , 1.1% และ 1.8% ตามลำดับ เทียบกับอัตราการเติบโตในระยะยาวเฉลี่ยที่ 1.8%

ทั้งนี้ SCB CIO มองว่า จากแนวโน้มเศรษฐกิจแบบ Soft landing บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงช้า ทำให้การลดดอกเบี้ยของ Fed ในรอบนี้จะมีลักษณะค่อยๆ ลดลง (small and slow rate cuts) และน้อยกว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งก่อนๆ โดย Fed คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. ในปี 2567-2568 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ปลายปี 2568 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed ยังอยู่ในระดับสูงถึง 3.4% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับนี้ในช่วงการลดดอกเบี้ยของFedครั้งสุดท้ายเกิดขี้นในปี2551 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อชะลอมากกว่าคาด น่าจะเริ่มเห็นการลดดอกเบี้ย เช่น จีนและเวียดนามหรือการหยุดขึ้นดอกเบี้ย เช่น ไทย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างระหว่างสหรัฐฯ และประเทศ Emerging ยังคงอยู่ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า

จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ยังค้างอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประเทศที่มีบริษัทและครัวเรือนที่มีการก่อหนี้สูงจำนวนมาก มีความเสี่ยงภาวะ Balance sheet recession คือภาวะภาคธุรกิจและครัวเรือนกังวลกับหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง ราคาสินทรัพย์ที่ฟื้นตัวช้าหรือปรับลดลงบวกกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้รายได้ส่วนใหญ่ไม่ถูกนำมาใช้จ่ายบริโภคและลงทุนรวมถึงไม่กู้ยืมเพิ่มเติม แต่เน้นการจ่ายคืนหนี้เพื่อลดภาระทางการเงิน ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 และล่าสุดจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่ตลาดเริ่มมีความกังวลในประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม

เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 ภาคการธนาคารของจีนในปัจจุบันยังมีฐานะทางการเงินที่แข็งแรงกว่า รวมถึง ราคาสินทรัพย์ของจีนโดยเฉพาะราคาบ้านแม้ฟื้นตัวช้าแต่ไม่ได้ประสบปัญหาราคาร่วงลงรุนแรงเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่น

ดร.กำพล กล่าวว่า จากมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะ Soft landing ทำให้เราปรับมุมมองหุ้นกู้ Investment Grade กลับขึ้นมาเป็น Slightly Positive หรือทยอยสะสมได้ แต่ยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High Yield หรือ HY) โดยเฉพาะในตลาดหุ้นกู้จีน เนื่องจาก เราเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับท่าทีของ Fed ในการหยุดขึ้นดอกเบี้ยและแนวโน้มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2567 จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้งระยะสั้นและยาว ทยอยลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ค้างในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี มีแนวโน้มทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้กลุ่ม HY ยังมีโอกาสขยับสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะหุ้นกู้ในกลุ่มธุรกิจที่มีการก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในจีน

สำหรับมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก จากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2566 ส่วนใหญ่ดีกว่าที่คาด โดยยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ชะลอตัวลง แต่มีผลประกอบการและกำไรที่ดีกว่าคาดหรือลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นหุ้นของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ในNasdaq 100 ตามมาด้วย S&P500 โดยรวมจะดีกว่าหุ้นกลุ่มบริษัทขนาดกลางและเล็ก ใน Russell 2000 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยอดขายสินค้าและบริการชะลอลงเล็กน้อย แต่ผลกำไรยังเติบโตตามอานิสงส์จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยวและค่าเงินเยนอ่อนค่า นอกจากจะเติบโตได้มากแล้ว ยังทำได้ดีกว่าคาดอีกด้วย ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป EuroStoxx600 มียอดขายและกำไรหดตัว ตลาดหุ้นเวียดนาม กำไรจากยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทยังคงฟื้นตัวช้า แต่แย่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และตลาดหุ้นไทย ยอดขายและผลประกอบการหดตัวและต่ำกว่าคาด แรงฉุดหลักมาจากกลุ่มพลังงาน สินค้าบริโภค และอสังหาริมทรัพย์

SCB CIO มองว่า ความตึงตัวของ Valuation ของตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มปรับลดลงโดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯกลุ่มTech ซึ่งเราแนะนำสับเปลี่ยนเข้าลงทุนในกลุ่มหุ้นทนทานความผันผวน (Defensive) ไปก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันเราได้ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็น Neutral (หยุดขายหรือถือไว้) หลังตลาดรับรู้การเปลี่ยนกรอบนโยบายการควบคุมการเคลื่อนไหวของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) ไปพอสมควรแล้ว ขณะที่ในระยะถัดไปยังได้แรงหนุนจากความคืบหน้าการปฏิรูปตลาดหุ้นญี่ปุ่นเน้นเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้นและแนวโน้มการฟื้นตัวของผลประกอบการบริษัท

นอกจากนี้ เรายังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทย ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเริ่มลดลง ปรับมุมมองหุ้นเวียดนามเป็น Neutral (หลัง Valuation ปรับความตึงตัวลงและงบออกมาแย่น้อยกว่าคาด) สำหรับหุ้นจีน H-share เรายังคงมุมมองเป็น Neutral แม้ Valuation จะถูกลงค่อนข้างมาก แต่ความกังวลประเด็นหุ้นกลุ่มธนาคาร ( 18% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) ที่ผลประกอบการอาจถูกกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยและการเข้าช่วยซื้อพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงหุ้นกลุ่ม Tech (37% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) จากความเสี่ยงด้าน Tech war ที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง

ระยะสั้นตลาดหุ้นสหรัฐฯ เสน่ห์แรง หลังนักลงทุนโยกเงินกลับไปลงทุน โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยี ทั้งกลุ่มหุ้นบิ๊กแคป และกลุ่มหุ้นเติบโต ขานรับแรงหนุนตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ลดลงต่อเนื่องติดต่อกันสามเดือน

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า ในระยะสั้นตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกากลับมาได้รับความสนใจ และมีเม็ดเงินลงทุน (ฟันด์โฟลว์) ไหลกลับไปลงทุนอีกครั้ง โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยีในตลาด NASDAQ ทั้งกลุ่มหุ้นบิ๊กแคป FAANGMAN และกลุ่มหุ้นเติบโต TESLA โดยปัจจุบันสามารถสร้างผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีได้แล้วกว่า 13.80% ขณะที่ดัชนี S&P500 สร้างผลตอบแทนได้แล้วกว่า 7.25% สาเหตุมาจากตลาดมองทิศทางนโยบายการเงินที่เคร่งครัดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มาตลอดทั้งปี 2565 เริ่มผ่อนคลายลงในปีนี้ และอาจเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีก่อน เพราะแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากตัวเลขปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องกว่าสามเดือนติดต่อกันแล้ว

ถึงแม้ว่าประธาน FED จะยังคงยืนยันในที่ประชุม FOMC ครั้งล่าสุด และการไปพูดที่สมาคมเศรษฐกิจวอชิงตันเมื่อไม่กี่วันมานี้ ว่าปีนี้จะยังไม่มีการลดดอกเบี้ยจนกว่าจะเห็นเงินเฟ้อลงมาในระดับ 2% ตามเป้าหมายเสียก่อน แต่การที่เงินเฟ้อสหรัฐฯ ลดลงมาต่อเนื่องสามเดือนติดต่อกัน ทำให้ตลาดมองล่วงหน้าว่าสุดท้ายแล้วในปีนี้ FED ต้องปรับนโยบายดอกเบี้ยมาเป็นขาลงเร็วกว่าที่คาดไว้”

นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีมุมมองบวกต่อกระแสการปรับลดพนักงานของบริษัทเทคโนโลยี เพราะเป็นผลดีต่อผลประกอบการในอนาคตมากกว่าผลเสีย เนื่องจากจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานลง ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มตัดสินใจเข้าไปเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น  สำหรับดัชนี S&P500 นอกจากได้ประโยชน์จากหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่แล้ว ยังได้ประโยชน์จากหุ้นแวลูขนาดใหญ่ที่ประกอบธุรกิจดั้งเดิม เช่น กลุ่มธนาคารที่ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกออกมาดีกว่าคาดเกือบทั้งหมด ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังออกมาดูดี ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร หรือ Non-Farm Payroll ที่ออกมาดีกว่าคาดค่อนข้างมาก ทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่เทคโนโลยีด้วย

นายณพวีร์ กล่าวว่า ในภาพรวมทางเทคนิคทั้งดัชนี NASDAQ และ S&P500 ต่างขึ้นมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันได้สำเร็จ และมีการทะลุผ่านเส้นเทรนด์ไลน์ในภาพใหญ่ออกมาแล้วทั้งคู่ ถือได้ว่าสามารถกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้นได้สำเร็จ ทำให้ทั้งสองดัชนีมีความน่าสนใจทั้งในเชิงพื้นฐานและกราฟเทคนิค อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตาดูตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ประจำเดือนมกราคมที่จะประกาศในกลางเดือนนี้ (14 ก.พ. 66) ถ้าหากยังปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตลาดว่าในที่สุด FED ต้องลดดอกเบี้ยในปีนี้อย่างแน่นอน แต่หากตัวเลขที่ออกมาคงที่ หรือ เพิ่มขึ้น อาจสร้างความผิดหวังให้กับตลาดจนนำไปสู่ความเชื่อเดิมว่า FED จะลดดอกเบี้ยในปีหน้า และมีผลทำให้เทขายในสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้

นอกจากนั้นยังต้องติดตามการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องว่ามีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ตามที่ดัชนีชี้วัด Yield Curve บ่งบอกล่วงหน้าหรือไม่

ด้านมุมมองภาพรวมตลาดหุ้นอื่น ๆ อาทิ ตลาดหุ้นจีน ในช่วงสั้นอยู่ในระหว่างการพักฐานจากการที่ดัชนีบวกขึ้นแรงมาต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2565 แต่ในเชิงพื้นฐานยังถือว่ามีแนวโน้มบวกต่อเนื่องจากนโยบายเปิดเมือง เช่นเดียวกับ ตลาดหุ้นเวียดนาม ที่มีการพักฐานเช่นกัน แต่มุมมองในระยะยาวทั้งสองตลาดยังถือว่าสามารถเติบโตได้ตลอดทั้งปีนี้

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นเติบโต สามารถมองหาหุ้นเทคโนโลยีกลุ่ม Disruptive ในการถือลงทุนระยะยาวได้ เพราะจากกราฟเทคนิคตอนนี้เกือบทั้งหมดไม่มีการสร้างจุดต่ำสุดใหม่แล้วจึงมีโอกาสฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะถ้าหากนโยบายการเงินของสหรัฐฯ กลับตัวเป็นขาลงจะยิ่งทำให้ฟันด์โฟลว์เข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ส่วนหุ้นแวลู หรือ หุ้นบิ๊กแคป ในตลาดสหรัฐฯ ก็ยังสามารถเติบโตได้เช่นกัน”

เนื่องจากการซื้อขายหุ้นไอพีโอมีการชะลอตัวลงจากปี 2564 ส่งผลให้เงินทุนจากการเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณะชน (IPO) มีมูลค่าลดลงทั่วทั้งตลาดทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง 10.5 เดือนแรกของปีนี้ แม้ว่าจำนวนหุ้นไอพีโอและมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของหุ้นไอพีโอคาดการณ์ว่าจะยังมีการทรงตัวจากปีก่อนหน้า

ข้อมูลจากดีลอยท์ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 แสดงให้เห็นว่า บริษัทต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถระดมทุนได้เป็นจำนวน 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากหุ้นไอพีโอของบริษัทจำนวน 136 บริษัท ในปีนี้ ซึ่งลดลง ร้อยละ 52 จากสถิติ 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากหุ้นไอพีโอของบริษัทจำนวน 152 บริษัท ในปี 2564

จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ามีหุ้นไอพีโอรายย่อยจำนวนมากขึ้นในปีนี้ ส่วนใหญ่มาจากบริษัทขนาดเล็กที่ต้องการแพลตฟอร์มเพื่อระดมทุนในสภาพแวดล้อมของตลาดที่ท้าทายในปัจจุบัน

ในปีนี้มี PT, GoTo, Gojek, Tokopedia, Tbk และ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เป็นหุ้นไอพีโอรายใหญ่เพียง 2 บริษัทเท่านั้น ซึ่งอาจหมายความว่าบริษัทขนาดใหญ่ ต่างรอเวลาและเลื่อนการเข้าจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ออกไปเพื่อรอช่วงเวลาที่สภาวะตลาดที่ดีขึ้น

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้กระตุ้นให้นักลงทุนรายย่อยรายใหม่หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น และส่งผลให้ตลาดหุ้นไอพีโอคึกคักทั่วโลกในปี 2564 โดยสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรมีจำนวนเงินทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ ตลาดทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็ประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การซื้อขายหุ้นไอพีโอกลับชะลอตัวลงในปีนี้ แม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดีขึ้นเล็กน้อย โดยมูลค่าการระดมทุนลดลง ร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับหุ้นไอพีโอในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรที่ลดลง ร้อยละ 95 และ ร้อยละ 91 ตามลำดับ

นางสาว เท ฮวี ลิง Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ เซาท์อีสท์ เอเชีย และสิงค์โปร์ กล่าวถึงตลาดหุ้นไอพีโอในภูมิภาคนี้ว่า “ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การซื้อขายหุ้นไอพีโอมีความเคลื่อนไหวตามการเติบโตของเศรษฐกิจและจีดีพี แต่สองปีที่ผ่านมาสถานการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม เช่นเดียวกับที่โลกกำลังเอาชนะการแพร่ระบาด การเปิดกว้างทางเศรษฐกิจโลกและเปิดพรมแดนใหม่อีกครั้งได้กระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 8.8 ในปี 2565 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของรัฐบาลกลางเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 4 ตลอดทั้งปีเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น เมื่อพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคเหล่านี้ ตลาดหุ้นไอพีโอในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตได้ดี ในขณะที่เรายังคงเห็นศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค”

ภาพรวมตลาดในประเทศไทย

ประเทศไทยยังคงรั้งตำแหน่งผู้นำที่สามารถระดมทุนจากไอพีโอได้สูงสุดในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยระดมทุนได้ทั้งหมด 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากหุ้นไอพีโอของบริษัท 28 บริษัท จำนวนเงินที่ระดมทุนได้ในปีนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกับจำนวนเงินจากการระดมทุนในปี 2017 - 2019 (มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี) เป็นสัญญาณว่าสิ่งต่างๆ กลับสู่สภาวะเดิมก่อนเกิดโรคระบาด ส่วนในปี 2020 และ 2021 เงินจากการระดมทุนในแต่ละปี มีมูลค่ามากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ นักลงทุนต่างชาติ ที่ส่วนใหญ่หายไปในช่วงปีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้กลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง

เรายังคงเห็นการเสนอขายหุ้นไอพีโอจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตั้งแต่ สินค้าอุปโภคบริโภค บริการทางการเงิน และธุรกิจก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ เราได้เห็น REIT ที่มีการลงทุนในการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ในระยะยาวของท่าอากาศยานเป็นครั้งแรก และมีบริษัท 39 แห่งที่คาดว่าจะเข้าจดทะเบียนภายในปี 2566” นางวิลาสินี กฤษณามระ Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าว

ภาพรวมตลาดประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย รั้งอันดับสองของภูมิภาคฯ ด้วยจำนวนเงินทุนที่ระดมทุนได้ถึง 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเสนอขายหุ้นไอพีโอ 54 บริษัทในปี 2565 โดย PT GoTo Gojek Tokopedia Tbk เพียงบริษัทเดียวสามารถระดมทุนหุ้นไอพีโอได้ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และครองตำแหน่งสูงสุดในกระดานผู้นำหุ้นไอพีโอของภูมิภาคในปีนี้ และ PT Global Digital Niagra

Tbk หรือที่รู้จักกันในชื่อ “BliBli” ตามมาเป็นอันดับสองด้วยการระดมทุนจำนวน 516 ล้านเหรียญสหรัฐ GoTo และ Blibli ได้เข้าร่วมกับกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีในอินโดนีเซียที่กำลังเติบโต ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

นางสาว อิเมลดา ออร์บิโต Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ อินโดนีเซีย กล่าวว่า "ตลาดทุนหุ้นไอพีโอของอินโดนีเซียเริ่มต้นได้ดีในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 และถึงแม้จะมีการชะลอตัวในไตรมาสที่ 3 แต่อินโดนีเซียยังคงเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดไอพีโอในภูมิภาค การที่ GoTo และ BliBl สามารถระดมเงินทุนได้สูงเช่นนี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดี ท่ามกลางภาวะตกต่ำของตลาดโลกอันเนื่องมาจากความกังวลทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น เรายังคงมองในแง่ดีว่าหุ้นไอพีโอจากบริษัทด้านเทคโนโลยีจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีบริษัทเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอีกสองเดือนข้างหน้า เช่นเดียวกับบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐาน(Consumer non-cyclicals industry).

ภาพรวมตลาดประเทศมาเลเซีย

ตลาดหุ้นไอพีโอของมาเลเซียได้ผ่านพ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีจำนวนเงินที่ระดมทุนได้เพิ่มขึ้น 102% อยู่ที่ 681 ล้านเหรียญสหรัฐ การระดุมทุนที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการที่นักลงทุนมีความต้องการลงทุนในบริษัทที่มีพื้นฐานที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวนของบริษัทจดทะเบียน ACE เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จากเดิม 11 บริษัทในปี 2564 เพิ่มเป็น 22 บริษัทในปี 2565 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี เมื่อพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจผลักดันให้บริษัทพื้นฐานที่ดีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ต้องการใช้ประโยชน์จากตลาดตราสารทุนเพื่อให้มีฐานเงินทุนที่มีความหลากหลายและถูกกว่า

แม้ตลาดหุ้นไอพีโอจะได้รับผลกระทบจากการเลือกตั้ง แต่ก็ยังมีบริษัทต่างๆ ที่มองหาตลาดทุนอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานที่ดีในปี 2565 ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าตลาดทุนมาเลเซียมีการปรับตัวและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว” นายหว่อง การ์ ชุน Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ มาเลเซีย กล่าว

ภาพรวมตลาดประเทศสิงคโปร์

สิงคโปร์มีการเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวน 9 บริษัท โดยสามารถระดมทุนได้ 421 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 10.5 เดือนแรกของปีนี้ ในจำนวนนี้ ประกอบด้วยบริษัทที่จดทะเบียนเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ (Special Purpose Acquisition Companies – “SPAC”) 3 บริษัท ซึ่งระดมทุนได้ 389 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และหุ้นไอพีโอในกระดาน Catalist 6 บริษัท โดยระดมทุนได้เป็นจำนวน 32 ล้านดอลลาร์ นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการระดมทุนแบบ SPAC ที่เปิดตัวในประเทศสิงคโปร์ในเดือนกันยายน 2021 SPAC ในสิงคโปร์มีกำหนดระยะเวลาให้บริษัทระดมทุนได้ภายใน 24 เดือน โดยสามารถขยายระยะเวลาต่อได้อีก 12 เดือน จึงคาดการณ์ว่า บริษัทที่ผ่านการระดมทุนแบบ SPAC แล้ว (de-SPACs) จะสนับสนุนให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาระดมุทนแบบ SPAC เพิ่มขึ้น

ตั้งแต่ปี 2010 มี REIT หรือ Business Trust อย่างน้อยหนึ่งรายการในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) อย่างไรก็ตาม เราพบว่าไม่มี REIT ในช่วง 10.5 เดือนแรกของปีนี้ ถ้ามองในแง่ดี มีการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินทุนและการย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังประเทศสิงคโปร์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการขยายโอกาสเพิ่มมากยิ่งขึ้นในตลาดหุ้นไอพีโอของสิงคโปร์ หากตลาดของเราสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ อีกสองถึงห้าปีข้างหน้าอาจเป็นปีทองสำหรับตลาดหุ้นไอพีโอของเรา นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ เช่น เสถียรภาพทางการเมืองของสิงคโปร์ การจัดการกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ประสบผลสำเร็จ และการเปิดประเทศอย่างราบรื่นจะช่วยให้สิงคโปร์ยังคงดึงดูดความสนใจให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาจัดตั้งสำนักงาน” นายดาร์เรน อึ้ง Disruptive Events Advisory Deputy Leader Deloitte Singapore กล่าว

คาดการณ์แนวโน้มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับการคาดการณ์ในช่วงเวลาที่เหลือจนถึงปี 2566 นางสาวเทให้ความเห็นว่า “ยังคงมีช่องว่างให้ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเติบโตได้อีกมาก เมื่อภูมิภาคผ่านพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เราคาดว่าการซื้อขายหุ้นไอพีโอจะผ่านพ้นช่วงเวลาที่มีความผันผวน เนื่องจากตลาดปรับโหมดจากสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสู่ “สภาวะปกติ” แม้ว่าบริษัทเทคโนโลยีอาจได้รับการประเมินมูลค่าต่ำกว่าปกติในปัจจุบัน แต่บริษัทที่มีพื้นฐานทางธุรกิจที่มั่นคงและความสามารถที่พิสูจน์ได้ว่าธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรได้ จะยังคงได้รับการประเมินมูลค่าตลาดที่ดีที่สุดและยังคงได้รับประโยชน์จากตลาดทุนได้”

ข้อมูลทั้งหมดมีความถูกต้อง ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และไม่รวมการเสนอซื้อขายหุ้นไอพีโอ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 รายงานการซื้อขายหุ้นไอพีโอ ประจำปี 2565 จะเผยแพร่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566

บทความ : ดีลอยท์

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) เผยดัชนี NASDAQ- 100

X

Right Click

No right click