พร้อมตั้งเป้าพิชิต 3 กิโลยิ้ม เพื่อระดมเงินบริจาคช่วยเหลือและเติมเต็มโอกาสให้เยาวชนไทยผ่าน 3 มูลนิธิ

ดิจิทัลที่เป็นมิตร รู้จักและรู้ใจลูกค้าในงาน BOT Digital Finance Conference 2022

 วิกฤตการณ์โควิด-19 เป็นจุดเปลี่ยนของใครหลายคนที่มีสถานะทางการเงิน คุณภาพชีวิตด้านการเงินเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น หนี้ครัวเรือนของไทยสูงขึ้นถึงร้อยละ 91 ของ GDP อัตราค่าครองชีพสูง รวมไปถึงปัญหาการกู้ยืมหนี้นอกระบบ โดยเฉพาะ GEN Z ที่มีสถิติเป็นหนี้เพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว คนสูงวัยก็ไม่มีเงินเก็บออมหลังวัยเกษียณและอีกหลายกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นข้อท้าทายของประเทศไทย เพราะทำให้คนไทยเริ่มห่างไกลจากการมี “Financial Well-being” หรือ “ชีวิตทางการเงินที่ดี” ซึ่งเป็นที่มาให้ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดงาน “Financial Well-being Hackathon for Thais” การแข่งขันเพื่อค้นหาโซลูชันทางการเงินเพื่อคนไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีและฐานข้อมูล (Tech & Data) มาเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหา รวมทั้งมีการรวมพลังจากทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับชีวิตทางการเงินของคนไทยให้เติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น

นายนริศ สถาผลเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้า ttb analytics ได้พูดถึงโจทย์ของการแข่งขันครั้งนี้ว่า “เราจะยกระดับชีวิตทางการเงินของคนไทยให้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยนำ Tech & Data มาประยุกต์ใช้ให้ถูกจุด คือ ‘การเลือกปัญหาที่ใช่ ที่เราจะแก้ไข’ (Problem Worth Solving) เราต้องเข้าใจปัญหาของคนที่เราจะแก้ไขปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาจะเป็นแนวทางหลักในการตัดสินผลงานของผู้เข้าแข่งขัน Hackathon ในครั้งนี้ ซึ่งทีเอ็มบีธนชาตเล็งเห็นถึงความสำคัญที่ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้โดยเร็วที่สุดและต้องทำทันที เพื่อยกระดับชีวิตทางการเงินของคนไทยให้ดีขึ้นทั้งวันนี้ และอนาคต”

งาน “Financial Well-being Hackathon for Thais” มีนักศึกษา คนรุ่นใหม่ ร่วมกันส่งแนวคิดเพื่อช่วยยกระดับชีวิตทางการเงินของคนไทยกว่า 100 โครงการ ครอบคลุมปัญหาทางการเงินของคนไทย ตั้งแต่ GEN Z คนทำงาน SME เกษตรกร ผู้สูงวัย เพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สะท้อนให้เห็นมุมมองของคนรุ่นใหม่ต่อการเงินและการจัดการปัญหาทางการเงิน โดยมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญ (Mentor) จากทีเอ็มบีธนชาต และที่ปรึกษาจากบริษัทภายนอกหลากหลายสาขามาช่วยขัดเกลาไอเดียและต่อยอดให้ครอบคลุม 3 แกนหลัก ได้แก่ แผนธุรกิจ (Business), Tech และ Data ในการร่วมกันสร้างโซลูชันทางการเงินอย่างแท้จริง 

1. Business ที่มีเคสที่น่าสนใจอย่าง ทีทีบี ออลล์ฟรี ที่เข้ามาแก้ปัญหาทางการเงินให้กับลูกค้า เช่น ปัญหาที่ว่าคนไทยกว่า 70% ไม่ทำประกัน เพราะมองว่าการทำประกันคือการสิ้นเปลือง แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? ทีเอ็มบี

ธนชาตจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้หันมาสนใจทำประกันกันมากขึ้นด้วยการมอบวงเงินประกันให้กับลูกค้าฟรี และช่วยลดค่ารักษาพยาบาล ซึ่งการแก้ปัญหาที่ตรงจุดเริ่มจากการมองหาความต้องการของลูกค้า ศึกษาปัญหาของลูกค้า เพื่อสร้างสรรค์โซลูชันที่เข้าใจง่ายและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง

2. Tech เช่น การแก้ปัญหาด้วยการนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในประเทศไทย เริ่มต้นจากปัญหาที่เกษตรกรนำเงินทุนจากโรงงานผู้ผลิตน้ำตาลไปใช้ไม่เพียงพอ บ้างก็นำไปใช้ในด้านอื่นแทนการนำไปลงทุนปลูกอ้อย ทำให้เกิดผลกระทบแบบลูกโซ่ คือ เกษตรกรมีเงินทุนไม่พอ ทำให้ปลูกอ้อยได้น้อยหรือคุณภาพต่ำ ส่งผลให้โรงงานผลิตน้ำตาลได้น้อย เสียโอกาสทางการค้า จึงออกแบบโซลูชัน ‘แอปพลิเคชัน’ ที่ช่วยให้โรงงานสามารถติดตามการทำงานของเกษตรกรได้ ในขณะเดียวกันเกษตรกรก็จะสามารถรับเงินทุนสนับสนุนจากโรงงานผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นโซลูชันเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของผู้บริโภคนั้น ธนาคารต้องศึกษาและสังเกตจากประสบการณ์สถานที่จริงเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง ผ่านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เหมาะสม

และ 3. Data ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่นำเอาข้อมูลมาใช้พัฒนาบริการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของคนไทยในด้านของการเกษตรให้ดีขึ้น เช่น การนำเอาข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยในการคาดการณ์การเพาะปลูก และพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาพัฒนาโซลูชันแบบ Personalization หรือ แบบปัจเจกบุคคล ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนได้อย่างตรงจุด

ทั้งนี้ งาน “Financial Well-being Hackathon for Thais” จะจัดกิจกรรม “Hack Day” ขึ้นในวันที่ 29 - 30 ตุลาคมนี้ โดยมี 15 ทีมสุดท้ายที่ผ่านการคัดเลือกมานำเสนอโซลูชันทางการเงินต่อคณะกรรมการ และจะประกาศผลรางวัลแก่ทีมผู้ชนะ เพื่อคว้ารางวัลรวมมูลค่ากว่า 280,000 บาท พร้อมกับโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโซลูชันกับทีเอ็มบีธนชาต รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ https://www.ttbbank.com/ttbfb-hackathon2022

วิกฤตการณ์โควิด-19 เป็นจุดเปลี่ยนของใครหลายคนที่มีสถานะทางการเงิน คุณภาพชีวิตด้านการเงินเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า รวม 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 10,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% หนุนโดยรายได้ที่ยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และการตั้งสำรองฯ ที่ลดลงจากแนวโน้มด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่เป็นไปตามแผนและสัดส่วนหนี้เสียที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 และรอบ 9 เดือน ปี 2565 โดยผลการดำเนินงานของธนาคารยังคงมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว หนุนโดยปัจจัยแนวโน้มที่ดีด้านรายได้ การมีวินัยด้านค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ได้ตามแผนและมีอัตราส่วนหนี้เสียในระดับต่ำที่ 2.72% ซึ่งช่วยลดแรงกดดันด้านการตั้งสำรองฯ ส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 3,715 ล้านบาท ในไตรมาส 3/65 หรือเพิ่มขึ้น 57.5% จากไตรมาส 3/64 โดยรวม 9 เดือน ปี 2565 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 10,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า สำหรับผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือนที่ปรับตัวดีขึ้นนี้ ถือได้ว่าเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกลยุทธ์และแผนการรับมือกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ธนาคารได้วางไว้ตั้งแต่เริ่มต้นปี ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การเติบโตสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ การบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ และการเตรียมความพร้อมสำหรับวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

ทั้งนี้ หนึ่งในปัจจัยเด่นที่ช่วยหนุนผลประกอบการในไตรมาส 3/65 ได้แก่ ด้านรายได้ โดยเฉพาะรายได้ดอกเบี้ยที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลสำเร็จจากการเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มดอกเบี้ย เริ่มตั้งแต่การปรับโครงสร้างเงินฝาก ซึ่งธนาคารได้ทยอยเพิ่มสัดส่วนเงินฝากประจำมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เพื่อลดการแข่งขันด้านเงินฝากและช่วยในการบริหารต้นทุนทางการเงินเมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนทิศเป็นขาขึ้น นอกจากนั้น ยังได้ปรับพอร์ตการลงทุนให้มีความยืดหยุ่น เพื่อให้มีความคล่องตัวในการปรับการลงทุน เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากภาวะตลาดและทิศทางดอกเบี้ย

ที่สำคัญอีกประการคือกลยุทธ์ด้านสินเชื่อและการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ การที่สินเชื่อตกเป็นหนี้เสียและมีสัดส่วนหนี้เสียสูงเกินเกณฑ์ควบคุมย่อมมีผลกระทบเชิงลบต่อรายได้ดอกเบี้ย แต่เนื่องจากเราเติบโตสินเชื่ออย่างระมัดระวังมาโดยตลอด เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ จึงทำให้พอร์ตสินเชื่อมีคุณภาพ มีสัดส่วนหนี้เสียที่อยู่ภายใต้เกณฑ์ควบคุมและอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม จึงส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยจากการให้สินเชื่อมีแนวโน้มที่ดี

ทั้งนี้ ภายหลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.50% ทางธนาคารได้ตอบรับนโยบายดังกล่าว โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเพิ่มขึ้น 0.15% - 0.80% ต่อปี เพื่อเพิ่มประโยชน์และส่งเสริมด้านการออมให้กับลูกค้าในการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ขณะที่ด้านดอกเบี้ยเงินกู้ ทยอยปรับขึ้นในอัตรา 0.20%-0.25% ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลลูกค้าสินเชื่อโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง

สำหรับช่วงที่เหลือของปี ธนาคารก็จะยังคงมุ่งเน้นการบริหารต้นทุนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ และเติบโตสินเชื่อกลุ่มเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ขณะที่ทีทีบี คอนซูมเมอร์ จะช่วยผลักดันการขยายสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตไปยังฐานลูกค้าปัจจุบันของธนาคาร พร้อมทั้งรักษาวินัยด้านค่าใช้จ่าย และยึดแนวทางการดูแลคุณภาพสินทรัพย์อย่างรอบคอบ เพื่อรักษาแนวโน้มเชิงบวกของผลการดำเนินงานในช่วงถัดไป

สำหรับรายละเอียดผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 และรอบ 9 เดือน ปี 2565 มีดังนี้

ณ สิ้นไตรมาส 3/65 สินเชื่อรวมอยู่ที่ 1,394 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% จากสิ้นปีที่แล้ว ตามการเติบโตสินเชื่อกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบุคคล และบัตรเครดิต ด้านเงินฝากอยู่ที่ 1,374 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากสิ้นปีที่แล้ว หนุนโดยการเพิ่มขึ้นของเงินฝากประจำ สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านเงินฝากเพื่อรองรับแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นของธนาคาร

ด้านรายได้ยังคงแนวโน้มเชิงบวก โดยเฉพาะรายได้ดอกเบี้ย ในไตรมาส 3/65 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 12,968 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นผลจากการเติบโตสินเชื่อที่มีคุณภาพและการบริหารจัดการต้นทุนด้านการเงิน สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 3,381 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หนุนโดยรายได้ค่าธรรมเนียมการขายประกันและค่าธรรมเนียมกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ภายใต้การลงทุนด้านดิจิทัลและการเพิ่มจำนวนพนักงานภายในกลุ่มธนาคารตามแผนธุรกิจ ธนาคารยังคงสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 7,447 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 0.4% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้อยู่ที่ 45% เป็นไปตามกรอบเป้าหมาย

จากปัจจัยด้านรายได้และค่าใช้จ่ายข้างต้น จึงทำให้กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ (PPOP) ในไตรมาส 3/65 อยู่ที่ 8,963 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.2% จากปีที่แล้ว รวม 9 เดือน PPOP อยู่ที่ 26,533 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังคงบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย ส่งผลให้สัดส่วนหนี้เสียอยู่ในเกณฑ์ควบคุมและลดลงมาได้อย่างต่อเนื่องจากระดับสูงสุดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ช่วงไตรมาส 3/64 ที่ 2.98% มาอยู่ที่ 2.81% ณ สิ้นปีที่แล้ว และ 2.72% ในไตรมาสล่าสุด ประกอบกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง จึงทำให้แรงกดดันด้านการตั้งสำรองฯ ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า

โดยในไตรมาส 3/65 ธนาคารตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 4,361 ล้านบาท ลดลง 21.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวม 9 เดือน ตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 13,551 ล้านบาท ลดลง 17.9% ส่งผลให้กำไรสุทธิในไตรมาส 3/65 อยู่ที่ 3,715 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 57.5% และรอบ 9 เดือน ปี 2565 อยู่ที่ 10,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.8% ตามลำดับ

ทั้งนี้ การตั้งสำรองฯ ในระดับดังกล่าวยังเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติและเพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยง สะท้อนได้จากอัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อคุณด้อยภาพของธนาคารที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 135% จาก 129% ณ สิ้นปีที่แล้ว

ท้ายสุดด้านความเพียงพอของเงินกองทุน ยังอยู่ในระดับสูงและเป็นลำดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรม โดยอัตราส่วน CAR และ Tier I (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.0% และ 16.0% ณ สิ้นไตรมาส 3/65 สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารกลุ่ม D-SIBs ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 12.0% และ 9.5% ตามลำดับ

X

Right Click

No right click