January 22, 2025

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต ภายใต้โครงการ “ไทยพาณิชย์รวมใจไทยให้โลหิต” ในวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 9.00-15.00 น. ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ (รัชโยธิน) เพื่อแบ่งปันต่อเพื่อนมนุษย์ และเติมเต็มปริมาณโลหิตให้มีเพียงพอต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วประเทศ ผู้ที่ร่วมบริจาคโลหิต รับผ้ายันต์พระนารายณ์ทรงครุฑประทับบนพระราหู โดยสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (สมเด็จธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร รุ่น Limited Edition เสริมพลังมงคลชีวิต และกระบอกน้ำลายกระต่าย จำนวนจำกัด

การบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือนจะช่วยให้ผู้บริจาคมีร่างกายแข็งแรง เม็ดเลือดแดง และ ไขกระดูกทำงานได้ดี การเตรียมตัวสำหรับผู้ที่จะบริจาคโลหิต ได้แก่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และควรดื่มน้ำ 3-4 แก้วก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที เป็นต้น

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี คว้ารางวัลคะแนนสูงสุดประจำปี พ.ศ. 2565 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) ครองอันดับหนึ่งการเงินที่เป็นธรรมต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และ รางวัลพัฒนาการสูงสุด 5 ปี พ.ศ. 2561-2565 โดยนายกมลพันธ์  ลักษณา (ซ้าย) หัวหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืน ทีเอ็มบีธนชาต เป็นผู้แทนรับมอบรางวัลจาก นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล (ขวา) หัวหน้าคณะวิจัย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย ในงานเวทีสาธารณะ “เปิดคะแนน ESG ธนาคารไทย ปีที่ 5 ก้าวต่ออย่างไรให้ยั่งยืนและเป็นธรรม” จัดโดยแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) ณ ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้

สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัว ผ่าน “มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ภายใต้พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ มุ่งเสริมศักยภาพการแข่งขันผู้ประกอบการ รับ 3 เมกะเทรนด์ธุรกิจโลกยุคใหม่“เทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต” หนุนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนาน เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดบริบทโลกใหม่ (New Normal) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและทิศทางการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ เพื่อรับกับทิศทางธุรกิจในอนาคต จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนออกมาตรการ“สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ต่อยอดจากสินเชื่อฟื้นฟู ภายใต้ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ สำหรับการลงทุนปรับปรุง พัฒนาและเสริมศักยภาพธุรกิจให้สอดรับกับ New Normal ใน 3 รูปแบบ คือ 1.กระแสเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) 2.การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) 3.นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation) ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ธุรกิจของโลก

มาตรการ “สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อการลงทุนสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในช่วงที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและทิศทางอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยธปท. ได้ปรับหลักเกณฑ์ขยายวงเงินกู้สูงสุด 150 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี และเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี ขณะที่เงื่อนไขการค้ำประกันยืดหยุ่นขึ้น เพื่อเอื้อต่อการเข้าถึงสินเชื่อและส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทย สำหรับ SMEs ที่ไม่มีความประสงค์ในการกู้เพื่อลงทุนใหม่ สามารถขอสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อหมุนเวียนทั่วไป ผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ยังดำเนินการควบคู่กันได้

สมาคมธนาคารไทย และ ธนาคารสมาชิก พร้อมสนับสนุนมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัวอย่างเต็มกำลัง ปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่ได้จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัวแล้วจำนวน 16 แห่ง โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์ขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวสามารถติดต่อสถาบันการเงินได้โดยตรง สามารถดูรายชื่อสถาบันการเงินและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. ได้ที่ มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ภายใต้ พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ (bot.or.th)

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาคมธนาคารไทยได้ประสานความร่วมมือกับธปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในระยะสั้น โดยสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้ถึง 7.7 หมื่นราย วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ให้ความช่วยเหลือ 5.9 หมื่นราย คิดเป็นยอดอนุมัติสินเชื่อกว่า 2.1 แสนล้านบาท มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ให้ความช่วยเหลือ 413 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนราว 5.8 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาหนี้ได้ตรงจุด ทันการณ์ และยั่งยืน เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านวิกฤต มีความพร้อมกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน

จากผลรายงานการศึกษาการเติบโตของธนาคารดิจิทัลทั่วโลกครั้งที่ 5 ร่วมกับ 40 ประเทศผู้นำ เพื่อเตรียมก้าวสู่ยุคใหม่แห่งโลกดิจิทัลและธนาคารเสมือนจริง

X

Right Click

No right click