November 21, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

เคทีซีตอกย้ำจุดยืนความปลอดภัยของสมาชิกเป็นสำคัญ พร้อมพัฒนาระบบป้องกันภัยทุจริต อย่างต่อเนื่องและติดตามข้อมูลการใช้จ่ายหากผิดปกติแจ้งสมาชิกทันทีเพื่อป้องกันมิจฉาชีพบนออนไลน์ พร้อมแนะนำ 6 ข้อต้องรู้ก่อนทำธุรกรรม

นายไรวินทร์ วรวงษ์สถิตย์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลโกงมิจฉาชีพที่หลอกดูดเงินได้ปรับเปลี่ยนวิธีการตลอด มีทั้งการหลอกให้โอนเงินหรือสวมสิทธิ์ในแอปพลิเคชันเพื่อหลอกดูดเงินจากบัตรเครดิตทำให้ยังมีผู้ตกเป็นเหยื่อโดยไม่ทันระวัง ถึงแม้เทคโนโลยีการเงินในปัจจุบันจะพัฒนาระบบให้สอดรับกับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการทำธุรกรรม

“ลักษณะมิจฉาชีพที่ติดต่อเข้ามามีหลายช่องทาง ทั้งสร้างเรื่องให้มีความกลัว เช่นหลอกว่าเราได้รับของผิดกฎหมายหรือของค้างอยู่ที่กรมศุลกากร ถ้ามีลักษณะที่ต้องสงสัยว่าเราไปทำอะไรผิดมา แต่ไม่ได้ทำก็อย่าหลงเชื่อ หรือ การหลอกโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันที่เราใช้อยู่ ต้องมีการใส่รหัสผ่านที่ใช้เพียงครั้งเดียว หรือ OTP (One Time Password) ถ้าเราไม่ทันระวังให้รหัสไป มิจฉาชีพก็จะนำไปใช้ได้” นายไรวินทร์กล่าว

เคทีซีในฐานะผู้ให้บริการบัตรเครดิตที่ดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมได้ศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการป้องกันภัยทุจริตให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าเป็นสำคัญและมีทีมงานที่ดูแลตรวจสอบการใช้จ่ายของสมาชิกเมื่อพบสิ่งผิดปกติ จะรีบติดต่อสมาชิกผู้ถือบัตรทันทีเพื่อป้องกันมิจฉาชีพได้อย่างทันท่วงที พร้อมแนะนำ 6 วิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ ดังนี้

1. ตั้งสติและอย่าหลงเชื่อข้อมูลตามที่มิจฉาชีพแจ้ง

2. ไม่กดลิงค์ต่างๆ ที่ได้รับโดยไม่รู้จักแหล่งที่มา

3. กำหนดรหัสผ่าน (Password) ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการเงินให้มีความหลากหลาย อย่าใช้รหัสซ้ำเพื่อป้องกันการคาดเดาและนำไปใช้ต่อจากผู้ไม่หวังดี

4. ไม่แจ้งรหัสผ่าน และ OTP ให้ผู้อื่นทราบอย่างเด็ดขาด และ ต้องอ่านข้อความให้ชัดเจนทุกครั้งเมื่อได้รับ OTP เช่น การระบุชื่อร้านค้าต้องถูกต้อง รายละเอียดสินค้าต้องตรงกับที่สมาชิกซื้อ เพื่อการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง

5. หากพบข้อสงสัยว่าจะถูกมิจฉาชีพหลอกข้อมูล ควรโทรศัพท์หรือติดต่อสอบถามหน่วยงานที่ถูกอ้างอิง

6. โหลดแอปพลิเคชันที่ช่วยระบุหมายเลขที่ไม่รู้จัก เช่น Whoscall เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ

หากพบข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE โทรศัพท์ 02 123 5000 หรือ https://www.ktc.co.th สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีสามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

ไม่ว่าเมื่อไร ‘กันไว้ดีกว่าแก้’ ยังเป็นคำสอนที่คลาสสิคเสมอ โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ ยิ่งสมัยนี้ มิจฉาชีพแฝงตัวมากับสารพัดวิธีหลอกลวงรูปแบบต่าง ๆ เราควรจะป้องกันอย่างไร ให้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกัน

· ไม่กดลิงค์ จาก SMS, Email หรือ Line ที่น่าสงสัย – สถาบันการเงินส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายส่ง SMS, Email หรือ Line ไปหาลูกค้าเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคล หรือให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่างๆ ถ้ามีข้อความ SMS อีเมล์ หรือไลน์ แปลก ๆ แอบอ้างชื่อหน่วยงานต่างๆ ส่งมาแจ้งให้กดลิงก์ กรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้โอนเงินค่าธรรมเนียมใดๆ ให้ตั้งสติ คิดอย่างรอบคอบ ตรวจสอบแหล่งที่มาว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ หากไม่แน่ใจ -ไม่กด-ไม่กรอก-ไม่โอน ปลอดภัยกว่า

· เช็คก่อน ชัวร์กว่า – ถ้ามีบุคคลที่ไม่รู้จักติดต่อมาหา แอบอ้างว่ามาจากหน่วยงานใดก็ตาม ให้สอบถามข้อมูลของผู้ที่ติดต่อ เช่น ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน สาเหตุที่ติดต่อมา จากนั้นให้ขอวางสายก่อน แล้วจึงติดต่อกลับไปยังหน่วยงานที่ถูกกล่าวอ้างเพื่อตรวจสอบ หากไม่แน่ใจ อย่าหลงเชื่อและทำตามคำขอใด ๆ ก่อนตรวจสอบข้อเท็จจริง

· ไม่แชร์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน – อย่าแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลทางการเงินของตนเองกับใคร เช่น ภาพบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เลขที่บัญชี หมายเลขบัตรเครดิต รหัส CVV เพราะเป็นข้อมูลที่มิจฉาชีพอาจนำไปใช้ได้ ควรหลีกเลี่ยงการโพสต์ข้อมูลเหล่านี้ใน Social Media และไม่กรอกข้อมูลส่วนบุคคลในเว็บไซต์, Line หรือช่องทางออนไลน์ที่ไม่แน่ใจที่มา

· ตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานที่เดาได้ยาก – ควรตั้งรหัสผ่าน / รหัส PIN ที่เดาได้ยาก ในการทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และห้ามใช้รหัสซ้ำกันทุกแอป ที่สำคัญ ต้องรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่แชร์รหัสกับผู้อื่น และควรเปลี่ยนรหัสทุก 3 เดือน

· OTP ใช้แค่ ‘Only Me’ - เมื่อได้รับรหัส OTP ให้ตรวจสอบทุกครั้งว่าเป็น OTP ที่ใช้ทำอะไร และห้ามบอกรหัสนี้ไม่ว่ากับใคร เพราะอาจเปิดช่องให้เข้าถึงสมาร์ทโฟนของเราได้จากระยะไกล (Remote Access)

· เลือกเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เชื่อถือได้ ในการใช้จ่ายออนไลน์ – ควรเลือกเว็บไซต์/ร้านค้า/แอปที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยในการรับชำระเงินผ่านบริการอย่าง Verified By Visa หรือ MasterCard ID Check ที่ใช้รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียวหรือ OTP จากผู้ให้บริการบัตรเครดิต เป็นการยืนยันตัวตนในการทำรายการออนไลน์ทุกครั้ง

· จำกัดวงเงินในการใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน - ปัจจุบัน สถาบันการเงินหลายแห่ง มีบริการให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งวงเงินในการทำธุรกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการได้ เพื่อความอุ่นใจ ผู้ใช้สามารถตั้งวงเงินในการทำธุรกรรมออนไลน์เท่าที่จำเป็น ให้เหมาะสมกับการใช้งานของตนเอง

· เปิดรับการแจ้งเตือนรายการใช้จ่ายไว้ ปลอดภัยกว่า – ควรตั้งค่าเปิดรับการแจ้งเตือน (Notification) บน Mobile Application หรือ Banking Application ต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการแจ้งเตือนเมื่อทำธุรกรรม และคอยตรวจสอบ การแจ้งเตือนอย่างสม่ำเสมอ หากพบรายการที่ผิดปกติ ให้รีบติดต่อสถาบันการเงินผู้ให้บริการทันทีเพื่อตรวจสอบ

· อัปเดตหมายเลขติดต่อให้เป็นปัจจุบัน - หากมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ควรรีบแจ้งสถาบันการเงินผู้ให้บริการ กรณีที่สถาบันการเงินผู้ให้บริการ ตรวจพบรายการใช้จ่ายที่ผิดปกติ จะได้สามารถติดต่อเราได้ทันท่วงที

    ความคับข้องใจของผู้ประกอบการโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กกับการทำธุรกรรมกับธนาคาร คือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายธนาคาร การต้องไปสาขาเพื่อทำธุรกรรม ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสทางธุรกิจ

    ธนาคารทหารไทย จำกัด หรือ ทีเอ็มบี จึงเปิดตัวบัญชี“ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” (TMB SME One Bank) รูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการข้างต้น

     รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีอำนาจต่อรองไม่มาก จึงไม่สามารถใช้บริการบางอย่างของสถาบันการเงินได้เต็มที่ และเมื่อดูระบบนิเวศทางด้านการเงินในประเทศไทย ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และมี National E-Payment มารองรับ ธนาคารจึงได้พัฒนา “ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” บัญชีเพื่อธุรกิจ ที่จบปัญหาด้านค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นเหมือน ‘ต้นทุนที่ไม่จำเป็น’ ที่ผู้ประกอบการมองข้ามหรือเคยชิน แต่ก็มีความต้องการที่กำจัดค่าธรรมเนียมเหล่านี้  ด้วยการมอบประโยชน์ให้ลูกค้า สามารถ โอน-รับ-จ่าย ข้ามธนาคาร ข้ามเขต ได้ทันที ฟรีค่าธรรมเนียม ทุกรายการแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยไม่ต้องคงเงินขั้นต่ำในบัญชี เมื่อทำธุรกรรมด้วยช่องทางดิจิทัล คือ TMB Business Touch โมบายแอปพลิเคชันสำหรับเอสเอ็มอี ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา

    บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ ยังตอบโจทย์ความต้องการในธุรกิจของลูกค้าเอสเอ็มอี ในด้านการจ่าย เช่น การโอนหรือถอนเงินผ่านเครื่อง ATM ฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้ง ได้ทุกธนาคาร การจ่ายเงินเดือนพนักงานได้ทุกธนาคารได้ฟรี รวมไปถึงการจ่ายบิลต่างๆ นอกจากนี้ ในด้านรายรับ ลูกค้ายังได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเรียกเก็บเช็คข้ามเขต ข้ามธนาคาร ไม่มีค่าธรรมเนียม และซื้อสมุดเช็ค 1 เล่ม แถม 1 เล่ม ไม่จำกัดจำนวน ทั้งหมดนี้ สามารถช่วยให้ลูกค้าสามารถประหยัดต้นทุนในการทำธุรกรรมได้อย่างมาก

     รัชกรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ที่มีความคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมในระบบดิจิทัล โดยธนาคารตั้งเป้าเพิ่ม 100,000 บัญชีภายในสิ้นปีนี้ และหากลูกค้าใช้บัญชี ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ธนาคารมีข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของลูกค้า  และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านอื่นๆ ได้อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อ

     ทั้งนี้ผู้ที่สมัครใช้บริการ บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ จะมีค่าธรรมเนียมเอทีเอ็มปีละ 500 บาท โดยธนาคารมีโปรโมชั่นหากสมัครพร้อมเพย์ธนาคารจะคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้

     เป็นเกมการแย่งชิงการทำธุรกรรมกับธนาคารที่จัดการกับ pain point ของลูกค้าอย่างน่าสนใจ

X

Right Click

No right click