November 25, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

ณุศาศิริ” เดินหน้าฟ้องอดีตกรรมการและผู้บริหารเพิ่มเติม หลังดำเนินการฟ้องไปแล้ว 3 คดี ทั้งทางแพ่งและอาญา โดยเป็นคดีหมายเลข อ1747/2567, พ1882/2567 และ พ1775/2567 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้บริหารในหลายข้อหา ทางบริษัทมั่นใจว่าการกล่าวโทษจาก ก.ล.ต. จะช่วยเร่งกระบวนการเรียกคืนทรัพย์สินของบริษัทได้เร็วขึ้น และยืนยันว่ากระบวนการเหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ บริษัทติดตามและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ ย้ำว่าธุรกิจยังแข็งแกร่ง ฐานการเงินมั่นคง มีสภาพคล่องเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในอนาคต

นายณัฐพศิน เชฏฐ์อุดมลาภ กรรมการและรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA เปิดเผยว่าตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกข่าวฉบับที่ 198/2567 และกล่าวโทษกรรมการ อดีตกรรมการ และผู้บริหารของ NUSA ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษในกรณีธุรกรรมที่เข้าลงทุนซื้อโรงแรมในต่างประเทศในราคาที่ไม่สมเหตุสมผล รวมถึงการขายห้องชุดของบริษัทในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมิน การผ่องถ่ายเงินจากบริษัทเข้าบัญชีส่วนตัว และการแสดงข้อมูลเท็จต่อเจ้าหน้าที่

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 ได้มีมติให้ดำเนินคดีกับกรรมการและอดีตกรรมการของบริษัททุกคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางแพ่งและอาญา เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายคืนให้แก่บริษัท โดยทางทนายความกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลอย่างเป็นทางการ

ทางบริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทางการเงินอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ พร้อมทั้งเน้นย้ำว่าบริษัทมีแผนธุรกิจที่จะเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ เพื่อสร้างยอดขาย สร้างรายได้ และเดินหน้าสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนในอนาคต พร้อมกับการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เดินหน้าแผน IPO เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมก้าวสู่การเป็นธนาคารชั้นนำที่มีคุณภาพ และเติบโตในกลุ่มธุรกิจด้านการเงิน สนับสนุนสินเชื่อเพื่อคนไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “ธนาคารไทยเครดิต มุ่งมั่นสนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตทางธุรกิจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยบริการไมโครไฟแนนซ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของธนาคาร” โดยมีธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) (“ธนาคารฯ”) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจำนวนหุ้นที่คาดว่าจะเสนอขายทั้งหมด (รวมหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายโดยธนาคารฯ และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม) ไม่เกิน 347,029,122 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 28.2 ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ ภายหลังการทำ IPO1 ซึ่งนับเป็นธนาคารพาณิชย์ที่เสนอขายหุ้น IPO ในรอบ 10 ปี โดยมี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในครั้งนี้

อย่างไรก็ดี ธนาคารฯ เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มุ่งเน้นให้บริการสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (Nano and Micro Finance) และสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (Micro SME) แก่กลุ่มลูกค้าในประเทศไทยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้เท่าที่ควร ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับวัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ รวมทั้ง นำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure) ด้วยเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยและลูกค้าบุคคล รวมไปถึงความมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบให้เข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ และสอดคล้องกับปรัชญาการดำเนินธุรกิจของธนาคาร “Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ”

นายกนต์ธีร์ ประเสริฐวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้นับหนึ่งไฟลิ่งธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าธนาคารฯ จะเสนอขายและเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในหมวดกลุ่มธุรกิจการเงิน / ธนาคาร ตามแผน IPO

สำหรับ ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำเพื่อลูกค้ารายย่อย ด้วยประสบการณ์การให้บริการสินเชื่อเพื่อรายย่อยที่หลากหลายมากว่า 10 ปี ทำให้ธนาคารฯ มีความเข้าใจในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง ประกอบกับการมีผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าหลากหลายขนาดและประเภทธุรกิจ รวมถึงการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่รัดกุม ทำให้เชื่อว่าธนาคารฯ อยู่ในจุดที่สามารถขยายพอร์ตสินเชื่อในการสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากการเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งของเงินให้สินเชื่อของธนาคารฯ ในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 ที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ 33.0 ต่อปี และยังมีศักยภาพในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจสู่ตลาดที่มีขนาดใหญ่ แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินนี้ ด้วยรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์

นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังมีโครงสร้างต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จากเครือข่ายสาขาที่มีต้นทุนการดำเนินงานต่ำ ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ธนาคารฯ มีสาขาทั้งสิ้น 527 แห่งทั่วประเทศไทย ประกอบไปด้วยสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อย สำนักงานนาโนเครดิต และสาขาที่ให้บริการเงินฝาก ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ในพื้นที่หรือใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้า รวมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมผ่านช่องทางดิจิทัล โดยบริษัท ไทยไมโคร ดิจิทัล โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารฯ ได้นำแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ของลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน “ไมโครเพย์” ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานที่ผ่านกระบวนการ KYC ถึง 384,460 ราย เป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารฯ สามารถรักษาอัตราส่วนค่าใช้จ่ายดําเนินงานต่อรายได้รวม (Cost-to-Income Ratio) ไว้ได้ในระดับต่ำ หรือเท่ากับร้อยละ 36.0 ในงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566

 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานงวด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 – 2565) และ ณ งวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ มีจำนวนเท่ากับ 68,562.4 ล้านบาท 97,728.7 ล้านบาท 121,298.0 ล้านบาท และ 132,758.1 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยสะสมต่อปีระหว่าง 2563-2565 (Compound Annual Growth Rate: CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 33.0 ต่อปี

เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย (1) สินเชื่อสำหรับสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (2) สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย (3) สินเชื่อบ้าน (4) สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล (5) สินเชื่อรายย่อยอื่นๆ

นอกจากนี้ สำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ธนาคารฯ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,830.7 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 ร้อยละ 30.9 ต่อปี

 นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (Mr. Aphinant Klewpatinond, Chief Executive Officer, Kiatnakin Phatra Financial Group) เปิดเผยว่าคณะกรรมการ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 3.25 บาทให้แก่ผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นไปแล้วในอัตราหุ้นละ 1.75 บาท จะมีอัตราเงินปันผลคงเหลือในงวดนี้เท่ากับหุ้นละ 1.5 บาท นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร ‘วอร์แรนท์’ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 5 (KKP-W5) และครั้งที่ 6 (KKP-W6) อายุ 10 เดือนและ 2 ปี 10 เดือน ตามลำดับ ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น ในอัตราการจัดสรร 12 หุ้นเดิมต่อใบสำคัญแสดงสิทธิ KKP-W5 และ KKP-W6 อย่างละ 1 หน่วย โดยใบสำคัญแสดงสิทธิแต่ละหน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารได้ 1 หุ้น ที่ราคาการใช้สิทธิ 70 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับกลยุทธ์การขยายธุรกิจในอนาคตของธนาคาร ตั้งเป้าขยายพอร์ตสินเชื่อร้อยละ 13 ในปีนี้

ผลประกอบการในระยะที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ของกลุ่มธุรกิจฯ ที่มุ่งเติบโตโดยระมัดระวัง (Smart Growth) โดยให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง การจัดกลุ่มลูกค้าและคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Segmentation) ตลอดจนการขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้อง (Cross-Selling) โดยใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งในธุรกิจตลาดทุนของบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจฯ ส่งผลให้สินเชื่อในภาพรวมของธนาคารเติบโตอย่างน่าพึงพอใจ เช่น ปี 2565 ที่สินเชื่อของธนาคารขยายตัวถึงร้อยละ 21.4 จากปีก่อนหน้า ด้วยเหตุนี้ กลุ่มธุรกิจฯ จึงมุ่งเตรียมความพร้อมในด้านทุน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการขยายธุรกิจ รองรับการขยายสินเชื่อให้เติบโตได้เต็มศักยภาพ อีกทั้งยังสามารถรักษาการปันผลในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ตั้งเป้าโตสินเชื่ออีกร้อยละ 13” นายอภินันท์ กล่าว

ทั้งนี้ ธนาคารมีแผนการลงทุนเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของธนาคาร โดยเฉพาะการรุกหน้าบริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ ไม่ว่าผ่านแอป KKP Mobile ของธนาคาร หรือบริการ Edge (เอดจ์) และ Dime (ไดม์) ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยขยายฐานลูกค้าของธนาคารไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยอีกเป็นจำนวนมากที่มองหาเงินฝากดอกเบี้ยสูง ควบคู่ไปกับบริการด้านการลงทุนที่สะดวก ตอบโจทย์ และมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับของเกียรตินาคินภัทร โดยบริการเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็น New S-Curve หรือหน่วยธุรกิจที่จะสร้างการเติบโตใหม่ให้กับกลุ่มธุรกิจฯ

ในโอกาสเดียวกัน คณะกรรมการธนาคารยังได้มติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร KKP ESOP Warrants หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของธนาคาร และบริษัทย่อยที่กำหนดโดยไม่คิดมูลค่าจำนวนไม่เกิน 60,000,000 หน่วย ซึ่งมีราคาการใช้สิทธิ 72 บาทต่อหุ้น และมีอายุ 4 ปี นับจากวันที่ได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ เพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับบุคลากรในการสร้างการเติบโตและผลกำไรที่ดี ตลอดจนสร้างความผูกพันกับองค์กรในระยะยาวอีกด้วย

 

เจมาร์ท ติดปีกร่วมทุน KB Kookmin Card ในบริษัท เจฟินเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เสร็จสิ้น ยกระดับมาตรฐานธุรกิจการเงินของกลุ่มบริษัทเข้าสู่ระดับสากล

X

Right Click

No right click