กระแสของกัญชากลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่มีแนวโน้มว่าโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่จะมีพรรคภูมิใจไทยรวมอยู่ในสมการนั้นด้วย หลังจากที่ชะงักไปบ้างเมื่อครั้งการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ที่ใน MOU ระบุจะนำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษโดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา ซึ่งเท่ากับว่านโยบายกัญชาเสรี ของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งผลักดันโดยพรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มว่าจะได้ไปต่อ

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า นโยบายการเปิดเสรีกัญชามีทั้งคุณและโทษ หลายเรื่องยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในสังคมไทย โดยเฉพาะประเด็นทางด้านสังคมและระบบสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาโดยไม่มีการควบคุมและยังไม่มีมาตรการรองรับอย่างรอบด้าน  แต่หากพิจารณาในด้านเศรษฐกิจแล้ว กัญชาเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ได้จริง จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งมีการประเมินมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ณ ปี 2565 นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ มีมูลค่ารวมถึงกว่า 28,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำมูลค่า 9,615 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ 14,690 ล้านบาท ส่วนผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ 3,750 ล้านบาท แบ่งเป็น ยารักษาโรคและอาหารเสริม มูลค่า 1,500 ล้านบาท อาหารและเครื่องดื่ม 1,200 ล้านบาท เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล 800 ล้านบาท เครื่องนุ่งห่มและของใช้ส่วนตัว 250 ล้านบาท และยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้า จะโตได้ 10-15% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 42,800 ล้านบาท

 

และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในสังคมออนไลน์โดยใช้เครื่องมือ DXT360 ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ที่มีการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2566 พบว่ามีการพูดถึงทั้งหมด 902 ข้อความ และได้รับการมีส่วนร่วม หรือ Engagement ถึง 12,358 ครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าผู้คนบนสังคมออนไลน์ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกัญชา-กัญชงไม่น้อย และถ้าดูจากสัดส่วนการโพสต์ลงบนโซเชียล แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้

· ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย มีการโพสต์ขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ใช้ส่วนประกอบอย่างเส้นใยของกัญชามาช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้มีความแข็งแรงขึ้น โดยพบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีสัดส่วนการโพสต์บนโลกออนไลน์มากที่สุดคิดเป็น 57.43%

· ผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ มีการโพสต์ส่วนใหญ่เป็นการใช้สารสกัดจากน้ำมันกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบของยาเพื่อการรักษาต่าง ๆ เช่น ประกอบการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง และรักษาอาการปวดเรื้อรัง เป็นต้น โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีถึง 27.05%

· ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีการโพสต์ขายผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและการทำความสะอาดโดยใช้ส่วนประกอบเป็นสารสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สบู่ และยาสระผม เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 8.43%

· ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม พบว่ามีการนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นขนม ผงเครื่องดื่ม และเครื่องดื่มบรรจุขวด ซึ่งส่วนผสมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารสกัดน้ำมันกัญชาและใบกัญชา โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 6.54%

· ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ข้างต้น พบว่ามีการโพสต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.55% เช่น สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง คือ อิฐ และ เฮมป์พาร์ทิเคิลบอร์ด หรือแผ่นกั้นผนังห้อง เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจมีแนวโน้มว่าจะมีการนำสารสกัดจากกัญชาและกัญชงมาใช้แปรรูปหรือพัฒนาเป็นสินค้าหรือนวัตกรรมที่มีความหลากหลายในด้านของรูปแบบสินค้าและประเภทของสินค้ามากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อดูความคิดเห็นบนโซเชียล พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 

จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ โดยมีการพูดถึงในเรื่องของการยอมรับการใช้กัญชามาประกอบการรักษามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการรักษาหรือบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถึงแม้ในความเป็นจริงจะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์รองรับว่าสามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้

แต่หากมองในมุมของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มพบว่า ผู้คนบนโซเชียลได้มีการแสดงความคิดเห็นที่สื่อถึงความกังวลและความคิดเห็นไปในทิศทางเชิงลบ โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากกัญชา-กัญชง ที่อาจได้รับเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือนำไปสู่การเสพติดไปจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้

กล่าวได้ว่า นับแต่มีการปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 และแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่น่าจะมีพรรคภูมิใจไทยเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล การใช้กัญชาจึงยังคงอยู่ในสถานะที่ถูกเปิดช่องให้ใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่ได้ถูกจำกัดเพียงการใช้ทางการแพทย์ ไปจนกว่า

จะมีการออกมาตรการเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้อย่างเหมาะสม เรื่องของกัญชาจึงได้กลายเป็นวาระในการถกเถียงของคนทุกระดับในสังคมไทย

CR :  Inforquest

สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัว ผ่าน “มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ภายใต้พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ มุ่งเสริมศักยภาพการแข่งขันผู้ประกอบการ รับ 3 เมกะเทรนด์ธุรกิจโลกยุคใหม่“เทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต” หนุนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนาน เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดบริบทโลกใหม่ (New Normal) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและทิศทางการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ เพื่อรับกับทิศทางธุรกิจในอนาคต จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนออกมาตรการ“สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ต่อยอดจากสินเชื่อฟื้นฟู ภายใต้ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ สำหรับการลงทุนปรับปรุง พัฒนาและเสริมศักยภาพธุรกิจให้สอดรับกับ New Normal ใน 3 รูปแบบ คือ 1.กระแสเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) 2.การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) 3.นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation) ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ธุรกิจของโลก

มาตรการ “สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อการลงทุนสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในช่วงที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและทิศทางอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยธปท. ได้ปรับหลักเกณฑ์ขยายวงเงินกู้สูงสุด 150 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี และเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี ขณะที่เงื่อนไขการค้ำประกันยืดหยุ่นขึ้น เพื่อเอื้อต่อการเข้าถึงสินเชื่อและส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทย สำหรับ SMEs ที่ไม่มีความประสงค์ในการกู้เพื่อลงทุนใหม่ สามารถขอสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อหมุนเวียนทั่วไป ผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ยังดำเนินการควบคู่กันได้

สมาคมธนาคารไทย และ ธนาคารสมาชิก พร้อมสนับสนุนมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัวอย่างเต็มกำลัง ปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่ได้จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัวแล้วจำนวน 16 แห่ง โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์ขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวสามารถติดต่อสถาบันการเงินได้โดยตรง สามารถดูรายชื่อสถาบันการเงินและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. ได้ที่ มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ภายใต้ พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ (bot.or.th)

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาคมธนาคารไทยได้ประสานความร่วมมือกับธปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในระยะสั้น โดยสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้ถึง 7.7 หมื่นราย วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ให้ความช่วยเหลือ 5.9 หมื่นราย คิดเป็นยอดอนุมัติสินเชื่อกว่า 2.1 แสนล้านบาท มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ให้ความช่วยเหลือ 413 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนราว 5.8 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาหนี้ได้ตรงจุด ทันการณ์ และยั่งยืน เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านวิกฤต มีความพร้อมกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน

X

Right Click

No right click