December 24, 2024

SCB WEALTH ถอดบทเรียนการลงทุนในปีที่ผ่านมา พบ 3 ประเด็นหลักส่งผลให้นักลงทุนพลาดโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี คือ 1 )การจับจังหวะลงทุนและเก็งกำไรตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องที่เหมะสม 2)การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งทื่ดีที่สุดในการลงทุน และ3)ไม่หลีกหนี Stay Invested แนะนักลงทุนแบ่งการลงทุนเป็นCore Portfolio ที่ควร Stay Invested และลงทุนระยะกลางถึงยาวได้ อีกส่วนเป็นOpportunistic เพื่อมองหาโอกาสทำกำไร มั่นใจหากนักลงทุนจัด Asset Allocation แม้ตลาดผันผวนไปในทิศทางใด ก็ยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้

นายรุ่งโรจน์ เสกสรรค์วิริยะ ผู้อำนวยการอาวุโส Investment Product Selection and Partnership ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า การลงทุนในปี 2566 พบ 3 ประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาถอดบทเรียนเพื่อนำมาปรับใช้กับการลงทุนในปี 2567 เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีเสถียรภาพ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้แม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน ได้แก่ 1) การจับจังหวะลงทุนและเก็งกำไรตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม จากการพิจารณาดัชนี S&P500 เทียบกับมูลค่าการซื้อขายในแต่ละวัน พบว่า ในวันที่หุ้นปรับขึ้นมาก มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้น สะท้อนว่ามีการเข้าไปซื้อขายเพื่อเก็งกำไรสูงขึ้น ซึ่งการจับจังหวะช่วงที่ตลาดขึ้นสูง มีโอกาสเผชิญความผันผวนได้มากกว่าช่วงที่ตลาดย่อตัวลงมา ดังนั้น การลงทุนควรพิจารณาลงทุนในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง ซึ่งมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้มากกว่า

2.การกระจายความเสี่ยงเป็นสิ่งทื่ดีที่สุดในการลงทุน หากย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2566 จะพบว่า ตลาดมีการคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน โดยมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับขึ้นดอกเบี้ยแรง และคงอยู่ในระดับสูง จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีความผันผวน จากต้นทุนดอกเบี้ยของบริษัทต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท และสะท้อนมาที่ดัชนีในตลาดต่างๆ ของสหรัฐ อาจจะยังไม่น่าสนใจสำหรับการลงทุน แต่ปรากฏว่า ในปลายปี 2566 ดัชนี S&P 500 ปรับเพิ่มขึ้น 24.7% ดัชนี Nasdag เพิ่มขึ้น 44.5% และ ดัชนี Dow Jones Industrial (DJI) เพิ่มขึ้น 13.70% ทางด้านตลาดหุ้นจีนมองว่าจะได้รับผลดีจากการเปิดประเทศ จะส่งผลให้ภาคบริโภคฟื้นตัว แต่ปรากฎว่าดัชนี CSI 300 ผลตอบแทน -11.7% ส่วนเศรษฐกิจไทยคาดการณ์ว่าจะดีจากอานิสงส์ที่จีนเปิดประเทศ และการท่องเที่ยวไทยจะบูม แต่ปรากฏว่าดัชนีหุ้นไทย -15.6% ด้านราคาทองคำคาดว่าดอกเบี้ยที่สูงจะกดดันราคาทองคำให้ลดลง แต่ปรากฏว่าราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น 12% ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าว นักลงทุนควรยึดมั่นอยู่ในหลักการสำคัญคือ การกระจายความเสี่ยงลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย สำหรับ Core Portfolio เพื่อให้การลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้ ไม่ว่าตลาดจะผันผวนไปในทิศทางใดก็ตาม

3.ไม่หลีกหนี Stay Invested หากในปีที่ผ่านมาผู้ลงทุนยังคงเชื่อมั่นศักยภาพ และเศรษฐกิจของสหรัฐการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ไม่ได้มีการปรับพอร์ต หรือลดสัดส่วนลง เชื่อว่าผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่ดี แต่ทั้งนี้จากสถิติในปี 2566 การลงทุนในกองทุนประเภท Money market เพิ่มสูงขึ้น ทำให้สะท้อนว่านักลงทุนส่วนใหญ่เมื่อตลาดหุ้นมี

ความผันผวนก็จะปรับพอร์ตหรือปรับสัดส่วนการลงทุน ( Not stay invested) ทั้งนี้ คาดว่า หากอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางหลายแห่งปรับตัวลดลง นักลงทุนอาจหันกลับเข้ามาทยอยลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป

ทั้งนี้ หลังจากการถอดบทเรียนในปี 2566 เพื่อนำมาปรับสำหรับจัดพอร์ตในปี 2567 SCB WEALTH มองพอร์ตการลงทุนควรแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) การสร้างพอร์ตการลงทุนแกนกลาง ( Core portfolio ) ที่ผสมผสานระหว่างสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อกระจายความเสี่ยง ทั้งตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายการลงทุนระยะกลางถึงยาว (ประมาณ 3-5 ปี) และไม่จับจังหวะเข้าออกมากเกินไป โดยสอนทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนได้แก่ กองทุน SCBGA ที่มีผู้จัดการกองทุนปรับน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้อยู่แล้ว ส่วนตราสารหนี้ แนะนำ กองทุน SCBDBOND(A) ซึ่งผู้จัดการกองทุนปรับสัดส่วนและน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ตามภาวะตลาดที่เหมาะสม สำหรับลูกค้ากลุ่มที่มีความมั่งคั่งระดับสูง (Ultra High Net Worth) อาจแบ่งเงินส่วนหนึ่งใน Core Portfolio ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกนอกตลาด ประเภท Private Asset เช่น BCRED-O เป็นต้น

2 ) Opportunistic การจัดแบ่งเงินลงทุนบางส่วน เพื่อลงทุนตามมุมมองของที่ปรึกษาการลงทุนต่างๆ โดยอาจคัดเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่ากองทุน แกนกลางได้บ้าง เพื่อหวังผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้น ทั้งนี้ หากเกิดผลลบต่อการลงทุนและไม่เป็นไปตามคาดหวัง สัดส่วนเงินลงทุนที่น้อยจะไม่กระทบกับความคาดหวังการลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์แกนกลาง ในส่วนนี้ SCB WEALTH ขอแนะนำ การลงทุนในกองทุน KT-INDIA ที่มีผลการดำเนินงานค่อนข้างสม่ำเสมอ และมีนโยบายลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นอินเดีย ส่วนการลงทุนในผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ (Structure product) และDual Currency Note Pricing (DCI) ที่จะให้ผลตอบแทนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนที่ลูกค้าต้องการแลก รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ผู้ลงทุนสามารถติดต่อตัวแทนของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ก่อนตัดสินใจลงทุน

คำเตือน

· การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

· ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

· เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· การลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อนสูงมีความแตกต่างจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน

· ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กรุงไทย จำกัด(มหาชน)

· สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777

X

Right Click

No right click