November 22, 2024

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) นำเสนอโอกาสลงทุนในหุ้นคุณค่าทั่วโลก ภายใต้เป้าหมายเติบโตในระยะยาว เปิดเสนอขาย 2 กองทุนใหม่ ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – UNHEDGED (KKP GVALUE-UH) และกองทุนเปิดเคเคพี GLOBAL VALUE – HEDGED (KKP GVALUE-H) โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรุก (Active Management) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund โดยกองทุนหลักมีเป้าหมายการลงทุนในบริษัทที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และแบ่งเป็นประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) และป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (HEDGED) กำหนดการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งและคาดว่าจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ธนาคารกลางสำคัญของโลกเริ่มมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และตัวเลขประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ของหุ้นโลกยังคงมีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าการปรับลดลง ทำให้การลงทุนในหุ้นโลกยังคงมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น Global Value ที่มีระดับ P/E 15.5 เท่าในปัจจุบัน ซึ่งยังคงถูกกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม (P/E 18.05 เท่า) และต่ำกว่าของหุ้น Global Growth (P/E 32.6 เท่า) ถึง 50% นอกจากนี้ หุ้นในกลุ่ม Global Value มีหุ้นวัฎจักรที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในสัดส่วนที่มากกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม ทำให้การเพิ่มการลงทุนในหุ้น Global Value ในพอร์ตหุ้นโลกสามารถสร้างโอกาสเพิ่มอัตราผลตอบแทนได้ ด้วยเหตุนี้ ทางบลจ.เกียรตินาคินภัทร จึงได้คัดเลือกกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ที่กองทุนหลักมีสไตล์การลงทุนแบบ Contrarian Value เน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เพื่อนำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนไทย

สำหรับ กองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก MFS Meridian Funds - Contrarian Value Fund ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 70 ในตราสารทุน โดยเฉพาะในตลาดที่พัฒนาแล้ว และอาจลงทุนในตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกองทุนหลักจะลงทุนในประมาณ 50 บริษัทหรือน้อยกว่า ที่ผู้จัดการกองทุนเชื่อว่ามีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)

 กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP GVALUE-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูลกองทุน KKP GVALUE-UH และ KKP GVALUE-H :

· เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 22 – 27 มีนาคม 2567

· มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท

คำเตือน

· ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

· กองทุน KKP GVALUE-H จะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· กองทุน KKP GVALUE-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· โปรดศึกษาคำเตือนที่สำคัญอื่นและข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) เล็งเห็นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เปิดเสนอขาย 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี EMERGING MARKETS EX CHINA – UNHEDGED (KKP EMXCN-UH) และกองทุนเปิดเคเคพี EMERGING MARKETS EX CHINA – HEDGED (KKP EMXCN-H) โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Management) มุ่งหวังให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนี MSCI Emerging Markets ex China Index ที่ครอบคลุมการลงทุนในหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด ยกเว้นประเทศจีน รวม 23 ประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุน และหาโอกาสการเติบโตจากหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยมีทั้งประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) และป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด (HEDGED) กำหนดการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า ปีนี้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets (EM) มีความน่าสนใจในการลงทุนเนื่องจากการสิ้นสุดวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นและจะเริ่มกลับเป็นขาลงทำให้มีโอกาสที่กระแสเงินทุนจะไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EM) ที่มีประมาณการกำไรสุทธิในปีนี้เติบโต 16% สูงกว่าตลาดหุ้นโลกที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 7% โดยเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ในไต้หวันและเกาหลี ประกอบกับระดับมูลค่า P/E ของตลาด EM ที่ระดับ 11.1 เท่ายังคงถูกกว่าตลาดหุ้นโลกและถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ทั้งนี้ บลจ.เกียรตินาคินภัทรมองว่า การลงทุนในตลาด EM ที่ไม่รวมจีน มีความน่าสนใจมากกว่าตลาด EM โดยรวม เนื่องจากปัจจัยกดดันการเติบโตเศรษฐกิจของจีนยังต้องใช้เวลาในการแก้ไขและผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนในหุ้นจีนโดยตรงมาก่อนนี้แล้ว จึงเห็นว่าการนำเสนอทางเลือกการลงทุนในตลาด EM ที่ไม่รวมจีนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยได้

สำหรับ กองทุน KKP EMXCN-UH และ KKP EMXCN-H ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก iShares MSCI Emerging Markets ex China ETF โดยกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลการดำเนินงานจากการลงทุนของดัชนี MSCI Emerging Markets ex China Index ที่ประกอบด้วยหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ไม่รวมประเทศจีน กองทุน KKP EMXCN-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP EMXCN-H จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

ข้อมูลกองทุน KKP EMXCN-UH และ KKP EMXCN-H :

· เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 2 – 8 กุมภาพันธ์ 2567

· มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท

 

“บลจ.เอ็มเอฟซี” ตอกย้ำพันธกิจ "เพื่อนสนิทการลงทุน" เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ "Rebalance Port" ในแอปพลิเคชัน “MFC Wealth App” ช่วยเปรียบเทียบพอร์ตการลงทุนของลูกค้ากับพอร์ต MFC แนะนำ เติมเต็มพอร์ตไม่ตกเทรนด์ พร้อมปรับพอร์ตตามระดับความเสี่ยงและ Fit & Firm ตามเป้าหมายการลงทุน นอกเหนือจากฟีเจอร์เด่นอัดเต็มตอบโจทย์ทุกการลงทุน

นายธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) เปิดเผยว่า บลจ.เอ็มเอฟซี ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ในแอปพลิเคชัน “MFC Wealth App” บริการผ่าน mobile application อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้รับการตอบรับที่ดีมียอดดาวน์โหลดประมาณ 160,000 ราย นับตั้งแต่เปิดให้บริการ 2 ปี ซึ่งเป้าหมายอยากให้ทั้งนักลงทุนกลุ่มใหม่ ที่ยังไม่เคยเปิดบัญชีมาทดลองใช้ ได้เรียนรู้และเห็นช่องทางในการวางแผนการลงทุนและวางแผนทางการเงิน รวมทั้งลูกค้าเดิมที่มีบัญชีกองทุนอยู่แล้วได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ต่างใน App เสมือนเป็น "ผู้ช่วยส่วนตัว" ให้แก่ผู้ลงทุน สอดรับพันธกิจ "Your investment partner เพื่อนสนิททางการลงทุน"

จุดเด่นของ “MFC Wealth App” ซึ่งให้บริการครอบคลุมการเปิดบัญชีการซื้อขายและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน และการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนแล้ว ยังมีฟีเจอร์เด่นด้านข้อมูลที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิทัล อย่าง "MFC AVENUE" ตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบหาข้อมูลลงทุนเอง ขณะที่บลจ.เอ็มเอฟซีจะคอยอัพเดทข่าวสารการลงทุน รวมถึงเทรนด์การลงทุนให้กับผู้ลงทุนตลอดเวลา

ฟีเจอร์ "WEALTH JOURNEY" ที่เสมือนเป็นหนึ่งใน (Personal Assistant) หรือผู้ช่วยส่วนตัวด้านการลงทุน ซึ่งเหมือนมีผู้เชี่ยวชาญเตรียมพอร์ตที่เหมาะสมให้ ทำให้ลูกค้าสามารถลงทุนเองแบบมีเครื่องมือให้ครบถ้วน ทั้งปรับพอร์ต และดูผลตอบแทน รวมถึงการสร้างพอร์ตจำลองตามความเสี่ยงไว้เปรียบเทียบกับพอร์ตการลงทุนจริง โดยสามารถกำหนด Asset Allocation เองได้ ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวไม่ต่างจากการใช้บริการ Investment Strategist และผู้แนะนำการลงทุนคุณภาพ

"การจำลองพอร์ตการลงทุน ซึ่งมีลูกเล่นให้ผู้ลงทุนได้ทดลองและทดสอบจากความเสี่ยงในระดับที่รับได้ พร้อมตั้งเป้าหมายการลงทุน เพื่อเตรียมแผนการเงินในอนาคต เช่น การวางแผนสำหรับบ้านหลังแรก วางแผนเพื่อการลงทุน วางแผนตามเป้าหมาย หรือเตรียมตัวเกษียณ ซึ่งฟีเจอร์นี้ช่วยให้ลูกค้าใหม่ลองเข้ามาใช้งานได้ก่อนตัดสินใจลงทุน"นายธนโชติ กล่าว

สำหรับฟีเจอร์ใหม่ที่เติมเข้ามา คือ "Rebalance Port" สำหรับผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมของบลจ.เอ็มเอฟซี สามารถนำพอร์ตของตัวเองมาเปรียบเทียบกับพอร์ตที่บลจ.เอ็มเอฟซีแนะนำ ซึ่งมีทั้งพอร์ตแนะนำตามความเสี่ยง (สูง กลาง ต่ำ) และพอร์ต Fit & Firm ที่ปรับตามเป้าหมายในการลงทุน เช่น ลงทุนแบบ Defensive หรือ Long-term Growth ทำให้ลูกค้าสนุกกับการ

ซื้อกองทุนมากขึ้น เหมือนมีเพื่อนมาช่วยคิดว่าจะซื้อกองทุนอะไรดีที่เหมาะกับตัวเอง เพราะปัจจุบันกองทุนเอ็มเอฟซีมีมากกว่า 100 กองทุน ซึ่งฟีเจอร์นี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า

นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ "WATCH LIST" ใช้ติดตามกองทุนโปรดอย่างใกล้ชิด โดยตั้งค่าให้ระบบแจ้งเตือนเมื่อถึงเป้าหมายที่ต้องการ รวมทั้งมีเมนูกองทุนลดหย่อนภาษี LTF, SSF, RMF ที่สรุปยอดเงินลงทุนทั้งรายปีและภาพรวม มีเมนูที่ขายหน่วยลงทุนหรือกองทุนที่ครบเงื่อนไขของ LTF, SSF ที่สามารถทำผ่าน App ได้ทันที ซึ่งเป็นจุดแตกต่างจากบลจ.อื่นๆ ที่ปกติการขายกองภาษีจะยุ่งยากต้องยื่นเอกสารขาย ซึ่งผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด App ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS , Android

“MFC Wealth App ยังได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้แนะนำการลงทุนที่ให้ลูกค้ามอนิเตอร์ เพื่อปรับพอร์ตลงทุน ปัจจุบันยังมีลูกค้าที่ต้องการคำแนะนำค่อนข้างมาก เราจึงให้ตัวแทนขายอิสระและตัวแทนขายผ่านคู่ค้าได้มีเครื่องมือและข้อมูลแนะนำลูกค้า เมื่อนักลงทุนได้ลองจำลองพอร์ตหรือดีไซน์พอร์ตตัวเอง เมื่อเห็นโอกาสลงทุนก็จะเข้ามาเปิดบัญชี ส่งผลให้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น ส่วนลูกค้าเก่าก็มีโอกาสลงทุนต่อเนื่องได้ ทำให้จำนวนลูกค้าน่าจะติบโตเท่าตัวได้"นายธนโชติ กล่าว

บลจ.เอ็มเอฟซียังมีแผนนำฟีเจอร์ที่มี Innovation ใหม่ๆ ช่วยให้ชีวิตนักลงทุนสบายกว่าเดิม อาจนำ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์พอร์ต ช่วยลูกค้าให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนใหม่ๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่

นายธนโชติ กล่าวทิ้งทายถึงมุมมองการลงทุนจากปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปีที่ท้าทายทุกสินทรัพย์ติดลบ ทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ ขณะที่ในปี 2566 นี้มองตลาดอาจดีขึ้นในบางภูมิภาค บางตลาดยังไม่กลับมาที่เดิม ซึ่งการให้ข้อมูล คำแนะนำการลงทุนให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พยายามให้ลูกค้าเชื่อมั่นในการลงทุน เพื่อตอบโจทย์การลงทุนในระยะยาว ขณะเดียวกันให้ความรู้ในการจับจังหวะการลงทุนมากขึ้น รวมทั้งการจัดพอร์ตกระจายการลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงจากสภาวะตลาด ความเสี่ยงในระยะสั้นจากเศรษฐกิจที่อาจไม่ได้คาดการณ์มาก่อนผ่านการจัด Asset Allocation

ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลและสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพสูงสุด MFC เลือกวางแผนการใช้สื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยนางสาวมาลินี ขันสนิท ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด Yellow Media ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสินค้าและแบรนด์ต่างๆให้วางแผนการใช้สื่อนอกบ้าน Out Of Home Media (OOH) กล่าวว่า แม้ว่าปัจจุบันสินค้าและแบรนด์จะให้น้ำหนักการสื่อสารไปทางออนไลน์มากกว่า เพราะสามารถเข้าถึงง่ายและรวดเร็ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่องทางออฟไลน์ หรือ OOH ก็ทรงพลังที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เช่นกัน เพราะเป็นสื่อที่มีคนเห็นจำนวนมากและพบเห็นได้ง่าย สร้างการจดจำได้กับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงลูกค้าทั่วไปทำให้รับรู้แบรนด์ได้ เพื่อให้เกิดความเคยชินและสร้างความน่าเชื่อ และไปสู่การเป็นลูกค้าในอนาคต

X

Right Click

No right click