November 21, 2024

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2024 งานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับเอเชีย โหมโรงก่อนการจัดงานฯ ด้วยการเปิดพื้นที่ 8 โซนกิจกรรมพิเศษ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องดื่มและบรรจุภัณฑ์ โดยร่วมมือกับพันธมิตรหน่วยงานภาครัฐ องค์กรธุรกิจและภาคเอกชน อาทิ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้การดำเนินงานกระทรวงอุตสาหกรรม, World Packaging Organization, Asian Packaging Federation, INNOLAB, Prompt Design, TasteBud ฯลฯ พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ อัพเดทแนวโน้มทิศทางอุตสาหกรรม เรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งเปิดพื้นที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำการแก้ปัญหาทางธุรกิจ การลดต้นทุน จนถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยทั้ง 8 โซนกิจกรรมพิเศษประกอบด้วย

1. ProPak Gourmet เวิร์คช็อปและการสาธิตการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อค้นหาวิธียืดระยะเวลาความสดและเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์น้ำและอาหารทะเล

2. Lab & Test Teather ความร่วมมือกับ INNOLAB พบการควบคุมและการประกันคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ กุญแจสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน อัพเดทข้อกำหนดล่าสุดด้านความปลอดภัย เทคโนโลยีตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานการแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม ยา สินค้าอุโภคบริโภคและบรรจุภัณฑ์สินค้า

3. ProPak Bar รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อสร้างโอกาสและเครือข่ายธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

4. Future Food Corner พบไอเดีย ร่วมเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ไปกับอาหารแห่งอนาคต โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตและบรรจุภัณฑ์

5. I-Stage เวทีรวบรวม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการลงทุน สำหรับโซลูชั่นทางธุรกิจในระบบห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและธุรกิจ FMCG (Fast-Moving Consumer Goods) ของสินค้าอุปโภค บริโภค พบกับเซเลป กูรู ในวงการที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์แก่ผู้ประกอบการ SME (Small and Medium-sized Enterprises) ให้ได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับนวัตกรรมแห่งความยั่งยืนในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเกี่ยวกับด้านการลงทุนและการขยายกลุ่มธุรกิจ

6. WorldStar, AsiaStar & ThaiStar Packaging Awards Display พบตัวอย่างเพื่อสร้างแรงบันดาลใจจากนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ชนะรางวัลในเวทีการประกวด ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศและเวทีการประกวดระดับโลก

7. Design Box พื้นที่จัดแสดงผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จากคุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทยที่ดังไกลระดับโลก กับผลงานที่ตราตรึงและโดดเด่นไม่เหมือนใครจนชนะใจผู้บริโภคมากมาย

8. Packaging Design Clinic ไขทุกปัญหาบรรจุภัณฑ์ที่ซับซ้อน ด้วยไอเดียสร้างสรรค์และการวิเคราะห์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบจนถึงการเลือกใช้วัสดุ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จนถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ ที่คอยให้คำปรึกษาในทุกประเด็นสำคัญ ทั้งการลดต้นทุน การปฏิบัติตามหลักความยั่งยืนและร่วมแบ่งปันประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้งานจริง

ProPak Asia 2024 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยมีความยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งการจัดแสดงพาวิลเลียนนานาชาติถึง 14 กลุ่มประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย บาวาเรีย ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกาเหนือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศในการเข้าร่วมงานฯ เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาจัดแสดง

นอกจากนั้นยังได้รับการยืนยันเข้าร่วมจัดแสดงงานจากบริษัทชั้นนำของโลกกว่า 2,000 แบรนด์ จาก 45 ประเทศ โดยใช้พื้นที่จัดงานฯ เต็มพื้นที่ของศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เพื่อช่วยสร้างและเติมเต็มระบบนิเวศทางธุรกิจและอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคให้เติบโต โดยยังคงความเป็นงานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับเอเชีย ที่ตอบโจทย์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของเทคโนโลยีกระบวนการแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดเก็บและการขนส่ง ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ สำหรับผู้ประกอบการทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็น Start Up, SME, ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่

สำหรับผู้สนใจรายละเอียดและต้องการเข้าร่วมกิจกรรม 8 โซนกิจกรรมพิเศษ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ www.propakasia.com

หลังจาก ‘ช้อปปี้’ ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน เปิดตัวโครงการ Certified Shopee Expert Program (CSEP) ประจำปี 2566 ไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ในเวลานี้ ช้อปปี้ได้คัดสรรผู้ขายช้อปปี้ที่มีความสามารถมากประสบการณ์ทั้ง 8 ท่าน เพื่อมาร่วมส่งต่อความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างโลกอีคอมเมิร์ซให้เป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับทุกคน

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่บนช้อปปี้และกำลังจะเริ่มทำธุรกิจบนช้อปปี้ ผู้ขายทั้ง 8 ท่านจากโครงการ CSEP ประจำปี 2566 ได้แบ่งปันกลยุทธ์สู่ความสำเร็จไว้ 8 เรื่อง ที่รวบรวมเทคนิคการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้อย่างครอบคลุม เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ค้าออนไลน์ได้พัฒนาและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับร้านค้าของตนบนโลก อีคอมเมิร์ซที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ในฐานะช่องทางการซื้อสินค้าได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากผู้บริโภคยุคดิจิทัล

8 กลยุทธ์ยกระดับเกมการตลาดให้ร้านค้าบนช้อปปี้

1. เลือกสินค้ามาขายแบบไม่มโน ด้วยการดูข้อมูลสถิติบนช้อปปี้

เลือกสินค้าดีมีชัยไปกว่าครึ่ง และการใช้ Data มาประกอบการตัดสินใจจะช่วยให้ร้านตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ร้านค้าจึงควรเปรียบเทียบความน่าสนใจของสินค้าแต่ละประเภท ด้วยการนำสถิติจากอันดับสินค้าขายดีประจำสัปดาห์ 10 อันดับแรกบนช้อปปี้ มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้

· ประเมินมูลค่าตลาดของสินค้าคร่าว ๆ ผ่านการนำมูลค่ายอดขายต่อเดือนของ 10 อันดับแรกมารวมกัน เพื่อดูว่าตลาดของสินค้านี้มีขนาดใหญ่เท่าไหร่ และนำใช้ตั้งเป้ายอดขายต่อได้ว่าร้านค้าต้องการส่วนแบ่งทางการตลาดกี่เปอร์เซ็นต์

· ประเมินมูลค่ายอดขายต่อเดือนของผู้ที่ได้อันดับ 1 เพื่อดูความแข็งแกร่งของเจ้าตลาดว่าครองส่วนแบ่งทางการตลาดไว้เท่าไหร่ และมีพื้นที่ให้ร้านค้าใหม่ ๆ เข้ามาแข่งขันมากน้อยแค่ไหน

· ประเมินมูลค่าเฉลี่ยต่อชิ้น โดยคำนวณจาก 10 อันดับแรก เพื่อวิเคราะห์ว่าช่วงราคาใดที่เหมาะสม และสอดคล้องกับเป้ายอดขายที่ตั้งไว้

ร้านค้าสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงสถิติสินค้าขายดีประจำสัปดาห์ วิธีการคำนวณ และตัวอย่างการนำไปใช้จริงได้ที่นี่

2. เทคนิคสร้างแบรนด์บนอีคอมเมิร์ซ เพื่อสร้างความแตกต่างและการจดจำ

เริ่มต้นกำหนดทิศทางของแบรนด์ด้วยหลักการพื้นฐานอย่าง STP หรือ Segmentation, Targeting, และ Positioning เพื่อหา Winning Point ซึ่งเป็นจุดร่วมของ 3 สิ่ง ได้แก่ สิ่งที่แบรนด์เราทำได้ดี สิ่งที่ลูกค้าต้องการ และสิ่งที่แบรนด์คู่แข่งไม่มีนั่นเอง

เมื่อได้ Winning Point เรียบร้อยแล้ว ร้านค้าจะต้องนำมาสร้าง Brand Identity หรืออัตลักษณ์ของแบรนด์เพื่อใช้สื่อสารในแต่ละ Touch Point โดย 3 สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการทำแบรนด์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ คือ การออกแบบหน้าร้าน การใช้คำ และการใช้ภาพ

· การออกแบบหน้าร้าน: การแต่งหน้าร้านออนไลน์ให้มีบรรยากาศที่สะท้อนความเป็นแบรนด์จะช่วยให้ลูกค้าสนใจและอยากเข้าไปดูสินค้าภายในร้านต่อ ภาพที่แบรนด์สามารถนำมาตกแต่งหน้าร้านได้มีมากมาย เช่น ภาพปกที่แสดงความเป็นแบรนด์ได้ชัดเจน ภาพแนะนำสินค้าหรือคอลเลคชั่นสินค้า ภาพให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า เช่น วิธีการใช้งาน คุณสมบัติพิเศษของสินค้า ตลอดจนภาพแนะนำโปรโมชั่นหรือแคมเปญ เป็นต้น

· การใช้คำ: สร้างถ้อยคำอธิบายสินค้าให้โดนใจด้วยหลักการ F-B-A

F – Feature บอกคุณสมบัติของสินค้าให้ครบครัน

B – Benefits บอกประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของสินค้า

A – Advantage บอกจุดเด่นที่ทำให้สินค้าหรือแบรนด์เหนือกว่าหรือต่างจากคู่แข่ง โดยจะน่าสนใจยิ่งขึ้นถ้าจุดเด่นนี้สามารถตอบโจทย์ Pain Point หรือปัญหาของลูกค้าได้อีกด้วย

· การใช้ภาพ: ใช้ภาพที่ลูกค้าดูออกได้ทันทีว่าขายอะไร ไม่ใส่รายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปให้รกภาพ คุมสีและโทนของภาพให้เป็นไปตามอัตลักษณ์แบรนด์ และใช้ภาพที่ช่วยสะท้อนไลฟ์สไตล์หรือความสนใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

3. ยิง Ads แบบประหยัดและเห็นผล

สิ่งแรกที่ร้านค้าควรทำเพื่อประสิทธิภาพในการทำโฆษณาหรือการยิง Ads บนช้อปปี้ คือ การสำรวจร้านค้าของตัวเองว่ามีสินค้ามากเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากการยิง Ads ที่ทำให้ผู้ซื้อมองเห็นตัวเลือกหลากหลายในคราว

เดียว ทั้งสินค้าหลัก สินค้ารอง และสินค้าเกี่ยวเนื่อง จะช่วยเพิ่มโอกาสการขายได้มาก ทั้งยังควรเลือกใช้สินค้าที่มีกำไรมากพอ และทำควบคู่ไปกับโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจลูกค้า เช่น Add-on Deal, Bundle Deal, และ Seller Voucher

นอกจากนี้ ควรตั้งงบยิง Ads เอาไว้อย่างชัดเจน สำหรับมือใหม่และร้านที่งบน้อยควรเริ่มยิง Ads ทีละตัวเพื่อศึกษาการทำงานของโฆษณา พฤติกรรมลูกค้า คอยดูผลและปรับโฆษณาทุก ๆ 7 – 14 วันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ที่สำคัญอย่าลืมประหยัดงบยิง Ads ด้วยการใช้ส่วนลดเครดิต Shopee Ads ที่ช้อปปี้มอบให้กับร้านค้า

ร้านค้ายังสามารถประเมินความคุ้มค่าของโฆษณาได้จาก Return on Ads Spend (ROAS) และ Advertising Cost of Sales (ACOS) โดยสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการยิง Ads เพิ่มเติม ได้ที่นี่

4. การพิชิตอันดับสินค้าขายดีประจำสัปดาห์

การเป็นร้านค้าที่มีสินค้าติดแรงค์ขายดีประจำสัปดาห์ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือได้มาก เพราะอันดับการันตี, ยอดขายต่อเดือน, และคะแนนรีวิวจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า นำไปสู่โอกาสการขายที่มากขึ้น โดยมีเช็คลิส 6 ข้อ ที่ผู้ขายควรกลับมาสำรวจและปรับปรุง เพื่อผลักดันสินค้าสู่การเป็นอันดับต้น ๆ ของสินค้าขายดีประจำสัปดาห์

· ภาพสินค้า: ภาพดึงดูดใจ ครบถ้วนและเหมือนสินค้าจริง ทำให้ลูกค้าเห็นการใช้งานในชีวิตประจำวัน

· ชื่อสินค้า: ควรใช้ชื่อที่ลูกค้าใช้เรียกสินค้านั้นจริง ๆ บ่งบอกคุณลักษณะสำคัญให้ครบ และการใส่โปรโมชั่นหรือโค้ดส่วนลดไว้ในวงเล็บ ยังช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี

· รายละเอียดสินค้า: มีครบถ้วนทั้งคุณสมบัติ การใช้งาน เรื่องราวของสินค้าและแบรนด์ และบริการหลังการขาย โดยข้อมูลที่ครบครันจะช่วยเพิ่มการมองเห็นสินค้า เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า ลดคำถามเกี่ยวกับสินค้า และลดอัตราการคืนสินค้าได้อีกด้วย

· คะแนนและรีวิว: คะแนนสินค้ามากกว่า 4.5 (เต็ม 5) ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและโอกาสการเพิ่มยอดขาย

· Shopee Ads: ใช้โฆษณาภายในแพลตฟอร์มช้อปปี้เพิ่มการมองเห็นสินค้า

· Affiliate Marketing Solution (AMS): โปรโมทผ่านพันธมิตรอินฟลูเอนเซอร์เพื่อเพิ่มการมองเห็นนอกแพลตฟอร์ม

5. ใช้ Shopee Live ให้ปัง ปิดการขายให้เป็น

ฟีเจอร์ที่มาแรงในเวลานี้ต้องยกให้ Shopee Live ซึ่งสามารถช่วยร้านค้าให้เพิ่มจำนวนผู้มองเห็นร้านค้า เพิ่มผู้ติดตามร้านค้า และเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี โดยการสร้างไลฟ์ก็มีเพียง 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ได้แก่

· เลือกภาพหน้าปก Shopee Live: ขนาด 720*720 pixel

· สร้างหัวข้อไลฟ์ให้น่าสนใจ เช่น การแจกโค้ดลด 50%

· เพิ่มสินค้าที่ต้องการจะขายใน Shopee Live: เพิ่มได้สูงสุดมากถึง 500 SKU

· เรียงลำดับสินค้า: สินค้าขายดีควรอยู่ด้านบนให้เห็นง่าย

สิ่งสำคัญในการไลฟ์ขายสินค้าให้ประสบความสำเร็จ คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมและนำเสนอเรื่องราวของสินค้าและแบรนด์ให้น่าสนใจ นอกจากนี้ ช้อปปี้ยังมีเคล็ดลับที่จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ชม เพิ่มการมีส่วนร่วม และช่วยปิดการขาย ได้แก่

· กดแจ้งเตือนไปยังลูกค้าบน Shopee และโปรโมทไลฟ์ไปยัง Social Media ของร้านค้า

· ใช้ฟีเจอร์แจก Coins ช่วยดึงดูดลูกค้า ทั้งนี้ ควรตั้งงบประมาณการแจก Coin ในแต่ละไลฟ์ไว้ก่อน

· ดึงดูดลูกค้าให้อยู่ในไลฟ์นานขึ้น ด้วยการแบ่งทำโปรโมชั่นเป็นช่วง ๆ เอนเตอร์เทนต์ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการเลือกสินค้ามานำเสนอ

· มัดใจด้วยโปรโมชั่นพิเศษเฉพาะในไลฟ์ โดยควรบอกราคาพร้อมส่วนลด เปรียบเทียบส่วนต่างให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจน คำนวณราคาที่ลดแล้วเพื่อแสดงถึงความคุ้มค่า และควรบอกโปรโมชั่นที่ลูกค้าจะได้รับทั้งหมดภายในไลฟ์เป็นระยะ ๆ

· กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ด้วยการแจ้งให้ผู้ชมทราบถึงข้อจำกัดในการรับความคุ้มค่า เช่น ระยะเวลาการกดซื้อเฉพาะในไลฟ์ จำนวนสินค้าที่จะนำมาขายในไลฟ์ รวมถึงแจ้งจำนวนสินค้าที่ขายออกไปแล้วเป็นระยะ ๆ ให้เห็นว่าสินค้าเหล่านั้นกำลังได้รับความนิยม

 6. สร้างวิดีโอขายสินค้าให้น่าสนใจ

วิดีโอนำเสนอสินค้าเป็นอีกเครื่องมือที่สามารถจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสำหรับสินค้าที่มีราคาสูง มีอุปกรณ์จำนวนมาก มีคุณสมบัติหรือฟีเจอร์ที่มีความเฉพาะตัวซึ่งร้านค้าต้องการนำเสนอหรือลูกค้าต้องการทราบ หรือมีวิธีการใช้งานที่ลูกค้าต้องศึกษาใหม่เป็นพิเศษ โดยร้านค้าควรให้ความสำคัญกับคุณภาพที่คมชัดของภาพและเสียง เปิดคลิปช่วง 10 วินาทีแรกให้น่าสนใจ และไม่ขายตรงจนเกินไปนั่นเอง

7. ใช้ ‘ส่งฟรีร้านโค้ดคุ้ม’ และ ‘ส่วนลดร้านโค้ดคุ้ม’ ให้มีประสิทธิภาพ

‘ส่งฟรี’ เป็นปัจจัยอันดับ 1 ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ด้านส่วนลด Cash Back หรือ Coin เป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน และเมื่อเข้าร่วมโปรแกรม ‘ส่งฟรีร้านโค้ดคุ้ม’ และ ‘ส่วนลดร้านโค้ดคุ้ม’ แล้ว ร้านและสินค้าจะได้รับการติดป้ายแท็กพิเศษซึ่งช่วยดึงดูดลูกค้าและกระตุ้นยอดขายได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสการมองเห็นของร้านค้า โอกาสเข้าร่วมแคมเปญ โอกาสรับสล็อต Flash Sale และยังได้รับส่วนลดเครดิตโฆษณา Shopee Ads อีกด้วย

ทั้งนี้ ร้านค้าควรพิจารณาเข้าร่วมแคมเปญต่าง ๆ ตามงบประมาณการทำการตลาดที่กำหนดเอาไว้ และคำนึงถึงการกระตุ้นให้ลูกค้าเพิ่มมูลค่าในการจ่ายเพื่อซื้อสินค้าใน 1 ครั้ง (Basket Size) ร่วมด้วย

8. แนวทางบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ฉบับพนักงานประจำ

หลาย ๆ คนต้องการสร้างรายได้จากหลายช่องทางทั้งเพื่อความมั่นคงและมั่งคั่ง และการขายของออนไลน์ก็เป็นอีก

อาชีพเสริมที่มีความยืดหยุ่นสูงและผู้ขายสามารถบริหารจัดการเวลาให้ไม่กระทบงานหลักได้ โดยสิ่งที่เจ้าของธุรกิจออนไลน์ต้องทำในแต่ละวัน และแต่ละสัปดาห์ มีดังนี้

กิจวัตรประจำวันของเจ้าของธุรกิจออนไลน์:

· จัดการคำสั่งซื้อ: ควรแบ่งเวลาก่อนทำงานและหลังทำงานเพื่อแพ็คสินค้าและนำส่งสินค้าเป็นประจำ

· โปรโมทสินค้า: ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการกดโปรโมทสินค้า ซึ่งทำได้ทุก ๆ 4 ชั่วโมง

· ตอบแชทลูกค้าและจัดการรีวิว: ในเวลาว่างควรเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความประทับใจที่ดี ทั้งนี้ หากร้านค้ามีการให้ข้อมูลที่ครบครันอยู่แล้วก็จะลดเวลาที่ร้านใช้ในการถามตอบได้

· ติดตามเป้าหมายประจำวัน: แบ่งเวลาตามความสะดวก เพื่อเข้ามาประเมินยอดขาย ค่าโฆษณา และสถิติต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาร้านค้าต่อไป

กิจวัตรประจำสัปดาห์ของเจ้าของธุรกิจออนไลน์:

· จัดการคลังสินค้า: เติมของให้พร้อมขายเสมอ

· ตกแต่งร้านค้าและพัฒนาสินค้า: จัดทำอาร์ตเวิร์กและแคปชั่นต่าง ๆ และอัปเดตร้านค้าให้สวยงามและน่าดึงดูดอยู่เสมอ

· วางแผนการโปรโมท: วางแผนแคมเปญ การทำโปรโมชั่น และการแจกโค้ดส่วนลด

· ติดตามเป้าหมายประจำสัปดาห์: ประเมินยอดขาย ค่าโฆษณา และสถิติต่าง ๆ

นี่เป็นเพียงสรุปประเด็นสำคัญที่ผู้ขายทั้ง 8 ท่านจากโครงการ Certified Shopee Expert Program (CSEP) ประจำปี 2566 นำมาแบ่งปันกับผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ทุกท่าน ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://seller.shopee.co.th/edu/blog/400

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดการปรับเพิ่มราคาน้ำตาลทราย ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคครัวเรือน และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีข้อจำกัดในการขึ้นราคาสินค้า พร้อมสนับสนุนมติภาครัฐที่เห็นชอบให้น้ำตาลทรายกลับเป็นสินค้าควบคุมราคา พร้อมเน้นสนับสนุนให้เกษตรกรไร่อ้อย และผู้ผลิตน้ำตาล เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุน หรือมาตรการลดภาษีให้ผู้ผลิต มากกว่าการเพิ่มราคาที่จะส่งผลกระทบต่อภาคประชาชน

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ออกประกาศเรื่อง ราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 2566/2567 โดยมีผลทำให้ราคาน้ำตาลทรายขาวเพิ่มขึ้นจาก 19 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23 บาทต่อกิโลกรัม และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จากเดิมกิโลกรัมละ 20 บาทเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 24 บาท ส่งผลให้ราคาขายปลีกที่ประชาชนต้องใช้จ่ายเพื่อการบริโภคหรือเพื่อเป็นวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้นสูงจาก 24-25 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มเป็น 28-29 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 17%

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาลทรายย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีการใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบทางตรง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และ อุตสาหกรรมของหวานและเบเกอรี รวมถึงกลุ่มที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบทางอ้อมในลักษณะเครื่องปรุงรส เช่น ผู้ประกอบการร้านอาหาร โดย ttb analytics ได้ประเมินว่าการที่น้ำตาลทรายขึ้นราคาส่งผลกระทบค่อนข้างจำกัด โดยกำไรขั้นต้น (กำไรที่ยังไม่หักต้นทุนการขาย การดำเนินการ และต้นทุนทางการเงินอื่น) ของกลุ่มเครื่องดื่ม เช่น ผลิตภัณฑ์นม และน้ำอัดลม อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง 1.2% และ 2.6% ตามลำดับ ในส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมหวาน กำไรขั้นต้นลดลง 0.5%-3% ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการใช้น้ำตาลทรายในขนมหวานแต่ละประเภท ในขณะที่ผู้ขายอาหารตามสั่ง พบพื้นที่กำไรขั้นต้นลดลง 0.4%-0.6% อย่างไรก็ตาม พื้นที่กำไรที่ลดจากผลกระทบของราคาน้ำตาลทรายที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากกลไกของราคาแต่มาจากนโยบายภาครัฐ จึงอาจไม่เป็นธรรมกับฝั่งของผู้ประกอบการที่กำไรลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางส่วนอาจมีการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นผ่านการขึ้นราคาสินค้าซึ่งอาจกระทบกับภาคประชาชนและผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดในการขึ้นราคา ttb analytics ได้แบ่งผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายโดยมีรายละเอียดดังนี้

1) ประชาชนและภาคครัวเรือน อาจต้องรับภาระที่ค่าครองชีพปรับเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายครั้งนี้กระทบต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ และด้วยสาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากกลไกราคาแต่เกิดจากที่มีประกาศให้ขึ้นราคาตามตลาดโลก จึงมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มีบทบาทสูงสะท้อนผ่านสัดส่วนรายได้สูงถึง 98% ของมูลค่าตลาด รวมถึงช่องทางจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้ ราคาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มมักขึ้นราคาเป็น บาท/หน่วย และ การที่ราคาเครื่องดื่มตามร้านสะดวก

ซื้อทั่วไปมีการปรับเพิ่มขึ้น 1 บาท หมายถึงรายรับของผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้นที่ 5-10% ส่งผลให้ในกลุ่มผู้ประกอบการที่ส่งผ่านราคาได้ มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4% - 6.5% จากราคาที่ปรับเพิ่ม รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กที่มีความได้เปรียบในทำเลอาจส่งผ่านราคา โดยตามธรรมชาติการเพิ่มราคาของผู้ประกอบการกลุ่มนี้จะเพิ่มราคาต่อเมนูขั้นต่ำที่ 5 บาท ส่งผลต่อรายรับที่อาจสูงขึ้นราว 10 % ส่งผลให้ร้านอาหารที่ขึ้นราคาได้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นราว 5.6% รวมถึงโดยธรรมชาติของสินค้าบริโภคขั้นสุดท้ายราคาจะมีความหนืด (Price Rigidity) ในการปรับราคาลง

2) ธุรกิจ SMEs รายย่อย เช่น ผู้ประกอบการอาหาร และขนมหวานรายย่อย แม้พื้นที่กำไรอาจไม่ส่งผลกระทบมากแต่ด้วยปริมาณการขายที่ไม่สูงมากนักส่ง ผลให้มีความกังวลว่าถ้าขึ้นราคาอาจส่งผลต่อยอดขาย ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ประกอบการที่มีรายได้ประมาณ 2,000 บาทต่อวัน กำไรขั้นต้นของร้านอาหาร และ ผู้ผลิตของหวานจะอยู่ที่ราว 800 – 830 บาท ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าแรงงาน ค่าเช่า พื้นที่กำไรที่เหลืออาจค่อนข้างจำกัดเพื่อใช้ยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัว แต่เมื่อมีปัจจัยเรื่องต้นทุนจากราคาน้ำตาลทรายที่เพิ่มขึ้น กดดันให้กำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการกลุ่มนี้ลดลงเหลือ 790 – 810 บาทต่อวัน และด้วยรายได้ที่แต่เดิมจำกัดในการยังชีพ เมื่อประสบภาวะต้นทุนที่ปรับเพิ่มจากราคาน้ำตาลทรายที่แม้ไม่สูงมาก แต่อาจส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัวได้

โดยสรุป การประกาศขึ้นราคาน้ำตาลทรายอาจส่งผลดีต่อผู้ผลิตน้ำตาลทราย เกษตรกรชาวไร่อ้อย และ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการส่งผ่านราคา แต่ผลดีดังกล่าวถูกดึงมาจากภาคครัวเรือน และ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถส่งผ่านราคาได้ ประกอบกับเหตุผลของการขึ้นราคาน้ำตาลทรายในครั้งนี้ตามที่ สอน. ให้เหตุผลว่าปรับตามราคาตลาดโลก ก็ต้องมองย้อนกลับไปที่สาเหตุว่าเพิ่มขึ้นจากการที่อินเดียระงับการส่งออกน้ำตาลทรายจากผลผลิตที่ลดลง เพื่อใช้บริโภคในประเทศและไม่ให้กระทบความเป็นอยู่ของภาคประชาชน แต่ในทางกลับกัน การปรับเพิ่มราคาขายในประเทศจะกลายมาเป็นภาระต้นทุนให้กับภาคประชาชนมากกว่ากรณีของอินเดียที่ประกาศขยายการควบคุมการส่งออกน้ำตาลทรายเพื่อควบคุมราคาภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้ทาง ttb analytics จึงสนับสนุนมติ ครม. ที่เห็นชอบให้น้ำตาลทรายกลับเป็นสินค้าควบคุม และเสนอเรื่องการช่วยเหลือผู้ผลิตน้ำตาลทราย เกษตรกรชาวไร่อ้อย อาจใช้เรื่องของการให้เงินสนับสนุน เพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกรไร่อ้อยหรือมาตรการลดภาษีให้กับผู้ผลิตน้ำตาลทราย แทนที่จะขึ้นราคาสินค้าที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เดินหน้ามอบสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ SME

ธุรกิจกลุ่มบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มยังติดเทรนด์ดาวรุ่ง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เบเกอรี่ และบาร์ตบเท้าเดินหน้าดีต่อเนื่อง หลังท่องเที่ยวฟื้น ประชาชนใช้จ่ายเพิ่ม พฤติกรรมคนยุคใหม่บริโภคและใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น โดยมูลค่าตลาดรวมร้านอาหารยังยืนหนึ่งที่ประมาณ 4.25 แสนล้านบาท ด้าน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย แนะผู้ประกอบการต้องตามแนวโน้ม สร้างจุดเด่น หาจุดขาย สู้ปัจจัยเสี่ยงและการแข่งขันที่สูงขึ้น พร้อมชวนผู้ประกอบการเสริมความรู้ จับทิศธุรกิจจากบริษัทชั้นนำของโลกที่ยกทับร่วมจัดงานในโซนกาแฟ-เบเกอรี่ และ โซนร้านอาหาร-บาร์ พร้อมพื้นที่จัดแสดงพิเศษใหม่ SIPS & SPIRITS ที่รวบรวมและจัดแสดงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์ คราฟต์เบียร์จากทั่วโลก รวมถึงสุราไทยที่กำลังเป็นกระแสความสนใจในงาน Food & Hospitality Thailand 2023

นางสาวสุภาภรณ์ อังศรีสุรพร ผู้จัดการฝ่ายบริหารโครงการอาวุโส อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 กล่าวถึงธุรกิจกลุ่มกาแฟ เบเกอรี่ กลุ่มบาร์และร้านอาหารว่า ทั้ง 2 กลุ่มยังคงติดอยู่ในกลุ่มธุรกิจดาวรุ่ง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว การใช้จ่ายของภาคประชาชนที่มีความมั่นใจขึ้น รวมถึงพฤติกรรมและวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่บริโภคและใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ซึ่งประมาณการมูลค่ารวมของธุรกิจกลุ่มบริการด้านอาหาร-เครื่องดื่มในปี 2566 ธุรกิจร้านอาหารยังมีมูลค่ารวมมาเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ประมาณ 4.25 แสนล้านบาท (ไม่รวมธุรกิจผับและบาร์) ส่วนตลาดรวมของธุรกิจร้านกาแฟอยู่ที่ประมาณ 65,000 ล้านบาท และตลาดรวมของธุรกิจเบเกอรี่อยู่ที่ประมาณ 38,000 ล้านบาท

แม้ธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวจะได้รับผลจากปัจจัยบวก แต่ผู้ประกอบการก็ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ การแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ดังนั้นหนึ่งในทางออกของผู้ประกอบการคือ ต้องมีการเตรียมพร้อม พัฒนาเพิ่มศักยภาพ การบริหารความเสี่ยง รวมถึงติดตามแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจตลอดเวลา ดังนั้นในงาน Food & Hospitality Thailand 2023 ครั้งนี้ จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับโฃนกาแฟ-เบเกอรี่ (Coffee & Bakery Thailand : CBT) และ โซนร้านอาหาร-บาร์ (Restaurant & Bar Thailand : RBT)

โดยโซนกาแฟ-เบเกอรี่ (Coffee & Bakery Thailand : CBT) เป็นศูนย์รวมของธุรกิจกาแฟและเบเกอรี่อย่างครบวงจร ซึ่งได้รับความสนใจเข้าร่วมจัดแสดงงานจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัตถุดิบพรีเมี่ยม อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ใช้ในธุรกิจทั้งไทยและนานาชาติ อาทิ Duchess, Filter Vision, Global Partner Inter Food, Grain Baker, i-Cream Solutions,

ITO EN, Longbeach, NC Bakery Equipment, Santoker, Siamaya Craft, SKGF Trading, Tafa Inter Trading, Nescafé Dolce Gusto และ Alpine Water ซึ่งนอกจากจะมีการจัดแสดงงานจากบริษัทชั้นนำต่างๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมการแข่งขันและเวิร์คชอป เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจอีกหลายรายการ อาทิ การแข่งขัน Thailand National Latte Art Championship (TNLAC), Thailand National Coffee in Good Spirits Championship (TNCIGS), Grow Tea Creatives Sensory Special Class และ Coffee Workshop

ส่วนโซนร้านอาหารและบาร์ (Restaurant & Bar Thailand : RBT) เป็นอีกโซนที่มีความสำคัญ โดยในโซนนี้จะเป็นการรวบรวมบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือระดับพรีเมี่ยมของโลก ตลอดจนระบบจัดการโซลูชั่นต่างๆ ที่ใช้ในธุรกิจมาร่วมในการจัดแสดง อาทิ Abbra Corporation Limited, Nutra Regenerative Protein, Chaitip, CTI Food Supply, Ebisu Foods, See Fah Food, Udom Supply Imex, BR Group, Fukushima Galilei, K.M. Packaging, Lucky Flame Co., Ltd., Newton Food Equipment, Winterhalter, VJ International Group, Royal Porcelain, Villeroy & Boch, Independent Wine & Spirit และ GLT Italia นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมสัมมนา เวิร์คชอป และการแข่งขันเพิ่มทักษะเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจอีกหลายรายการ อาทิ การแข่งขัน Thailand’s International Culinary Cup (TICC) 2023, การแข่งขัน ASEAN Hotel Bartender Competition 2023, Food Stylist for Value Added Workshop, สัมมนาหัวข้อ Restaurant Success Case by Copper และ TAT Seminar: Thailand's Culinary Treasures

และในปีนี้ยังมีการเพิ่มพื้นที่จัดแสดงพิเศษใหม่ SIPS & SPIRITS ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในงาน โดยเป็นการรวบรวมและจัดแสดงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์ คราฟต์เบียร์จากทั่วโลก รวมถึงสุราไทยที่กำลังเป็นกระแสความสนใจจากคนทั่วประเทศ พร้อมเวิร์คชอปการชงค็อกเทล การทำเบียร์ การสัมมนาให้ความรู้จากผู้อยู่ในอุตสาหกรรมและธุรกิจตัวจริงอีกด้วย

งาน Food & Hospitality Thailand 2023 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2566 ณ ฮอลล์ 1-3 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานฯ สามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.fhtevent.com

Page 1 of 5
X

Right Click

No right click