×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าการเข้ามาของ EV จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ใช่สาเหตุเดียวของการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แต่สาเหตุที่สำคัญกว่า คือ การรุกคืบในการชิงส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ของผู้ประกอบการจากประเทศจีนที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน และมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ซึ่งผลักดันให้ยานยนต์จีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวทีโลก โดย EV เป็นเพียงหนึ่งในจุดเปลี่ยนที่เร่งแนวโน้มดังกล่าว การก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดของอุตสาหกรรมรถยนต์จีนจะสร้างแรงกระเพื่อมมายังเศรษฐกิจและยานยนต์ไทยมากขึ้น

โดยผลกระทบต่อตลาดรถยนต์จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่กลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก EV แต่จะขยายวงกว้างไปยังตลาดรถ “ปิกอัพ” ซึ่งเป็นหัวใจหลักของธุรกิจยานยนต์ไทยและตลาดส่งออกของไทยอีกด้วย

EV เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ปิกอัพไทยเสี่ยงถูกชิงตลาดเช่นกัน

เมื่อพิจารณาโครงสร้างการส่งออกรถยนต์ของจีนไปทั่วโลกจะพบว่า จีนส่งออกทั้ง EV และรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) โดย EV คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 30% ของการส่งออกรถยนต์ทั้งหมดจากจีนเท่านั้น ในขณะที่อีก 70% ที่เหลือเป็นรถยนต์สันดาปภายในที่มีการส่งออก “ปิกอัพ” รวมอยู่ด้วย ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเป็นคู่แข่งโดยตรงในตลาดส่งออกปิกอัพสำคัญของยานยนต์ไทย โดยเริ่มที่จะเห็นสัญญาณชัดเจนขึ้นในตลาดออสเตรเลียในปี 2023 ที่ปิกอัพของจีนสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดได้มากถึง 8% ของยอดขายกลุ่มรถยนต์เชิงพาณิชย์ทั้งหมดของออสเตรเลียภายในเวลาเพียง 2-3 ปี ดังนั้น ผลกระทบต่อการส่งออกปิกอัพไทยจึงมีแนวโน้มเกิดขึ้นได้เร็วแม้ยังไม่มีการเปิดตัวปิกอัพ EV

ครั้งนี้ไม่เหมือน 1980s…การลงทุนจีนอาจไม่ช่วยต่อยอดยานยนต์ไทย

การเข้ามาของทุนจีนในปัจจุบันเป็นไปเพื่อใช้กำลังการผลิตส่วนเกินในจีนมาเจาะตลาดภายในประเทศมากกว่าการมาใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกแบบญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1980s โดยยอดขายรถยนต์ในประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ซึ่งจะกดดันให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น ตลาดส่งออกจึงเป็นทางออกที่สำคัญสำหรับยานยนต์จีนในการระบายสต็อกรถยนต์ อย่างไรก็ตาม จีนไม่สามารถส่งออกรถยนต์ไปทั่วโลกได้ง่ายนัก ท่ามกลางการแบ่งขั้วมหาอำนาจระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลให้มีการกีดกันสินค้าจากจีนรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยุโรปยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มภาษีการนำเข้ารถยนต์จีนมากขึ้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมยานยนต์ของยุโรป ส่งผลให้ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นเป้าหมายหลักถัดไปสำหรับการระบายรถยนต์จีน โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีมาตรการให้เงินสนับสนุนการซื้อ EV และยังยกเว้นภาษีนำเข้ารถยนต์จีนผ่านสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก China-ASEAN FTA ซึ่งไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่เปิดให้นำเข้ารถไฟฟ้า นอกจากนี้การลงทุนของจีนอาจสร้างความน่ากังวลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมากขึ้นด้วยปัจจัยภายใต้ภาวะอุปสงค์และอุปทานตลาดรถยนต์ของไทยที่ปรับแย่ลง ได้แก่

(1) ตลาดรถยนต์ในประเทศของไทยได้ผ่านจุดสูงสุดและเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวนับตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศจะเปลี่ยนเป็นทิศทางขาลงต่อเนื่อง และในอนาคตมีแนวโน้มไม่สามารถรองรับ EV จีนที่จะทะลักเข้า

มาในตลาดและที่กำลังจะมีการผลิตภายในประเทศได้ทั้งหมด ทางออกที่สำคัญ คือ ความสามารถในการส่งออก EV จากไทยไปยังประเทศอื่นที่จะช่วยพยุงอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต่อไปได้

(2) อย่างไรก็ตาม ไทยต้องแข่งกับจีนโดยตรงในตลาดส่งออกรถยนต์ในต่างประเทศ จากการที่ผู้ประกอบการจีนมีการส่งออกและเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศต่าง ๆ โดยตรง จะกดดันให้ส่วนแบ่งตลาดการส่งออกรถยนต์ของไทยมีขนาดเล็กลง ทำให้โอกาสสำหรับไทยในการเป็นผู้นำส่งออกรถยนต์ EV มีความท้าทายมากขึ้น

(3) มูลค่าเพิ่มภายในประเทศ (domestic value add) ที่ไทยจะได้รับจากการผลิตรถยนต์ EV 1 คัน ต่ำกว่าการผลิตรถยนต์ ICE อย่างมาก จากการที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าชิ้นส่วนสำคัญจากต่างประเทศ ในขณะที่ในกลุ่มสินค้าเดิมที่ไทยสามารถผลิตได้มีแนวโน้มต้องลดราคาเพื่อแข่งกับผู้ประกอบการจีน เพราะบริษัทจีนสามารถนำเข้าโดยตรงจากจีนด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าไทยมาก ทำให้ถึงแม้จะมีการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ EV ในไทย แต่ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการผลิตรถยนต์จะน้อยกว่าในอดีต

วิกฤตยานยนต์...สายเกินแก้แล้วหรือยัง?

การเปลี่ยนผ่านของตลาดรถยนต์ทั่วโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง นั่นอาจจะหมายถึงโอกาสสำหรับไทยในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง โดยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle: BEV) เริ่มชะลอตัวลงทั่วโลก แต่ยอดขายรถยนต์ไฮบริด (Hybrid Vehicles) กลับขยายตัวได้มากขึ้น สาเหตุหลักมาจากข้อจำกัดหลายด้านทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่แน่นอนของเทคโนโลยี ทำให้ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าใครจะเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ยุคใหม่ที่แท้จริง และอาจช่วยยืดเวลาสำหรับรถยนต์สันดาปภายในได้อีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่าค่ายรถจีนจะเข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่องเพื่อดันไทยเป็นหนึ่งในฐานการส่งออกหากการกีดกันสินค้าจากสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกรุนแรงมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่อาจเอื้อให้เกิดการโอนถ่ายความรู้เทคโนโลยีให้กับไทยได้

อย่างไรก็ตาม นโยบายสนับสนุน EV ในปัจจุบันเอื้อต่อการเน้นการนำเข้าชิ้นส่วนเข้ามาประกอบภายในประเทศมากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าเพิ่มที่ไทยได้รับจากการผลิต EV ลดลงมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการไทยอย่างเร่งด่วน ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันและอนาคตหากต้องการที่จะรักษาความเป็นผู้นำในภาคยานยนต์ไว้ และอาจจำเป็นต้องมีการทบทวนมาตรการด้านการให้เงินอุดหนุน EV เพื่อลดการบิดเบือนโครงสร้างและราคาในตลาดรถยนต์ รวมถึงการเพิ่มความเข้มงวดในการกำหนดและตรวจวัดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local content ratio) เพื่อซื้อเวลาให้ภาคยานยนต์ในระยะสั้น และเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยให้ยังคงได้รับประโยชน์และมีเวลาปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ในระยะยาว

โรงงานรถยนต์และชิ้นส่วนเสี่ยงปิดตัวสูงหากปล่อยตามกลไกตลาด

สถานการณ์ปัจจุบันมีโอกาสสูงที่จะนำไปสู่การปิดโรงงานผลิตรถยนต์ของบางรายที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ในสมรภูมิใหม่หากภาครัฐปล่อยไปตามกลไกการแข่งขันในปัจจุบัน ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นหลายค่ายได้เสียส่วนแบ่งตลาดในไทยให้กับ EV จีนมากกว่า 10% ภายในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สต็อกรถยนต์ ICE เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังการผลิตรถยนต์ ICE เริ่มปรับลดลง แต่โดยรวมยังไม่สามารถลดกำลังการผลิตได้มากนักจากข้อจำกัดเรื่องต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ซึ่งมีขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคาเพื่อระบายสินค้าและกดดันอัตรากำไรของบริษัทยานยนต์ในประเทศ อย่างไรก็ดี ค่ายรถยนต์บางรายอาจไม่สามารถสู้การตัดราคาขายแข่งได้และมีแนวโน้มขาดทุน ซึ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดการปิดตัวของโรงงานผลิตรถยนต์บางแห่ง คล้ายกับสถานการณ์ที่ค่ายรถญี่ปุ่นต้องเผชิญในประเทศจีน ซึ่งหากมีบริษัทจำเป็นต้องปิดตัวก็จะส่งผลเพิ่มเติมต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจไทยในวงกว้างมากขึ้น

 

[]

 ธุรกิจ Business Analytics & Development บริษัท เอ้ก ดิจิทัล ให้บริการโซลูชันที่ปรึกษาด้านข้อมูลและวิเคราะห์บิ๊กดาต้าครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วย AI “Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine” รุกชิงส่วนแบ่งตลาดบิ๊กดาต้ามูลค่า 14,000 ล้าน เดินหน้าให้บริการใน 5 อุตสาหกรรมหลัก “ค้าปลีก-ธุรกิจสื่อ-การเงิน-ประกัน-ยานยนต์” ซึ่ง Data Science และเทคโนโลยี AI, Machine Learning ขั้นสูงของ EGG Digital จะเป็นขุมพลังที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจนั้นๆ อย่างตรงจุด โดยพร้อมดูแลและจัดการข้อมูลได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มอบบริการแบบ End-to-End มีความยืดหยุ่นสูง วางแผน กำหนดกลยุทธ์ และออกแบบจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงลึกได้หลากหลายมิติ ตอบอินไซต์และการดำเนินงานตามโจทย์ทางธุรกิจ เสริมศักยภาพความแข็งแกร่งการแข่งขันให้กับองค์กรต่างๆ ช่วยเพิ่มรายได้-ลดต้นทุน-ลดความเสี่ยง โดย EGG Digital ตั้งเป้ารายได้เติบโตก้าวกระโดด 30% ในปี 2566 นี้

 

นายวรภัทร งามเจตวรกุล ผู้จัดการทั่วไปธุรกิจ Business Analytics & Development บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ธุรกิจยุคใหม่ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลและมีความต้องการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data-Driven Analytics โดยใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเอ้ก ดิจิทัล ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เชิงลึกจากข้อมูลขนาดใหญ่และ ผู้ให้บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ ได้นำเสนอบริการให้คำปรึกษาด้านข้อมูลและวิเคราะห์บิ๊กดาต้าครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วย AI หรือ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจตลอดเส้นทางให้กับองค์กรธุรกิจ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุน และลดความเสี่ยง โดยที่ผ่านมาเอ้ก ดิจิทัล ได้เข้าไปช่วยจัดการข้อมูลในด้านต่าง ๆ ให้กับหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจรีเทลชั้นนำขนาดใหญ่ และ FMCG รวมกว่า 200 แบรนด์ ซึ่งเราได้นำผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าไปช่วยจัดการกับข้อมูล พร้อมสร้างคุณค่าในหลากหลายมิติ อาทิ เพิ่มอัตราเติบโตเฉลี่ย (Growth), อัตราส่วนยอดขายต่อค่าใช้จ่าย (Sales to Cost Ratio), ค่าเฉลี่ยอัตราตอบรับการตลาดจากลูกค้า (Conversion) ให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”

ธุรกิจ Business Analytics & Development ภายใต้เอ้ก ดิจิทัล ดำเนินงานโดยวางจุดยืนเป็นพาร์ทเนอร์คู่คิดของทุกธุรกิจในทุกสเกล มีบริการครอบคลุมทั้งด้านให้คำปรึกษาทางธุรกิจ (Business Consult) และด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) โดยใช้หลักการ “Always-on Power of Two” เป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการคือ ผสานความเข้าใจ การวิเคราะห์ บริบททางธุรกิจ (Business Context) และการใช้ศาสตร์ด้านข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Science) ทั้ง Cloud Computing, AI ซึ่งรวมถึงการใช้ Generative AI, และ Machine Learning ที่สามารถออกแบบบริการและ Customize ให้ตอบโจทย์แต่ละธุรกิจอย่างเหมาะสมด้วยรูปแบบ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญดูแลแบบ End-to-End ตั้งแต่การสำรวจปัญหาและความต้องการ นำดาต้าของลูกค้าผนวกกับบิ๊กดาต้าของเอ้ก ดิจิทัล เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกเป็นอินไซต์ทางธุรกิจ รวมถึงสามารถออกแบบกลยุทธ์และข้อเสนอแนะที่สร้างผลลัพธ์เชิงบวกที่ยั่งยืนให้กับลูกค้าด้วยอัตราค่าบริการที่เหมาะสม

โดยบริการ Business Analytics as a Service – Powered by AI Engine ของเอ้ก ดิจิทัล ประกอบด้วย 5 บริการหลัก ได้แก่ 1. Data Management as a Service – บริการดูแลจัดการข้อมูลครบวงจร (Data Discovery, Cleansing, Consolidation, Cloud, Query, Visualization) 2. Data Platform & Enrichment as a Service – บริการ Data Mart, Customer Data Platform (CDP),

Analytics Platform ทั้งแบบมาตรฐานและแบบ customize, Data Enrichment บริการข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์รอบด้าน (Customer 360/720 องศา) 3. Data Analytics as a Service – บริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทุกมิติ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เชิงบรรยาย (Descriptive), เชิงการพยากรณ์แนวโน้ม (Predictive), และขั้นสูงแบบให้คำแนะนำ เชิงการประมวลฉากทัศน์และผลลัพธ์ในแง่มุมต่าง ๆ (Prescriptive) ด้วยเทคโนโลยี AI และ ML 4. Business Consulting as a Service – บริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีข้อมูลที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจโดยผู้ที่มีประสบการณ์ตรงกับธุรกิจต่าง ๆ 5. Customer Experience Enhancement as a Service – บริการให้คำปรึกษา วางแผนกลยุทธ์ และดำเนินการด้านการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า (CX/CI) รวมถึงเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Touchpoints ต่าง ๆ

 

นายวรภัทร กล่าวต่อว่า “จากผลสำรวจพบว่า ตลาด Big Data Analytics มีอัตราการเติบโต 12-15% ต่อปี* โดยคาดการณ์ว่า ในปีนี้ตลาดจะมีมูลค่าประมาณกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่า ตลาดบิ๊กดาต้าในประเทศไทยยังมีโอกาสทางการตลาดอยู่อีกมาก เมื่อเทียบกับตลาดในเอเชียและตลาดโลก ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนที่จะขยายการให้บริการในธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น โดยมุ่งเป้าไปที่ 5 ธุรกิจหลักที่มีความต้องการใช้บิ๊กดาต้าในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมาก ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก หลังจากช่วงโควิด-19 ธุรกิจรีเทลแบบออฟไลน์เริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น การใช้บิ๊กดาต้าจะเข้าไปช่วยกำหนดโมเดลทางการตลาดไม่ว่าจะเป็น 4Rs (Recognize, Remember, Recommend, Relevance) และ 4Ps เพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ตอบอินไซต์ผู้บริโภคได้มากขึ้น ธุรกิจสื่อ กลับมาฟื้นตัวได้อย่างน่าสนใจโดยเฉพาะการใช้สื่อแบบ O2O2O ที่เกิดจากการวิเคราะห์ บิ๊กดาต้าและวัดผลการใช้สื่อได้อย่างครบลูป ธุรกิจการเงิน มีการนำบิ๊กดาต้ามาใช้มากที่สุดผ่าน FinTech อาทิ การวิเคราะห์ Credit Scoring และการประมวลผลเพื่อการดำเนินงานที่ดีที่สุด พร้อมทั้งการลดความเสี่ยงของธนาคารและสถาบันการเงิน เพื่อธุรกิจรายย่อยจนถึงรายใหญ่ ธุรกิจประกัน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างโดดเด่น มีการนำบิ๊กดาต้ามาใช้เพื่อนำเสนอบริการและเบี้ยประกันที่หลากหลาย ตรงตามพฤติกรรมลูกค้ากรมธรรม์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างดี และธุรกิจยานยนต์ ซึ่งคำนึงถึงการมอบประสบการณ์ตั้งแต่ก่อนขาย ระหว่างการขาย และหลังการขายด้วยการใช้บิ๊กดาต้า”

“บริษัทฯ มั่นใจว่าบริการ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพลิกธุรกิจลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ สู่ Data-driven เพื่อสามารถเพิ่มยอดขาย ลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ โดยบริษัทฯ จะให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลข้อมูลของลูกค้าด้วยมาตรฐาน 3 ชั้น เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีที่สุด ทั้งการกำกับดูแลข้อมูลภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสูง การกำกับดูแลข้อมูลตามพรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พรบ. การแข่งขันทางการค้า และมาตรฐานทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมขั้นสูงเพื่อป้องกันการรั่วไหลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยตั้งเป้าปีนี้ เพิ่มรายได้ธุรกิจ Business Analytics & Development เติบโต 30% ปีนี้ ขยายจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 10% และช่วยดันตลาดบิ๊กดาต้าไทยเติบโตต่อเนื่อง” นายวรภัทร กล่าวทิ้งท้าย

 

แม้จะมีความเห็นว่าเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยยังไม่กระเตื้องสักเท่าไร แต่สำหรับตลาดสินค้าหรูหรายังคงมีการเติบโต ตัวอย่างจาก บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด โดย ศุภวุฒิ จิรมนัสนาคร กรรมการผู้จัดการ ให้ข้อมูลว่าตลาดรถยนต์หรูยังคงไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก ยังคงมีผลประกอบการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดสินเชื่อรถยนต์ใน 6 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่กว่า 33,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก และมีการให้สินเชื่อรถยนต์เมอร์เซดส-เบนซ์ มากกว่า 45% ของยอดขาย ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลมาจากการการให้บริการแบบครบวงจร (one-stop financial service solution) และการบริการทางการเงินที่หลากหลาย รวมถึง ‘mySTAR Special’ บริการทางเงินเฉพาะลูกค้าเมอร์เซดส-เบนซ์ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่า 20% ของสินเชื่อรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และโปรแกรมการประกันภัย ‘MB Protection’ ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดถึง 71%  เติบโต 8%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และให้การคุ้มครองลูกค้าเกือบ 20,000 รายในปัจจุบัน

แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปส่งผลให้บริษัทแม่คือ เดมเลอร์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส (Daimler Financial Services) ซึ่งได้ประกาศวิสัยทัศน์จะเป็นผู้นำด้านบริการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ด้วยบริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ และผู้นำด้านการให้บริการด้านการเดินทางที่หลากหลาย โดยนำเทคโนโลยีการเดินทางมาปรับใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น “car2go” ผู้นำในตลาดการบริการการเช่ารถยนต์ระยะสั้นในเขตเมืองผ่านแอพลิเคชั่นบนมือถือ “mytaxi” แอพลิเคชั่นเรียกใช้บริการรถแท็กซี่อันดับหนึ่งในทวีปยุโรป “moovel” แอพลิเคชั่นแรกที่ให้บริการด้านการเดินทางเต็มรูปแบบ รวมถึงการจองตั๋วรถไฟทั่วประเทศเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา และ “FlixBus” บริการรถโดยสารเพื่อเดินทางระหว่างเมืองในทวีปยุโรป  นอกจากนั้น ลูกค้าจะมีทางเลือกที่จะใช้บริการทางเงินหรือเช่ารถยนต์ที่ตรงตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย  “AutoGravity” เป็นแอพลิเคชั่นให้บริการเลือกรถยนต์และบริการทางการเงินที่ลูกค้าสามารถกำหนดเอง และ “Mercedes pay” ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อต้นปีนี้ เป็นแอพลิเคชั่นสำหรับชำระค่าบริการผ่านสมาร์ทโฟน

ศุภวุฒิชี้ว่าบริการเหล่านี้มีโอกาสจะเข้ามาให้บริการในประเทศในเร็วๆ นี้ โดยกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการให้บริการค่อนข้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับกลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ของบริษัทที่จะใช้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้

โดยไมเคิล บราวน์ กรรมการบริหารฝ่ายขายและการตลาด ให้ข้อมูลว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) เน้น 4 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย การสร้างความตื่นเต้นและการมีส่วนร่วมของลูกค้า” ที่ยังคงให้ความสำคัญกับลูกค้าปัจจุบันให้คงอยู่กับครอบครัวเมอร์เซเดส-เบนซ์ตลอดไป เป็นหุ้นส่วนระยะยาวกับลูกค้าในด้านการเงิน ผ่านสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ลูกค้าจะได้รับ รวมถึงข่าวสารต่างๆ เช่นแคมเปญ โปรโมชั่นใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการตลาดเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับทั้งดีลเลอร์และลูกค้าอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี อาทิ กิจกรรม “The Art of Leather Workshop”, “The Soulful of Flowers Workshop”, “The Cooking for Fun Workshop”, “The Movie Exclusive” และล่าสุดคือ “The Beauty Workshop with Guerlain” ที่จัดไปเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นต้น

 “การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักของบริษัทฯ” ทางบริษัทฯ ยังคงเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าตลอดระยะเวลาสินเชื่อ รวมถึงการรักษาฐานลูกค้าเก่าด้วยสิทธิพิเศษต่างๆ รวมไปถึงการนำเสนอแผนประกันภัย Mercedes-Benz Protection ที่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดีดังจะเห็นได้จากในปีที่แล้วที่มีลูกค้าใช้บริการเป็นจำนวน 7 ใน 10 ของลูกค้าเมอร์เซเดส-เบนซ์ทั้งหมด นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังมองเห็นศักยภาพของตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ในประเทศไทยที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคต ปีนี้จึงได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนบริษัท เดมเลอร์ คอมเมอร์เชียล วีฮีเคิลส์ (ประเทศไทย) จํากัด โดยได้จัดตั้งฟูโซ่ ลีสซิ่ง เพื่อดูแลในเรื่องการให้บริการด้านการเงินอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการให้สินเชื่อสำหรับลูกค้า การให้สินเชื่อสำหรับผู้จำหน่ายในการสต๊อกรถ และการสร้างโชว์รูม

การขยายช่องทางการให้บริการแบบดิจิทัล” ให้กับทั้งดีลเลอร์และลูกค้าทางช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น “Dealer Touchpoint (DTP)” ที่ช่วยให้ดีลเลอร์สามารถทำธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา “myBUSINESS” เพื่อให้ดีลเลอร์สามารถดูผลประกอบการของตนเองผ่านมือถือ และ “Customer Online Service (COS)” ระบบที่ลูกค้าสามารถดูประวัติการชำระค่างวด พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน การติดต่อกับทาง เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) ได้ด้วยตนเอง รวมถึงการเพิ่มการให้บริการใหม่ๆ เช่น Digital Welcome message การแนะนำการใช้งานแบบวีดีทัศน์ การคำนวณยอดปิดสินเชื่อก่อนกำหนด และ การบัตรชำระค่างวดแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยในปัจจุบันมีลูกค้าเมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่งมากกว่า 30% ที่ลงทะเบียนใช้งานระบบบริการข้อมูลลูกค้าออนไลน์ดังกล่าว

และ  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริการใหม่ให้แก่ลูกค้า” ปีนี้มุ่งเน้นที่โปรแกรมทางการเงิน mySTAR ในการไฟแนนซ์รถเมอร์เซเดส-เบนซ์ ด้วยเงินชำระครั้งแรกที่ยืดหยุ่น ค่างวดที่ต่ำกว่าโปรแกรมเช่าซื้อถึง 30% และทางเลือกที่ลูกค้าเป็นคนกำหนดได้เองตอนสิ้นสุดสัญญา  ไม่ว่าจะเป็นการคืนรถและออกคันใหม่ (Return & Renew) หรือการจ่ายชำระค่าบอลลูนเต็มจำนวนเพื่อเป็นเจ้าของรถ (Retain) หรือ เลือกที่จะผ่อนชำระก้อนบอลลูนต่อไปอีก 1-4 ปี (Refinance) และล่าสุดทางบริษัทฯ ได้ออกผลิตภัณฑ์ mySTAR ในรูปแบบใหม่ซึ่งรวมประกันภัยชั้นหนึ่งไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ทางบริษัทฯ จะให้ความสำคัญในการให้ลูกค้าเลือกข้อเสนอในการคืนรถเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดรถยนต์มือสอง และกระตุ้นตลาดสินเชื่อรถยนต์ผ่านการที่ลูกค้าเลือกซื้อรถยนต์คันใหม่อีกด้วย

X

Right Click

No right click