December 21, 2024

SCB CIO มอง Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 50 bps มาอยู่ที่ 4.75%-5.00% ต่อปี พร้อมปรับลดต่อเนื่องในปีนี้อีก 50 bps และในปีหน้าอีก 100 bps จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงเข้าใกล้เป้า 2% ของ Fed ขณะที่การจ้างงานที่อ่อนแอลง แต่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ ผนวกกับภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการเกิด Recession ชี้การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ช่วยนโยบายการเงินผ่อนคลายขึ้น ต้นทุนการเงินต่ำลง หนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น แนะหุ้นสหรัฐฯ ยังให้ผลตอบแทนที่ดี กลุ่ม Quality Growth ประเภท IT รวมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น สาธารณูปโภค สุขภาพ และสินค้าจำเป็น ยังคงน่าสนใจ

ส่วนการจัดพอร์ตเน้นกระจายความเสี่ยงโดย Core portfolio แนะลงทุนในหุ้นกู้เอกชนต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง (IG) เน้นลงทุนตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ ยังให้น้ำหนักส่วนใหญ่บนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ด้านพอร์ตเสริม แบ่งเงินลงทุน 15 -25% ในตลาดหุ้นเวียดนามและไทย จากเศรษฐกิจเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ส่วนไทยได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง

นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps มาอยู่ที่ 4.75%-5.00% สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด และเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า Fed มีความมั่นใจมากขึ้นบนทิศทางอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่กำลังเข้าสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน โดย Fed กล่าวว่า ความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายด้านเงินเฟ้อ และการจ้างงานมีความสมดุลกัน และ Fed แสดงความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนการจ้างงาน ส่วนในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Dot Plot นั้น เจ้าหน้าที่ Fed ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 50 bps ภายในสิ้นปีนี้ และปรับลดอัตราดอกเบี้ย 100 bps และ 50 bps ในปี 2568 และ 2569 ตามลำดับ นอกจากนี้ Fed ยังได้ปรับคาดการณ์ต่างๆ โดย Fed ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2567 ลงเล็กน้อยอยู่ที่ 2.0% ต่อปี จากเดิมที่คาดไว้ในเดือน มิ.ย.ที่ 2.1% ต่อปี ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการว่างงานในช่วงสิ้นปี 2567 เป็น 4.4% จากเดิมคาดไว้ที่ 4.0% ขณะที่ปรับลดคาดการณ์ของเงินเฟ้อ PCE ในช่วงสิ้นปี 2567 ลงเหลือ 2.3%YoY จากเดิมคาดไว้ที่ 2.6%YoY โดยอัตราเงินเฟ้อทั้ง PCE และ Core PCE จะเข้าสู่ระดับ 2.0% ในปี 2569 เป็นต้นไป

นายศรชัย มีมุมมองว่า แม้ว่าตลาดแรงงานจะอ่อนแอลง แต่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ และยังไม่มีสัญญาณว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดยการปลดพนักงานยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ผู้บริโภคยังคงใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณของการชะลอตัวของเศรษฐกิจแบบ Soft landing ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่จะเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. ซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินนโยบายการคลัง และการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินอยู่ โดยคาดว่า Fed มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเทียบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอดีต โดยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed fund ลงรวม 50bps ในการประชุมช่วงที่เหลือของปีนี้ อยู่ที่ 4.25%-4.50% และปรับลดรวมอีก 100 bps ในปี 2568 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย Fed funds สิ้นปี 2568 อยู่ที่ 3.25%-3.50%

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ได้เผชิญกับภาวะ Recession จะช่วยสนับสนุนทั้งการลงทุนในตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมทั้ง ตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ตามสถิติตั้งแต่ปี 2517การปรับตัวของราคาสินทรัพย์ลงทุนประเภทต่างๆ ในช่วงที่ Fed ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นทั่วโลกและตราสารหนี้ของสหรัฐฯ มักมีผลตอบแทนที่ดี โดยเงินดอลลาร์ สรอ.มักจะอ่อนค่าลงในช่วง 12 เดือนหลังจากการปรับลดดอกเบี้ย ด้าน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ น้ำมัน ล้วนปรับเพิ่มขึ้น

ในส่วนของตราสารหนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มักปรับเพิ่มความชันขึ้น เมื่อใกล้ช่วงที่ Fed เริ่มจะปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรก อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโตได้ และไม่มี Recession การปรับเพิ่มความชันของ Yield Curve หลังจากนี้อาจไม่มากนัก ความชันของเส้นอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นรอบนี้ แสดงถึงความกังวลด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยในปี 2567 ยังคงต่ำ ทำให้คาดว่า Bond Yield สหรัฐฯ จะลดลงไม่มาก และผลตอบแทนของตราสารหนี้สหรัฐฯ น่าจะมาจาก Carry Yield เป็นหลัก ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างกระแสเงินสดสำหรับนักลงทุนที่ต้องการพอร์ตการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ

แนวโน้มของตลาดหุ้น นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมีส่วนช่วยให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง และสนับสนุนให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ตามสถิติในอดีต หลัง Fed ปรับลดดอกเบี้ย 12 เดือน ในภาวะที่ไม่เกิด Recession หุ้นขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ เช่น S&P 500 มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นขนาดเล็ก เช่น Russell 2000 นอกจากนี้ หุ้นกลุ่ม Quality Growth อย่าง IT และกลุ่ม Defensive เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities) กลุ่มสุขภาพ (Healthcare) และ กลุ่มสินค้าจำเป็น (Consumer Staples) ยังคงน่าสนใจ โดยเรายังให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ จากกำไรของตลาดเกิดใหม่ จะเข้าสู่ช่วงชะลอตัวในปี 2568

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน SCB CIO ยังคงยึด 3 วัตถุประสงค์หลักที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี แม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน โดยเน้นกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากได้รวบรวมสถิติต่างๆ แล้วพบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เดือนกันยายน มีผลตอบแทนแย่ที่สุดในทุกสินทรัพย์ และเดือนตุลาคม มีความผันผวนสูงที่สุดโดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีการเก็บสถิตินับตั้งแต่ 2527 นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมือง การเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้นทั้งจากสงครามยูเครน -รัสเซีย และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล และฮามาสที่มีการตอบโต้กันเป็นระลอก เราจึงให้ความสำคัญในเรื่องการกระจายการลงทุน เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต

โดยพอร์ตลงทุนหลัก ( Core Portfolio) ลงทุนระยะยาว 1 ปีขึ้นไป ควรกระจายลงทุนในสินทรัพย์เพื่อตอบโจทย์ 3 วัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1) เพื่อสร้างกระแสเงิน แนะนำลงทุนในหุ้นกู้เอกชนต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง ( IG) ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกู้เอกชนในไทย หุ้นกู้ Perpetual ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารที่สูง และตราสารหนี้นอกตลาด (Private Credit) ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่าหุ้นกู้เอกชนในตลาด ขณะที่ สามารถเลือกคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้ลำดับแรก และมีหลักประกัน เป็นต้น 2) เพื่อสร้างการเติบโต เน้นน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ โดยยังให้น้ำหนักอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เศรษฐกิจยังคงชะลอตัวในระดับปานกลาง กำไรบริษัทยังเร่งตัวสูงขึ้น แต่เศรษฐกิจ และผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังคงสนับสนุนการเติบโตของตลาดในระยะยาว และ 3) การป้องกันความเสี่ยงของพอร์ต ด้วยการลงทุนในทองคำ ซึ่งช่วยป้องกันความเสี่ยงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในพอร์ตเสริม (Opportunistic Portfolio) กรณีที่รับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง – สูง โดยแนะนำให้แบ่งเงินลงทุนบางส่วน ประมาณ 15 -25% อาจพิจารณาลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม และไทย โดยตลาดหุ้นเวียดนามน่าสนใจ เนื่องจากมีแนวโน้มได้แรงหนุนดังนี้ 1) เศรษฐกิจเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

โดยดัชนี PMI เดือนสิงหาคม ขยายตัว 53.4 ขณะที่ การส่งออกเดือนสิงหาคม ขยายตัว 14.5% YoY 2) กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียน ใน 2Q2567 ขยายตัว 14%YoY และมีแนวโน้มขยายตัวดีใน 2H2567 3) เงินเฟ้อเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 3.5%YoY ลดลงจากเดือนกรกฎาคม และต่ำกว่าเป้าระยะยาวที่ 4.5% ส่งผลให้ความกังวลมบนประเด็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางเวียดนามลดลง และ 4) Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ 12M Blended Forward P/E อยู่ที่ 10.4 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี -1 s.d.

ส่วนตลาดหุ้นไทย มองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ต่อเนื่องถึงปี 2568 ได้แรงหนุนจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ โดยภาครัฐจะสนับสนุนเงินจำนวน 10,000 บาทต่อคน ที่จะช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน จากการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนของภาครัฐ ที่ต่อเนื่องมากขึ้น และ จากภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัว นอกจากนี้ คาดว่า เศรษฐกิจไทยยังได้แรงหนุนจากการที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยคาดว่า ในเดือน ธันวาคม นี้ กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 bps และลดต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2568 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.0%

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทย ได้แรงหนุนจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้น ตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ท่ามกลาง Valuation ของดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ที่ยังอยู่ในระดับที่ไม่แพง โดย SET Index ซื้อขายอยู่บนระดับ valuation ที่น่าสนใจ โดย 12M Blended Forward P/E อยู่ที่ 14.4 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี อยู่ประมาณ -1.0 s.d. และมองว่า เม็ดเงินที่ไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ทั้งจากเม็ดเงินลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ รวมทั้งเม็ดเงินที่ไหลเข้าลงทุนผ่านกองทุนรวม Thai ESG จากการปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีแนวโน้มดึงดูดเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนในประเทศที่ต้องการลดหย่อนภาษี และนักลงทุนต่างประเทศ จากธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน (Governance) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องและมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย ประกอบกับ ทิศทางเงินทุนจากต่างประเทศยังมีแนวโน้มไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทย จาก Sentiment ที่ดีขึ้นตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดทุนที่ออกมา และจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งมากกว่าการปรับลดดอกเบี้ยของกนง.

สำหรับอัตราผลตอบแทนรวมของสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่ต้นปี 2567 – YTD (18 กันยายน 2567) ทองคำให้ผลตอบแทนดีที่สุด อยู่ที่ 24.5% โดยได้รับผลบวกจากการที่ Yield ปรับตัวลดลง และธนาคารกลางของประเทศต่างๆมีความต้องการถือครองทองคำมากขึ้น รองลงมาเป็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ 19.3% จากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังดีในช่วงครึ่งแรกของปี ประกอบกับ การคาดหวังว่า Fed จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และมีแรงส่งจากหุ้นกลุ่ม Tech ที่มีผลประกอบการที่ค่อนข้างดีในช่วงไตรมาสที่ 1 แม้ในไตรมาสที่ 2 ผลประกอบการจะแผ่วลงแต่ถือว่าอยู่ในทิศทางที่ค่อนข้างดี ต่อมาคือ Global REITs อยู่ที่ 13.8% ได้รับอานิสงค์จากการที่ Bond Yield ปรับตัวลดลง ทำให้ผลตอบแทนของ REITs ดีขึ้น DM Equity ex US อยู่ที่ 10.7% EM Equity อยู่ที่ 9.1% HY Bond อยู่ที่ 8.8% TIPS อยู่ที่ 5.2% IG Bond อยู่ที่ 5.1% Gov Bond อยู่ที่ 2.8% และ Oil อยู่ที่ -1.4% ส่วนการลงทุนในรายประเทศ US large อยู่ที่ 19.3% India อยู่ที่ 18.2% Vietnam อยู่ที่ 12.2% ยุโรปอยู่ที่ 11.8% China offshore 11.3% US Small 9.9% Japan 9.2% Indonesia 7.8% Thai 4.7% และ Korea -3%

คาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ ส่งผลบวกต่อทุกสินทรัพย์ในระยะยาว มองเดือนกันยายนเป็นจังหวะทยอยสะสม “หุ้นเทคโนโลยี – หุ้นไทย – บิทคอยน์” โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเอไอที่ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดเติบโตแทบทุกราย ส่วนบิทคอยน์มีสัญญาณบวกจากสถิติเดิม ปีที่เกิด Halving ราคาจะสิ้นสุดการพักฐานในเดือนกันยายนก่อนจะสร้างผลตอบแทนเป็นบวกสามเดือนติดต่อกัน ขณะที่หุ้นไทยเริ่มมีปัจจัยบวกหนุน

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนต้องจับตาในเดือนกันยายนนี้ คือการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 -19 กันยายนนี้ โดยประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณมาก่อนหน้านี้แล้วที่การประชุมแจ็คสันโฮลว่านโยบายการเงินมีโอกาสที่จะเปลี่ยนทิศทางมาเป็นการลดดอกเบี้ยถ้าหากตัวเลขเศรษฐกิจอ่อนแอลง

ทั้งนี้ การประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non-Farm Payroll) สัปดาห์ที่ผ่านมาออกมาต่ำกว่าที่คาดค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดมีความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยจนต้องลดดอกเบี้ยในอัตรา 0.5% ในการประชุมเดือนนี้ทันที จึงเกิดแรงเทขายในตลาดหุ้นและสินทรัพย์อื่น ๆ

อย่างไรก็ตามคาดว่าตลาดได้ซึมซับกับข่าวและความน่าจะเป็นที่จะใช้ยาแรงด้วยการลดดอกเบี้ย 0.5% ไปแล้ว ถ้าหากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ หรือ CPI Index ในสัปดาห์นี้ออกมาต่ำกว่าที่คาดมากก็ไม่น่าจะสร้างความตกใจให้กับตลาดได้มากกว่านี้

“ในระยะกลาง การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มที่จะลดดอกเบี้ยลงจะเป็นผลดีต่อตลาดการลงทุนทั้งหมด แต่ในระยะสั้นอาจยังมีความผันผวน ถึงอย่างไรการที่ตลาดหุ้นและสินทรัพย์การลงทุนอื่นปรับฐานลงมาในช่วงเดือนกันยายน ถือเป็นโอกาสในการทยอยเข้าสะสม เพราะจากสถิติทุกปี เดือนกันยายนตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด แต่หลังจากนั้นในไตรมาสที่สี่จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นอย่างดี”

โดยเฉพาะดัชนี Nasdaq หากมีการปรับฐานลงมา มองเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ทั้ง 7 ตัว รวมถึงหุ้นที่เกี่ยวข้องกับเอไออื่น ๆ เพราะภาพรวมของการประกาศผลประกอบการของหุ้นที่เกี่ยวข้อง

กับเอไอ ยังคงทำได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดทั้งหมด รวมทั้งยังมองการเติบโตต่อในไตรมาสต่อไป แต่ราคาหุ้นปรับตัวลงมาเป็นไปตามภาวะตลาด

อาทิ หุ้น Nvidia ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น 122% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสที่ผ่านมา กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า และรายได้จากธุรกิจศูนย์ข้อมูลของ Nvidia ซึ่งรวมถึงโปรเซสเซอร์ AI เพิ่มขึ้น 154% จากปีที่ผ่านมา เป็นแรงหนุนสำคัญให้กับหุ้นเทคโนโลยีอื่น ๆ

ขณะที่หุ้น Tesla นักลงทุนกำลังมองข้ามยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตลดลง และให้ความสำคัญกับการเปิดตัวธุรกิจใหม่ คือ Robotaxi หรือ แท็กซี่แบบไร้คนขับ ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้และทำกำไรให้กับ Tesla ในยุคต่อไป

ด้านสินทรัพย์อื่น ๆ ที่จะได้ประโยชน์จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงเดือนกันยายนสามารถที่จะทยอยเข้าลงทุนได้ เช่น ทองคำ และบิทคอยน์ จากสถิติที่ผ่านมา ปีที่เกิดการ Halving และมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ราคาบิทคอยน์จะจบการปรับฐานในเดือนกันยายนและจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกตลอดสามดือนสุดท้ายของปี และยังมีโอกาสที่จะเป็นขาขึ้นต่อเนื่องในปี 2025 จึงสามารถทยอยเข้าสะสมได้ โดยมีแนวรับไม่ต่ำกว่า 49,000 ดอลลาร์

ทางด้านตลาดหุ้นไทย เริ่มมีปัจจัยบวกเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการได้รัฐบาลใหม่ การตั้งกองทุนวายุภักษ์ จนทำให้ดัชนี SET Index ปรับตัวขึ้นค่อนข้างแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ในแง่ทางเทคนิคมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นแตะ 1,500 จุด ในปีนี้ เพราะมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่เป็นหลัก มองว่าเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนในรูปแบบของการเก็งกำไรไปจนถึงสิ้นปีนี้ได้ แต่หลังจากนั้นต้องจับตาการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ว่าจะทำให้จีดีพีสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง หรือไม่

“คาดว่าช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ตลาดการลงทุนมีโมเมนตัมที่ดีจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีโอกาสสูงที่จะเริ่มต้นลดดอกเบี้ย หลังจากนั้นต้องมาติดตามผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะมีผลต่อสินทรัพย์ใดต่อไป”

SCB CIO มองเฟดส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง อาจปรับลดลงไตรมาส 3/2567 ส่งผลกดดันกลุ่มประเทศหรือธุรกิจที่มีหนี้สูง อาจมีปัญหาสภาพคล่องหรือถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ คาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2567 โต 1.5% ชะลอลงจากปีนี้ ที่คาดว่าจะเติบโต 2.1%แนะหลีกเลี่ยงลงทุนในหุ้นกู้หรือหุ้นกลุ่มนื้ เน้นลงทุนผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ซึ่งออกโดยสถาบันการเงินในไทย รวมถึงลงทุนหุ้นกู้ Investment grade เนื่องจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯและไทย ยังกว้าง หลีกเลี่ยงหุ้นกู้ High yield กลุ่มธุรกิจที่ก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาฯ จีน พร้อมปรับมุมมองหุ้นจีน A-share และ EM REITs เป็น Neutral (ถือ) และแนะรอจังหวะสะสมหุ้นสหรัฐฯ

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ครั้งล่าสุด ได้ส่งสัญญาณการคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง และปรับลดลงช้า โดยอาจจะต้องรอจนถึงไตรมาส 3 ปี 2567 ขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2567 ยังมีแนวโน้มชะลอตัว แต่น่าจะเป็นแบบจัดการได้ (Soft Landing) โดยล่าสุด Fedคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2567 จะเติบโต 1.5% ชะลอลงจากปี 2566 ที่คาดว่าจะเติบโต 2.1% ส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน อินเดีย รวมถึงเศรษฐกิจในอาเซียน และไทย ที่พึ่งพาอุปสงค์ต่างประเทศ ในด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว ค่อนข้างมาก ขณะที่ เศรษฐกิจยุโรปแม้มีแนวโน้มฟื้นตัว แต่ก็มาจากฐานต่ำ จึงทำให้เศรษฐกิจโลกในปี 2567 ไม่ได้ฟื้นตัวอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ จากแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่คงอยู่ในระดับสูงและลดลงช้า ขณะที่ดอกเบี้ยในประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) มีแนวโน้มลดลงได้เร็วมากกว่า ทำให้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย (Rate differentials) มีแนวโน้มดำเนินต่อไป และเป็นแรงกดดันทำให้ค่าเงิน Emerging markets อาจอ่อนค่า โดยเฉพาะประเทศที่ดุลบัญชีเดินสะพัดฟื้นตัวช้า และยังมีแนวโน้มขาดดุลการคลังเพิ่มสูงขึ้น เช่น ไทย โดย SCB CIO เชื่อว่า ค่าเงินบาทจะยังมีแรงกดดันอ่อนค่าในช่วงที่ยังมีความกังวลเรื่องการขาดดุลการคลังในระยะข้างหน้า แต่ค่าเงินบาทน่าจะกลับมาแข็งค่าขึ้นได้เล็กน้อยช่วงปลายปี ซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว (high season) โดยเราปรับมุมมองค่าเงินบาทเป็น 34.5-35.5 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2566

ขณะที่เรายังคงแนะนำให้ระมัดระวังการลงทุนในกลุ่มประเทศ/ธุรกิจที่มีหนี้สูง ซึ่งอาจเกิดปัญหาสภาพคล่องในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูง และเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงอาจถูกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ลดอันดับลง(downgrade) ได้ โดยประเทศส่วนใหญ่ยังมีหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระดับสูงและลดลงช้า เป็นผลจากการออกมาตรการประคับประคองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในช่วง COVID-19 ขณะที่เมื่อพิจารณาหนี้ครัวเรือนต่อ GDP พบว่า จีน อยู่ที่ 64% และไทย 91% ซึ่งเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะไทย ที่มีหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในตลาดเกิดใหม่ด้วยกัน สำหรับหนี้ภาคธุรกิจต่อ GDP พบว่า จีน อยู่ที่ 132% และ เวียดนาม 128% โดยหนี้ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเร็วและอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ขณะที่หนี้ภาคธุรกิจของไทย อยู่ที่ 80% เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากที่เคยเพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤต COVID-19

นอกจากนี้ จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ และไทย ที่ยังมีแนวโน้มสูงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า เรายังคงแนะนำการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ หรืออัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ สรอ.- บาท ซึ่งออกโดยสถาบันการเงินในไทย เนื่องจากในช่วงที่ตลาดยังมีความผันผวนจากการลดดอกเบี้ยช้าของ Fed เราเชื่อว่าสินทรัพย์เสี่ยงยังคงมีความผันผวนสูง ในขณะที่ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และไทย ยังมีแนวโน้มอยู่ในลักษณะกว้างต่อไป

ในส่วนของการลงทุนในพันธบัตร/หุ้นกู้ เรายังคงเน้นการลงทุนในหุ้นกู้คุณภาพสูง (Investment grade) และเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับท่าทีของ Fed ในการหยุดขึ้นดอกเบี้ย จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้งระยะสั้นและยาว ทยอยลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ค้างในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี มีแนวโน้มทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่มีความเสี่ยงสูง (High yield) ยังมีโอกาสขยับสูงขึ้นอีก จึงแนะนำหลีกเลี่ยงหุ้นกู้ High yield ในกลุ่มธุรกิจที่มีการก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในจีน

อย่างไรก็ตาม เราได้ปรับมุมมองการลงทุนบนหุ้นจีน A-share เป็น Neutral โดยเรามองว่า ถึงแม้ดัชนีหุ้น A-share จะมีมูลค่า (Valuation) ค่อนข้างถูก (forward P/E อยู่ที่ 10.9x, -1 s.d. เมื่อเทียบค่าเฉลี่ย 5 ปี) และมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการที่ทางการจีนมีแนวโน้มออกมาตรการฝั่งการเงิน การคลัง ภาคอสังหาฯ และค่าเงินหยวน แต่ดัชนีมีแนวโน้มเคลื่อนไหวกรอบจำกัด ในระยะ 3-6 เดือนค่อนข้างจำกัด จาก sentiment ของนักลงทุนจีนที่ยังซบเซา และแรงขายสุทธิหุ้นจีนของต่างชาติ ประกอบกับความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ที่มีอยู่ ทั้งกับสหรัฐฯ และยุโรป โดยเราประเมินว่าหุ้นจีน A-share มีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ฟื้นตัวได้ในกรอบจำกัด จนกว่าจะเห็นมาตรการกระตุ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

นอกจากนี้ ยังปรับมุมมอง ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ในตลาดเกิดใหม่ หรือ EM REITs เป็น Neutral เช่นกัน โดยแนะนำให้เลือกลงทุนรายตัว (selective buy) เป็นหลัก เนื่องจากกลุ่ม REITs เอเชีย หรือ Asian REITs เผชิญแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond yield) ที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับ REITs ไทยยังเผชิญแรงขายจากกองทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Fund of property funds) อย่างไรก็ดี Valuation ยังอยู่ในระดับน่าสนใจทั้งในแง่ของ ราคาต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชี (PBV), อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend yield) และส่วนต่างของผลตอบแทนเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล (Yield Spread) ด้าน REITs ของ สิงคโปร์ พบว่า Yield Spread อยู่ในระดับที่ไม่น่าสนใจ

SCB CIO แนะนำให้รอจังหวะสะสมหุ้นสหรัฐฯ โดย หุ้น Big-Tech ขนาดใหญ่ ที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (market cap) มากที่สุด 7 ตัวแรกในดัชนี S&P 500 และเป็นตัวชี้นำผลตอบแทนการลงทุนในปี 2566 เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% นับตั้งแต่ต้นปี ขณะที่หุ้นที่เหลือของดัชนีเพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 5% เท่านั้น เราจึงมองว่า Valuation ของหุ้น Big-Tech 7 ตัว ได้สะท้อนกำไรที่ดีกว่าคาดไปพอสมควรแล้ว และมีโอกาสที่จะปรับฐานเข้าสู่ค่าเฉลี่ยของตลาด โดยล่าสุด Trailing P/E และ Forward P/E ของ Big Tech 7 ตัว อยู่ที่ 60.1x และ 36.1x ขณะที Trailing P/E และ Forward P/E ของ S&P500 อยู่ที่ 24.7x และ 19.5x ตามลำดับ โดยเราประเมินว่าแม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ในระดับที่ Valuation ค่อนข้างตึงตัว จึงแนะนำให้รอ Valuation ถูกลงมากกว่านี้ค่อยเข้าทยอยสะสม

X

Right Click

No right click