November 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

รพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่าก.ล.ต. ได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลด้วยกระบวนการไอซีโอ และการให้ความเห็นชอบไอซีโอพอร์ทัล ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก.) แล้ว โดยจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 16 กรกฎาคม 2561

เนื่องจาก พ.ร.ก. กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะออกไอซีโอต้องผ่านการคัดกรองจากไอซีโอพอร์ทัล  ในชั้นแรกภายหลังประกาศที่เกี่ยวข้องมีผลใช้บังคับ ก.ล.ต. จึงจะพิจารณาให้ความเห็นชอบไอซีโอพอร์ทัลก่อน  โดยผู้ยื่นขอความเห็นชอบเป็นไอซีโอพอร์ทัลจะต้องเป็นบริษัทไทย มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท มีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากรที่เหมาะสมเพียงพอต่อการประกอบธุรกิจ และมีความพร้อมในการทำหน้าที่คัดกรองผู้ระดมทุน ประเมินแผนธุรกิจและโครงสร้างการกระจายโทเคนดิจิทัล ตรวจสอบชุดรหัสทางคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในกระบวนการไอซีโอ (ซอร์สโค้ด) ให้ตรงกับข้อมูลที่เปิดเผยทำความรู้จักตัวตนและสถานะของผู้ลงทุน ตลอดจนประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน เมื่อมีไอซีโอพอร์ทัลที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ก.ล.ต.จะเริ่มพิจารณาคำขออนุญาตออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลของผู้ประสงค์ออกไอซีโอ  

ผู้ที่ประสงค์จะออกไอซีโอต้องเป็นบริษัทที่จัดตั้งภายใต้กฎหมายไทยที่มีแผนธุรกิจและข้อกำหนดสิทธิของผู้ถือโทเคนดิจิทัลที่ชัดเจน มีการเปิดเผยซอร์สโค้ด แบบแสดงรายการข้อมูล ร่างหนังสือชี้ชวน และงบการเงินที่เป็นไปตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. 

โดยการออกไอซีโอแต่ละครั้งสามารถเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ultra high net worth investors) นิติบุคคลร่วมลงทุน (venture capital) กิจการเงินร่วมลงทุน (private equity) ได้โดยไม่จำกัดวงเงิน  ส่วนการเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายย่อยในแต่ละครั้งจะจำกัดวงเงินที่รายละไม่เกิน 300,000 บาท  นอกจากนี้ วงเงินรวมที่ขายผู้ลงทุนรายย่อย ต้องไม่เกิน 4 เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น หรือไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด  โดยผู้ออกไอซีโอสามารถรับชำระค่าโทเคนดิจิทัลเป็นเงินบาทหรือคริปโทเคอร์เรนซี ได้แก่ Bitcoin, Bitcoin Cash, Ethereum, Ethereum Classic, Litecoin, Ripple และ Stellar

เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า “ก.ล.ต. ยินดีให้ผู้ประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นไอซีโอพอร์ทัล เข้ามาหารือกับ ก.ล.ต. ในรายละเอียดได้ทันที เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นขอความเห็นชอบเมื่อประกาศมีผลบังคับใช้  และเมื่อมีไอซีโอพอร์ทัลที่ ก.ล.ต. เห็นชอบแล้ว ก.ล.ต. ก็พร้อมจะพิจารณาอนุญาตการออกไอซีโอต่อไป

ทั้งนี้ แม้เกณฑ์ที่ออกมาจะช่วยสร้างมาตรฐานในการออกไอซีโอ และเพิ่มกระบวนการคัดกรองเพื่อป้องกันผู้ลงทุนจากการถูกหลอกลวง  แต่การได้รับอนุญาตการเสนอขายโทเคนดิจิทัลจาก ก.ล.ต. ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันความสำเร็จของโครงการที่ระดมทุน ราคา หรือผลตอบแทน  ผู้ลงทุนยังมีโอกาสขาดทุน หรืออาจมีช่องทางการเปลี่ยนมือโทเคนดิจิทัลที่จำกัด  ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนและแน่ใจว่า สามารถยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้ก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้สนใจและผู้ประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นไอซีโอพอร์ทัล หรือสนใจออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านไอซีโอ สามารถดาวน์โหลดประกาศที่เกี่ยวข้องได้ที่ https://www.sec.or.th/digitalasset

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จัดการประชุมเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมาพิจารณาเห็นชอบแนวทางกำกับดูแลการออกไอซีโอและการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขาย นายหน้า และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล โดยคาดว่าจะออกประกาศที่เกี่ยวข้องได้ภายในเดือนมิ.ย.นี้

                รายละเอียดโดยสรุปของเกณฑ์ที่จะออกมามีดังนี้

ผู้จะออกไอซีโอ Isuuer

ผู้ลงทุน Invester

ศูนย์ซื้อขาย นายหน้า และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล  ICO Portal ,ExChange, Broker, Dealer

-เป็นบริษัทตามกฎหมายไทย

-มีแผนธุรกิจชัดเจน

-มีงบการเงินผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด

-ข้อกำหนดสิทธิของผู้ถือโทเคนชัดเจน

-เปิดเผยชุดรหัสคอมพิวเตอร์ (Source Code)

-เสนอขายผ่าน ICO Portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. โดย ICO Portal ทำหน้าที่คัดกรอง โครงการและทำ KYC ผู้ลงทุน

-ผู้ลงทุนสถาบัน ลงทุนได้ไม่จำกัด

-ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ(Ultra High Net Worth) ลงทุนได้ไม่จำกัด

-กิจการร่วมทุน (Private Equity, Venture Capital)  ลงทุนได้ไม่จำกัด

-ผู้ลงทุนรายย่อยลงทุนได้ไม่เกิน 300,000 บาท

-วงเงินรวมที่ขายผู้ลงทุนรายย่อยไม่เกิน 4 เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น หรือไม่เกิน 70% ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด

-ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี

-มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด

-สินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายเป็นไปตามข้อบังคับของศูนย์ซึ่งได้รับความเห็นขอบจาก ก.ล.ต.

 ทั้งนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นชอบในการยกเว้นโทเคนดิจิทัลที่กำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง (Utility Token) ซึ่งผู้ถือสามารถใช้ประโยชน็ได้ทันทีออกจากการกำกับดูแลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน นอกจากนี้ผู้ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าคงที่เทียบกับเงินบาท หรือให้บริการแลกเปลี่ยนระหว่าง Utiliy Token ด้วยกันที่ให้สิทธิประโยชน์เฉพาะในลักษณะเดียวกัน เช่น ระหว่างเหรียญในเกมส์ หรือแต้มสะสมคะแนนแลกสินค้าหรือบริการไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้ พ.ร.ก.นี้

 ทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ ก.ล.ต. บอกว่า หลักเกณฑ์ที่ออกมานี้พยายามหาจุดสมดุลระหว่างการสนับสนุนนวัตกรรม และการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้เกี่ยวข้อง โดยได้นำความเห็นจากทุกฝ่ายมาพิจารณา เกณฑ์ที่ออกมา อาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ไปด้วยกันระหว่างทางการและธุรกิจ

X

Right Click

No right click