January 22, 2025

ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี โดยมีผลเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น ตลอดจนอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันในปี 2567 ธนาคารไทยพาณิชย์จึงประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราสูงสุด 0.30% ต่อปี เพื่อช่วยส่งเสริมการออมเงินและช่วยให้ผู้ฝากเงินมีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น พร้อมกับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR MLR และ MOR 0.25% ต่อปี เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งผ่านการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงเป็นการปรับให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวม ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อแม้คาดว่าจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ก็น่าจะปรับตัวสูงขึ้นในปีหน้าจากปัจจัยทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน และเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. รวมถึงเป้าหมายของธนาคารที่จะเป็น Digital Bank with Human Touch ทางธนาคารจึงได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัลและเงินฝากประเภทไม่มีสมุด รวมถึงเงินฝากประจำ โดยปรับเพิ่มขึ้น 0.10% - 0.30% ต่อปี และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อสะท้อนต้นทุนทางการเงินในระบบที่สูงขึ้น โดยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.05% เป็น 7.30% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (Minimum Loan Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 6.80% เป็น 7.05% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7.325% เป็น 7.575% ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยใหม่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

ธนาคารพร้อมให้การสนับสนุนลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยยังคงมาตรการพิเศษในการช่วยเหลือด้านต่างๆ สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความเปราะบาง พร้อมคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต สำหรับลูกค้าที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือหรือคำปรึกษาสามารถติดต่อธนาคารได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Call Center 02-777-7777

นนทบุรี- บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินกู้สีเขียว ประมาณ 495 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพื่อปรับโครงสร้างหนี้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 3 แห่งในออสเตรเลีย ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานลมคอลเล็กเตอร์ ขนาดกำลังการผลิต 226.8 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานลมเมาท์เอเมอรัลด์ ขนาดกำลังการผลิต 180.5 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คอลลินส์วิลล์ ขนาดกำลังการผลิต 42.5 เมกะวัตต์ ธุรกรรมดังกล่าวดำเนินการผ่านบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมด คือ บริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (RAC) ซึ่งตั้งอยู่ในออสเตรเลีย ภายใต้กรอบการเงินสีเขียว (Green Finance Framework) ของ RAC ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตราสารหนี้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond Principle) ของ International Capital Market Association และหลักการการกู้ยืมสีเขียว (Green Loan Principle) ของ Loan Market Association

 

สำหรับบริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าในออสเตรเลีย โดยพอร์ตการลงทุนปัจจุบัน มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 1.2 กิกะวัตต์ ความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ นอกจากจะช่วยสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งแล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของ RAC ให้สามารถขยายการลงทุนได้เพิ่มมากขึ้นด้วย

 

เงินกู้สีเขียวดังกล่าวนี้ ได้รับรางวัล IJGlobal Awards 2022 ประเภท “Refinance Deal of the Year – Portfolio” ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากเป็นธุรกรรมจัดหาเงินกู้เพื่อนำไปชำระคืนหนี้พอร์ตลงทุนโครงการพลังงานทดแทนและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีอันเป็นผลมาจากราช กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ RAC มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง นอกเหนือจากนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำอาซาฮาน-1 ประเทศอินโดนีเซีย กำลังการผลิตติดตั้ง 180 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 47.89 ยังได้รับรางวัล “Refinance Deal of the Year – Hydropower” จาก IJGlobal Awards 2022 ด้วย

X

Right Click

No right click