January 22, 2025

ด้วยปัญหาการขาดแคลนบุคลากรบวกกับปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น และความผันผวนทางเศรษฐกิจล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ท้าทายผู้ให้บริการทางสาธารณสุขทั่วโลกในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานและคิดค้นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยใหม่ๆ ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารแถวหน้าในวงการสาธารณสุขยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ด้วยการหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับความเท่าเทียมด้านการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ตลอดจนความจำเป็นในการลดก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพของโลกเช่นเดียวกัน

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าว ฟิลิปส์จึงได้รวบรวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีสาธารณสุขที่คาดว่าจะมาแรงในปี ค.ศ. 2024 นี้

 

1.การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการทำงานอัตโนมัติ (Workflow Automation) ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ปัจจุบันองค์กรด้านสาธารณสุขต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์กรเหล่านี้ต้องปรับกลยุทธ์การทำงาน เพื่อดึงดูดบุคลากรใหม่ๆ และดูแลบุคลากรเดิมในองค์กร ด้วยการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่มองหาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ภายในองค์กรยังหันมาใช้ระบบการทำงานอัตโนมัติและ AI เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์

ยกตัวอย่างเช่น ในด้านรังสีวินิจฉัย (Diagnostic Imaging) การบูรณาการ AI ให้เข้ากับระบบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) จะช่วยลดเวลาการทำงานในขั้นตอนที่ใช้เวลามากที่สุดของนักรังสีการแพทย์ เพื่อให้พวกเขาได้ใช้เวลากับผู้ป่วยมากขึ้น ด้วยการใช้ AI สร้างภาพถ่ายรังสีที่มีคุณภาพสูง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำขึ้น นอกจากนี้ AI ยังช่วยลดความซับซ้อนของ การอัลตราซาวด์หัวใจ ด้วยการจำลองภาพหัวใจแบบ 3 มิติรวมถึงการประเมินแบบอัตโนมัติในอวัยวะอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้นักรังสีการแพทย์สามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายได้อย่างแม่นยำ รวมถึงช่วยให้แพทย์มีแนวทางการดูแลรักษาหัวใจได้ดียิ่งขึ้น และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ระบบอัตโนมัติจะได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติมจากการเพิ่มขึ้นของ Generative AI ในด้านสาธารณสุข

 

2. การทำงานร่วมกันแบบเสมือนเพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ

เทรนด์ของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ควบคู่ไปกับระบบอัตโนมัติคือการทำงานร่วมกันแบบเสมือนเพื่อลดผลกระทบของการขาดแคลนบุคลากรและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ การเติบโตที่คาดหวังในด้านนี้มีประโยชน์เพิ่มเติมในการปรับปรุงการเข้าถึงการดูแลในพื้นที่ห่างไกลและในชนบท ที่ซึ่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนเป็นพิเศษ

ระบบ Tele-ICU (เทเล-ไอซียู) จะยังคงถูกนำมาใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจะยิ่งมองหาระบบบูรณาการเพื่อดูแลผู้ป่วยข้างเตียงแบบเสมือนจริงที่ไร้รอยต่อ เจ้าหน้าที่และพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยวิกฤติแบบทางไกลได้ โดยมีระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนอัตโนมัติที่ทำงานด้วย AI สามารถลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้ แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมีอายุมากขึ้น แต่รูปแบบการทำงานเสมือนจริงนี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญต่างๆให้แก่บุคลากรทางการแพทย์รุ่นน้องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นการรักษาองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญให้คงอยู่ต่อไป เนื่องด้วยสถานการณ์ที่แพทย์จำนวนมากเลือกที่จะเกษียณอายุก่อนกำหนดมากขึ้น รวมถึงกลุ่มพยาบาลเองก็มีแผนที่จะลาออกจากระบบสาธารณสุข อีกด้วย

3. ารทำงานร่วมกันแบการวินิจฉัยแบบบูรณาการที่สนับสนุนกบสหวิทยาการ ความก้าวหน้าในการวินิจฉัยแบบบูรณาการจะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขในต่างสาขาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น เพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น เปรียบเหมือนกับเป็นการสร้าง 'ห้องนักบิน' ที่ใช้ทำงานร่วมกัน เป็นที่ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากโดเมนต่างๆ ในสภาพแวดล้อมดิจิทัลของ Vendor-agnostic เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำสำหรับผู้ป่วยยกตัวอย่างเช่น ในเคสผู้ป่วยโรคมะเร็งการได้รับการวินิจฉัยที่ตรงจุดแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ยังได้รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมว่าการค้นพบของพวกเขามีความสอดคล้องกันมากเพียงใด ทำให้เกิดวงจรความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวินิจฉัยให้ดียิ่งขึ้นได้

4. ยกระดับการทำงานร่วมกัน เพื่อการติดตามและการประสานการดูแลที่ดียิ่งขึ้น

ความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในด้านสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน โดยเกิดจากความซับซ้อนและกระจัดกระจายของเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพและโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่ ผู้บริหารในวงการสาธารณสุข บนรายงาน Future Health Index (FHI) ของฟิลิปส์ปี 2023 ระบุว่ารายงานนี้เป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยแห่งความสำเร็จอันดับต้นๆ ในการมอบแนวทางใหม่ๆในการดูแลที่ผสมผสานการดูแลแบบตัวต่อตัวและแบบเสมือนจริงในทุกสภาพแวดล้อม

ความสามารถในการทำงานร่วมกันแบบใหม่สามารถรวบรวมอุปกรณ์และระบบทางการแพทย์ที่แตกต่างกันมาไว้ในอินเทอร์เฟซเดียวกันเพื่อสร้างมุมมองภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถให้คำแนะนำการรักษาได้อย่างมั่นใจได้จากทุกที่ในโรงพยาบาล ช่วยลดความผันผวนที่เกิดจากภาวะข้อมูลที่มีมากเกินไป โดยนวัตกรรมล่าสุดอย่างภาพเสมือนของผู้ป่วยแบบอวตาร สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม โดยการแปลข้อมูลผู้ป่วยที่สำคัญแต่ซับซ้อนให้เป็นจอแสดงผลที่เข้าใจง่าย

5. การตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ และการแทรกแซงโดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์ของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยการได้รับข้อมูลเชิงลึกด้านการปฏิบัติงานและทางคลินิกจากข้อมูลแบบเรียลไทม์และข้อมูลในอดีต การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขปรับปรุงประสิทธิภาพและดำเนินการเตรียมรับมือล่วงหน้าได้ รายงาน Future Health Index (FHI) ของฟิลิปส์ปี 2023 แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารในวงการสาธารณสุข 39% วางแผนอย่างไรที่จะลงทุนใน AI เพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 30% ในปี 2021

ในปัจจุบัน การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขคาดการณ์และบริหารจัดการกระบวนการไหลของผู้ป่วยในแต่ละจุดบริการภายในสถานบริการ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถบริหารทรัพยากรบุคลากรในตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุดได้ ความสามารถเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤต (เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19) และตอนนี้กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานของโรงพยาบาล ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ด้วยการตรวจสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เช่น เครื่องสแกน MR การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ยังช่วยระบุได้อีกด้วยว่า อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางอย่างถึงเวลาที่ต้องตรวจเช็คบำรุงหรือเปลี่ยนใหม่แล้ว ซึ่งทำให้ 30% ของเคสการให้บริการ สามารถแก้ไขได้และยังช่วยป้องกันเหตุไม่คาดฝันจากกรณีที่อุปกรณ์หยุดทำงานในระหว่างการตรวจได้เช่นเดียวกันกับในทางด้านคลินิก การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถรองรับการตรวจหาความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยพิจารณาจากสัญญาณชีพและข้อมูลผู้ป่วยรายอื่นประกอบกัน ความสามารถเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ในระยะนี้ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ยังสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านผ่านการระบบทางไกล ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ระบบนี้สามารถใช้เพื่อช่วยทำนายภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ด้วยการตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถเปลี่ยนจากการดูแลเชิงรับเป็นการดูแลเชิงป้องกัน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วส่งผลให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้

6. การใช้เทคโนโลยีจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ

ยังคงมีประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการทางสาธารณะสุขที่พวกเขาต้องการได้ แม้กระทั่งในประเทศที่มีทุนสนับสนุนเครื่องมือแพทย์เป็นอย่างดี ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการในเรื่องของ ระบบสาธารณสุขที่เท่าเทียมและยั่งยืน ไม่เคยกลายมาเป็นเรื่องเร่งด่วนมากเท่านี้มาก่อน ด้วยความร่วมมือกับองค์กร Heart of Australia ภายใต้โครงการโรงพยาบาลเคลื่อนที่ (Hospital on wheels) ได้นำ การถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย เช่น X-ray และ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้เข้าถึงในพื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น

7. เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ

เป็นเวลามากกว่า 15 ปีแล้วที่เทคโนโลยีอย่างสมาร์ทวอทช์ทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจวัตรเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างแพร่หลาย และยังก่อให้เกิดอุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อสุขภาพที่มีความหลากหลายมากขึ้นตามมา อีกทั้งอุปกรณ์เหล่านี้ยังสามารถตรวจจับสัญญาณชีพจรได้อีกด้วย[1,2]- ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีความต้องการเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่สามารถเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัวและสามารถปรับแต่งตามความชอบและความต้องการของผู้ใช้งานได้ ในปี 2024 นี้มีคาดการณ์ว่าแนวโน้มเทรนด์ของเทคโนโลยีด้านเฮทล์แคร์ยังคงขยายตัวขึ้นเรื่อยๆและผลักดันพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น ส่งเสริมให้ผู้คนดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำ เป็นที่ทราบกันดีว่า [3] สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม ในขณะที่ผู้คนต้องการที่จะดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น แต่ยังคงขาดความเข้าใจและความมุ่งมั่นในการดูแลสุขอนามัยของช่องปากในแต่ละวัน จึงต้องมีการให้คำแนะนำในเรื่องนี้โดย แปรงสีฟันไฟฟ้าใช้งานผ่านAIที่เชื่อมต่อบนแอปพลิเคชั่น สามารถรวบรวมข้อมูลการแปรงฟันและเสนอคำแนะนำส่วนบุคคลเพื่อที่ผู้ใช้งานสามารถนำไปปรับใช้ได้

8. จัดการกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไอทีด้านการดูแลสุขภาพ

จากเทรนด์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้สร้างพื้นที่มหาศาลสำหรับการส่งมอบการดูแลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นด้วยการใช้การตัดสินใจทางคลินิกแบบอัลกอริธึมและการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เช่น เราสามารถใช้ข้อมูลเพื่อส่งมอบข้อมูลเชิงลึกเฉพาะบุคคล ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่น การแจ้งเตือนทีมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือ สอนการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพผ่านแอปพลิเคชั่น

วิธีแก้ปัญหาแบบดิจิทัลสามารถปรับขยายได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงช่วยสนับสนุนการป้องกันในวงกว้างขึ้น รวมถึงช่วยปรับค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองและการดูแลให้ลดลงได้ และยังช่วยปรับรูปแบบการดูแลเช่นเดียวกับสถานพยาบาลขนาดใหญ่ให้เข้ากับการดูแลภายในบ้านได้ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ เพราะในปัจจุบันยังมีผู้คนจำนวนว่า 3.5 พันล้านคนทั่วโลกที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ ดังนั้นเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลจึงมีส่วนช่วยขยายการเข้าถึงโมเดลการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากได้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นถึงแนวโน้มของการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ เครื่องมือแพทย์ ซัพพลายเออร์และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าได้ตัดสินใจถูกต้องเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไอทีด้านการดูแลสุขภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในปี 2024 และในปีต่อๆไป

9. การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของระบบซัพพลายด์ด้านสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เพื่อตอบสนองความเร่งด่วนในการลดการปล่อยคาร์บอนในด้านสาธารณสุข เรามองเห็นแนวโน้มที่เป็นไปได้มากขึ้นของบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ระบบสาธารณสุขและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆที่ร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานที่ยั่งยืนในทุกภาคส่วนของระบบสาธารณสุข รวมไปถึงด้านการจัดการ นวัตกรรม การบริการและการส่งมอบ โดยการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนที่มีผลกระทบมากที่สุดประการหนึ่งกำลังเกิดขึ้นในด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูล ESG ทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ การจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ด้านการจัดหา การดูแลสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยคาดหวังว่าฝ่ายจัดซื้อจะใช้เกณฑ์การประเมินลำดับความสําคัญในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และวิธีการแก้ปัญหาของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุข เช่น อุปกรณ์ที่พัฒนาโดยPhilips

1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าซัพพลายเออร์มีการรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2. มุ่งเน้นการหมุนเวียนอุปกรณ์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขและด้านโซลูชั่น

3. กำหนดให้ซัพพลายเออร์มีความโปร่งใสเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และEcoDesignสำหรับผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์

4. กำหนดให้ซัพพลายเออร์สาธิตวิธีที่ข้อเสนอดิจิทัลสนับสนุนการลดคาร์บอนและการลดการใช้วัสดุวัตถุโดยการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรและประสิทธิภาพเวิร์กโฟลว์

5. กําหนดให้ซัพพลายเออร์รายงานผลกระทบทางสังคมต่อสาธารณะ

นับจากนี้เป็นต้นไป การใช้มาตรฐานการจัดซื้อที่ยั่งยืนเช่นนี้จะเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับบริษัทเครื่องมือแพทย์และรัฐบาลที่ต้องการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการปกป้องสุขภาพของมนุษย์และส่งเสริมความเสมอภาคด้านการดูแลสุขภาพ

10. ร่วมมือกันเพื่อลดผลกระทบด้านสาธารณสุขบนโลก

ระบบสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าที่กว้างขึ้น-เริ่มตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปจนถึงการดำเนินงาน, โลจิสติกส์ ระยะการใช้งานและสิ้นสุดระยะการใช้งานที่ปลายน้ำ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการใช้ประโยชน์จากที่ดิน มลพิษ การบริโภคและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  เนื่องจากมีการตระหนักอย่างเป็นวงกว้างถึงผลกระทบต่อสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพของผู้คน จึงจะเห็นแนวโน้มอย่างต่อเนื่องของระบบสาธารณสุขที่นำกลยุทธ์มาใช้อย่างแข็งขันในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีแก้ปัญหาดิจิทัลอัจฉริยะหรือการปรับใช้เป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-เป้าหมายบังคับสําหรับบริษัททั้งหมดในแคลิฟอร์เนียที่มีมูลค่ามากกว่า1พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงทางธรรมชาติที่ขยายเพิ่มมากขึ้นอาจถูกมองข้ามเนื่องจากองค์กรเชื่อว่าผลกระทบทางการเงินของความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศมีมากกว่าความเสี่ยงเช่น การตัดไม้ทําลายป่าหรือการสูบน้ำ ซึ่งอย่างหลังมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของประชากร ดังนั้นจึงมีการคาดหวังที่จะเห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในการนำ ‘การประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ’ มาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจให้ดีขึ้นเกี่ยวกับการจัดการการใช้ทรัพยากรและบริษัทต่างๆที่ทุ่มเทเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อธรรมชาติที่ฟิลิปส์ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางนิเวศวิทยาของร่องรอยผลกระทบจากการผลิต

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 Morgan Stanley รายงานไว้ว่า ‘ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิกฤตปัญหาน้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต่อทุกอุตสาหกรรมที่ควรต้องทบทวนเกี่ยวกับการใช้น้ำ’ ฟิลิปส์ไม่ใช่บริษัทที่มีการใช้น้ำมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรงงานผลิตหลายแห่งของเราตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีปัญหาเรื่องน้ำจึงได้ริเริ่มโครงการลดปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดลง 5% จากระดับปริมาณน้ำในปี 2019

 มุมมองจากทั่วโลก รอยเท้าความหลากหลายทางชีวภาพขององค์กรเดียวอาจไม่ใหญ่มากนัก แต่แตกต่างจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เมื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงอย่างเดียวจะมีผลโดยตรงและการฟื้นฟูระบบนิเวศจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากเริ่มการกระจายตัวของพื้นที่รวมเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนี้ การทํางานร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่าเป็นสิ่งสําคัญ

X

Right Click

No right click