January 02, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) ชี้ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2567 ยังเผชิญกับความ ไม่แน่นอนต่อเนื่อง ตลาดลงทุนยังอยู่กับความผันผวน ในขณะเดียวกันสินทรัพย์การลงทุนดั้งเดิมไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามที่นักลงทุนคาดหวัง

จึงเปิดกลยุทธ์สำคัญผ่านการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดที่ช่วยกระจายความเสี่ยง ลดความผันผวน สร้างเสถียรภาพ เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน และโอกาสการลงทุนในธุรกิจชั้นนำแห่งอนาคต จากสถิติผลตอบแทนย้อนหลัง 3-10 ปี พบว่าหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ให้ผลตอบแทนเหนือกว่าหุ้นในตลาด (Public Market) ซึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์สินทรัพย์นอกตลาดไปแล้ว 10 กองทุน จากการจับมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก และในปีนี้ได้วาง 3 กลยุทธ์หลักสำหรับพอร์ตสินทรัพย์นอกตลาดเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับลูกค้าสินทรัพย์สูงของธนาคาร

ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ Senior Managing Director, Private Banking Business Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ภาพรวมตลาดการลงทุนทั่วโลกในปี 2567 ยังคงผันผวน จากความไม่แน่นอนหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลก การเลือกตั้งในหลายประเทศทั่วโลก เช่น รัสเซีย อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์ต่างๆ ไปจนถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในฝั่งยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย ทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ดั้งเดิมต้องเผชิญความท้าทายมากขึ้น เห็นได้จากในปี 2566 ที่ผ่านมา ผลตอบแทนในเกือบทุกสินทรัพย์หลักลดลงแรง เช่น ดัชนี MSCI World ที่ปรับตัวลดลงกว่า 20% แม้หลายฝ่ายมองแนวโน้มว่าตลาดทุนมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นในปีนี้ แต่ KBank Private Banking มองว่าความผันผวนยังคงอยู่จากปัจจัยความเสี่ยงที่กล่าวข้างต้น ดังนั้นในฐานะผู้ให้บริการบริหารความมั่งคั่งและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมองว่านักลงทุนจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การลงทุน เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนโดยรวม สร้างเสถียรภาพและเพิ่มความมั่นคงให้กับพอร์ต เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน และโอกาสลงทุนในบริษัทที่อาจพลิกโฉมธุรกิจและเป็น เมกะเทรนด์ในอนาคต ผ่านการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด”

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้พัฒนาและนำเสนอโอกาสการลงทุนใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการที่แตกต่างของลูกค้า ตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้และระยะเวลาการลงทุนเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด โดยได้นำเสนอไปแล้ว 10 กองทุน ประกอบด้วย 6 กองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity Fund) ทั่วโลก จีน และไทย 3 กองทุนอสังหาริมทรัพย์นอกตลาด (Private Real Estate Fund) ทั่วโลก และไทย และ 1 กองทุนหนี้นอกตลาด (Private Credit Fund) ซึ่งผลการดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ดั้งเดิม เช่น กองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วโลก (K-GPE19A-UI) ให้ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่ 58.67%1 ในขณะที่ กองทุนหุ้นนอกตลาดไทย (LH-THAIPE1UI) ที่ลงทุนกับนารา ไทย คูซีน (NARA Thai Cuisine) เครือร้านอาหารไทยชั้นนำก็สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนได้ถึงกว่า 20% 2(ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน) ซึ่งเมื่อเทียบกับเครือร้านอาหารไทยที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ที่ขาดทุนกว่า 25% 3 ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ จากสถิติ ย้อนหลัง 10 ปี 5 ปี และ 3 ปี พบว่าการลงทุนในหุ้นนอกตลาดสามารถให้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นในตลาดได้ถึง +5% +7% และ +9% ตามลำดับ4 

ในปี 2567 KBank Private Banking วางแผนนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมนำเสนอ 3 กลยุทธ์สำคัญในการบริหารจัดการพอร์ตลงทุนในส่วนที่เป็นสินทรัพย์นอกตลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนให้ดีขึ้น มีตัวเลือกดีขึ้น และยังช่วยลดข้อจำกัดเรื่องสภาพคล่องจากการลงทุนในกองทุนสินทรัพย์นอกตลาดแบบดั้งเดิม ได้แก่

1) กลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ Core & Satellite ที่จะจัดแบ่งส่วนหลักและส่วนเสริมเพื่อกระจายความเสี่ยง และลดความผันผวนผ่านการลงทุนระยะยาว ขณะเดียวกันยังสามารถเพิ่มโอกาสการสร้างผลตอบแทนจากการจับจังหวะลงทุนตามธีมและเมกะเทรนด์ที่กำลังเติบโตขึ้น โดยสัดส่วนหลักหรือ Core จะคิดเป็น 60-80% ของพอร์ตสินทรัพย์นอกตลาดจะเป็นกองทุนสินทรัพย์นอกตลาดกึ่งสภาพคล่อง ที่ลงทุนเพิ่มได้ทุกเดือน ขายหน่วยลงทุนได้เป็นรายไตรมาส และมีล็อกเงินลงทุนเพียง 12-18 เดือน ซึ่งการได้พาร์ทเนอร์กับผู้จัดการกองทุนระดับโลก อย่าง EQT และ Apollo5 เป็นอีกพัฒนาการสำคัญที่เราได้นำเสนอให้กับลูกค้าส่วนบุคคลลงทุนได้ และผลิตภัณฑ์อย่างกองทุนสินทรัพย์นอกตลาดกึ่งสภาพคล่องก็ถือเป็นวิวัฒนาการสำคัญที่ช่วยให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่สัดส่วนเสริมหรือ Satellite คิดเป็น 20-40% ของพอร์ตสินทรัพย์นอกตลาด จะเป็นกองทุนหุ้นนอกตลาดตามธีมต่างๆ เช่น หุ้นนอกตลาดทั่วโลก หุ้นนอกตลาดจีน หุ้นนอกตลาดไทย หุ้นเทคนอกตลาด หุ้นอสังหาฯ นอกตลาดทั่วโลก หุ้นอสังหานอกตลาดไทย รวมถึงหนี้นอกตลาด เป็นต้น

2) ออกแบบพอร์ตการลงทุนที่สร้างให้เฉพาะคุณ (Tailor-made Portfolio Management) โดยสามารถบริหารสัดส่วนพอร์ตลงทุนตามเป้าหมายของแต่ละบุคคลได้อย่างยืดหยุ่น เช่น เมื่อนักลงทุนต้องการสภาพคล่องสูง สามารถเลือกลงทุนในกองทุนสินทรัพย์นอกตลาดกึ่งสภาพคล่องได้ทั้ง 100%

3) การเดินหน้าผนึกกำลังกับพันธมิตรระดับโลกที่ดีที่สุดอย่างไม่หยุดยั้ง (Partner with the Best) เพื่อพัฒนาการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการมาตรฐานระดับโลกให้แก่นักลงทุนไทย ล่าสุดได้ร่วมมือกับบริษัทบริหารสินทรัพย์นอกตลาด ชั้นนำอย่าง EQT ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สามารถระดมทุนการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด ได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก จากยอดระดมทุนมูลค่าหนึ่งแสนสองพันล้านเหรียญสหรัฐฯ6 ในขณะที่ Apollo ที่เป็นบริษัทชั้นนำด้านการจัดการสินทรัพย์ทางเลือกที่มียอดการปล่อยสินเชื่อนอกตลาดเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งมีมูลค่ารวมสี่แสนหกหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ7 นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะร่วมมือกับ Goldman Sachs เพื่อร่วมสร้าง Ecosystem การลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง

“ท่ามกลางความผันผวนสูงที่เกิดขึ้นในตลาดทุนทั่วโลก ทำให้โอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก อย่าง สินทรัพย์นอกตลาดน่าสนใจยิ่งขึ้น เพราะไม่ว่าจะกองทุนหุ้นนอกตลาด กองทุนอสังหาริมทรัพย์นอกตลาด และกองทุนอื่นๆ KBank Private Banking ได้ร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกในการคัดสรรบริษัทที่มีศักยภาพ และธุรกิจมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุน และช่วยให้นักลงทุนสามารถจัดพอร์ตการลงทุนที่เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนได้ในทุกภาวะเศรษฐกิจ” ดร.ตรีพล กล่าวปิดท้าย

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ลงนามกับนายอัตสึโอะ คุโรดะ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์กรรับประกันแห่งประเทศญี่ปุ่น (Nippon Export and Investment Insurance : NEXI) ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการรับประกัน (Insurance) โดยมีนายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และนายพิริยะ เข็มพล กรรมการ EXIM BANK เป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในพิธีลงนาม เพื่อใช้บริการประกันการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยและญี่ปุ่น โดยเฉพาะในตลาด CLMV และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ของไทย ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563

 

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ NEXI ครอบคลุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการให้บริการทางการเงินในรูปแบบการรับประกันและการรับประกันต่อ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงให้ผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นมั่นใจที่จะขยายการส่งออกและโครงการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทั้งในไทย ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก อันจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ของญี่ปุ่น การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรธุรกิจของญี่ปุ่น การพัฒนาทักษะแรงงาน โดยเฉพาะ SMEs และโอกาสใหม่ ๆ ทางการตลาด อาทิ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในญี่ปุ่น ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและญี่ปุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยบริการประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงด้านการลงทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่างทั้งสองหน่วยงานนี้จะช่วยให้การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกังวลความเสี่ยงจากผู้ซื้อ ประเทศผู้ซื้อ หรือประเทศเป้าหมายที่เข้าไปลงทุน นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการที่ใช้บริการประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงการลงทุนของ EXIM BANK สามารถโอนสิทธิในกรมธรรม์ประกันการส่งออกและการลงทุนเป็นหลักประกันในการขอรับสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ได้

 

ยิ่งไปกว่านั้น EXIM BANK และ NEXI ยังมีความร่วมมือด้านการรับประกันต่อระหว่างกัน ช่วยสนับสนุนการทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK ได้เป็นอย่างดี ทำให้ EXIM BANK สามารถรับความเสี่ยงในการทำธุรกิจรับประกันได้มากขึ้น ขยายขอบเขตการให้บริการแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยและญี่ปุ่นได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยมี NEXI ร่วมรับความเสี่ยงในการสนับสนุนธุรกรรมการส่งออกและการลงทุน

 

“EXIM BANK ขยายความร่วมมือกับ NEXI ในครั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของไทย ในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อยกระดับศักยภาพและเทคโนโลยีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทย กระตุ้นการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรม ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในไทยและขยายไปยังตลาด CLMV ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและโลกโดยรวม” นายพิศิษฐ์กล่าว

ยืนยง  ทรงศิริเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการปฏิบัติการและประสิทธิภาพธุรกิจสาขา ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า  ธนาคารมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในแบบลูกค้าต้องการ  โดยเห็นว่าช่องทางสาขาคือช่องทางในการให้บริการลูกค้าที่มีความสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทีเอ็มบีจึงได้พัฒนาสาขารูปแบบใหม่ สำหรับลูกค้าในยุคดิจิทัล  “ TMB Digital Branch Banking  Experience” เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการบริการในสาขาเพื่อไปสู่ธนาคารรูปแบบใหม่รายแรกของไทย นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่ก้าวต่อๆ ไปในการให้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้ง

  TMB Digital Branch Banking Experience  เป็นการนำเทคโนโลยีการออกแบบช่องทางการบริการมาผสานเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล  ช่วยให้กระบวนการธุรกรรมมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดระยะเวลารอคอย เกิดประสบการณ์ใหม่ที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน  โดยการบริการที่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับการใช้งานดังกล่าว มีอยู่ 4 ส่วน ประกอบด้วย 1. การนัดหมายล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ (New Queue Platform)  2. บริการข้อมูลผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ ผ่าน อี-โบรชัวร์ (E-Brochure) 3. เทคโนโลยี VDO Conference เพื่อให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก TMB Advisory 4. เจ้าหน้าที่ Navigator พร้อมอุปกรณ์ที่จะให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับการใช้บริการทุกธุรกรรม

         ยืนยง ทรงศิริเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการปฏิบัติการและประสิทธิภาพธุรกิจสาขา ทีเอ็มบี

ยืนยงกล่าวถึงรูปแบบสาขาว่า การออกแบบภายในจะเน้นการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรเพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าใจการเปลี่ยนผ่านการให้บริการนี้ โดยในระยะแรกต้องสร้างความเข้าใจทีละขั้นตอนเพื่อสร้างความคุ้นเคย ซึ่งจากการทดลองใช้งานมาช่วงหนึ่ง พบว่าลูกค้าชอบบริการที่นำมาใช้กับสาขารูปแบบใหม่  จึงนำไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สาขาเป็นแบบบริการตัวเองเพิ่มมากขึ้น

 รูปแบบของสาขาใหม่นี้เป็นอีกก้าวสำคัญของการให้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้งของทีเอ็มบี โดยยึดหลักให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย มีความสะดวกสบายและรวดเร็ว  นำความต้องการพื้นฐานมาสู่ประโยชน์ของลูกค้าและสร้างรูปแบบบริการตัวเองที่จะช่วยให้ลูกค้าติดต่อกับธนาคารได้ง่ายขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการธนาคาร  แต่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน ทีเอ็มบีจึงมุ่งเน้นการเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานก่อนเป็นอันดับแรก

 ประสบการณ์รูปแบบใหม่ผ่านสาขานี้จะให้อำนาจกับลูกค้าในการเลือกอะไร ที่ไหน และอย่างไร ตามความสะดวกของแต่ละคน ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ตัดขาดการสื่อสารกับคนด้วยกัน หากพอใจจะขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่โดยตรงมากกว่าผ่านระบบการบริการแบบครบวงจร ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสาขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เข้าถึงช่องทางบริการทางดิจิทัล และจะเป็นปัจจัยสำคัญให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายจากการเปลี่ยนผ่าน

        เจ้าหน้าที่ของสาขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เข้าถึงช่องทางบริการทางดิจิทัล

 ทั้งนี้ สาขารูปแบบใหม่จะนำร่องให้บริการใน 15 สาขา ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ประกอบด้วย เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, สยามพารากอน, ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต, เดอะมอลล์ บางแค, ซีคอนสแควร์, เซ็นทรัลพระรามเก้า, เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, แฟชั่นไอแลนด์, เซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, เซ็นทรัลเวิลด์, เดอะมอลล์บางกะปิ, เซ็นทรัล มหาชัย และทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่

X

Right Click

No right click