กล่าวขานกันมากเรื่อง Startup ของประเทศไทยในหลายปีที่ผ่านมา กับความคาดหวังกันในระยะแรกๆ ว่าเราน่าจะมียูนิคอร์นเกิดขึ้นได้ เป็นอีกความคาดหวังของทั้งภาครัฐและเอกชน นำมาซึ่งการลงทรัพยากรครั้งใหญ่ทั้งทุ่มเทและทุ่มทุนกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง งบประมาณหลั่งไหลตลอดระยะเวลา4-5ปี ที่ผ่านมา และวันนี้ที่เริ่มมีปมคำถามถึงความสำเร็จและแนวทางที่จะทำให้เราไปสู่เป้าหมาย และความท้าทาย ในเรื่องจุดอ่อน จุดแข็ง ความเป็นไปได้ เป็นไปไม่ได้ ที่Startup ไทยเราจะก้าวถึงฝั่งฝัน ประเด็นเหล่านี้ล้วนอยู่ในObservationของ ดร.สันติ กีระนันท์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้รับโจทย์และภารกิจในการศึกษาและสร้างกระบวนทัศน์เพื่อปิดจุดอ่อนและเปิดโอกาส Startupไทยให้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของโครงการ Thailand Inno Space ซึ่งนิตยสาร MBA มีโอกาสได้รับฟังถึงแนวคิดและกระบวนทัศน์เมื่อเร็วๆ นี้
MBA : แนวคิดริเริ่มของ Thailand Inno Space มีที่มาอย่างไร?
ดร.สันติ ถ้าไม่กล่าวถึง initiative ของท่านรองนายกสมคิด ที่กำหนดโจทย์และแนวทางเรื่องนี้มาให้ แล้วว่ากันแต่เรื่อง rational ของเรื่องนี้เลย คือเรามีข้อสังเกตว่า เวลาพูดเรื่องStartup ใน ประเทศ ไทย เกือบๆ 10 ปีหรือสัก 5ปีมาแล้ว ผมก็อยากรู้ว่าเรื่องนี้ขยับไปถึงไหน ใน observationของผมเอง ผมว่าเรื่องนี้เรายังไม่ได้ขยับไปไหนเลย เรายังอยู่กับที่
MBA : แต่ดูจะขยับในเชิงพีอาร์
ดร.สันติ : พีอาร์ขยับ มีการกล่าวกันว่าเราถูกรับรู้ว่าเป็น Startup Hub ของอาเซียน ซึ่งผมว่าเรายัง ไม่ใช่ และผมก็ยังไม่ยอมรับ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสำนักไหนจัด แต่ในข้อเท็จจริงเราต้องยอมรับ ว่า เรื่องนี้สิงคโปร์ไปไกลกว่าเรา และผมไม่ได้คิดว่าสิงคโปร์เก่งกว่าเรา แต่ผมคิดว่า สภาพแวดล้อมของเค้า เค้าทำอะไรก็ได้ ไม่ใช่เพราะว่าเค้ามีทรัพยากรเยอะ แต่เค้ามีความ เบ็ดเสร็จซึ่งต่างจากเราที่จะทำอะไรก็จะต้องฟังเสียง stakeholder ส่วนเรื่องที่สองคือ เรื่อง วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายว่าจริงๆ แล้วเราต้องการมี Startup หรือเราต้องการมี Innovation กันแน่? ซึ่งเรื่องนี้เป็นสาระสำคัญมาก ผมคิดว่า Startup เป็นแค่เครื่องมือหนึ่งเท่านั้น เป็นมนุษย์คนเดียวก็ยังได้เลย ประเด็นคืออยู่ที่ การcarry innovation เพื่อความก้าวหน้าในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ผมคิดว่าถ้าจะเกากันให้ถูกที่คันเลย เราควรสร้าง ระบบนิเวศน์ที่ใช่ และเอื้อต่อการได้มาซึ่งนวัตกรรม ส่วนที่สร้างกันขึ้นมาทั้งหลายทั้งปวง ผมว่าไม่ได้สร้างให้เกิดStartup แต่เราต้องการระบบนิเวศน์ที่เอื้ออำนวยแก่การสร้าง นวัตกรรมให้เกิดขึ้นในประเทศในท้ายที่สุด ดังนั้นโจทย์ของผมจึงไม่ใช่เรื่อง Startup โดยตรง แต่โจทย์ของผมคือ ทำอย่างไรให้ประเทศนี้ ในที่สุดแล้วเป็นประเทศที่สามารถ สร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้
MBA : แล้วอาจารย์กำหนดแนวทางโมเดลไว้อย่างไร?
ดร.สันติ : ผมจำลองแกนสองแกน โดยแกนนอนเป็นประเภทของเทคโนโลยี ซึ่งผมใช้คำว่า “ระดับ ของเทคโนโลยี” ตั้งแต่กลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีมากมาย และก็กลุ่มที่เป็น เทคโนโลยีกลางๆ จนถึงพวกที่เป็น deep technology ส่วนแกนตั้ง เป็นเรื่องการลงทุนเพื่อ สร้าง technology ซึ่งผมแบ่ง stage ของการลงทุนตั้งแต่เริ่มมีไอเดียเลยคือเราเรียกว่า pre- seed และต่อมาก็ระดับเอาไอเดียมาทำให้เกิดรูปธรรมมากขึ้น concrete ขึ้น ซึ่งก็อาจจะ เรียกว่า seed จาก seed ถ้าเกิดมันทำอะไรจนกระทั่งเริ่มเห็นความสำเร็จ ผมว่ามันก็ควรจะ ไปร่วม อยู่กับแถวซีรี่ส์เอ ซีรี่ส์บี จนกระทั้งจะไปซีรี่ส์อะไรก็ตาม ดังนั้นแกนตั้งของผมก็คือ stage ของ investment หรือว่า stage ของ development พอเขียนสองแกนนี้ cross กัน สิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็คือว่า ปัจจุบันประเทศไทยเราวุ่นวายอยู่กับการกับการคาดหวังกับ Round A และ Go IPO ในระดับ non-tech และ tech สีเขียวอ่อนกับสีเขียวแก่ แต่ investor ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ทุกวันนี้แทบไม่กล้าลง seed เลย ส่วนในระดับ pre-seed ถามว่ากล้าลงไหม? คำตอบคือ ไม่กล้า
แต่ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน รัฐไม่กล้าลง seed หรือ pre-seed เพราะเหตุผลของแนวคิดดั้งเดิม เลยคือทรัพย์สินของรัฐ ต้องตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ หายไม่ได้ เพราะฉะนั้นลงอะไรที่ เสี่ยงมี down side มากๆ ก็ลงไม่ได้ เพราะถ้าลงก็จะเป็นความผิดของผู้กระทำได้
สำหรับภาคเอกชน พูดกันอย่างยุติธรรม หรือ to be fair การจะinvest ในอะไรก็ตาม ก็ย่อม มุ่งหวังผลสำเร็จมากกว่าจะเป็นผู้เติมเต็มให้กับระบบนิเวศน์ การจะลงในระดับseed และ pre-seed ไม่มีทางเลยที่เอกชนทั่วไปจะลง ประสบการณ์นี้ไม่ใช่แค่ตอนทำเรื่อง Startup เรื่อง Innovation เมื่อเกือบ 20ปีที่แล้วตอนทำตราสารหนี้ ก็เหมือนกันเลย
ที่ว่าตลาดตราสารหนี้ไม่ take off ตอนนั้น เพราะ mentality ของรัฐคือ สำนักงานบริหารหนี้ สาธารณะไม่มีหน้าที่ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สำนักบริหารหนี้ฯ ตอนเริ่มแรกขึ้นมา แยกจากบัญชีกลาง มีภาระอย่างเดียวคือ financing ให้กับภาครัฐ และ financing โดยที่ mission ของเค้าคือเมื่อไหร่ก็ตามที่งบประมาณขาดทุน เค้ามีหน้าที่หาเงินเติมให้เต็ม เพราะฉะนั้นถ้างบประมาณสมดุลหรืองบประมาณเกินดุลเค้าจะไม่ทำอะไรเลย ทีนี้ mentality แบบนั้นในการที่เค้าหาเงินจากตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้ก็เป็นวงแคบๆ ตื้นๆ แล้ว ถ้าจะหาเงินด้วยการออกธนบัตรทีก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ภาคเอกชนยิ่งไม่ต้องคิดเลยออกตราสาร หนี้ไม่ได้เลย เพราะภาคเอกชนตอนนั้นไม่มี benchmark จากภาครัฐว่า risk free อยู่ ตรงไหน เมื่อมันไม่เห็น risk free ภาคเอกชน pricing ไม่ถูก มัน price ไม่ได้เลยว่า ดอกเบี้ยจะให้เท่าไหร่ พอไปบอกภาครัฐว่าภาครัฐช่วยออกตราสารหนี้แม้ยามที่ภาครัฐไม่มี ความต้องการเงินก็ตาม ช่วยออกธนบัตรเพื่อหล่อเลี้ยงตลาด ภาครัฐบอกว่านี่ไม่ใช่หน้าที่ จะทำไงได้ ก็เข้าใจได้อยู่เพราะว่าการดำเนินงานก็จะกลายเป็น Negative Carry จนมาถึง เวลาหนึ่งที่ run inefficive budget ตลอด แล้วภาครัฐก็เริ่มเข้าใจแล้วว่าปล่อยไปอย่างนี้ ไม่ได้ แต่ว่ามันเป็น inefficive budget ยังไงก็ต้องออกเพื่อหล่อเลี้ยงตลาด ออกเพื่อสร้าง benchmark มาตลอด mentality จึงเปลี่ยน อันนี้คือเมื่อประมาณ 10 กว่าปีให้หลังนี้เอง ตรา สารหนี้ไทย take off เลย ก็จะเห็นว่าภาครัฐทำในสิ่งที่ภาคเอกชนทำไม่ได้ เมื่อทำแล้วจน มันเกิดแล้วจนมัน take off ไม่เป็นไรแล้ว ภาคเอกชนสามารถ carry concept ลักษณะนี้ก็สามารถประยุกต์ให้เกิดไปได้ทุกเรื่อง
MBA : หมายความว่ารอบนี้ Thailand Inno Space จะเน้นไปที่ ระดับ pre-seed เลย?
ดร.สันติ : ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นภาครัฐจะทำยังไงเมื่อภาคเอกชนไม่ลงทุนในระดับ pre-seed เลย ซึ่งหมายความว่าinnovation มันเกิดไม่ได้เลยถ้าไม่ผ่านขั้นนี้ไป ผมคิดว่าภาครัฐจะต้อง step-in แต่ต้อง step-in อย่างระมัดระวัง พอมันเทคออฟ มันก็ไปของมันละ โมเดลแบบนี้ ประเทศอิสราเอลประสบความสำเร็จเรื่องนี้มากๆ ภาครัฐเข้ามาเพื่อกระตุ้นเพื่อให้เกิด ความสำเร็จในArea แถวๆ นี้แต่เค้ามีความง่ายกว่าเราตรงที่เค้ามี 8 ล้านกว่าคนและเป็น mathematician กันหมดเลย มันถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ปลูกความคิดแบบthink out of the box มาตั้งแต่เด็ก
MBA : อย่าง America ไม่ได้เป็นเรื่องการให้เงิน แต่เป็นเรื่อง licensing technology ให้ซึ่งสำคัญ
ดร.สันติ ก็ใช่ อย่างกรณี อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นมาเพราะว่าเป็น technologyของ ทหาร หลังจากนั้น ค่อย publicize ออกมาใช้ในสาธารณะ ก็จะเห็นว่าทุกอย่างต้องเกิดมาจากภาครัฐ ที่ทำหน้าที่ ทำสิ่งที่ภาคเอกชนทำไม่ได้ เพราะเอกชนคิดว่าทำแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งที่จริง แนวคิดนี้ รัฐทุกรัฐต้องมีความเข้าใจ ก็จะเห็นว่ารัฐไทยเองก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เข้าใจ รัฐไทยใน เวลากระตุ้นเศรษฐกิจ ก็มี inject เข้าไปเพื่อที่จะสร้าง consumptionให้เกิดขึ้นในภาคเอกชน รัฐ inject ตัว G เข้าไปเป็น Government expenditure เพื่อไปกระตุ้นให้มี กระแสเงิน หมุนเวียน เพื่อให้ multiplier ทำงาน หลังจากนั้นตัว I ที่เป็นเอกชน และ X ก็จะ generate ตาม เพราะฉะนั้นภาครัฐเข้าใจบทบาทหน้าที่ตัวเอง เพียงแต่จะทำยังไงเท่านั้นเองเพื่อให้กลไกมันไปได้ นั่นคือเรื่องแรก
ส่วนที่คุยกันว่า degree ของ technology อยู่ตรงไหน ผมว่า 80-90% ของStartup เราเป็น การสร้าง App เป็นส่วนใหญ่ แทบทั้งนั้น และค่อนไปทางสายฟินเทคแทบทั้งนั้น ซึ่งฟินเทค เหล่านั้นซึ่งผมดูทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น insurance หรืออะไรก็ตามที่อยู่ในด้าน financial sector ผมนับเป็นฟินเทคทั้งสิ้น คำถามในใจคือมันใหม่จริงหรือ? ผมเริ่มไม่มั่นใจว่ามันใหม่ หลายอย่างในต่างประเทศเค้ามีมาก่อนแล้วและ นานแล้วด้วย บางกรณีมีมานานกว่า 10ปี แล้ว ดังนั้น ประเด็นมันจึงน่าจะอยู่ที่เรื่องระดับของเทคโนโลยีที่มันกระจุกอยู่ในฝั่งซ้ายมาก และมันไม่ไปทางขวาเลย ถึงได้มาถึงจุดนี้ว่า ที่จริงแล้วการจะผลักดันให้เกิด Startup ก็ดี หรือส่งเสริมเศรษฐกิจนิเวศน์ใหม่ก็ดี ประเด็นมันจึงน่าจะเป็นเรื่อง Innovation ซึ่งเราไม่ได้ ลงในdeep tech กันจริงๆ เลย และไม่ให้น้ำหนักกับการลงในระดับ pre-seed และ seed อีก ด้วย
MBA : แล้ว ทิศทางหรือ focus จะลงไปในภาคส่วนไหนเป็นหลักหรือไม่?
ดร.สันติ : มองข้อเท็จจริงประเทศไทยเรา จะพบว่ามีอยู่สองเบสเป็นฐานใหญ่คือ ฐานเกษตร (Agricultural Base) กับ ฐานอุตสาหกรรม (Industrial base) เมื่อต้นปีเคยมีพรรคการเมือง หนึ่งในชวนผมไปเข้าพรรคอยากให้ไปช่วย refine นโยบายพรรค โดยประเด็นของเค้ามอง ว่า industrial base ของไทยเราไปไหนไม่รอดแล้ว พอวันนี้ที่ผมได้เข้ามาอยู่ในกระทรวง อุตสาหกรรม ทำให้ผมเห็นตรงข้ามเพราะว่ามันไม่จริง โดยผมเห็นว่า industrial base ของ ไทยยังสามารถไปได้อีกไกล แต่จะต้อง break paradigm คือไม่สามารถทำอะไรแบบเดิมต่อไป เพราะว่าวันนี้ productivity เราต่ำ efficiency เราก็ไม่สูง แล้วสาเหตุเพราะอะไร? คำตอบคือ plug innovation ของเราไม่ทันคนอื่น เราใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง เรา สร้างผลผลิตออกมาโดย take away future resource มาใช้ในปัจจุบันอย่างเยอะ ถ้าเราจะ พัฒนาภาคอุตสาหกรรมของเราให้ไปแบบแรงๆ เร็วๆ กว่านี้ ในกระบวนทัศน์เดิม เราก็จะ สร้างปัญหาให้กับคนรุ่นหลังต่อไปในอนาคตอย่างมาก เพราะเราไม่ได้ใช้นวัตกรรมใดๆ เลย เพื่อทำให้เกิดการประหยัดในทรัพยากร หรือเพื่อทำให้ประสิทธิภาพเราสูง ผมจึงมั่นใจ อย่างยิ่งว่า นวัตกรรมเท่านั้นคือคำตอบ ซึ่งเราขาดด้านขวาของ technology คือด้านที่เป็น deep technology ตอนนี้กระแสส่วนใหญ่จะพูดไปในเรื่อง AI (Artificial Intelligence) พูด เรื่อง Data Analytics กันแล้วซึ่งผมมองว่า เทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นแค่ enablerที่เข้าไปเป็น supporter ในทุกๆ technology แต่เราต้องใส่เทคโนโลยีที่เข้ามาเป็น fundamental ที่ทำให้เราไปต่อให้ได้ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ เราจะไม่สามารถสร้างประสิทธิภาพได้ แน่นอนว่า เรื่อง AI เรื่อง IOT ก็ต้องพัฒนา แต่Deep Tech สำหรับกลุ่ม Real sector ที่จะมายกระดับภาค เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม จำเป็นที่สุด ทุกวันนี้ ประชากรไทยมากกว่าครึ่งประเทศยัง เป็นเกษตรกร รายได้ยังไม่สม่ำเสมอ เรามีเป้าหมายที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเรา อาศัย deep tech เข้ามาเป็นเครื่องมือได้
MBA : ขออาจารย์ช่วยขยายแนวคิดกรณีตัวอย่างหรือแนวทางที่เป็นเทคโนโลยี deep tech
ดร.สันติ : อย่างแรกคือ Agri-tech แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องไปในแนวเฉพาะ breeding ไม่ว่าจะสัตว์หรือพืช เท่านั้น แต่อันนี้ ต้อง Bio-engineering/ Bio-economy / Bio-base ทั้งสายจนกระทั่งถึง Logistic ที่มาสนับสนุนเรื่อง Bio เพราะฉะนั้นมันก็จะเกี่ยวกับ engineering ด้วยคือ deep tech บน value chain หรือ sky chain คือยาวมากกับคำถามที่ผมว่าคาใจคนหลายคน ทีเดียว
สมัยสอนหนังสือใหม่ๆ ที่จุฬาฯ เมื่อ 30ปีก่อน ต้องยอมรับว่า จุฬาฯ ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น มหาวิทยาลัยอันดับ1ของประเทศไทย ผมสอนอยู่ผมก็ภูมิใจ แต่ก็เคยแอบสงสัยและถาม ตัวเองว่า ทำไมมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยไม่ใช่มหาวิทยาลัยด้านเกษตร หรือ เกษตรศาสตร์ เหตุผลที่สงสัยเพราะไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราขายข้าวเป็นตัน ขายมันสำปะหลังเป็นตัน เราขายผลผลิตทางการเกษตร เราขายที่ Primary stage ของมันทั้งสิ้น เราไม่ได้เพิ่มมูลค่าใดๆ ลงไปในผลผลิตทางการเกษตรของเรา และนี่ก็เป็นคำถามที่คาใจในพวกเรามาหลายสิบปี ดังนั้นเวลาพูดที่ระบบการปรับเปลี่ยน เศรษฐกิจของประเทศ การ Transform การปฏิรูป ผมคิดว่าเราต้องตอบโจทย์ในเรื่อง นวัตกรรมทางด้านการเกษตร หรืออีกนัยคือนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมภาคเกษตร
ทุกวันนี้ เทคโนโลยีสมาร์ตฟาร์ม หรือ iOT มีการนำเข้ามาใช้แล้ว
แล้วถามว่า แล้ว iOT ตอบโจทย์มั้ย? Information science ตอบหรือไม่? แน่นอนตอบ เพราะให้สายพันธุ์ดี และเรายังต้องสามารถต่อท่อสายส่งถึงตลาดและความต้องการ เรา ต้องรู้ดีมาน ดังนั้น information science หรือ data analysis เรื่อง big data ซึ่งเป็น international big data ที่จะเปิดทางให้เราเล่นกับตลาดโลก ซึ่งในระดับนั้น เราถึงจะสามารถรู้ได้ถึงความต้องการในโลกและสามารถทำการประเมินหรือคาดการณ์ ซึ่งจะมีผล ต่อการเกษตรในเรื่องการผลิตอย่างไรให้ตอบโจทย์ สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้เรา control supply ไม่ให้ผลผลิตมากเกินไป ซึ่งหมายถึงราคาที่ตกต่ำ และการขาดทุนของเกษตรกร อันนำมาซึ่งจุดจบและความยากจนอยู่ดี
เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของ Value chain เรื่อง Supply chain ที่อยู่บนเรื่อง Innovation ตลอด สาย Thailand Inno Space เราจะทำเรื่องนี้ในภาพใหญ่ และมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมที่ เกี่ยวข้องกับประเทศไทย
ส่วนArea ที่ 2 จะเป็นเรื่อง Wellness เป็นเรื่องHealth เพราะในอาเซียนถ้าพูดเรื่อง ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ไทยเรากับสิงคโปร์ แข่งกันอยู่สองประเทศ ที่หนึ่งกับที่สอง ตลอดมาการลงทุนในภาคส่วนนี้ของเราเริ่มใหญ่ขึ้น beatกับสิงคโปร์มาตลอด หมอไทย เก่งๆ เต็มไปหมด แต่ไหนแต่ไหนนักเรียนแพทย์ของเราคือเด็กหัวกะทิจากทุกโรงเรียนทั้งแถวหน้าในกรุงเทพและที่ 1 จากทั่วประเทศ ไม่ว่าจะโรงเรียนสวนกุหลาบ เตรียมอุดมฯ คะเนว่าประมาณ 20% ของเด็กเก่งที่สุดเข้าคณะแพทย์หมดทุกมหาลัย 30-40% ของเตรียม อุดมเข้าคณะแพทย์หมด เพราะฉะนั้น Health Education เป็นเรื่องสอง
แต่ว่าไม่ว่าจะ Health หรือว่าจะเป็น Agriculture ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของ bio base ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเรื่อง deep tech ผมคิดว่าต้องมุ่งไปด้านนี้โดยที่มี engineering science เป็น tool ที่จะช่วยให้เราไปให้ได้ อันนี้เป็นแนวคิดเริ่มต้นของ Thailand Inno Space ในมิติเพื่อ การเติมเต็มระบบนิเวศน์ที่เราไม่มี ที่เราขาดหายไป ดังนั้น Risky Project ต้องเกิดขึ้นแล้ว
MBA : จากที่กล่าวว่าแสดงว่า เราต้องปรับกระบวนทัศน์ หรือparadigm หลายมิติมาก
ดร.สันติ : แน่นอน และเราไม่ได้ทำงานกระทรวงเดี๋ยว เราจะทำงานร่วมกับกระทรวงวิทย์ฯ ร่วมกับ สวทช. เรามี Agree กันเพราะเมื่อไปนั่งคุยทำความเข้าใจกันแล้ว เรารู้ว่าเราทำเรื่อง เดียวกัน เราจึงจับมือกัน เพราะฉะนั้นในระดับกระทรวงวิทย์ฯ กับกระทรวงอุตสาหกรรมเป็น อย่างน้อยที่เริ่มต้นทำงานภาคเกษตร เราจะค่อยๆ กระจายไปเรื่อยๆ เพราะมันคือประเทศไทย ทั้งประเทศ เราต้องร่วมมือกัน
MBA : แล้วรูปธรรมจะออกมาในแนวไหน ต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือต้องแก้กฎหมายอะไร ใหม่หรือไม่?
ดร.สันติ : แก้กฎหมายผมคงไม่ เพื่อลดขั้นตอนและขจัดความซับซ้อน เนื่องจาก สวทช. ได้ขอมติ ครม. เพื่อให้ ครม. รับรองไปแล้วเพื่อจะตั้ง บริษัท โฮลดิ้ง (Holding company) ขึ้นมาเพื่อที่จะ จัดตั้งศูนย์วิจัย (Research Center) ในต่างประเทศ เพื่อจะไป ride-on knowledge เพื่อให้ ได้ความรู้มาเลย ส่วน Thailand Inno Space เองก็มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อที่จะเอาไป scout startup จากต่างประเทศเข้ามา อย่างเช่นอิสราเอล หรืออื่นๆ เลยเป็นว่าเรากำลัง ทำงาน complies กัน ผมกับอาจารย์ณรงค์ เลยคิดเห็นเหมือนกันว่า เราต้องทำงานด้วยกัน โดยขั้นต่อไป จึงเป็นเรื่องรูปแบบและโครงสร้างขององค์กรที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเราอยากให้เป็นรูปบริษัทจำกัด เพราะต้องการให้ทำงานแบบเอกชน และไม่ใช้ทรัพยากรของภาครัฐในการลงทุน เพราะไม่อยากจะไปติดระเบียบของ สตง. (สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน) และต้องกลับไปสู่แนวคิดเดิมคือ ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ก็จะทำให้เราไม่สามารถลงไปสู่ ระดับ seed และ pre-seed ได้ ส่วนภาคเอกชนก็จะติดในเรื่อง Maximize profit ดังนั้นเมื่อ เป้าหมายสำคัญที่เราต้องการทำเพื่อ serve public interest หรือผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยที่รัฐจะสามารถใส่นโยบายเข้าไปได้ด้วย โดยรัฐเป็นบอร์ด แต่บริหารภายในรูปแบบ เอกชน เลยจะยกเคส Tris rating ที่เคยประสบความสำเร็จในการจัดโครงสร้างบริษัทฯ ลักษณะนี้เมื่อ 25 ปีก่อน และสำเร็จจนทุกวันนี้ โดยครั้งนี้รัฐถือหุ้น 5% และไประดมเอกชน มาอีก 95% โดยตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ spirit ของTris ก็คือหากำไร แต่ทำเพื่อประโยชน์ ของส่วนรวม ประธานบอร์ดของ Tris โดยส่วนใหญ่ก็มาจากไม่คลัง ก็แบงก์ชาติ Tris มีเก้าอี้ ของข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อconvey message จากภาครัฐ และพอดู structure ของผู้ ถือหุ้นจากภาคเอกชน ซึ่งตอนนี้ เอกชนที่ยินดีจะช่วยเหลือภาครัฐก็มี ภายใต้การออกแบบ โครงสร้างผู้ถือหุ้นที่เป็น การรวมตัวเพื่อสร้างประโยชน์ภายใต้การดำเนินงานแบบเอกชน แต่ไม่ maximize profit แล้วก็รับนโยบายรัฐเพื่อทำสิ่งที่ภาคเอกชนไม่ทำ คิดว่าแนวทางนี้ ไปได้
MBA : แล้วบริษัทนี้อาจารย์จะ Financing ยังไง?
ดร.สันติ : ตอนนี้มีภาคเอกชนที่แสดงความสนใจอยู่หลายองค์กรที่ได้เริ่มมีการพูดคุย คือ องค์กรนี้จะเป็นองค์กรที่ neutral และรวมคนเก่งจากหลายๆ ที่เข้ามารวมกันบน เป้าหมายไม่เพียงเป็น incubator,investor หรือ accelelator แต่จะเป็น fullfiller ที่จะเติมเต็มในสิ่งที่ไม่มีใครทำ เป็น facilitator เป็น enabler และเป้าหมายที่ strong มากคือต้องการ scout innovation carrier จากต่างประเทศ และตอนนี้เราเล็งไปที่ อิสราเอล, ฮ่องกง,ไต้หวัน, ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
MBA : แล้วเรื่อง ขนาด size?
ดร.สันติ : ไม่ต่ำกว่า 400 - 500 ล้าน ผมไม่ขอเงินรัฐเลย ยิ่งตอนนี้ผม Subject through พิธีการทางรัฐแล้วซึ่งก็จะทำอะไรที่ออกนอกกรอบไม่ได้ แบบนี้Project หนึ่งจะ up through กี่ล้านก็ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับ Degree ของ technology ยิ่ง Deep tech เท่าไหร่ ยิ่งต้องการเงินมาก ที่ไม่ค่อย deep เท่าไหร่ เงินไม่กี่ล้านก็เป็น development แล้ว
MBA : กำหนด exit planไว้หรือสำหรับ Thailand Inno Space และต้อง มีกำไรหรือไม่?
ดร.สันติ : แน่นอน ในที่สุดแล้วเราก็ต้อง exit ไม่ว่าโจทย์ของเราคือเป็น public policy เป็นdebt maker เป็น executor หรือยังไงก็ตาม ก็เพื่อให้ได้มาซึ่ง innovation และเป็น open innovation เพื่อไปตอบโจทย์กับผู้ประกอบการอีกระดับหนึ่งคือ SME ใน ระดับ N พวกนี้ต้องโตและ need research and development แต่ไม่มีแรงทำเอง เพราะฉะนั้นการทำ innovation ไม่จำเป็นต้องทำ free domain แต่ว่าเป็น licensing ที่ราคา afforable ซึ่งmodel นี้ไม่ได้ใหม่ แต่เป็น model ที่มีอยู่แล้วนำมา implement เพราะประเด็นคือ ไม่มีใครทำจริงจัง ซึ่งThailand Inno Space จะทำจริงจัง
MBA : แล้ว Application จะยื่นได้เมื่อไหร่?
ดร.สันติ ตั้งใจว่าหลังจากยื่นเรื่องของบริษัทจะรับทันที ช่วงต้นปี หมายความว่าตอนนี้ใคร มีไอเดียก็มายื่นได้เลย เพราะเป็น pre-seed ผมคิดว่ายังไม่จำเป็นว่าจะต้องตั้งนิติบุคคลก่อน แต่ต้องมี contract ระหว่างกัน
MBA : จะเป็น Grant หรือ Equity?
ดร.สันติ : อยากให้เป็น equity เพราะผมเป็นคนไฟแนนซ์ ผมเชื่อเรื่อง agency problem เงิน ที่ให้เปล่ามันเป็น free lunch ปัญหาเกิดแน่ เราตามดูไม่ได้ทั้งหมด ในตลาดตอนนี้ หลายโปรแกรมใจป้ำมาก มีเงินให้เปล่า ให้ไปเลย มองว่าถ้า grant ไปเลยจะ ควบคุมไม่ได้ เราจะรู้ได้ยังไงว่าเอาเงินไปทำอะไร ตรงวัตถุประสงค์หรือไม่? ผมคิดว่า มีสองทางคือ ถ้าไม่เป็น equity ก็เป็น debt และอีกอย่างคือเราไม่ได้คิดจะให้แค่เงิน เราไม่ได้ทำงานคนเดียว เราพร้อมจะเป็นพันธมิตร ตอนนี้ เรามี Science Park อยู่หลายแห่ง อย่างเชียงใหม่ก็มี STEP น่าอยู่มาก เป็นทั้ง co-working space หรือที่ระยองก็มี RAIST (Rayong Advanced Institute of Science and Technology) ที่พูดได้ว่าเป็นScience engineer ระดับtop ของประเทศไทย ซึ่งต่อไปก็จะมาร่วมกัน provide facilities ในเรื่อง ของการดูแล Startup ในโครงการ
MBA : ความมั่นใจว่า Thailand Inno Space จะสำเร็จและตอบโจทย์ของStartup มีแค่ไหน?
ดร.สันติ : ถ้าพูดจริงๆ แล้วเนื่องจาก mission ผมมีอย่างเดียวคือต้องการ innovation เราจะ ใส่ทรัพยากรที่เรามี และใส่เต็มที่ ผมจะอำนวยในด้านสภาพแวดล้อมให้ หน้าที่คุณ คือใช้แรงบันดาลใจ ใช้creativity และถ้าเรามีสภาพแวดล้อมโดยที่เอาอิสราเอลมา เอาไต้หวันมา ผมเชื่อว่าไปได้ไกล
MBA : ความพร้อมของ Thailand Inno Space ที่จะเปิดตัว
ดร.สันติ : ในด้าน Concept ชัดเจนแล้ว หน้าที่ผมคือขายให้กับรัฐบาลให้เห็นชัด ในด้าน พันธมิตรก็ได้มีการพูดคุยกันแล้ว และคาดว่าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงก็จะผลักดัน ให้เกิดภายในปีนี้ ภายใต้รัฐบาลนี้
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
ภาพ : สาธิดา พิชณุษากร