November 23, 2024

ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO)  บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยและเครือข่าย ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นคลัสเตอร์ AI ที่ก้าวล้ำ พร้อมด้วยเทคโนโลยีจาก NVIDIA สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ที่จะพลิกโฉมการสร้าง การจัดการ และการปรับแต่งโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์

ภายใต้วิสัยทัศน์ Cisco Networking Cloud ซึ่งมุ่งที่จะลดความซับซ้อนของเครือข่าย ซิสโก้ได้นำเสนอโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานแบบครบวงจรที่พร้อมใช้งานในระดับองค์กร เพื่อรองรับเวิร์กโหลด Generative AI โดยโซลูชั่นคลัสเตอร์ Cisco Nexus HyperFabric AI ผสานรวมเครือข่ายแบบ AI-native ของซิสโก้ เข้ากับระบบประมวลผลที่มีการเร่งความเร็วและซอฟต์แวร์ AI ของ NVIDIA และที่เก็บข้อมูล VAST ที่แข็งแกร่ง โซลูชั่นดังกล่าวได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถโฟกัสไปที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI รวมถึงโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการจัดการระบบไอที

รายงานแนวโน้มด้านระบบเครือข่ายทั่วโลก (Global Networking Trends Report) ฉบับล่าสุดของซิสโก้ ระบุว่า ในช่วงสองปีข้างหน้า 60% ของผู้บริหารและบุคลากรด้านไอทีคาดว่าจะมีการปรับใช้ระบบเครือข่ายอัตโนมัติเชิงคาดการณ์ที่รองรับ AI ในทุกโดเมน เพื่อให้สามารถจัดการ NetOps ได้ดียิ่งขึ้น1 นอกจากนี้ 75% มีแผนที่จะปรับใช้เครื่องมือที่รองรับการตรวจสอบแบบครบวงจรผ่านคอนโซลหนึ่งเดียว ครอบคลุมโดเมนเครือข่ายที่แตกต่างกัน เช่น เครือข่ายแคมปัสและสาขา, WAN, ดาต้าเซ็นเตอร์, อินเทอร์เน็ต, ระบบ คลาวด์สาธารณะ และเครือข่ายอุตสาหกรรม

 

โจนาธาน เดวิดสัน รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของ Cisco Networking กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าอนาคตของ AI จะมีความชัดเจน แต่หนทางข้างหน้าสำหรับหลายๆ องค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นการปรับใช้เทคโนโลยีกลับไม่เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายทางด้านการเงินและการดำเนินงานสำหรับการเริ่มต้นใช้งาน AI Stack ซิสโก้มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการติดตั้งใช้งานและการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน AI ให้สะดวกง่ายดายมากขึ้น โดยเราได้ร่วมมือกับ NVIDIA เพื่อนำเสนอโซลูชั่น AI Stack ที่ปรับใช้ได้อย่างง่ายดายและควบคุมผ่านระบบคลาวด์ โซลูชั่นที่ว่านี้สร้างขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์แพลตฟอร์ม Cisco Networking Cloud ของเรา ซึ่งมุ่งเน้นการทำงานแบบอัตโนมัติและเรียบง่าย”

เควิน ไดเออร์ลิง รองประธานอาวุโสฝ่ายระบบเครือข่ายของ NVIDIA กล่าวว่า “Generative AI จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ที่ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการพลิกโฉมธุรกิจได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ NVIDIA และซิสโก้ร่วมมือกันเพื่อส่งมอบแพลตฟอร์ม AI และระบบควบคุมที่พร้อมใช้งานสำหรับองค์กร เพื่อเพิ่มความสะดวกในการติดตั้งใช้งานระบบประมวลผลแบบเร่งความเร็ว ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับเวิร์กโหลด Generative AI”

ซิสโก้ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับใช้โครงสร้างพื้นฐาน AI ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ซิสโก้ยังส่งมอบเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับลูกค้าเพื่อสร้างเครือข่าย AI-native ที่ใช้งานง่าย สามารถคาดการณ์ความล้มเหลวในการทำงาน ตลอดจนวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาได้อย่างฉับไว

วิธีการทำงานของ Cisco Nexus HyperFabric AI Cluster

โซลูชั่นนี้รองรับการออกแบบ ปรับใช้ ตรวจสอบ และรับรองพ็อด AI และเวิร์กโหลดของดาต้าเซ็นเตอร์อย่างครบวงจร โดยจะแนะนำผู้ใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ไปจนถึงการติดตั้งใช้งานที่ผ่านการตรวจสอบยืนยัน ไปจนถึงการตรวจสอบดูแลและรับรองโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่พร้อมใช้งานระดับองค์กร ด้วยความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ ลูกค้าจะสามารถติดตั้งและจัดการแฟบริคขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั่วทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโคโลเคชั่น (Colocation) และไซต์ Edge ได้อย่างง่ายดาย

 

โซลูชั่นคลัสเตอร์ Cisco Nexus HyperFabric AI นำเสนอการทำงานแบบอัตโนมัติที่ควบคุมจัดการผ่านระบบคลาวด์ ครอบคลุมระบบประมวลผลและเครือข่ายแบบครบวงจรที่ผสานรวมความเชี่ยวชาญด้านสวิตช์อีเธอร์เน็ตของซิสโก้บน Cisco Silicon One โดยบูรณาการเข้ากับระบบประมวลผลแบบเร่งความเร็วของ NVIDIA และซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise รวมไปถึงแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลของ VAST โซลูชั่นดังกล่าวประกอบด้วย:

· ความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ของซิสโก้ ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนของการดำเนินงานด้านไอทีในทุกขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์

· สวิตช์ Cisco Nexus 6000 series สำหรับ Spine และ Leaf ซึ่งให้ประสิทธิภาพของแฟบริคอีเธอร์เน็ต 400G และ 800G

· โมดูล QSFP-DD ในตระกูล Cisco Optics ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้าและให้ความหนาแน่นสูงมาก

· ซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาและปรับใช้เวิร์กโหลด Generative AI ในระดับเทียบเท่าการใช้งานจริง

· ไมโครเซอร์วิสการอนุมาน NVIDIA NIM ที่เพิ่มความรวดเร็วในการปรับใช้โมเดลพื้นฐาน พร้อมทั้งรับประกันความปลอดภัยของข้อมูล และสามารถใช้งานร่วมกับ NVIDIA AI Enterprise · NVIDIA Tensor Core GPU ที่เริ่มต้นด้วย NVIDIA H200 NVL ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มพลังให้กับเวิร์กโหลด Generative AI ด้วยสมรรถนะที่เหนือชั้นและความสามารถของหน่วยความจำที่เหนือกว่า

· หน่วยประมวลผลข้อมูล NVIDIA BlueField-3 DPU และ BlueField-3 SuperNIC สำหรับการเร่งความเร็วของเวิร์กโหลดด้านเครือข่ายประมวลผล AI การเข้าถึงข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย

· ดีไซน์ต้นแบบระดับองค์กรสำหรับ AI ที่สร้างขึ้นบน NVIDIA MGX ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเซิร์ฟเวอร์แบบแยกส่วนที่มีความยืดหยุ่นสูง

· VAST Data Platform ซึ่งให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบครบวงจร ฐานข้อมูล และเอนจิ้นฟังก์ชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลซึ่งสร้างขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ AI

มีองค์กรในไทยเพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มี ‘ความพร้อมเต็มที่’ (Mature) ในการรับมือกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยุคใหม่ ตามที่ระบุไว้ในรายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity Readiness Index) ประจำปี 2567” ของซิสโก้

รายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประจำปี 2567” ของซิสโก้ ได้รับการจัดทำขึ้นในยุคที่มีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างหลากหลาย (hyperconnectivity) และสถานการณ์ภัยคุกคามมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ บริษัทต่างๆ ยังคงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยเทคนิคที่แตกต่างมากมาย ตั้งแต่ฟิชชิ่งและแรนซัมแวร์ ไปจนถึงการโจมตีจากซัพพลายเชนและโซเชียล เอนจิเนียริ่ง ถึงแม้ว่าองค์กรต่างๆ จะมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการโจมตีเหล่านี้ แต่ก็ยังคงประสบปัญหาในการป้องกันภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีความซับซ้อนมากจนเกินไป เนื่องจากมีการติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมาก ก็ส่งผลให้องค์กรประสบความยากลำบาก ปัญหาท้าทายเหล่านี้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบกระจายในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลสามารถแพร่กระจายไปยังการให้บริการ อุปกรณ์ แอปพลิเคชั่น และผู้ใช้จำนวนมากอย่างไม่จำกัด อย่างไรก็ตาม 89% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามยังคงรู้สึกมั่นใจใน ‘ระดับปานกลางถึงระดับสูงมาก’ เกี่ยวกับความสามารถในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ความแตกต่างระหว่าง ‘ความเชื่อมั่น’ และ ‘ความพร้อม’ นี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ อาจมีความมั่นใจที่ผิดเกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการรับมือกับภัยคุกคาม และอาจไม่สามารถประเมินความรุนแรงที่แท้จริงของปัญหาท้าทายกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างถูกต้อง

รายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประจำปี 2567” ของซิสโก้: บริษัทที่ ‘ไม่เตรียมพร้อมและมีความมั่นใจมากเกินไป’ ต้องเผชิญและรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

รายงานดัชนีนี้ประเมินความพร้อมของบริษัทใน 5 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ระบบอัจฉริยะด้านข้อมูลบุคคล, ความยืดหยุ่นของเครือข่าย, ความน่าเชื่อถือของแมชชีน, ความแข็งแกร่งของคลาวด์ และการเสริมกำลังด้วย AI ซึ่งประกอบด้วยโซลูชั่นและฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้อง 31 รายการ โดยอิงจากการสำรวจความคิดเห็นแบบปกปิดสองทาง (Double-Blind) ของผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยและฝ่ายธุรกิจขององค์กรเอกชนมากกว่า 8,000 คนใน 30 ประเทศทั่วโลก โดยการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ดำเนินการโดยองค์กรอิสระ ผู้ตอบแบบสอบถามถูกขอให้ระบุว่ามีโซลูชั่นและฟีเจอร์ใดบ้างที่พวกเขาได้ติดตั้งใช้งาน รวมถึงระดับของการใช้งาน จากนั้นบริษัทต่างๆ ถูกแบ่งกลุ่มตามระดับความพร้อม 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ Beginner (ระดับเริ่มต้น), Formative (ระดับสร้างฐานความพร้อม), Progressive (ระดับก้าวหน้า) และ Mature (ระดับพร้อมเต็มที่)

จีทู พาเทล, รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัยและการทำงานร่วมกันของซิสโก้ กล่าวว่า “เราไม่ควรละเลยความเสี่ยงจากภัยคุกคามที่เกิดจากความมั่นใจเกินไปของเรา องค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนในแพลตฟอร์มแบบครบวงจร และนำ AI มาใช้เพื่อการดำเนินการของแมชชีน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการป้องกันมากขึ้น”

 

ข้อมูลที่พบจากผลการศึกษาโดยรวมแล้ว จากผลการศึกษาพบว่า บริษัทในไทยมีเพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่พร้อมรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบัน โดยองค์กรมากกว่าครึ่งหนึ่ง (54%) มีความพร้อมในระดับเริ่มต้น หรือระดับสร้างฐานของความพร้อม ขณะที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลก 3% มีระดับความพร้อมเต็มที่ นอกจากนั้น:

· เหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต: 65% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า เหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จะทำให้ธุรกิจของพวกเขาหยุดชะงักใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า การที่องค์กรขาดความพร้อมอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายที่มีมูลค่าสูงมาก โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 51% กล่าวว่าพวกเขาประสบกับเหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ 69% ขององค์กรที่ได้รับผลกระทบระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายอย่างน้อย 300,000 ดอลลาร์

· การติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดมากเกินไป: แนวทางแบบเดิมๆ ในการติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมากสำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดย 92% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่าการมีโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมากส่งผลให้ทีมทำงานได้ช้าลงในการตรวจจับการโจมตี การตอบสนอง และการกู้คืนระบบ ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก โดย 75% ขององค์กรกล่าวว่าพวกเขาได้ติดตั้งโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยแบบเฉพาะจุด 10 โซลูชั่นขึ้นไป ขณะที่ 35% มีอย่างน้อย 30 โซลูชั่น

· อุปกรณ์ที่ ‘ไม่ปลอดภัย’ และ ‘ไม่มีการจัดการ’ สร้างความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น: 94% ของบริษัทกล่าวว่าพนักงานของตนเข้าถึงแพลตฟอร์มของบริษัทจากอุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการ และ 42% ของบริษัทเหล่านั้นใช้เวลาหนึ่งในห้า (20%) ในการล็อกออนเข้าสู่ระบบเครือข่ายของบริษัทจากอุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการ นอกจากนี้ 26% รายงานว่าพนักงานมีการสลับไปมาระหว่างเครือข่ายต่างๆ อย่างน้อยหกเครือข่ายในหนึ่งสัปดาห์

· การขาดแคลนบุคลากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง: องค์กรต่างๆ ไม่สามารถพัฒนาด้านความปลอดภัยอย่างเต็มศักยภาพเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ โดยบริษัท 91% เน้นย้ำว่าปัญหานี้นับเป็นเรื่องสำคัญ และที่จริงแล้ว บริษัท 43% พบว่าพวกเขายังคงขาดแคลนบุคลากรในตำแหน่งงานที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากกว่า 10 อัตราในช่วงที่มีการสำรวจความคิดเห็น

· การลงทุนด้านไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต: บริษัทต่างๆ ตระหนักถึงปัญหาท้าทายดังกล่าว และกำลังดำเนินการเพื่อยกระดับการป้องกัน โดย 65% มีแผนที่จะอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีครั้งใหญ่ใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก 47% ที่วางแผนจะทำเช่นนั้นในปีที่แล้ว โดยองค์กรต่างๆ วางแผนที่จะอัปเกรดโซลูชั่นที่มีอยู่ (70%) ปรับใช้โซลูชั่นใหม่ (53%) และลงทุนในเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI (61%) นอกจากนี้ เกือบทั้งหมด (99%) ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะเพิ่มงบประมาณด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ใน 12 เดือนข้างหน้า และ 94% กล่าวว่างบประมาณของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10%

 เพื่อเอาชนะปัญหาท้าทายเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบัน บริษัทต่างๆ ต้องเร่งดำเนินการลงทุนที่สำคัญในระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เป็นนวัตกรรมใหม่, การปรับใช้แนวทางแพลตฟอร์มการรักษาความปลอดภัย, การเสริมความยืดหยุ่นของเครือข่าย, การใช้งาน Gen AI อย่างเหมาะสม และเพิ่มบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อลดช่องว่างของทักษะด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้

วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย และเมียนมาร์ กล่าวว่า “สถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ขณะที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมอย่างเพียงพอ รายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ล่าสุดของเราเปิดเผยว่า บริษัทในไทยเพียง 9% เท่านั้นที่มี ‘ความพร้อมอย่างเต็มที่’ ในการรับมือกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยุคใหม่ ซึ่งลดลงจากปี 2566 ที่องค์กรมีความพร้อมอยู่ที่ 27% องค์กรธุรกิจในไทยจึงจำเป็นที่จะต้องปรับใช้แนวทางแพลตฟอร์มแบบหลายทาง (multi-pronged platform approach) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ตั้งแต่การลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไปจนถึงการใช้ประโยชน์จาก Gen AI เพื่อปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย ลดช่องว่างด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และวางรากฐานสำหรับการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ส่วนทั่วทั้งองค์กร”

งานเทคโนโลยีชั้นนำในยุโรป ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจากทั่วโลกมากกว่า 14,000 คนเข้าร่วมงาน ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) ได้ประกาศความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

มีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเพียงไม่กี่อย่างที่ก่อให้เกิดความสนใจอย่างกว้างขวางแบบ AI รวมไปถึงเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง Generative AI (GenAI) องค์กรต่างๆ ทั่วโลกกำลังค้นหาวิธีการใหม่ๆ ที่น่าสนใจเพื่อรองรับการทำงานร่วมกัน จัดการแอปพลิเคชั่นต่างๆ ปรับปรุงความปลอดภัยด้านดิจิทัล และพลิกโฉมประสบการณ์ของลูกค้า อย่างไรก็ตาม แต่ละแง่มุมเหล่านี้ก่อให้เกิดความกังวลใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและการเข้าถึงข้อมูล ความถูกต้องแม่นยำ ความเป็นส่วนตัว และการใช้ AI อย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบ

เป็นที่คาดการณ์ว่า GenAI จะช่วยเพิ่มจีดีพีทั่วโลกได้ราว 4.4 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายมากมายที่จะทำให้บริษัทต่างๆ ไปถึงจุดนั้นได้ รายงาน Cisco AI Readiness Index ฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายธุรกิจและฝ่ายไอทีในภาคเอกชนมากกว่า 8,000 คนใน 30 ประเทศ พบว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมีกลยุทธ์ด้าน AI อยู่แล้วหรืออยู่ระหว่างการพัฒนา แต่มีเพียง 14 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีความพร้อมที่จะบูรณาการ AI เข้ากับธุรกิจของตน

“โอกาสในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าจะไม่มีมากไปกว่านี้อีกแล้ว ในโลกที่ไม่อาจคาดเดาได้ เทคโนโลยีถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาท้าทายต่างๆ ที่เราอาจเผชิญ เทคโนโลยี AI ทำให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด รวมถึงอนาคตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างสรรค์มากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ที่ซิสโก้ เรารู้สึกตื่นเต้นกับบทบาทการทำงานของเรา เรามีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการขับเคลื่อน AI รวมไปถึงผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ระบบการตรวจสอบและเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด และความเชี่ยวชาญที่จะช่วยให้ลูกค้าของเราได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการ ในรูปแบบที่ไม่มีใครสามารถทำได้” — โอลิเวอร์ ทัสซิก รองประธานอาวุโสและประธานประจำภาคพื้นยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาของซิสโก้

 

ปัจจุบัน ซิสโก้นำเสนอฟีเจอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ และการบริการลูกค้า และเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานแบบ AI-ready ที่งาน Cisco Live Amsterdam ซิสโก้ได้ประกาศกลยุทธ์ในการปรับใช้และบูรณาการ AI ที่จะเป็นประโยชน์แก่ลูกค้าดังนี้:

· ซิสโก้และเอ็นวิเดีย (NVIDIA) ช่วยให้องค์กรต่างๆ ปรับใช้และจัดการโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่ปลอดภัยได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย บริษัททั้งสองได้ประกาศแผนการส่งมอบโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐาน AI สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งสามารถติดตั้งใช้งานและจัดการได้อย่างง่ายดาย รองรับพลังประมวลผลจำนวนมหาศาลที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ ประสบความสำเร็จในยุค AI

· Cisco Identity Intelligence ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใน Cisco Security Cloud มีการนำเสนอนวัตกรรม AI อย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบแพลตฟอร์มการรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI แบบ cross-domain ที่ครบวงจรนวัตกรรมที่ว่านี้ได้แก่ ระบบวิเคราะห์แบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย AI สำหรับ Cisco Identity Intelligence รวมไปถึง Cisco AI Assistant for Security ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เพิ่มขีดความสามารถของเครื่องมือ และปรับเปลี่ยนการทำงานที่ซับซ้อนให้เป็นแบบอัตโนมัติ

· ซิสโก้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่บน Cisco Observability Platform เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ลูกค้าด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความสามารถในการตรวจสอบ ข้อมูลเชิงลึก และการดำเนินการที่ดีขึ้น ตอนนี้ Cisco Observability Platform นำเสนออินเทอร์เฟซภาษาธรรมชาติเพื่อเพิ่มความสะดวกในการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ แอปพลิเคชั่นใหม่ Cisco AIOps ยังช่วยลดความยุ่งยากในการตรวจสอบสถานะทางธุรกิจแบบเรียลไทม์ ช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนการด้านไอทีให้เป็นแบบอัตโนมัติ และช่วยให้ทีมงานฝ่ายปฏิบัติการสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองได้อย่างฉับไว

· ซิสโก้เผยโฉมผลิตภัณฑ์ SaaS ตัวแรกที่รองรับการปรับใช้ GenAI ที่น่าเชื่อถือภายในองค์กร Motific ซึ่งเปิดตัวในวันนี้ ให้มุมมองจากส่วนกลางที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนการใช้งาน GenAI เพิ่มขีดความสามารถของทีมงานฝ่ายไอทีและฝ่ายรักษาความปลอดภัยส่วนกลาง เพื่อส่งมอบความสามารถด้าน GenAI ที่น่าเชื่อถืออย่างรวดเร็ว ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรด้วยการควบคุมด้านค่าใช้จ่าย ข้อมูลที่ละเอียดอ่อน และความปลอดภัย

· ซิสโก้ช่วยให้ลูกค้าปรับใช้ AI ได้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน ซิสโก้เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจพัฒนาและปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ AI รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ Cisco X-Series Direct ซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับสภาพแวดล้อมที่ลูกค้าต้องการการเชื่อมต่อและพลังประมวลผลที่ส่วนขอบของเครือข่าย (Edge) เพื่อรองรับแอปพลิเคชั่นที่เพิ่มมากขึ้นโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานน้อยลง และยังมีบริการเพิ่มเติมในส่วนของการออกแบบระบบ Converged และ Hyperconverged ที่ผ่านการรับรอง ซึ่งพัฒนาต่อยอดจาก Cisco Validated Solutions ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ รวมถึงพิมพ์เขียว AI/ML สำหรับเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์

· Webex by Cisco ประกาศความพร้อมใช้งานของฟีเจอร์ AI ตามที่คาดการณ์ไว้ ตอกย้ำความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของ Webex by Cisco ในการนำเสนอความสามารถที่แข็งแกร่งเพื่อให้แก่บุคลากรทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยซิสโก้ได้ประกาศความพร้อมใช้งานทั่วไป รวมถึงการทดลองใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ ของ Cisco AI Assistant บน Webex Suite และ Contact Center เช่น ฟีเจอร์การประชุมและสรุป Vidcast เปลี่ยนโทนเสียงข้อความ การแปลข้อความ การตรวจจับความเหนื่อยล้าของเจ้าหน้าที่ และสรุปการสนทนา

แม้ว่าพนักงานในไทยส่วนใหญ่ยินดีที่จะกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศอย่างน้อยสองสามครั้งต่อสัปดาห์ แต่ผลการศึกษาล่าสุดของซิสโก้ชี้ว่าพนักงานมากกว่าครึ่งหนึ่งเชื่อว่าออฟฟิศไม่ตอบโจทย์การใช้งานตามวัตถุประสงค์ของตนเองอีกต่อไป

จากรายงานการศึกษาดังกล่าวซึ่งตรวจสอบทัศนคติของพนักงานและนายจ้างเกี่ยวกับพื้นที่ทำงานหรือเวิร์กสเปซในปัจจุบัน พบว่าการออกแบบพื้นที่ทำงาน การจัดวางเลย์เอาต์ และเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป

รายงานผลการศึกษาที่มีชื่อว่า “From Mandate to Magnet: The Race to Reimagine Workplaces and Workspaces for a Hybrid Future” (จากการบังคับสู่ความเต็มใจ: ความพยายามในการพลิกโฉมสถานที่ทำงานและเวิร์กสเปซเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริดในอนาคต) ระบุว่า 66% ของบริษัทในไทยบังคับให้พนักงานกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศทั้งหมดหรือบางส่วน โดยปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญเป็นเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน การติดต่อสื่อสารภายในทีมงาน และแรงกดดันจากผู้บริหาร

ตรงกันข้ามกับความเชื่อโดยทั่วไปที่ว่าพนักงานส่วนใหญ่ลังเลที่จะกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ ผลการศึกษานี้พบว่าพนักงานในไทย 8 ใน 10 คน (84%) ตอบสนองเชิงบวกต่อคำสั่งขององค์กรที่ระบุให้กลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศ และ 94% ของผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความต้องการที่จะกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศอย่างน้อยสองสามครั้งต่อสัปดาห์

 

ซานดีฟ เมห์รา กรรมการผู้จัดการฝ่ายขายด้านโซลูชั่นการทำงานร่วมกันของซิสโก้ เอเชีย-แปซิฟิก ญี่ปุ่น และจีน กล่าวว่า “ผลการศึกษาของเราเผยให้เห็นว่าพนักงานในภูมิภาคนี้เปิดรับการทำงานในรูปแบบไฮบริดและเต็มใจที่จะกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศบ่อยขึ้น แต่มีข้อแม้ว่าพื้นที่ทำงานจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับความต้องการและความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงาน ในยุคของการทำงานแบบไฮบริด เราต้องให้ความสำคัญกับวิวัฒนาการของพื้นที่สำนักงานและเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของพนักงาน เทคโนโลยีคือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราตอบสนองความคาดหวังที่ว่านี้ พร้อมทั้งส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ใดก็ตาม”

แม้ว่าจะมีการตอบรับที่ดีเกี่ยวกับการกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศ แต่แรงจูงใจของพนักงานในการทำงานที่ออฟฟิศก็มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเหตุผลหลักที่พวกเขากลับเข้าออฟฟิศไม่ใช่เพื่อการทำงานส่วนตัว แต่เป็นเรื่องของการทำงานร่วมกันเป็นทีม (82%) การระดมความคิดและคิดค้นไอเดียกับเพื่อนร่วมงาน (70%) และการส่งเสริมความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (52%) การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้บ่งบอกว่าพนักงานมีความคาดหวังและความต้องการที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับพื้นที่ทำงานของพวกเขา

 

พื้นที่ทำงานไม่ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป

พนักงานในไทย 48% เชื่อว่าออฟฟิศของพวกเขาไม่ตอบโจทย์การใช้งานและไม่ได้ช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ที่จริงแล้ว เมื่อพูดถึงเรื่องเลย์เอาต์ของออฟฟิศและการจัดที่นั่ง พนักงาน 82% รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันและการระดมความคิด ขณะที่มีการให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันมากขึ้น แต่ 87% ของนายจ้างที่ตอบแบบสอบถามยังคงจัดสรรพื้นที่ออฟฟิศอย่างน้อยครึ่งหนึ่งให้เป็นพื้นที่ทำงานส่วนตัวของพนักงานแต่ละคน

รายงานการศึกษานี้ยังเน้นย้ำอีกว่าพื้นที่ทำงานในปัจจุบันยังไม่พร้อมสำหรับการทำงานรูปแบบใหม่นี้ โดยพนักงานรู้สึกว่าเวิร์กสเตชั่นส่วนบุคคล (54%) ห้องประชุมขนาดใหญ่ (56%) และห้องประชุมขนาดเล็ก (70%) ไม่ได้ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานในออฟฟิศ หรืออย่างมากก็ช่วยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและการบูรณาการก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่ากังวลเช่นกัน

กล่าวคือ ในบรรดาองค์กรที่พบว่าห้องประชุมไม่ได้ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานในออฟฟิศ สาเหตุหลักคือมีอุปกรณ์ด้านระบบเสียงและวิดีโอไม่เพียงพอ (75%) ประสบการณ์ด้านภาพและเสียงมีคุณภาพต่ำ (42%) ไม่มีอุปกรณ์ด้านระบบเสียงและวิดีโอที่รองรับการใช้งานสำหรับทุกคน (33%) และความไม่สอดคล้องกันของประสบการณ์สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมระยะไกลและผู้เข้าร่วมประชุมในออฟฟิศควรอยู่ที่ 8% โดยเฉลี่ยแล้ว มากกว่าครึ่งหนึ่ง (อยู่ระหว่างดำเนินการเก็บสถิติ) ของห้องประชุมในองค์กรต่างๆ ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ด้านวิดีโอและเสียง

อย่างไรก็ตามเมื่อมองในแง่บวก ผลสำรวจพบว่าองค์กรต่างๆ มีความคืบหน้าในการปรับเปลี่ยนพื้นที่สำนักงานของตน โดยนายจ้าง 9 ใน 10 ราย ได้ทำการเปลี่ยนแปลงแล้วหลังการแพร่ระบาด และ 90% มีแผนที่จะดำเนินการดังกล่าวในสองปีข้างหน้า ปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ได้แก่ การปรับตัวเพื่อให้ก้าวทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (67%) การตอบสนองต่อความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับพื้นที่ทำงาน (70%) และการรองรับการทำงานแบบไฮบริดที่ดียิ่งขึ้น (51%)

 

เมห์รา กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความก้าวหน้าของนายจ้างในการปรับใช้เทคโนโลยีสำหรับการทำงานร่วมกันเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริดนับเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง แต่การจัดหาเครื่องมือเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ พนักงานส่วนใหญ่รู้สึกว่าตนเองไม่มีความพร้อมที่จะใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น มีพนักงานเพียง 38% เท่านั้นที่รู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมที่จะใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ และเพียง 26% รู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมที่จะใช้เครื่องมือที่ก้าวล้ำ เช่น ระบบตรวจสอบฟุตพรินต์ หรือโปรแกรมผู้ช่วยอัจฉริยะสำหรับห้องประชุม เราจำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการเครื่องมือเหล่านี้เข้ากับสถานที่ทำงาน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการปรับเปลี่ยนไปสู่การทำงานรูปแบบใหม่อย่างราบรื่น และเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้และเป็นมิตรกับผู้ใช้งานทุกคน"

รายงานการศึกษานี้อ้างอิงการสำรวจความคิดเห็นแบบปกปิดสองทางของพนักงานประจำ 9,200 คน และนายจ้าง 1,650 คน โดยทำการสำรวจในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ใน 7 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ไทย ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้

ผลการศึกษาของซิสโก้ชี้ องค์กรในไทยเพียง 20% มีความพร้อมในการปรับใช้และใช้ประโยชน์จาก AI โดย 74% เป็นกังวลอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบต่อธุรกิจหากไม่เตรียมพร้อมในอีก 12 เดือนข้างหน้า

 

ประเด็นข่าว:

· องค์กรเกือบทั้งหมดในไทย (99%) ระบุว่าความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับใช้เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ได้เพิ่มสูงขึ้นช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

· มีช่องว่างที่สำคัญใน 6 เสาหลักของธุรกิจ ซึ่งได้แก่ กลยุทธ์ โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล การกำกับดูแล บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กร โดยบริษัท 80% กล่าวว่าพวกเขายังไม่พร้อมอย่างเต็มที่ในการบูรณาการ AI เข้ากับธุรกิจของตน

· บริษัทต่างๆ กำลังแข่งกับเวลา โดย 74% กล่าวว่าพวกเขามีเวลาสูงสุดแค่ “หนึ่งปี” ในการปรับใช้กลยุทธ์ AI มิฉะนั้นจะส่งผลเสียต่อธุรกิจ

 

กรุงเทพฯ, 16 พฤศจิกายน 2566 — มีเพียง 20% ขององค์กรในประเทศไทยเท่านั้นที่มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการปรับใช้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ตามรายงานฉบับแรกเกี่ยวกับดัชนีความพร้อมด้าน AI (AI Readiness Index) ของซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) ซึ่งได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวันนี้ ดัชนีดังกล่าวซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลจากบริษัททั่วโลกมากกว่า 8,000 แห่ง ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการปรับใช้ AI อย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและชีวิตประจำวันในเกือบทุกแง่มุม รายงานดังกล่าวเน้นย้ำถึงความพร้อมของบริษัทต่างๆ ในการปรับใช้และใช้ประโยชน์จาก AI โดยแสดงให้เห็น “ช่องว่างที่สำคัญ” ในเสาหลักของธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างร้ายแรงในอนาคตอันใกล้นี้

 

ผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่า ถึงแม้การปรับใช้ AI จะมีความคืบหน้าอย่างช้าๆ มานานหลายทศวรรษ แต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Generative AI ประกอบกับการเปิดให้ใช้งานอย่างกว้างขวางสำหรับผู้ใช้ทั่วไปในช่วงปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีความสนใจเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความท้าทาย ความเปลี่ยนแปลง และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีนี้ ขณะที่ 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า AI จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจของพวกเขา และอาจก่อให้เกิดประเด็นใหม่ๆ เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัย รายงานดัชนีดังกล่าวพบว่า บริษัทต่างๆ เผชิญกับความท้าทายมากที่สุดเมื่อใช้ประโยชน์จาก AI ควบคู่ไปกับข้อมูลของพวกเขา ที่จริงแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถาม 75% ยอมรับว่าสาเหตุเป็นเพราะข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจายไว้ในระบบต่างๆ ทั่วทั้งองค์กร

อย่างไรก็ตาม ข่าวดีก็คือ รายงานดัชนีดังกล่าวเปิดเผยว่า บริษัทต่างๆ ในไทยกำลังใช้มาตรการเชิงรุกในหลายๆ ด้านเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่มุ่งเน้น AI เป็นหลัก เมื่อพูดถึงการกำหนดกลยุทธ์ด้าน AI องค์กร 97% มีกลยุทธ์ด้าน AI ที่แข็งแกร่งอยู่แล้วหรืออยู่ระหว่างการพัฒนา องค์กรมากกว่า 8 ใน 10 (81%) ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Pacesetters (มีความพร้อมอย่างเต็มที่) หรือ Chasers (มีความพร้อมปานกลาง) โดยมีเพียง 1% เท่านั้นที่จัดอยู่ในกลุ่ม Laggards (ไม่ได้เตรียมพร้อม) ซึ่งนับเป็นการบ่งบอกว่าผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารฝ่ายไอทีให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทุกคน (99%) กล่าวว่าความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับใช้เทคโนโลยี AI ในองค์กรของพวกเขาเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยมีการรายงานว่า ‘โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์’ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการปรับใช้ AI

 

ลิซ เซนโทนี่ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายแอปพลิเคชั่น และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของซิสโก้ กล่าวว่า “ขณะที่บริษัทต่างๆ เร่งการปรับใช้โซลูชั่น AI ก็จะต้องมีการประเมินว่าควรจะลงทุนในส่วนใดบ้างเพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาจะสามารถรองรับความต้องการของเวิร์กโหลด AI ได้ดีที่สุด นอกจากนี้ องค์กรยังต้องสามารถตรวจสอบว่า AI ถูกใช้งานอย่างไร เพื่อให้แน่ใจเกี่ยวกับ ROI, ความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ความรับผิดชอบ’ ”

 

ข้อมูลสำคัญที่พบในผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า โดยรวมแล้วมีบริษัทเพียง 20% เท่านั้นที่จัดอยู่ในกลุ่ม Pacesetters (มีความพร้อมอย่างเต็มที่) โดยที่ 36% ของบริษัทในไทยจัดอยู่ในกลุ่ม Laggards (ไม่ได้เตรียมพร้อม) ที่ 1% และกลุ่ม Followers (มีความพร้อมอย่างจำกัด) ที่ 35% นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลที่สำคัญที่สุดได้แก่:

· ความเร่งด่วน: สูงสุด “หนึ่งปี” ก่อนที่บริษัทต่างๆ จะเริ่มเห็นผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจ โดย 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยเชื่อว่าพวกเขามีเวลาสูงสุดไม่เกินหนึ่งปีในการปรับใช้กลยุทธ์ AI ก่อนที่องค์กรของพวกเขาจะเริ่มได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ

· กลยุทธ์ : ขั้นตอนแรกคือการกำหนดกลยุทธ์ และองค์กรต่างๆ ดำเนินการได้ด้วยดี โดย 81% ขององค์กรในไทยจัดอยู่ในกลุ่ม Pacesetters หรือ Chasers โดยมีเพียง 1% เท่านั้นที่จัดอยู่ในกลุ่ม Laggards นอกจากนี้ 97% ขององค์กรมีกลยุทธ์ AI ที่ชัดเจนอยู่แล้วหรืออยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งนับเป็นสัญญาณเชิงบวก แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก

· โครงสร้างพื้นฐาน: เครือข่ายยังไม่มีความพร้อมที่จะรองรับเวิร์กโหลด AI โดย 95% ขององค์กรธุรกิจทั่วโลกตระหนักดีว่า AI จะก่อให้เกิดเวิร์กโหลดเพิ่มมากขึ้นต่อโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในประเทศไทย มีองค์กรเพียง 29% เท่านั้นที่มองว่าโครงสร้างพื้นฐานของตนสามารถปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (56%) ระบุว่าพวกเขามีความสามารถในการปรับขนาดอย่างจำกัด หรือไม่มีเลยเมื่อต้องรับมือกับปัญหาหรือความท้าทายด้าน AI ใหม่ๆ ภายในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานและการประมวลผลที่เพิ่มสูงขึ้นของ AI บริษัทมากกว่าสองในสาม (71%) จะต้องใช้หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น เพื่อรองรับเวิร์กโหลด AI ในอนาคต

· ข้อมูล: องค์กรไม่สามารถละเลยความสำคัญของการมี ‘ข้อมูลที่พร้อมสำหรับ AI’ แม้ว่าข้อมูลจะทำหน้าที่เป็นแกนหลักที่สำคัญสำหรับการดำเนินการของ AI แต่กลับเป็นส่วนที่มีความพร้อมน้อยที่สุด โดยมีจำนวน Laggards มากที่สุด (10%) เมื่อเทียบกับเสาหลักอื่นๆ ทั้งนี้ 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดระบุว่า ข้อมูลต่างๆ ถูกแยกส่วนหรือกระจัดกระจายอยู่ในองค์กรของตน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาท้าทายที่สำคัญ เพราะความยุ่งยากซับซ้อนในการบูรณาการข้อมูลที่อยู่ในระบบต่างๆ และการทำให้ข้อมูลดังกล่าวพร้อมใช้งานสำหรับแอปพลิเคชัน AI สามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถในการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันเหล่านี้

· บุคลากร: ความต้องการทักษะด้าน AI เผยให้เห็นถึงช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในยุคใหม่ คณะกรรมการ (93%) และผู้บริหาร (91%) มีแนวโน้มที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก AI มากที่สุด โดยมีการตอบรับในระดับสูงหรือปานกลาง อย่างไรก็ตาม ยังมีงานที่ต้องทำอีกมากเพื่อดึงดูดผู้บริหารระดับกลาง โดย 19% ยอมรับ AI อย่างมีข้อจำกัดหรือไม่ยอมรับเลย และในส่วนของพนักงาน องค์กรเกือบหนึ่งในห้า (22%) รายงานว่าพนักงานไม่ค่อยเต็มใจที่จะปรับใช้ AI หรือต่อต้านการใช้ AI ความต้องการทักษะด้าน AI เผยถึงช่องว่างทางดิจิทัลยุคใหม่ ผู้ตอบแบบสอบถาม 95% กล่าวว่าพวกเขาได้ลงทุนเพื่อยกระดับทักษะของพนักงานที่มีอยู่ ขณะที่ 10% เห็นถึงความเหลื่อมล้ำด้าน AI ที่กำลังเกิดขึ้น โดยตั้งข้อสงสัยว่าจะมีบุคลากรเพียงพอต่อการยกระดับทักษะหรือไม่

· การกำกับดูแล: การปรับใช้นโยบาย AI เริ่มต้นช้า 57% ขององค์กรไม่มีนโยบาย AI ที่ครอบคลุม ซึ่งนับเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข ขณะที่บริษัทต่างๆ พิจารณาและกำกับดูแลปัจจัยทั้งหมดที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการทำลายความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล อธิปไตยด้านข้อมูล หรือสิทธิของการเป็นเจ้าของข้อมูล (Data Sovereignty) และความเข้าใจต่อการปฏิบัติตามกฎระเบียบโลก นอกจากนั้น จะต้องให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องอคติ ความยุติธรรม และความโปร่งใส ทั้งในส่วนของข้อมูลและอัลกอริธึม

· วัฒนธรรมองค์กร: มีการเตรียมการน้อยมาก แต่มีแรงจูงใจสูงในการให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เสาหลักนี้มีจำนวน Pacesetters ต่ำที่สุด (13%) เมื่อเทียบกับหมวดหมู่อื่นๆ โดยส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากข้อเท็จจริงที่ว่า 3.4% ของบริษัทยังไม่ได้จัดทำแผนการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Plans) และสำหรับบริษัทที่ทำแผนไว้แล้ว 76% ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการ ผู้บริหารระดับสูงเปิดรับการเปลี่ยนแปลงด้าน AI ภายในองค์กรมากที่สุด และจะต้องเป็นผู้นำในการจัดทำแผนงานที่ครอบคลุมและมีการสื่อสารอย่างชัดเจนไปยังผู้บริหารระดับกลางและพนักงานที่มีอัตราการยอมรับ AI ค่อนข้างต่ำ ข่าวดีก็คือ พนักงานมีแรงจูงใจอยู่ในระดับสูง โดยมากกว่า 8 ใน 10 (81%) กล่าวว่าองค์กรของพวกเขากำลังเปิดรับ AI โดยมีความเร่งด่วนในระดับปานกลางถึงระดับสูง

 

ดัชนีความพร้อมด้าน AI ของซิสโก้

ดัชนีความพร้อมด้าน AI ของซิสโก้ (Cisco AI Readiness Index) อ้างอิงการสำรวจความคิดเห็นแบบปกปิดสองทาง (Double Blind) สำหรับผู้บริหารฝ่ายธุรกิจและฝ่ายไอทีภาคเอกชนจำนวน 8,161 คนใน 30 ประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระ และเป็นการสอบถามความเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามจากบริษัทที่มีพนักงาน 500 คนขึ้นไป ดัชนีดังกล่าวประเมินความพร้อมด้าน AI ของผู้ตอบแบบสอบถาม ใน 6 เสาหลักที่สำคัญ ได้แก่ กลยุทธ์ โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล บุคลากร การกำกับดูแล และวัฒนธรรมองค์กร

บริษัทต่างๆ ได้รับการตรวจสอบโดยใช้เกณฑ์ชี้วัดที่แตกต่างกัน 49 รายการ ครอบคลุมเสาหลักทั้งหก เพื่อกำหนดคะแนนความพร้อมสำหรับแต่ละด้าน รวมถึงคะแนนความพร้อมโดยรวมสำหรับองค์กรของผู้ตอบแบบสอบถาม ตัวบ่งชี้แต่ละรายการได้รับการถ่วงน้ำหนักตามความสำคัญสำหรับความพร้อมในส่วนของเสาหลักที่เกี่ยวข้อง และจากคะแนนโดยรวม ซิสโก้ได้จำแนกองค์กรเป็น 4 กลุ่มตามระดับความพร้อมที่แตกต่างกัน ได้แก่ Pacesetters (มีความพร้อมอย่างเต็มที่), Chasers (มีความพร้อมปานกลาง), Followers (มีความพร้อมอย่างจำกัด) และ Laggards (ไม่ได้เตรียมพร้อม)

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click