December 22, 2024

 นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2567 นักท่องเที่ยวกำลังมองหาการท่องเที่ยวระดับพรีเมียม ที่ผนวกรวมทริปเดินทางเชิงธุรกิจ (Business) และการพักผ่อน (Leisure) เพื่อต่อยอดการเข้าพักในกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่ยาวนานขึ้น พร้อมทั้งเฟ้นหาอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ระดับพรีเมียม ตอบโจทย์แนวโน้มเพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของไทย

เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ สิ่งที่น่าจับตามอง อ้างอิงจากข้อมูลของ Skyscanner นักท่องเที่ยวจำนวนมากให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เข้าเยี่ยมชมสถานที่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรายการโทรทัศน์ และการลิ้มลองรสชาติอาหารท้องถิ่นแท้ๆ คือ ปัจจัยสำคัญที่นักท่องเที่ยวมองหานอกเหนือจากการเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมทั่วไป นอกจากนี้ ทาง Skift ยังแชร์ข้อมูลเพิ่มเติมว่านักท่องเที่ยวชาวจีนให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวที่ยกระดับหรือสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ โดยให้ความสำคัญของโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงลึกที่มีคุณภาพ โดยมีเวลาดื่มด่ำในวัฒนธรรมและสถานที่ สามารถใช้เวลาในการท่องเที่ยวแต่ละจุดยาวนานมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสถานที่หรือร้านต่างๆ ที่ต้องแวะชมหรือเช็คอินในปริมาณมากๆ หลายๆจุด การให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศผ่านซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งรวมถึงการยกระดับเทศกาลมหาสงกรานต์ตลอดเดือนเมษายนนี้สู่สายตาโลก

เทรนด์การท่องเที่ยวแบบ "BLEISURE" คือ เทรนด์ที่กำลังมาแรง โดยเป็นการผสมผสานระหว่างทริปเดินทางเชิงธุรกิจ (Business) และการพักผ่อน (Leisure) หรือที่เรียกว่า เนื่องจากผู้คนจำนวนมากขึ้นหันมาใช้ชีวิตแบบดิจิทัล โนแมด และหลายๆ บริษัทจำนวนก็เปิดโอกาสให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทำให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะคนรุ่น Gen Z กำลังได้รับการจับตามองส่งผลให้เกิดการจองห้องพักในรูปแบบของลองเสต์ หรือการเข้าพักที่ยาวนานขึ้น เพื่อสัมผัสและสนุกสนานกับการท่องเที่ยวที่มีความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับไลฟ์สไตล์และการลิ้มลองอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแฮปปี้ อาวร์หรือช่วงเวลาหลังเลิกงาน

คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า “ขณะที่ประเทศไทยยังคงเดินหน้าเปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยโปรโมทและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายที่ไทยเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อเข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภค เราสังเกตเห็นว่านักท่องเที่ยวที่พักอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานขึ้น โดยยกระดับประสบการณ์การรับประทานอาหารและวัฒนธรรมของอาหารไทยสู่การรับประทานอาหารในระดับพรีเมี่ยม มองหาตัวเลือกด้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพสูงขึ้น ไม่ใช่การดื่มแบบหักโหม ทำให้เราจำเป็นต้องรักษามาตราฐานด้านอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ของเราอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดนักเดินทางที่กำลังมองหาคุณภาพการใช้ชีวิตในระดีบพรีเมียม

ดร.ญาณี เลยวานิชเจริญ เลขาสมาคมธุรกิจร้านอาหารกลางคืน กล่าวว่า “เราเห็นว่าผู้บริโภครุ่นใหม่ กำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การดื่มไวน์มากขึ้นซึ่งเหมาะสำหรับการดื่มร่วมกันในสังคมและจับคู่กับอาหาร เราเชื่อว่าประเทศไทยสามารถเดินหน้าโปรโมทด้านสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่มีชีวิตชีวาเพื่อมอบประสบการณ์ที่หลากหลายและมีคุณภาพให้กับนักท่องเที่ยวในขณะที่พวกเขาใช้เวลาในการพักผ่อนได้ยาวนานที่ประเทศไทยมากขึ้น”

เทรนด์การท้องเที่ยวอันดับ 3 คือ “เที่ยวแบบพรีเมียม” โดยความต้องการของนักท่องเที่ยวมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าคุณภาพสูงในระดับพรีเมียม รวมถึงเครื่องดื่มไวน์และสุราจากต่างประเทศ ตามรายงานการวิจัยฉบับใหม่โดย Oxford Economics ซึ่งเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนที่แล้ว

โดยอ้างอิงจากรายงานที่ชื่อว่า "International Wine and Spirits in ASEAN: The Economic Contribution of the International Wine and Spirits Value Chain in Thailand and Vietnam" จัดทำโดย Oxford Economics และได้รับมอบหมายจาก Asia Pacific International Spirits and Wine Alliance (APISWA) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศในสองประเทศเศรษฐกิจสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทยและเวียดนาม

การศึกษาล่าสุดโดยบริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด (ดีลอยท์) ชี้ถึงโอกาสในการแก้ปัญหาหนี้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นชูมาตรการด้านภาษี และผ่อนปรนข้อจำกัดในการลงทุนเพื่อให้นักลงทุนสถาบันในกลุ่มใหม่ เช่น บริษัทประกันภัย และกองทุนประกันสังคม รวมถึงบริษัทบริหารกองทุน เช่น Private Equity Firms และ Hedge Funds เข้ามามีส่วมร่วมในการจัดการหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น

จากการศึกษา พบว่าประเทศไทยได้มีการพัฒนากลยุทธ์และแนวทางการบริหารหนี้เสียอย่างเคร่งครัด ในช่วง ปี พ.ศ. 2540 เพื่อรับมือกับเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางการเงิน อย่างไรก็ดี กลยุทธ์และความสามารถใหม่ ๆ ในการจัดการหนี้เสียไม่ได้มีการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา และวันนี้ประเทศไทยกําลังเผชิญกับปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นอีกครั้ง

 

ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “แนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในประเทศไทย จากการวิเคราะห์กรณีศึกษาในต่างประเทศ ชี้ถึงการมีแนวทางการกำกับดูแลที่ชัดเจน และมีมาตรการทางธุรกิจที่จูงใจ อาทิ มาตรการทางภาษี เพื่อดึงดูดกลุ่มนักลงทุนสถาบันหรือผู้จัดการหนี้เสียที่มีความหลากหลายและในวงกว้างขึ้น เช่น บริษัทผู้บริหารกองทุน Private Equity, กองทุนรวมเพื่อความเสี่ยง (Hedge Funds), และ ผู้จัดการกองทุนประเภท General Partners (GPs) เป็นต้น กลุ่มนักลงทุนเหล่านี้สามารถนําความรู้และความสามารถในการปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการสู่ตลาดทุนประเทศไทย เพื่อช่วยให้บริษัทที่มีภาวะตึงเครียดทางการเงินมีทางเลือกในการจัดการหนี้แบบครบวงจร เช่น โอกาสในการร่วมงานกับนักลงทุนสถาบันหรือผู้จัดการหนี้เสียเพื่อฟื้นฟูกิจการจากการล้มละลาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดให้แก่บุคลากรท้องถิ่น

หากเทียบกับตลาดชั้นนำในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นั้น แนวทางและหลักการเรื่องของการปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการเป็นรากฐานสำคัญที่ปลูกฝังอยู่ในระบบนิเวศตลาดทุนของเขา บริษัทในสหรัฐฯ มีโอกาสทํางานร่วมกับกลุ่มนักลงทุนเพื่อให้บริษัทของพวกเขามีโอกาสครั้งที่สอง เรามักจะไม่ได้เห็นสถานการณ์ลักษณะนี้กับบริษัทในประเทศไทย เนื่องจากข้อจำกัดในขีดความสามารถในการฟื้นฟูกิจการ

เคนเนท เทย์ หุ้นส่วน บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “การศึกษายังมองถึงแนวทางการเพิ่มสภาพคล่องของตลาด (Market Liquidity) โดยการทบทวนกฎระเบียบและพิจารณาผ่อนปรนข้อจำกัดในการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบันประเภทต่างๆ เช่น บริษัทประกันภัย กองทุนประกันสังคม กองทุนบําเหน็จบํานาญ และ/หรือสํานักงานครอบครัว (Family Offices) เพื่อตอบโจทย์ปัญหาหนีเสียที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ดี ยังคงต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม”

“ตลาดหนี้เสียในประเทศไทยทุกวันนี้มีลักษณะที่เน้น บริษัทบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Companies) เป็นศูนย์กลาง ซึ่งในระบบนิเวศที่แข็งแกร่งและยั่งยืนนั้น เราต้องการให้มีผู้เล่นที่หลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดทุน เพื่อให้เกิดกระบวนการค้นหาราคาที่เหมาะสม (Price discovery) ของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เสริมสร้างความสามารถให้เพียงพอในการจัดการกับหนี้ที่เพิ่มขึ้น และมีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขหนี้" นิลภา บูชาสุข ผู้จัดการอาวุโส บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าว

"เราทราบดีว่าปริมาณหนี้เสียในประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเราต้องการจัดการกับหนี้เหล่านี้อย่างเหมาะสม เราจะต้องปรับปรุงระบบนิเวศของเราให้ทันสมัย ดึงดูดเงินลงทุนที่เพียงพอ และดึงดูดบุคลากรผู้มีความสามารถทางการเงินเพื่อสามารถจัดการวิกฤตการณ์ทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ดร.เมธินี กล่าว

X

Right Click

No right click