December 22, 2024

ซีบร้า เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (NASDAQ: ZBRA) ผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลชั้นนำที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อข้อมูล สินทรัพย์ และผู้คนได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น รายงานผลการสำรวจ 2024 Manufacturing Vision Study ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 61% ของผู้ผลิตทั่วโลกคาดหวังว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 41% ในปี 2024

เมื่อมองลึกลงมาในระดับภูมิภาค 68% ของผู้ผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกคาดหวังว่า AI จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 46% ในปี 2024 ทั้งนี้การนำ AI มาปรับใช้ที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึง 92% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (digital transformation) มากที่สุด ตอกย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ผลิตที่จะปรับปรุงการจัดการข้อมูล และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility) รวมถึงคุณภาพ ตลอดกระบวนการผลิต 

 

แม้ว่า digital transformation จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ผลิต แต่ 30% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกทราบดีว่าเส้นทางสู่ digital transformation นั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค เช่น ต้นทุนแรงงาน จำนวนแรงงานที่ใช้งานได้ การนำโซลูชันเทคโนโลยีมาปรับใช้ และการรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับเทคโนโลยีด้านการดำเนินงาน (IT/OT convergence) 

Visibility เป็นก้าวแรกสู่การเปลี่ยนแปลง โดยการนำ AI และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อระบุ ตอบสนองต่อ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และโครงการได้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพตลอดกระบวนการผลิต เพื่อที่ผลลัพธ์จะได้ออกมาดีที่สุด 

นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ผู้ผลิตหลายรายกำลังเผชิญกับปัญหาในการใช้ข้อมูลของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งพวกเขาทราบดีว่าต้องนำ AI และโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ซีบร้าช่วยให้ผู้ผลิตดำเนินงานได้ง่ายขึ้นด้วยเครื่องมือที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Fixed Industrial Scanning และ Machine Vision FX90 ultra-rugged fixed RFID readers และ ATR7000 RTLS readers ซึ่งจะยกระดับขั้นตอนการทำงานให้มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ส่งผลให้แรงงาน และเทคโนโลยีดำเนินงานไปด้วยกันได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น” 

ปิดช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน 

ถึงแม้ว่าผู้ผลิตส่วนมากบอกว่า digital transformation เป็นเรื่องสำคัญ แต่การทำให้การทำงานในโรงงานเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์นั้นยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย Visibility ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพในกระบวนการผลิต อย่างไรก็ปัญหาช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility gap) ก็ยังคงมีอยู่ มีเพียง 16% ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกที่สามารถติดตามการดำเนินงานตลอดกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ได้ ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 25% ของผู้นำด้านการผลิตที่ทำได้ 

ผู้นำด้านการผลิตเกือบ 6 ใน 10 (57% ทั่วโลก, 63% ในเอเชีย-แปซิฟิก) คาดว่าจะสามารถเพิ่ม visibility ในทุกขั้นตอนการผลิต และในซัพพลายเชนได้ภายในปี 2029 แต่ประมาณ 1 ใน 3 (33% ทั่วโลก, 38% ในเอเชีย-แปซิฟิก) บอกว่าความไม่ลงรอยกันระหว่าง IT และ OT เป็นอุปสรรคที่สำคัญในเส้นทางสู่ digital transformation นอกจากนี้ 86% ของผู้นำการผลิตทั่วโลกยอมรับว่ากำลังเผชิญปัญหาในการตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทัน รวมไปถึงการนำอุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีรวมเข้ากับโรงงาน/สำนักงานและซัพพลายเชน ซึ่ง 82% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกก็กำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน ทั้งนี้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ สามารถนำโซลูชันของซีบร้าไปพัฒนาการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพได้ เพิ่มการรักษาความปลอดภัยและการจัดการให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาใช้ยกระดับธุรกิจต่อ 

เสริมทักษะแรงงาน พร้อมยกระดับคุณค่า และประสิทธิภาพ 

ผลการสำรวจของซีบร้าเผยให้เห็นว่า ผู้ผลิตกำลังปรับกลยุทธ์สำหรับการเติบโต ด้วยการนำ AI และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาปรับใช้ เพื่อปรับโฉมการผลิต พร้อมสร้างเสริมทักษะของแรงงานภายใน 5 ปี ข้างหน้า เกือบ 3 ใน 4 (73%) ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกวางแผนที่จะฝึกแรงงานใหม่ให้มีทักษะด้านการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ส่วนใน ขณะที่ 7 ใน 10 คาดว่าจะนำเทคโนโลยีที่เน้นความคล้องตัวในการใช้งานเป็นหลักมาช่วยพัฒนาแรงงาน ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 76% ของผู้นำด้านการผลิตที่วางแผน และคาดการณ์เช่นเดียวกัน 

 

เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกกำลังปรับใช้ มีทั้งแท็บเล็ต (51% ทั่วโลก, 52% ในเอเชีย-แปซิฟิก), คอมพิวเตอร์พกพา (55% ทั่วโลก, 53% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และซอฟต์แวร์สำหรับจัดการแรงงาน (56% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) นอกจากนี้ 6 ใน 10 ของผู้นำการผลิต (61% ทั่วโลก, 65% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ก็วางแผนที่จะนำคอมพิวเตอร์พกพาแบบสวมได้มาใช้เสริมประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานด้วย 

ผู้นำด้านการผลิตที่เป็นผู้บริหารระดับสูง รวมไปถึงในสาย IT และ OT ทราบดีว่าการพัฒนาแรงงานต้องทำมากกว่าแค่นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ 6 ใน 10 ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลก และ 66% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานอย่างต่อเนื่อง การสร้างเสริมทักษะใหม่ให้พนักงาน (69% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการพัฒนาสานอาชีพ (56% ในเอเชีย-แปซิฟิก) เพื่อดึงดูดแรงงานที่มีความสามารถสูงในอนาคตมากที่สุด 

นำ automation มาช่วยเพิ่มคุณภาพให้ถึงขั้นสุด 

ปัจจุบันผู้ผลิตในแต่ละภาคส่วนให้ความสำคัญกับจัดการคุณภาพมาก แต่ต้องเผชิญกับปัญหาทรัพยากรที่ลดลง ผลสำรวจของซีบร้าชี้ให้เห็นว่า ปัญหาหลักในด้านการจัดการคุณภาพที่ผู้นำด้านการผลิตต้องเผชิญ ประกอบไปด้วยการติดตามการดำเนินงานในซัพพลายเชนได้แบบเรียลไทม์ (33% ทั่วโลก, 40% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การปฏิบัติตามมาตรฐาน และกฎระเบียบใหม่ (29% ทั่วโลก, 30% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การผสานรวมข้อมูล (27% ทั่วโลก, 31% ในเอเชีย-แปซิฟิก), และการรักษาสถานะของการตรวจสอบย้อนกลับให้คงที่ (27% ทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ในอีก 5 ปีข้างหน้า แผนการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ของผู้นำด้านการผลิตจะสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ (65% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบบตรวจสอบคุณภาพการผลิต หรือ machine vision (66% ทั้งทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) RFID (66% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ fixed industrial scanners (57% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ผู้นำด้านการผลิตส่วนมากเห็นตรงกันว่าการโซลูชัน automation เหล่านี้มีหลายปัจจัยเป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะสูงให้กับแรงงาน (70% ทั่วโลก, 75% ในเอเชีย-แปซิฟิก) การบรรลุข้อตกลงด้านระดับการบริการ (69% ทั่วโลก, 70% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการเพิ่มความยืดหยุ่นพื้นที่ (64% ทั่วโลก, 66% ในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ผลการสำรวจที่สำคัญของแต่ละภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (APAC) 

  • แม้ตอนนี้มีเพียง 30% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกที่ใช้ machine vision ในพื้นที่ผลิต แต่ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 67% ของผู้ผลิตนั้นกำลังปรับใช้ machine vision หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ 

ยุโรป, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา (EMEA) 

  • การเสริมทักษะการใช้ข้อมูล และเทคโนโลยีให้ดีขึ้นให้แรงงาน คือกลยุทธ์ขับเคลื่อนการเติบโตอันดับหนึ่งที่ 46% ของผู้นำด้านการผลิตใช้ในปัจจุบัน และ 71% ของผู้นำด้านการผลิตจะค่อย ๆ ใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

ละตินอเมริกา (LATAM) 

  • ในปัจจุบันมีเพียงแค่ 24% ของผู้นำด้านการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีระบบติดตามสินค้า อย่างไรก็ตาม 74% ของผู้นำด้านการผลิตกำลังปรับใช้ หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

อเมริกาเหนือ 

  • 68% ของผู้นำด้านการผลิตให้ความสำคัญกับโปรแกรมพัฒนาทักษะแรงงานมากที่สุด 

 

 

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลการสำรวจ ดัชนีชี้วัดนวัตกรรม (Innovation Index) ระบุ 66% ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 60% และทั่วโลก 57%) เกรงว่าองค์กรของตัวเองอาจตกกระแสได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมการสร้างนวัตกรรมและแผนงานนวัตกรรมในกระบวนการทำงาน (Pipeline) การทำวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกครั้งใหม่นี้ เป็นการทำโพลล์ด้วยการพูดคุยกับพนักงานองค์กรจำนวน 6,600 คนในกว่า 45 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สามารถเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ และองค์กรธุรกิจเองควรเตรียมความพร้อมของคนทำงาน กระบวนการในการทำงาน และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรได้บ้าง ขณะเดียวกัน รายงานในส่วนของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกิดจากการทำโพลล์จากการพูดคุยกับพนักงาน 1,700 คนทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

“เทคโนโลยียังคงเป็นแกนหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร ในการที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มและเติบโต การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดได้สร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับธุรกิจต่างๆ และในขณะที่ผลการศึกษาของดัชนีชี้วัดด้านนวัตกรรม หรือ Innovation Index เผยให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจของไทยจัดอยู่ในระดับแนวหน้าในกลุ่มของผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leader) เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาค องค์กรส่วนใหญ่ยังคงต้องตัดสินใจว่าในจุดไหนที่ต้องการไปให้ถึงในอนาคตอันใกล้นี้” ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการในรูปแบบนี้ได้ด้วยการปรับเป้าหมายต่างๆ ที่บริษัทมีอยู่ให้สอดคล้องกัน พร้อมทั้งบ่มเพาะวัฒนธรรมของการความอยากรู้และอยากลองด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ผู้คน และกระบวนการรูปแบบต่างๆ”

นวัตกรรมคือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ

ด้วยการประเมินองค์กร ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกประเมินหรือตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐาน (Benchmark) เพื่อดูเกณฑ์มาตรฐานความพร้อมด้านนวัตกรรม ตั้งแต่ผู้นำด้านนวัตกรรมไปจนถึงผู้ที่ยังคงล้าหลังด้านนวัตกรรม จากการวิเคราะห์ องค์กรต่างๆ เพียง 31% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 17% และทั่วโลก 18%) เท่านั้นที่สามารถกำหนดให้เป็นผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) องค์กรในกลุ่มนี้มีกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมแบบครบวงจร (End-to-End) และวางตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาที่มาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ปัญหาซัพพลายเชน ไปจนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย ขณะที่ยังคงเติบโตต่อไป

ในความเป็นจริง 52% ของผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) ของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% และทั่วโลก 50%) มั่นใจว่าตัวเองสามารถเร่งสร้างนวัตกรรมได้ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ซึ่ง “ความยืดหยุ่นของนวัตกรรม” หรือที่เรียกว่า “innovation resilience” นี้ (เช่น ความมุ่งมั่นและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก) ส่งผลดีให้กับผู้นำทางนวัตกรรม โดย 32% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 33% และทั่วโลก 32%) ได้รับประสบการณ์ที่ระดับของรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปี 2022 นอกจากนี้ ยังพบความท้าทายที่ลดลงในการรักษาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอทีที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรม ปัจจัยสนับสนุนอีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะ 65% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 75%) ได้ตอบรับการใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างเต็มที่เพื่อสู้กับกระบวนการไอทีทั้งแบบแมนนวลและทั้งใช้เวลายาวนาน เพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมให้เร็วยิ่งขึ้น

 

ตามที่เส้นกราฟการเติบโตอย่างเต็มที่ของนวัตกรรมแสดงให้เห็น องค์กรธุรกิจในส่วนที่เป็นผู้ล้าหลังด้านนวัตกรรม (Innovation Laggards) และผู้ตามทางนวัตกรรม (Innovation Followers) ยังขาดการกำหนดกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมหรือกำลังพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรสำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ที่กำลังประเมินเพื่อการใช้งานนวัตกรรม (Innovation Evaluators) ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรม (Innovation Index) คือการจับภาพหรือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ได้ทันเวลา องค์กรธุรกิจสามารถพัฒนาปรับปรุงได้ด้วยการพิจารณาถึงบุคลากร กระบวนการทำงาน และการใช้เทคโนโลยีในแบบองค์รวม และสร้างกลยุทธ์นวัตกรรมที่แข็งแกร่งแต่คล่องตัว

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญบุคลากร

องค์กรธุรกิจต่างต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาวัฒนธรรมนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับแนวความคิดทุกรูปแบบเพื่อที่จะสามารถสร้างความต่าง อีกทั้งสามารถเรียนรู้ผ่านความผิดพลาด โดยผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า

· 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% และทั่วโลก 59%) เชื่อว่าการที่มีคนลาออกจากบริษัทเกิดจากการที่ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากเท่าที่คาดว่าจะทำได้

· 61% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 63% และทั่วโลก 64%) ระบุว่าวัฒนธรรมของบริษัทในด้านต่างๆ คือสิ่งที่สกัดกั้นทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากเท่าที่ต้องการหรือสามารถทำได้

วัฒนธรรมในบริษัทได้ถูกกำหนดและสร้างขึ้นเป็นแบบอย่างโดยผู้นำ แต่ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 71%) ระบุว่าผู้นำของตัวเองมีแนวโน้มที่จะชอบความคิดของตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงอุปสรรคส่วนบุคคลในอันดับต้นๆ ที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือความกลัวที่จะความล้มเหลว ไปจนถึงการขาดความมั่นใจในการแบ่งปันความคิดกับผู้นำของตัวเอง

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการ

ในทำนองเดียวกัน รายงานดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรมยังเผยให้เห็นว่าธุรกิจต่างกำลังดิ้นรนที่จะนำเอากระบวนการนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยดาต้าและมีสตรัคเจอร์เข้ามาฝัง (Embed) ไว้ภายในองค์กร เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนขององค์กร โดยผลการสำรวจสำคัญชี้ให้เห็นว่า

· ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีมากถึง 56% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 28% และทั่วโลก 26%) กล่าวว่าความพยายามด้านนวัตกรรมทั้งหมดของพวกเขาขึ้นอยู่กับข้อมูล

· มีเพียง 37% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 46% และทั่วโลก 52%) กำลังจัดโครงการนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท เป็นไปได้ว่า การขาดกระบวนการและกลยุทธ์นี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่องค์กรต่างๆ พยายามดิ้นรนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรม: อุปสรรคสำคัญต่อนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อทีมคือการไม่มีเวลาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เนื่องจากมีภาระงานล้นหลาม (ประเทศไทย: 36% เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 40% และทั่วโลก 38%)

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงพลังของเทคโนโลยีในการก่อให้เกิดนวัตกรรมและผลที่ตามมาของการถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยส่วนใหญ่ หรือ 99% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% และทั่วโลก 86%) ต่างกำลังแสวงหาเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายด้านนวัตกรรม และในทางกลับกัน 49% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 58% และทั่วโลก 57%) เชื่อว่าเทคโนโลยีของตัวเองยังไม่ใช่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและหวั่นเกรงว่าจะถูกทิ้งให้ตามหลังคู่แข่ง

การศึกษามุ่งที่จะสำรวจในรายละเอียดเพื่อดูว่าองค์กรธุรกิจสามารถได้รับผลประโยชน์ และเผชิญกับอุปสรรคใดบ้างจาก 5 เทคโนโลยีหลักที่ถือเป็นตัวกระตุ้น (Catalysts) สำหรับนวัตกรรม อันได้แก่ เทคโนโลยีมัลติ-คลาวด์ เอดจ์ โครงสร้างพื้นฐานโมเดิร์น ดาต้า การทำงานจากทุกที่ที่ต้องการ (Anywhere-work) และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และในเกือบทุกภาคส่วน สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ยิ่งที่สุดในการปลดล็อคศักยภาพทางนวัตกรรมนั่นคือความซับซ้อน (Complexity) หากให้ยกตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีองค์กรธุรกิจในจำนวนที่มากจนเกินไปที่เข้ามาสู่สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์โดยบังเอิญ ทำให้เกิดการควบรวมกันของแพลตฟอร์มต่างๆ ด้านคลาวด์ ตลอดจนแอปพลิเคชัน ทูลส์ และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งความซับซ้อนเหล่านี้ก่อให้เกิดต้นทุนทั้งในด้านเวลา เงินลงทุน ไปจนถึงโอกาสอันมีค่าในการสร้างนวัตกรรม

และนี่คือสิ่งที่เป็นหลักฐานที่เด่นชัดของอุปสรรคทางเทคโนโลยีของประเทศไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด:

1. การต่อสู้กับความซับซ้อนของระบบเอดจ์ที่ปลายทาง

2. การทุ่มเทความพยายามไปกับการเปลี่ยนดาต้าให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียล-ไทม์

3. การขาดกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรในแบบองค์รวม

4. ต้นทุนทางด้านคลาวด์ที่เพิ่มสูงขึ้น

5. การที่ผู้คนไม่สามารถทำงานอย่างปลอดภัยได้จากทุกที่ที่ต้องการ

เพื่อให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการเดินทางบนเส้นทางแห่งนวัตกรรม เดลล์ เทคโนโลยีส์พร้อมที่จะแบ่งปัน "บทเรียนเหล่านี้ที่ได้จากผู้ที่เป็น ผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมไปใช้งาน (Innovation Leaders)" หาข้อมูลเพิ่มเติมและเข้ามาอ่านรายงานสรุป Executive Summary ได้ที่ www.dell.com/innovationindex

บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จํากัด ผู้นำด้านการให้บริการแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศไทย เปิดตัว “เฮดไลเนอร์ ไทยแลนด์” (HEADLINER THAILAND) ธุรกิจบริหารจัดการและพัฒนานักแสดง-ศิลปินแบบครบวงจร เปิดโอกาสให้กับคนมีฝัน ได้ตามความฝันในการเป็นศิลปินทำงานในวงการบันเทิงไทยและต่างประเทศ ประเดิมจับมือ กองทัพ โปรดักชั่น พันธมิตรผู้ผลิตคอนเทนต์ชื่อดัง เฟ้นหานักแสดงหน้าใหม่ร่วมแสดงในโปรเจกต์ซีรีส์วาย เรื่อง “12th Night” ออกอากาศทาง WeTV ตั้งเป้าผลิตศิลปินที่มีคุณภาพและศักยภาพรอบด้านป้อนวงการบันเทิง และเตรียมขยายความร่วมมือกับพันธมิตรด้านต่างๆ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานเฮดไลเนอร์ ไทยแลนด์อย่างต่อเนื่อง

นางสาวปรภาว์ สมบัติเปี่ยม ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาศิลปิน เฮดไลเนอร์ ไทยแลนด์ กล่าวว่า “ปัจจุบันศิลปิน ดารา นักร้องไทยนั้นนอกจากจะเป็นที่ยอมรับทั้งในวงการบันเทิงไทยและต่างประเทศแล้ว ยังถือเป็นซอฟท์พาวเวอร์ที่สร้างอิมแพคให้กับประเทศไทยผ่านผลงานต่างๆ นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของแฟนๆ ชาวไทยในการให้การสนับสนุนศิลปินก็เป็นขุมกำลังที่แข็งแกร่งในการผลักดันศิลปินเข้าสู่ตลาดทั้งในประเทศและตลาดสากล ธุรกิจ Talent Agency จึงเป็นหนึ่งในกลไก ขับเคลื่อนที่มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานให้กับวงการบันเทิงไทยในการผลิตศิลปินเข้าสู่ตลาดอย่างมีคุณภาพ จึงเป็นที่มาของการเปิดตัว “เฮดไลเนอร์ ไทยแลนด์” ธุรกิจบริหารจัดการและพัฒนานักแสดง-ศิลปินแบบครบวงจรภายใต้บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่จะเน้นการเฟ้นหาคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและความสามารถที่โดดเด่นทั้งด้านการแสดง การร้องเพลง และการเต้น ป้อนเข้าสู่วงการบันเทิง พร้อมใช้จุดแข็งของการอยู่ภายใต้เทนเซ็นต์ ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้นำ ด้านการให้บริการแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศไทย เปิดโอกาสให้ศิลปินได้โชว์ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ผ่านการนำเสนอผลงานที่หลากหลายผ่านบริการต่างๆ ทั้งบนแพลตฟอร์มของบริษัท รวมถึงจากบริษัทพันธมิตรต่างๆ ในอนาคต รวมถึงการผลักดันและสร้างโอกาสเติบโตบนเส้นทางบันเทิงในระดับภูมิภาคให้กับศิลปินในสังกัด”

เฮดไลเนอร์ ไทยแลนด์ วางแผนการดำเนินงานธุรกิจด้วยการมุ่งเน้น 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1. การพัฒนาศักยภาพของศิลปิน ในสังกัด เริ่มตั้งแต่การค้นหาศิลปินหน้าใหม่เพื่อร่วมโปรเจกต์ซีรีส์ที่มีการวางแผนผลิตไว้แล้ว และค้นหาศิลปินมาเป็นเด็กฝึกในสังกัด ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะ ศักยภาพ ของศิลปินในสังกัดด้วยคลาสเรียนการแสดง การสื่อสาร การปรับบุคลิกภาพ เพื่อให้ศิลปินพร้อมทำงานในวงการบันเทิงทุกรูปแบบ 2. การสร้างคอมมูนิตี ส่งเสริมความชื่นชอบในตัวศิลปินทั้งกับ กลุ่มคนทั่วไปและสื่อมวลชน ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อเข้าถึงคอมมูนิตีที่ชื่นชอบในตัวตนของศิลปินได้ทุกกลุ่ม

3. การจับมือพันธมิตรในหลากหลายแวดวง ทั้งแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งชั้นนำในไทย เช่น WeTV การจับมือกับกลุ่ม ผู้ผลิตไทยที่กำลังมาแรง รวมถึงการร่วมมือกับเครือข่ายสายการพัฒนาศิลปิน เช่น โรงเรียนสอนการแสดง โรงเรียน สอนบุคลิกภาพ และคลินิกเสริมความงาม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้ศิลปินในสังกัดครบรอบด้าน

สำหรับการเปิดรับศิลปินในช่วงแรก เฮดไลเนอร์ ประเทศไทย จะเฟ้นหาคนรุ่นใหม่ทั้งชายและหญิง อายุ 15 - 25 ปี ที่มีใจรักการแสดง รักการเป็นศิลปิน พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีวินัย ต้องการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ สื่อสารได้สองภาษาขึ้นไป เพื่อมาร่วมเป็นนักแสดงในสังกัด และเดินหน้าเฟ้นหาศิลปินและนักร้องต่อไปในอนาคต เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในด้านธุรกิจ ทั้งฝั่งผู้ผลิต สตูดิโอที่มองหานักแสดงร่วมแสดงในผลงานต่างๆ และกลุ่มแบรนด์สินค้าต่างๆ รวมไปถึงบริษัทจัดงาน อีเวนต์ทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยในปี 2566 นี้ เฮดไลเนอร์ ประเทศไทย ประเดิมการคัดเลือกศิลปินเข้าสังกัดด้วยการ หานักแสดงหน้าใหม่ลงจอในโปรเจกต์ใหญ่ซีรีส์เรื่อง “12th Night” ผลิตโดยกองทัพ โปรดักชั่น และ ออดิชันศิลปินเพื่อ เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับโปรเจกต์ที่น่าสนใจในอนาคต”

นางทักษญา ธีญานาถธนันชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท กองทัพ โปรดักชั่น จำกัด พาร์ทเนอร์ผู้ผลิตซีรีส์เรื่อง 12th Night กล่าวว่า "หลังจากสร้างผลงานคุณภาพอย่าง ซีรีส์ เล่ห์แค้น WeTV ORIGINAL ในปี 2022 กองทัพ โปรดักชั่น เตรียมเดินหน้าสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยในครั้งนี้จะร่วมมือกับ เฮดไลเนอร์ ไทยแลนด์ ในการเฟ้นหานักแสดงและการผลิตซีรีส์ เรื่องใหม่ เพื่อที่จะต่อยอดความฝันให้กับคนรุ่นใหม่ที่มีฝัน เพราะทางกองทัพ โปรดักชั่นเอง เชื่อมั่นในศักยภาพของนักแสดงไทย และโอกาสก็เป็นสิ่งที่สำคัญ จึงอยากสนับสนุนและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเฟ้นหานักแสดงคุณภาพเข้าสู่วงการบันเทิง สำหรับโปรเจกต์ในครั้งนี้จะเป็นการตามหานักแสดงหน้าใหม่ที่จะมาร่วมแสดงในซีรีส์เรื่อง 12th Night ซีรีส์แนว Boy Love ที่หยิบยกเอาประเด็นความสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายชายในปัจจุบันมาเล่าพร้อมควบคู่ไปกับ การให้ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ (Sex edutainment) อย่างถูกต้อง”

“เฮดไลเนอร์ ไทยแลนด์ ตั้งเป้าในการผลิตศิลปินที่มีคุณภาพและศักยภาพครบถ้วนส่งเข้าสู่วงการบันเทิงไทยและต่างประเทศ เพื่อตอบโจทย์ทั้งในแง่ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิตที่มองหานักแสดงร่วมแสดงในละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์ แบรนด์สินค้าต่างๆ ที่มองหาพรีเซนเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อช่วยส่งเสริมการขายสินค้าและบริการ และ บริษัทจัดงานอีเวนต์ทั้งของไทย และต่างประเทศ เพื่อต่อยอดในการจัดกิจกรรมแฟนมีตติงเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของคอมมูนิตีในอนาคต รวมถึงในแง่มุมของผู้บริโภคที่เป็นการเปิดโอกาสสำคัญให้กับคนมีฝัน ได้ตามความฝันในการเป็นศิลปินทำงานในวงการบันเทิงไทย และต่างประเทศ นอกจากนี้เราจะเตรียมขยายความร่วมมือกับพันธมิตรด้านต่างๆ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับ การดำเนินงานของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง” นางสาวปรภาว์ กล่าวสรุป

Google Cloud ได้เผยผลสำรวจด้านความยั่งยืนระดับโลกที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยติด 1 ในตลาด 3 แห่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล (ESG) เป็นอันดับ 1

โดยตลาดอีกสองแห่งคือสิงคโปร์และเยอรมนี แม้ว่าจะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานก็ตาม ทั้งนี้ผลสำรวจระดับโลกยังแสดงให้เห็นว่าได้มีการลดความสำคัญของความพยายามด้าน ESG ในประเทศต่างๆ จากอันดับ 1 ในปี 2022 มาเป็นอันดับ 3 ในปี 2023

ความยั่งยืนถือเป็นปัญหาหลักขององค์กร ได้แก่ ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและคุณภาพของอากาศ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เป็นต้น แบบสำรวจความยั่งยืนประจำปีครั้งที่ 2 ของ CXO ได้รับมอบหมายโดย Google Cloud และจัดทำโดย The Harris Poll มีการสำรวจผู้บริหารระดับสูงกว่า 1,476 คนจากตลาด 16 แห่ง ประกอบด้วยตลาด 4 แห่งในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศไทย การสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนที่ผู้บริหารต้องดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น ส่งผลให้การทำงานหยุดชะงักและเกิดความล้มเหลวในการดำเนินงาน

ผลประกอบการทางการเงินและการปฎิบัติตามความรับผิดชอบด้าน ESG นั้นไม่ใช่สิ่งที่สูญเปล่า

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ในประเทศไทย (85%) ตระหนักดีว่าลูกค้ามีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและทำธุรกิจกับแบรนด์ที่ตระหนักถึงความยั่งยืน และ 84% เชื่อว่าการยืดเวลาออกไปหรือลดระดับความสำคัญของเป้าหมายด้านความยั่งยืนจะส่งผลเสียต่อมูลค่าขององค์กร อย่างไรก็ตาม 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าการดำเนินงานของผู้นำองค์กรไม่สอดคล้องกับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนอย่างเต็มที่ เงื่อนไขทางเศษฐกิจที่ไม่แน่นอนส่งผลให้ 76% ของผู้บริหารเหล่านี้เผชิญความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทในขณะที่ดำเนินธุรกิจด้วยงบประมาณที่น้อยลงกว่าเดิม

ผู้บริหารชี้ว่าการขาดการปรับแนวทางของผู้นำและภาวะเศรษฐกิจระดับมหภาค เป็นสาเหตุของการถดถอยในความพยายามด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยเหล่าผู้บริหารถูกกดดันในเรื่องการให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

เอพริล ศรีวิกรม์, ผู้อำนวยการ Google Cloud ประจำประเทศไทย กล่าว “ครื่องมืออัจฉริยะที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลอย่าง Active Assist ที่องค์กรสามารถใช้เพิ่มประสิทธิภาพในค่าใช้จ่ายด้าน IT, ปรับปรุงความปลอดภัย และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ในเวลาเดียวกัน โดยทาง Google Cloud นำมาปรับใช้เพื่อช่วยให้ผู้บริหารธุรกิจเห็นว่าผลประกอบการทางการเงินและการปฏิบัติตามความรับผิดชอบด้าน ESG นั้นไม่สูญเปล่า ยิ่งไปกว่านั้นเกือบ 4 ใน 10 ของลูกค้าท้องถิ่นเผยว่าตนเต็มใจที่จะจ่ายมากขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีแนวคิดความยั่งยืน องค์กรสามารถปลูกฝังแนวคิดความยั่งยืนลงในการปฏิบัติการและรูปแบบธุรกิจ รวมถึงสามารถวัดมูลค่าและผลตอบแทนจากการลงทุนได้

 

เอาชนะการฟอกเขียว (Greenwashing) ขององค์กรด้วยข้อมูลและการประมาณอย่างแม่นยำ

การฟอกเขียว (Greenwashing) และการสร้างภาพว่ารับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรเป็นปัญหาที่แพร่หลายในหมู่ผู้บริหารในประเทศไทย โดยเกือบ 7 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทย (69%) กล่าวว่าองค์กรของตนกล่าวเกินจริงหรือนำเสนออย่างไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืน ผู้บริหารส่วนใหญ่ (83%) เชื่อว่าการฟอกเขียวเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น (เช่น เมื่อบริษัทไม่สามารถวัดผลลัพธ์หรือความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักจะกล่าวเกินจริงถึงความพยายามด้านความยั่งยืนของตน) ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีระบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงเพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงวิธีการใช้ความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืน ที่จะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด และวัดความก้าวหน้าได้อย่างถูกต้อง

ทั้งนี้ ผู้บริหารในประเทศไทยกว่า 63% มีโปรแกรมการวัดผลสำหรับความพยายามด้านความยั่งยืนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดจากตลาดทั้งหมดที่ได้สำรวจเมื่อเทียบกับผู้ร่วมแบบสำรวจทั่วโลกที่ 37% โดยผู้บริหารส่วนใหญ่ (67%) เทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก (47%) เชื่อว่าการเข้าถึงเครื่องมือวัดผลขั้นสูงจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนาความพยายามด้านความยั่งยืนขององค์กรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการที่คล่องตัวและการสร้างความสามารถภายในองค์กร

นอกเหนือจากการวัดผลที่แม่นยำแล้ว องค์กรจำเป็นต้องทบทวนโครงสร้างและโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะที่มีอยู่ใหม่เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน นอกเหนือจากการปรับแนวทางที่จำเป็นสำหรับกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่จะช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืนขององค์กร ผู้บริหารในประเทศไทยยังต้องมีวิธีการที่คล่องตัวและการสร้างความสามารถภายใน ซึ่งอาจเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับความสำเร็จ โดยผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่า 9 ใน 10 ในประเทศไทย (96%) เชื่อว่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดขึ้นได้หากบริษัทนำแนวทางการทำงานข้ามสายงานมาปรับใช้ แทนการมีทีมงานด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากมองหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง (61%) และเข้าถึงบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสม (45%) เพื่อพัฒนาความพยายามด้านความยั่งยืนของบริษัท

“องค์กรต่างๆ สามารถระดมทีมบุคลากรที่มีความสามารถที่มีอยู่เพื่อออกแบบและดำเนินการริเริ่มด้านเทคโนโลยีและความยั่งยืน โดยนำทักษะอื่นๆ หรือทักษะข้ามสายงานที่พนักงานเหล่านี้มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์, การวิเคราะห์ข้อมูล, AI และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) เป็นต้น Google Cloud สนับสนุนความพยายามในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลภายในองค์กรผ่านโปรแกรมต่างๆ เช่น Google Cloud Skills Boost นอกจากนี้ เรายังนำเสนอแลปเชิงปฏิบัติที่ช่วยให้ทีมวิศวกรทำความคุ้นเคยกับคุณลักษณะด้านความยั่งยืนที่ฝังอยู่ในเครื่องมือ Google Cloud ที่ใช้อยู่แล้ว รวมถึงหลักสูตรการฝึกอบรมที่ปรับให้เหมาะกับผู้เรียนซึ่งช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการทำความเข้าใจและจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืนที่องค์กรต้องเผชิญ” คุณเอพริล ศรีวิกรม์ กล่าว

 

เทคโนโลยี: หนทางสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

Google Cloud สนับสนุนองค์กรในประเทศไทยด้วยการใช้งานระบบคลาวด์ที่สะอาดที่สุดในอุตสาหกรรม องค์กรต่างๆ เช่น ยิ้ม แพลตฟอร์ม (Yim Platform) ของ Central Retail, โรบินฮุ้ด (Purple Ventures: Robinhood) ของ SCBX Group และ EVme ของกลุ่มบริษัท ปตท. ได้เลือก Google Cloud เป็นผู้ให้บริการคลาวด์หลัก โดยช่วยให้องค์กรเหล่านั้นดำเนินการลดคาร์บอนของโครงสร้างพื้นฐานและแอปพลิเคชันดิจิทัล และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนตามคำมั่นขององค์กรได้อย่างสูงสุด

ในปี 2017 ทาง Google เป็นบริษัทแห่งแรกที่มีการใช้ไฟฟ้าประจำปีด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% เมื่อเทียบกับขนาดขององค์กร และยังคงบรรลุเป้าหมายนี้ทุกปีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อย้ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและแอปพลิเคชันไปยัง Google Cloud องค์กรต่างๆ จะได้รับความเป็นกลางทางคาร์บอนของ Google และปรับปรุงโปรไฟล์ด้านความยั่งยืนในทันที

เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพอัจฉริยะและคุณลักษณะด้านความยั่งยืนที่ฝังอยู่ใน Google Cloud เพิ่มโอกาสให้องค์กรต่างๆ สามารถลดการปล่อยคาร์บอนในวงกว้างได้ง่ายขึ้น ดังนี้:

· Carbon Footprint จะแสดงภาพของการปล่อยก๊าซแบบครบวงจรในสโคป 1, 2 และ 3 ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Google Cloud ขององค์กร ซึ่งทำให้สามารถแยกย่อยข้อมูลตามโครงการ บริการ หรือภูมิภาค และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้และทำให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืนมากขึ้น · Active Assist ใช้ AI เพื่อให้คำแนะนำแก่องค์กรในการทำความสะอาดสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ เพื่อทำการใช้จ่ายด้านไอทีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงปรับปรุงความปลอดภัยและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย · Google Earth Engine ใช้แคตตาล็อกภาพถ่ายดาวเทียมและชุดข้อมูลเชิงพื้นที่หลายเพตะไบต์ของ Google Cloud และการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมระดับโลก เพื่อแสดงข้อมูลเชิงลึกในเวลาที่เหมาะสม แม่นยำ มีความละเอียดสูง และ

เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่และระบบนิเวศของโลก ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นห่วงโซ่อุปทานของตนและเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านสภาพอากาศที่เกิดขึ้นได้

ดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลแบบสำรวจความยั่งยืนของ CXO หรือเยี่ยมชมบล็อกและเว็บไซต์ความยั่งยืนของ Google Cloud

นำโซลูชัน 5G MPN ติดปีกกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ผู้ผลิต โลจิสติกส์ ยกระดับระบบอัตโนมัติซัพพลายเชน

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click