เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) หนึ่งในผู้นำรถยนต์พลังงานใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมอัจฉริยะ ย้ำชัด ยังคงเดินหน้าดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและในระยะยาว ท่ามกลางความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์และสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกาศจุดยืน “ประเทศไทย” เป็นประเทศยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียนและตลาดรถยนต์พวงมาลัยขวา
เกรท วอลล์ มอเตอร์ ภายใต้ “Great Wall Motors International” บริษัทฯ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกำกับ ดูแล รวมถึงบริหารธุรกิจของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ในตลาดต่างประเทศทั่วโลก สำหรับตลาดรถยนต์พวงมาลัยขวารวมถึงประเทศไทย นำทัพโดย เจมส์ หยาง รองประธาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ ตลาดต่างประเทศ ที่เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งและนำการบริหารงาน ณ สำนักงานที่กรุงเทพฯ เพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนาการดำเนินธุรกิจของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในช่วงเวลาแห่งความท้าทาย รวมถึงกำกับดูแลการดำเนินงานของโรงงาน “GWM Smart Factory” ในจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นโรงงานการผลิตเต็มรูปแบบ ที่ถูกวางให้เป็นฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ไปสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนตอกย้ำทิศทางและวิสัยทัศน์ของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและมั่นคงในระยะยาว
ชูกลยุทธ์ 3 ด้าน เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว: ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะที่ตอบโจทย์คนไทย งานบริการหลังการขายและการบริหารจัดการอะไหล่ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และการขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายอย่างต่อเนื่อง
เกรท วอลล์ มอเตอร์ นำกลยุทธ์สำคัญ 3 ด้าน เข้ามาปรับปรุงและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันภายใต้ภาวะการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน เพื่อให้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยได้อย่างแข็งแกร่งและมั่นคง สร้างรากฐานเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ประกอบด้วย
ด้านผลิตภัณฑ์ เกรท วอลล์ มอเตอร์ จะมีการปรับกลยุทธ์การวางแผนผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าชาวไทย รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีเทคโนโลยีของระบบขับเคลื่อนแห่งอนาคต (Powertrain) อันหลากหลายเข้าสู่ตลาด นอกจากนี้ เกรท วอลล์ มอเตอร์ จะลงทุนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องและใช้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีคุณภาพในประเทศให้มากขึ้น เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการผลิตและส่งออกที่สำคัญของรถยนต์พวงมาลัยขวาและซ้ายของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย
ด้านบริการหลังการขาย เกรท วอลล์ มอเตอร์ มีการยกระดับมาตรฐานศูนย์บริการซ่อมตัวถังและสีผ่านโครงการ “Certified Body and Paint” โดยมี พาร์ทเนอร์ สโตร์ จำนวน 6 แห่ง ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ผ่านการรับรองจาก เกรท วอลล์ มอเตอร์ เพื่อมอบความมั่นใจในคุณภาพงานซ่อมให้กับลูกค้า โดยในอนาคต บริษัทฯ วางแผนที่จะขยายโครงการดังกล่าวไปยัง
จังหวัดต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศอีกด้วย สำหรับด้านการบริหารจัดการอะไหล่ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ยังมีแผนในการสร้างโรงเก็บอะไหล่ขนาดใหญ่ในประเทศจีน เพื่อรองรับความต้องการอะไหล่จากตลาดต่างประเทศรวมถึงประเทศไทย ทำให้การจัดส่งอะไหล่ที่ต้องนำเข้าจากประเทศจีนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ได้มีการพัฒนาการบริการส่งอะไหล่ไปยังศูนย์บริการทั่วประเทศได้ภายใน 1 วัน รวมถึงมีแผนในการขยายคลังเก็บอะไหล่ในประเทศไทย เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์และรถรุ่นใหม่ ๆ ที่จะเปิดตัวในอนาคต รวมถึงการจัดหาผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการอะไหล่ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ด้านการพัฒนาเครือข่ายผู้จำหน่าย ถึงแม้ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เกรท วอลล์ มอเตอร์ จะเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้จำหน่ายหลายราย ซึ่งเป็นผลจากภาวะการแข่งขันสูงและการเข้ามาของแบรนด์ใหม่ ๆ อย่างไรก็ตาม เรายังคงเดินหน้าในการขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายในการให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน เกรท วอลล์ มอเตอร์ มีเครือข่ายผู้จำหน่ายทั้งสิ้น 71 แห่ง โดยในปี 2567 นี้ เรามีการเปิด พาร์ทเนอร์ สโตร์ เพิ่มเติมไปแล้วถึง 11 แห่ง ทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑลและต่างจังหวัด ได้แก่ GWM ไลฟ์ นนทบุรี, GWM จีที ออโต้ พัฒนาการ, GWM มหานคร พหลโยธิน กม.25, GWM เอก อารีย์, GWM บางกอก ถนนจันทน์, GWM คาร์แมน วงศ์สว่าง, GWM ฑีฆ อุดรธานี, GWM อนุภาษ ภูเก็ต กะทู้, GWM วายเอเอส ยะลา, GWM ระยอง ปลวกแดง และ GWM ชูเกียรติ สงขลา นอกจากนี้ เรายังคงเดินหน้าขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสู่มือผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศ
เจมส์ หยาง รองประธาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ ตลาดต่างประเทศ กล่าวว่า “เกรท วอลล์ มอเตอร์ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาครบ 3 ปีเต็ม และกำลังจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 พร้อมความมุ่งมั่นตั้งใจในการนำผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสู่มือผู้บริโภคชาวไทย เราขอขอบคุณลูกค้าชาวไทยเป็นอย่างมากที่มอบความไว้วางใจและให้การสนับสนุนเรามาโดยตลอด ภายใต้ความท้าทายของอุตสาหกรรมรถยนต์และสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้เราต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้ตอบโจทย์คนไทยให้มากที่สุด เราเชื่อว่ากลยุทธ์ทั้ง 3 ด้านของเราจะทำให้ เกรท วอลล์ มอเตอร์ มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว เราขอยืนยันว่า การดำเนินธุรกิจในประเทศไทยจะยังคงดำเนินต่อไปด้วยความมั่นคงและแข็งแกร่ง ทั้งด้านการขายและบริการหลังการขาย เรามีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตลาดประเทศไทยและผู้บริโภคชาวไทย และประเทศไทย ถือเป็นประเทศยุทธศาสตร์ที่ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ให้ความสำคัญเสมอมา เรายังคงมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์ที่สำคัญของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ในระดับโลก เราจะเติบโตไปพร้อมกับคนไทยและประเทศไทยในระยะยาวอย่างแน่นอน”
ในฐานะบริษัทที่ให้บริการเทคโนโลยีระดับโลก (Global Intelligent Technology Company) เกรท วอลล์ มอเตอร์ เร่งเครื่องสุดกำลังในการมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่อัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยเพื่อเติมเต็มระบบนิเวศและอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้ทัดเทียมระดับสากลควบคู่ไปกับการตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศ
เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารยูโอบีได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท Guangzhou Auto Group (GAC) Aion เพื่อผนึกความร่วมมือแบบครอบคลุมทุกมิติในการเข้ามาทำธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยธนาคาร ยูโอบี ประเทศจีน และ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยจะร่วมสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินสำหรับการขยายธุรกิจ การพัฒนาตลาดและ การลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ของบริษัท
ข้อตกลงในครั้งนี้เป็นการสานต่อความร่วมมืออันยาวนานระหว่าง ธนาคารยูโอบี ประเทศจีน กับ GAC Aion ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ลำดับที่ 3 ภายในประเทศจีนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ GAC Aion และ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลล์ (ประเทศไทย) จะได้รับประโยชน์จากบริการ Global Credit Services เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการขยายกิจการและดำเนินธุรกิจ บริการธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ บริการบริหารความเสี่ยงที่หลากหลาย และการเข้าถึงสินเชื่อสีเขียวภายใต้กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนของธนาคารในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ธนาคารยูโอบีขอร่วมแสดงความยินดีกับ GAC Aion กับก้าวแรกแห่งความสำเร็จในการเข้ามาสู่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าประเทศไทย จากความสัมพันธ์ที่ก่อตัวขึ้นอย่างยาวนาน ยูโอบีรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่บริษัทเลือกธนาคารเป็นสถาบันทางการเงินหลักเพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจนอกประเทศ ในฐานะธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาคที่มีรากฐานที่มั่นคงในประเทศไทย ยูโอบีได้ช่วยเหลือให้ GAC Aion ได้เข้ามาทำตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเติบโตในประเทศได้อย่างประสบความสำเร็จเพราะธนาคารมีเครือข่ายที่แข็งแกร่งและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจในประเทศไทยเป็นอย่างดี ยูโอบีพร้อมมอบความช่วยเหลือเพิมเติมให้แก่บริษัทเพื่อสนับสนุนความต้องการในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค และการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ยานยนต์สีเขียวต่อไปในอนาคต
บันทึกความเข้าใจนี้สืบเนื่องจากที่ GAC Aion ได้เปิดตัว Aion Y Plus รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับจำหน่ายในต่างประเทศเป็นที่แรกในประเทศไทย โดยเมื่อปี 2565 บริษัทได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ในต่างประเทศ และเลือกภูมิภาคอาเซียนที่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเทศไทยเป็นจุดหมายแรกในการปักธงธุรกิจ ธนาคารยูโอบีนำโดยหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment Advisory Unit) พร้อมด้วยผู้จัดการลูกค้าสัมพันธ์ และ หน่วยบริการธุรกิจจีนได้ร่วมให้คำแนะนำในการขยายธุรกิจแก่บริษัทในทุกมิติ ทำให้ Gac Aion สามารถจัดตั้งบริษัทย่อย จดทะเบียนลงทุนทางตรงในต่างประเทศ และส่งออกรถยนต์รุ่น Y Plus มาทำตลาดในไทย นอกจากนี้ธนาคารยังให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยสามารถชำระเงินเป็นสกุลเงินบาท และโอนเงินโดยตรงให้แก่บริษัทที่จีนเป็นสกุลเงินหยวนได้ทันที”
โอเชียน หม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วหลังจากที่บริษัทได้จัดตั้งหน่วยธุรกิจต่างประเทศ เราได้เรียนรู้และสานสัมพันธ์กับธุรกิจในประเทศต่างๆ ผ่านเครือข่ายระดับภูมิภาคที่เข้มแข็งของธนาคารยูโอบีทำให้เรามีข้อมูลและรับทราบความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเวลาขยายธุรกิจออกนอกประเทศ อีกทั้งธนาคารยังช่วยเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างบริษัทกับตัวแทนจากภาครัฐทั่วภูมิภาคอาเซียนที่ตั้งอยู่ในมณฑลกวางโจว และตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ยูโอบีจึงไม่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินแต่เป็นคู่คิดที่อยู่เคียงข้างเราในทุกๆ ก้าวของการเดินทาง”
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่เปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่น Y Series ทุกรุ่น Gac Aion มีแผนที่จะตั้งโรงงานและใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทยและประเทศอื่นๆ
กู่ ฮุ่ยหนาน กรรมการผู้จัดการบริษัท GAC Aion New Energy Automotive Co., Ltd กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทมีแผนจะใช้ประเทศไทยเป็นที่แรกเพื่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและสร้างเครือข่ายในการขยายธุรกิจส่งออกรถยนต์ไปต่างประเทศ ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากธนาคารยูโอบีในการเข้ามาทำตลาดในภูมิภาคนี้เป็นอย่างดี บริษัทพร้อมจะเติบโตไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องและยินดีที่จะร่วมงานกับธนาคารเพื่อเสริมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่ทุกคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ซินเทีย ซิง, Head of Corporate Banking, ธนาคารยูโอบี ประเทศจีน กล่าวว่า “ยูโอบีรู้สึกยินดีที่ได้รับความไว้วางใจจาก GAC Aion พร้อมทั้งมีความเชื่อมั่นว่าการลงนามในข้อตกลงร่วมครั้งนี้จะกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจของเราให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการตอกย้ำจุดยืนของธนาคารในฐานะผู้ให้บริการทางการเงินหลักของ Aion และ GAC Aion ที่พร้อมสนับสนุนการขยายโอกาสทางธุรกิจอย่างครอบคลุมทั่วภูมิภาคอาเซียนผ่านการให้สินเชื่อหมุนเวียนทางธุรกิจ โซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืน รวมทั้งการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงิน (global markets)และกิจกรรมในตลาดทุน (capital markets)”
· ในปี 2567 ยอดจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มเป็น 17.9 ล้านคัน
· ในปี 2570 รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) จะมีราคาเทียบเท่ารถเครื่องยนต์สันดาป (ICE) ในขนาดและรูปร่างคล้ายกัน
· ในปี 2573 มากกว่าครึ่งหนึ่งของรถยนต์ทุกรุ่นที่ผลิตออกมาจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดการจัดส่งรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าทั่วโลก (แบบใช้พลังงานจากแบตเตอรี่และแบบปลั๊กอิน-ไฮบริด) ในปี 2566 มีปริมาณเกือบ 15 ล้านคัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 19% ในปี 2567 คิดเป็นยอดรวม 17.9 ล้านคัน
การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ปริมาณการจัดส่งยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งหมด ตั้งแต่ รถยนต์ (Cars) รถโดยสาร (Buses) รถตู้ (Vans) และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (Heavy Trucks) จะมียอดรวมที่ 18.5 ล้านคัน โดยในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าจะคิดเป็น 97% ของยอดการจัดส่งยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในปีหน้า
การ์ทเนอร์คาดว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ทั่วโลกจะเติบโตจาก 9 ล้านคันในปี 2565 เพิ่มเป็น 11 ล้านคัน ภายในสิ้นปี 2566 โดยคาดว่ารถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) จะเติบโตช้าลงเล็กน้อยจาก 3 ล้านคัน ในปี 2565 เพิ่มเป็น 4 ล้านคันในปี 2566
โจนาธาน ดาเวนพอร์ท ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “สัดส่วนของรถ PHEV คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น โดยมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศเหล่านั้นชื่นชอบรถ PHEV มากกว่ารถ BEV โดยผู้บริโภคในสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) มาเลือกใช้รถ PHEV มากกว่า BEV เนื่องจาก PHEV มีความสามารถที่ผสมผสานระหว่างการขับขี่ในเมืองที่ไร้มลพิษด้วยพลังงานไฟฟ้าจากมอเตอร์ และยังมอบความสะดวกสบายในการขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเพื่อการเดินทางที่ยาวนานและไกลขึ้น ซึ่งในตลาดยุโรปตะวันตก จีน และอินเดียแตกต่างออกไป โดยรถ PHEV ได้รับความสนใจน้อยกว่า BEV เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดเหล่านี้ให้ความสำคัญกับต้นทุนการใช้งานโดยรวมที่ต่ำกว่า รวมถึงประสบการณ์การขับที่เงียบกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”
ในปี 2573 จำนวนรถยนต์ทุกรุ่นที่ผลิตออกมาทั้งหมด จะเป็น EV มากกว่า 50%
การตัดสินใจของภาครัฐบาลที่มุ่งมั่นลดการปล่อยฝุ่นละอองจากยานพาหนะและการริเริ่มโครงการสนับสนุนในบางประเทศ อาทิ การออกกฎหมายเพื่ออนุญาตให้จำหน่ายเฉพาะยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และการออกข้อบังคับให้ต้องใช้รถ PHEV เป็นอย่างน้อย อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์ โดยผู้ผลิตรถยนต์บางรายกำลังมองหาวิธีกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากท่อไอเสียของรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ ๆ ภายในปี 2578 และบางรายตั้งเป้าที่จะบรรลุยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดสหรัฐฯ ให้ได้ 40% ถึง 50% ต่อปี ภายในปี 2573 นอกจากนี้ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้าได้นำไปสู่การเปิดตลาดใหม่ ๆ ของแพลตฟอร์มการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (EV Platform)
“กฎระเบียบด้านมลพิษที่เข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนโมเดลรถยนต์ที่ทำการตลาดอยู่มากกว่าครึ่งหนึ่งให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2573” ดาเวนพอร์ต กล่าวเพิ่มในปี 2570 รถ BEV จะมีราคาเท่ากับรถ ICE ที่มีขนาดและรูปแบบคล้ายกัน
นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ยังคาดว่า ภายในปี 2570 ราคาเฉลี่ยของรถ BEV จะเท่ากับรถยนต์ ICE ที่มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเร่งให้เกิดการใช้ EV ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2573 การผลิตไฟฟ้าและประสิทธิภาพเครือข่ายจะเป็นปัจจัยกำหนดการใช้งาน EV ให้แพร่หลายเหนือกว่าปัจจัยด้านราคา
“เว้นแต่ในประเทศต่าง ๆ จะจูงใจผู้ขับขี่รถ EV ให้ชาร์จแบตเตอรี่นอกช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด นอกจากนี้การเปลี่ยนไปใช้รถ EV อาจสร้างความต้องการที่มากขึ้นเพิ่มเติมทั้งในด้านกำลังการผลิตไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานในการจ่ายไฟ” ดาเวนพอร์ต กล่าวเพิ่ม
“การใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบกลางวันและกลางคืน (Dual Day and Night) หรือแม้แต่การใช้อัตราค่าไฟฟ้ารายครึ่งชั่วโมง (Half-Hourly Electricity Tariffs) สามารถจูงใจผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าให้หันมาชาร์จไฟนอกช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก (Peak Times) ซึ่งจะต้องมีการนำมาตรวัดพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะมาใช้เป็นวงกว้าง นอกจากนั้น ความสามารถของสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในการควบคุมเครื่องชาร์จ EV โดยตรงผ่านการเชื่อมต่อจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง หรือ Application Programming Interfaces (API) จะทำให้การชาร์จ EV ถูกลดทอนลงชั่วขณะระหว่างช่วงเวลาที่มีการบริโภคสูงสุด เพื่อให้มั่นใจว่าความต้องการการใช้ไฟฟ้าจะไม่มากเกินไป” ดาเวนพอร์ต กล่าวสรุป
บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ประกาศความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ด้วยยอดขายรวมในปี 2560 จากจำนวนการส่งมอบรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ แบรนด์บีเอ็มดับเบิลยู บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด และมินิ รวมสูงสุดกว่า 11,030 คัน เติบโตขึ้นถึง 39% จากปีก่อนหน้า ถือเป็นครั้งแรกที่สร้างสถิติยอดขายรวมต่อปีด้วยตัวเลขหลักหมื่น และเป็นยอดขายต่อปีที่ดีที่สุดของบริษัทสำหรับทั้งสามแบรนด์ โดยเฉพาะ บีเอ็มดับเบิลยู ในประเทศไทย ที่สร้างผลงานน่าประทับใจด้วยตัวเลขอัตราการเติบโตปีต่อปีถึง 43% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในเครือข่ายบีเอ็มดับเบิลยูทั่วโลก
มร. สเตฟาน ทอยเชอร์ต ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2560 ที่ผ่านมา บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย สร้างผลงานที่น่าประทับใจด้วยตัวเลขยอดขายตามเป้าหมายจากทั้ง 3 แบรนด์ ทั้งบีเอ็มดับเบิลยู มินิ และบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด โดยนอกจากบีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ที่ประสบความสำเร็จด้วยอัตราการเติบโตสูงที่สุดในเครือข่ายบีเอ็มดับเบิลยูทั่วโลกแล้ว เซกเมนต์ของรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดยังมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 269% โดยเราเชื่อมั่นว่าตลาดรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในประเทศไทย ยังคงมีศักยภาพที่จะเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ที่มียอดการส่งมอบรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูในตระกูลบีเอ็มดับเบิลยู i และ บีเอ็มดับเบิลยู iPerformance กว่า 100,000 คันทั่วโลก เป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีแห่งอนาคตของเรา คือสิ่งที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานรถยนต์ทั่วโลก”
มร. สเตฟาน ทอยเชอร์ต ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย
ในขณะเดียวกัน ยอดขายของมินิ ประเทศไทย ก็เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเช่นกันเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ด้วยจำนวนการส่งมอบรถยนต์รวม 1,010 คันในปี 2560 เพิ่มขึ้น 11% จากปีก่อนหน้า และสำหรับ บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ประเทศไทย ก็ยังคงรักษาระดับความสำเร็จอย่างต่อเนื่องด้วยตัวเลขการเติบโตต่อปีในระดับสองหลักถึงหกปีซ้อน กับยอดส่งมอบรถมอเตอร์ไซค์ถึง 2,001 คัน คิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปีที่ 10% โดยทั้งสองแบรนด์ต่างก็ได้สร้างสถิติใหม่สำหรับเดือนธันวาคม 2560 ด้วยจำนวนการส่งมอบรถยนต์มินิให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยรวม 168 คัน ซึ่งเป็นยอดขายที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2558 และยอดการส่งมอบรถมอเตอร์ไซค์จากบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ประเทศไทยกว่า 300 คันในเดือนเดียวกัน
2560: ศักราชแห่งทางเลือกในการบริการรูปแบบใหม่ และที่สุดของประสบการณ์ไลฟ์สไตล์เหนือระดับ
นอกจากความสำเร็จครั้งประวัติการณ์ในด้านยอดขายแล้ว บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ยังได้นำเสนอทางเลือกในการบริการหลังการขายรูปแบบใหม่ในปี 2560 ที่ผ่านมา ด้วยการปรับโฉมโปรแกรมบำรุงรักษารถยนต์ BMW Services Inclusive (BSI) และ MINI Service Inclusive (MSI) ซึ่งมาพร้อมตัวเลือกแพ็คแกจการบริการและการรับประกันรูปแบบใหม่ ที่ผ่านการคัดสรรให้เหมาะสมกับความต้องการในการขับขี่อันเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น
ในด้านของประสบการณ์ในการเป็นเจ้าของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู ได้มีการเปิดตัวโปรแกรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟ “The Ultimate JOY Experience” นำเสนอที่สุดของประสบการณ์ ครบครันทั้งกิจกรรมไลฟ์สไตล์ด้านยนตรกรรมและกีฬา พาลูกค้าสู่จุดหมายอันสุดตระการตาทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการพาเจ้าของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูบินลัดฟ้าไปสัมผัสกับประสบการณ์การขับรถบนพื้นผิวหิมะและน้ำแข็งบนยอดเขาในประเทศนิวซีแลนด์ หรือการเข้าร่วมแข่งขันวิ่งมาราธอนระดับโลกในกิจกรรม BMW Berlin Marathon
นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ยังได้ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในโลกของบีเอ็มดับเบิลยู ผ่านทาง ChargeNow เครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าสาธารณะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอิน ไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งนับเป็นอีกก้าวอันสำคัญยิ่งของการดำเนินภารกิจตามวิสัยทัศน์เพื่ออนาคตอันยั่งยืนอย่างแท้จริง
บีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย
ปี 2560 ที่ผ่านมาถือเป็นอีกหนึ่งปีสำคัญสำหรับบีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย หลังจากที่บริษัทได้ทำการเปิดตัว BMW FREEDOM CHOICE ผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ที่มอบอิสระในการขับขี่รถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูด้วยทางเลือกหลากหลาย ทั้งการรับประกันมูลค่ารถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูในอนาคต รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นเมื่อถึงวันสิ้นสุดสัญญา ไม่ว่าจะเลือกเป็นเจ้าของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูคันเดิม หรือเปลี่ยนเป็นคันใหม่
มร. บียอร์น แอนทอนส์สัน ประธานกรรมการบริหาร บีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย กล่าวว่า “เรามียอดสัญญาเช่าซื้อรวมเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 4.04 หมื่นล้านบาทในปี 2560 และเราก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถรักษาแนวโน้มการเติบโตอย่างแข็งแกร่งนี้ไว้ต่อไปในปีนี้ ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่โดดเด่นและแตกต่างเช่นเดียวกับ BMW FREEDOM CHOICE”
มร. บียอร์น แอนทอนส์สัน ประธานกรรมการบริหาร บีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย