กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัว Virtual Exhibition รวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านสื่อพระพุทธศาสนาไว้ในระบบออนไลน์ในงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้าง สันติสุข ปีที่ 3 “สื่อ เตือน สติ” โดยมี ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผู้บริหารกองทุนพัฒนาสื่อฯ ภาคีเครือข่ายและ นักท่องที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้าร่วมงาน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ภายในงานมีพิธีมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดคลิปสั้นหนูได้ธรรม ในหัวข้อ “การให้ข้อคิดธรรมะใน ชีวิตประจำวัน” โดยกองทุนพัฒนาสื่อฯ เปิดพื้นที่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาจากทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าประกวด ได้รับเกียรติจาก ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มอบรางวัลให้กับผู้ชนะการประกวด โดยมีผู้ได้รางวัล ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล ได้แก่
ผลงาน : Little great thing ผลงานจาก : ทีม Tortake House
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน
รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล ได้แก่
วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม
รางวัลชมเชย 10 รางวัล ได้แก่
โรงเรียนชัยบาดาลวิทยา จังหวัดลพบุรี
โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า จังหวัดอุดรธานี
โรงเรียนควนเนียงวิทยา จังหวัดสงขลา
โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ
โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
ผลงานจาก : ทีมโรงเรียนบ้านหนองบัว โรงเรียนบ้านหนองบัว จังหวัดชัยภูมิ
ผลงานจาก : ด.ช.ณฐชยนต์ ชยาวิวัฒน์กุล โรงเรียนวัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี
โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก
ทั้งนี้ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เล็งเห็นถึงความสามารถของเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาในปัจจุบัน ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อ กองทุนพัฒนาสื่อฯ จึงใช้พื้นที่ในงาน มหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้าง สันติสุข ปีที่ 3 “สื่อ เตือน สติ” จัดโครงการประกวดคลิปสั้น “หนูได้ธรรม” โดยนำเสนอประเด็นเรื่องใกล้ตัว ธรรมะในชีวิตประจำวันมาเป็นหัวข้อในการประกวด ปีนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมาก มีเยาวชนส่งผลงานคลิป สั้นเข้าประกวดเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนถึงเท่าตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ชื่นชมและภูมิใจที่เด็กไทยนำเวลามาสร้างสรรค์สื่อที่มี ประโยชน์ กองทุนพัฒนาสื่อฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนการ ประกวดในครั้งนี้
กิจกรรมภายในงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปีที่ 3 “สื่อ เตือน สติ” มีการจัดแสดง นิทรรศการแบบผสมผสาน กิจกรรมสุขาใจ โดยทีมอาสาธนาคารสติ เครือข่ายชีวิตสิกขา รับฟังการเสวนา สื่อสารธรรมจากวิทยากร พระสุธีวชิรปฏิภาณ (พระมหาวีรพล), คุณกิ๊ก มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ และคุณแอน ศศวรรณ จิรายุส สนทนาเพลงธรรมะพุทธประวัติ รำลึก “ครูเพลิน พรหมแดน” โดย ดร. ธนกร ศรีสุขใส, คุณศิรินทรา นิยากร และคุณแพนเค้ก ดร.เขมนิจ จามิกรณ์
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้า จัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ” ในรูปแบบกิจกรรมสื่อผสมผสานอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศ ให้เข้าถึงได้โดยง่าย ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2567
ท่านพระครูวินัยธรจีรเดช จิรเตโช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์) กล่าวสัมโมทนียกถา นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรม) (ประธานพิธีฝ่ายฆราวาส) กล่าวเปิดงาน โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประชาชนนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ร่วมพิธีเปิด งานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายในการส่งเสริมสร้างสรรค์ ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจเสริมสร้างระบบนิเวศและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรม พัฒนาพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อเสริมพลังสร้างสรรค์ให้คนเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจวัฒนธรรมและสังคม กระทรวงวัฒนธรรม มีความยินดีที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมไทย และการส่งเสริมสถาบันพระพุทธศาสนา โดยเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบกิจกรรมสื่อผสมผสานอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศ ให้เข้าถึงได้โดยง่าย ผ่านการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปีที่ 3 ในรูปแบบ On Ground Event ซึ่งได้รับความกรุณาจาก วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ในการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ” เผยแพร่สื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ที่เดินมายังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2567
ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวว่า เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงได้สร้างสรรค์กิจกรรมทั้งในรูปแบบ On Ground Event และ Online Event สร้างพื้นที่ให้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับสื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนา เผยแพร่ให้ประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศเข้าถึงสื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาได้โดยง่าย โดยการจัดงานพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 โดยปีนี้ทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้จัดภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ” ซึ่งมุ่งเน้นที่จะให้ผู้ที่มาชมงานครั้งนี้ ได้รับสาระ ความรู้ หลักธรรม หลักคิด รวมถึงความสนุกสนานเบิกบานใจ ต้องการให้ทุกท่านมีสติในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาการเจริญปัญญาโดยการคิดแบบโยนิโสมนสิการมาประยุกต์เป็นให้เป็นหลักธรรมนำสุข
ทั้งนี้ กิจกรรมในวันที่ 13 ธันวาคม 2567 ได้มีการเปิดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” ในรูปแบบ On Ground Event เพื่อให้ประชาชน ผู้สนใจ ได้เข้าชมภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมนิทรรศการแบบผสมผสาน กิจกรรมสุขาใจ นำโดย ครูโกโก้ กกกร ทีมอาสาธนาคารสติ เครือข่ายชีวิตสิกขา รับฟังการเสวนาธรรมจากวิทยากร รศ.สุเชาว์ พลอยชุม, คุณเพชรี พรหมช่วย,คุณฤดีมาส ปางพุฒิพงศ์ และการแสดงจากผู้รับทุนโครงการเมตะดนตรีไทย ระนาดไทยเมตะเวิร์ส โดยงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ส่วนกิจกรรมในวันที่ 14 ธันวาคม 2567 จะเป็นการเปิดงานในรูปแบบ Online Event ซึ่งประชาชนผู้สนใจ สามารถศึกษาธรรมในรูปแบบดิจิทัล ได้อย่างสะดวกผ่านระบบออนไลน์ทาง www.tmfbuddhistmedia.thaimediafund.or.th ซึ่งจะเผยแพร่ข้อมูลธรรมะอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศ ให้เข้าถึงได้โดยง่าย โดยรวบรวมผลงานด้านพุทธศาสนามาแบ่งเป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ อ่านธรรม ดูธรรม ฟังธรรม ท่องเที่ยวธรรม และ สนทนาธรรม
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานสรุปผลการเสวนาจาก 5 ภูมิภาค เกี่ยวกับการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ “รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ” เพื่อการขับเคลื่อนสังคม พร้อมเปิดร่างมาตรการการส่งเสริมพัฒนาและสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ เผยตัวเลขคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพสูงวันละกว่า 2 แสนคน รับสายมิจฉาชีพปีละ 20.8 ล้านครั้ง ขณะที่สถิติแจ้งความออนไลน์สะสมร่วม 3 เดือนที่ผ่านมามีคดีออนไลน์ 518,130 คดี มูลค่าความเสียหายเกือบ 7 หมื่นล้านบาท สามารถเอากลับคืนมาได้เพียงแค่หลักพันล้าน โดยอันดับหนึ่งของคดีออนไลน์ คือ ถูกหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ
ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เดินหน้าตามกลยุทธ์การดำเนินงาน 5 ยุทธศาสตร์ 6 สร้าง ได้แก่ สร้างสื่อ สร้างคน สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างองค์ความรู้ สร้างเครือข่าย และสร้างองค์กร ซึ่งการสร้างภูมิคุ้มกันถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งข้อมูลข่าวสารและนำเสนอความคิดเห็น ในขณะเดียวกันทุกคนก็ต้องรับผิดชอบตัวเองในการเปิดรับข้อมูล การจะใช้มาตรการภาครัฐหรือกฎหมายอย่างเดียวทำได้ยากมาก สังคมจึงต้องตระหนัก ตื่นรู้ ด้วยการมีภูมิคุ้มกันในการรับสื่ออย่างมีสติ คิดวิเคราะห์ก่อนที่จะเชื่อและแชร์ ซึ่งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ มุ่งมั่นนำสิ่งที่เป็นวัคซีนทางสังคมไปสู่พี่น้องประชาชน ให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามออนไลน์ ที่ยากต่อการหลีกเลี่ยงในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ด้าน ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เปิดเผยว่า ในยุคดิจิทัลทุกคนต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์มากขึ้น การเผชิญกับภัยคุกคามออนไลน์กลายเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ทางคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เห็นถึงการสนับสนุนให้คนไทยมีทักษะในการวิเคราะห์แยกแยะและใช้สื่อในชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ จึงได้จัดเวทีเสวนาการส่งเสริม “รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ” เพื่อการขับเคลื่อนสังคม ใน 5 ภูมิภาค ได้แก่ น่าน สงขลา กาญจนบุรี จันทบุรี และอุบลราชธานี เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประชาชนทั่วทั้ง 5 ภูมิภาค ที่มีความหลากหลายตามลักษณะประชากรและลักษณะภูมิศาสตร์ เป็นการสร้างแนวร่วมและขยายเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคมในระดับภูมิภาค โดยการลงพื้นที่ศึกษาการทำงานของภาคีเครือข่ายทั้ง 5 ภูมิภาค ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูล สังเคราะห์เป็นภาพรวมสถานการณ์การเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อของไทย พบว่าปัญหาร่วมที่แต่ละภูมิภาคประสบ คือ ภัยหลอกลวงออนไลน์ อาทิ การหลอกลวงให้ซื้อของไม่มีคุณภาพ การหลอกให้กู้สินเชื่อออนไลน์ดอกเบี้ยสูง การแฮกข้อมูลจากมือถือ การกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ การหลอกให้รัก ภัยจากข่าวลวง และการพนันออนไลน์ที่พบมากในสถานศึกษา รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงเทคโนโลยีและข่าวสาร
สำหรับการเสวนา “เสริมพลัง ร่วมป้องกัน ปัญหาภัยออนไลน์” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาทางออนไลน์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. (ด้านกิจการโทรทัศน์) กล่าวว่า ช่องทางในกระบวนการสื่อสารเดิมเป็นเพียงตัวกลางในการนำพาเนื้อหาไปสู่ประชาชน อาจจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หรือคลื่นความถี่ต่าง ๆ แต่ปัจจุบัน Channel เปลี่ยนไปเป็นคำว่า “แพลตฟอร์ม” ซึ่งมีความฉลาดมาก มี Algorithm มีสมองกล และเอไอ ที่สามารถประมวลผลคาดการณ์ได้ โดยภัยร้ายจากโซเชียลมีเดียปัจจุบันจะมีลักษณะของการออกแบบเนื้อหาบวกกับการใช้ Algorithm ประมวลผลจากข้อมูล และพฤติกรรมจากสังคมออนไลน์ที่เราคุ้นเคย ประกอบกับมีการใช้ปัจจัยด้านจิตวิทยา โดยนำเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้หลงเชื่อกลโกงออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการรู้เท่าทันการหลอกลวงออนไลน์ หรือเข้าใจสื่อ ด้วยการอ่านแบบ Lateral Reading การอ่านข้อมูลจากหลายแหล่ง พร้อมสืบค้นแหล่งข้อมูล เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลนั้น ๆ
ด้าน นางสาวฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน “Whoscall” กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมากขึ้นถึงวันละ 217,047 คน ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีสายโทรเข้าจากมิจฉาชีพ 20.8 ล้านครั้ง และมี SMS หลอกลวง 58.3 ล้านครั้ง ทั้งนี้ Whoscall แบ่งวิวัฒนาการกลลวงมิจฉาชีพ เป็น 5 ยุค คือ ยุคแรก หลอกซึ่งหน้า ยุคที่ 2 ใช้โทรศัพท์ โทรมาหลอก ยุคที่ 3 สร้างเพจปลอม ซึ่งเป็นยุคที่โซเชียลมีเดียเริ่มเข้ามา ยุคที่ 4 เป็นการหลอกแบบรู้ใจ มีการนำเอาเรื่องข้อมูลหรือบิ๊กดาต้าเข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลเหยื่อและจับประเด็นความสนใจ และปัจจุบันคือยุคที่ 5 ซึ่งอันตรายยิ่งขึ้น เพราะเป็นการหลอกด้วยเอไอ ซึ่งรู้ข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อและการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการปลอมตัวตน
นายณัชภัทร ขาวแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์และติดตามสอดส่องการประกอบธุรกิจ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า รูปแบบการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (ออนไลน์) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีสื่อไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน โทรศัพท์ โทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ ทำให้ผู้บริโภคสามารถจะซื้อสินค้าจากที่ไหนก็ได้ เข้าข่ายต้องมาจดทะเบียนกับ สคบ. ทั้งสิ้น ซึ่งจะมีการกำหนดหลักประกันในการคุ้มครองและชดเชย โดยมีสิทธิพื้นฐานให้กับผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าแล้วไม่พึงพอใจ สามารถใช้สิทธิ์ในการคืนสินค้าได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้ประกอบธุรกิจฯ ต้องคืนเงินให้ตามที่ซื้อภายใน 15 วัน และเร็ว ๆ นี้ จะมีการออกประกาศเรื่องของการออกเอกสารการรับเงินในกรณีที่ซื้อสินค้าเก็บเงินปลายทาง จะให้ผู้บริโภคสามารถเปิดสินค้าดูได้ก่อน และผู้ขนส่งจะต้องเก็บเงินไว้ 5 วัน ก่อนโอนให้ร้านค้า
ด้านนายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงภาพรวม ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันการแก้ปัญหาการถูกหลอกลวงของประชาชนยังมีช่องโหว่อยู่มาก มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงประชาชนผ่านหลายช่องทางและหลายรูปแบบมากขึ้น และยังมีการซื้อ-ขายบัญชีม้าอยู่มาก เมื่อพบบัญชีผิดปกติ สถาบันการเงินไม่สามารถอายัดได้ทันที ขณะเดียวกันการแก้ปัญหาให้กับผู้เสียหายยังมีความล่าช้า ต้องรอให้แจ้งความและแจ้งสถาบันการเงินเพื่ออายัดบัญชี ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ภาคธนาคารได้มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการเร่งแก้ไขปัญหาผ่านมาตรการสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ 1. แนวนโยบายบริหารจัดการภัยทุจริตจากการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยมีชุดมาตรการขั้นต่ำสำหรับจัดการภัยทุจริตทางการเงินครอบคลุมด้านการป้องกัน ตรวจจับ ตอบสนองและรับมือ และ 2. จากพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ได้ให้อำนาจธนาคารสามารถที่จะระงับและแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมอันควรสงสัยในภาคธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบกลาง
สำหรับข้อแนะนำสำหรับประชาชน ในการการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำว่า จะต้องมีการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยทางการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยติดตามภัยทุจริตรูปแบบใหม่ ๆ ไม่คลิกลิงค์ใด ๆ จากไลน์ อีเมล์ หรือ SMS ที่ไม่น่าเชื่อถือ หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัว ตั้งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา และหมั่นอัปเดตโทรศัพท์ รวมทั้งไม่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากแหล่งอื่นที่ไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี หากตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพแล้วจะต้องตั้งสติ หยุดการติดต่อกับมิจฉาชีพ และแจ้งธนาคารที่ใช้บริการทันที โดยมีช่องทางสายด่วน AOC 1441 หรือสายด่วนธนาคาร 24 ชม.หรือสาขาธนาคารในเวลาทำการ และแจ้งความอย่างรวดเร็วภายใน 72 ชม. ผ่านสถานีตำรวจหรือเว็บไซต์ Thaipoliceonline.com
ขณะที่ นางสาวประภารัตน์ ไชยยศ หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) กล่าวว่า ETDA มีภารกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมทางออนไลน์ และต้องสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางออนไลน์ ที่ผ่านมาข้อมูลจากศูนย์ให้ความช่วยเหลือของ ETDA สายด่วน 1212 พบว่าปัญหาหลักคือ การซื้อของออนไลน์ ซึ่ง ETDA มีการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในทุก ๆ ปี พบว่า ในช่วงโควิดปี 2563 - 2564 อัตราการเติบโตอยู่ที่ 36% ทำให้ทุกคนคุ้นชินกับออนไลน์โดยเฉพาะการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และตัวเลขยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัญหาเรื่องมิจฉาชีพจึงเติบโตตามไปด้วย เฉพาะที่ผ่านสายด่วน 1212 ปีที่ผ่านมา มีกว่า 6 หมื่นกว่าราย ซึ่งการซื้อขายออนไลน์มูลค่าการเสียหายต่อรายอาจไม่มาก แต่เมื่อรวมหลาย ๆ เคส บางรายเป็นการหลอกมาจากผู้ให้บริการรายเดียวกันทำให้ ETDA เห็นว่าควรจะมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและมองว่าปัญหาเกิดจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ในปีที่ผ่านมาจึงมีการบังคับใช้ “พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565” และอยู่ระหว่างพัฒนาแนวทางในการดูแลเนื้อหาของโฆษณาบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
พ.ต.ท. ดร.ปุริมพัฒน์ ธนาพันธ์สิริ รอง ผกก.4 บก.สอท.1 ผู้แทนหน่วยกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า การสื่อสารสำคัญมาก ซึ่งตำรวจจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับเรื่อง แต่ประเด็นสำคัญคือ การป้องกันสำคัญกว่า การให้ความรู้โดยการสื่อสารจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก สถิติการแจ้งความออนไลน์สะสม 1 มีนาคม 2565 - 12 พฤษภาคม 2567 มีคดีออนไลน์ 518,130 คดี มูลค่าความเสียหายเกือบ 7 หมื่นล้านบาท แต่สามารถเอากลับคืนมาได้ในเพียงแค่หลักพันล้าน ซึ่ง 5 อันดับแรกของคดีออนไลน์ คือ 1. ถูกหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ไม่เป็นขบวนการ 2. หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน 3.หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน 4. หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และ 5. ถูกข่มขู่ทางโทรศัพท์ (Call Center)
ส่วน นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง อุปนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า การเป็นสื่อมวลชนมีสิทธิและเสรีภาพ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับต่าง ๆ และอยู่ภายใต้จริยธรรมสื่อด้วย ซึ่งสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ยินดีที่จะร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่จะช่วยแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากโลกออนไลน์ ซึ่งสังคมไทยปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และสิ่งที่มีเพิ่มขึ้นก็คือจำนวนของผู้สูงอายุที่ถูกหลอกหรือเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ทางสมาคมฯ เชื่อมั่นว่าการมีส่วนร่วมในการเตือนสังคมทั้งจากสื่อมวลชน KOL และ Influencer จะเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
อนึ่ง ร่างมาตรการการส่งเสริมพัฒนาและสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตัวเอง ชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ดร.ตรี บุญเจือ อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กล่าวว่า ร่างดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากภาคีเครือข่าย 5 ภูมิภาค สำหรับร่างมาตรการดังกล่าวจะมีการทำงานขับเคลื่อนใน 4 มาตรการ คือ 1.มาตรการบูรณาการการทำงานภาครัฐ 2. มาตรการทางสังคมและประชาคม 3.มาตรการการส่งเสริมและสร้างความตระหนักของผู้ผลิตสื่อ 4. มาตรการพัฒนาความรู้และวิชาการ สิ่งที่เป็นเป้าหมายของร่างมาตรการนี้ คือการที่จะมุ่งให้ประชาชนไทยมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ สามารถใช้ประโยชน์ให้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง ชุมชน และสังคม
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทย
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าต่อเนื่องในการให้ทุนสนับสนุนการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในปีนี้