January 02, 2025

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม โดย นายสุรเชษฐ์  เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย รองรับการเดินทางของประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568 และปล่อยแถวชุดปฏิบัติงานบนทางพิเศษ โดย กทพ. ได้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี) และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) โดยเริ่มตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2567 เวลา 00.01 น. ถึงวันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม 2568 เวลา 24.00 น. รวม 8 วัน และร่วมกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด เว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1 ดินแดง-บางนา-ดาวคะนอง) ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2 แจ้งวัฒนะ-บางโคล่-ศรีนครินทร์) และทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด) โดยเริ่มตั้งแต่ วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2567 เวลา 00.01 น. ถึงวันพุธที่ 1 มกราคม 2568 เวลา 24.00 น. รวม 2 วัน พร้อมทั้งจัดตั้งหน่วยบริการประชาชนให้บริการฟรีในการตรวจเช็คเครื่องยนต์เบื้องต้น สอบถามเส้นทาง รวมทั้งบริการน้ำดื่ม โดยปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทางด่วน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อบริการประชาชนที่ใช้ทางพิเศษเดินทางเข้า - ออก กรุงเทพมหานคร จำนวน 6 จุด ดังนี้

 

- ด่านฯ ขาออกเมือง (วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2567 - วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2567) ที่ด่านฯ บางแก้ว 1 ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ด่านฯ ฉิมพลี ทางพิเศษประจิมรัถยา และด่านฯ บางปะอิน (ขาออก) ทางพิเศษอุดรรัถยา เวลา 07.00 - 21.00 น.

- ด่านฯ ขาเข้าเมือง (วันพุธที่ 1 มกราคม 2568 - วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม 2568) ที่ด่านฯ บางนา ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ด่านฯ จตุโชติ ทางพิเศษฉลองรัช และด่านฯ บางปะอิน (ขาเข้า) ทางพิเศษอุดรรัถยา เวลา 07.00 - 21.00 น.

ในการนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับการเดินทางของประชาชน กทพ. จัดให้มีการดำเนินการกิจกรรม ดังนี้

1) จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ (WAR ROOM) ณ ศูนย์บริหารการจราจรทางพิเศษ (Expressway Traffic Management Center : ETM) ชั้น 22 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. ตั้งแต่ วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2567 ถึงวันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2568 เพื่อควบคุมสั่งการในการแก้ไขปัญหาการจราจรในทางพิเศษและอุบัติเหตุต่าง ๆ พร้อมประชาสัมพันธ์ข่าวสารการจราจร ผ่านทางป้าย VMS และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอด 24 ชั่วโมง ในทุกสายทางเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568

2) รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันขับขี่ปลอดภัย “เดินทางทั่วไทย คมนาคม สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจให้บริการประชาชน”

3) จัดกำลังพนักงานจัดการจราจร พนักงานกู้ภัย พนักงานหน่วยปฏิบัติการพิเศษ รถกู้ภัย รถยก พร้อมหน่วยเคลื่อนที่เร็ว และอุปกรณ์ เพื่ออำนวยการจราจรในทุกเส้นทาง ที่มีผู้ใช้บริการทางพิเศษ เดินทางออกนอกเมืองและเข้าเมือง เพื่อเฝ้าระวัง ในการเข้าให้ ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษที่ประสบเหตุต่าง ๆ อย่างทันท่วงทีและรวดเร็ว โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทาง พร้อม ทั้งตรวจสอบเส้นทาง ทางพิเศษทั้ง 7 สายทาง ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งได้ดำเนินการจัดตั้งจุดกวดขันวินัยจราจร บริเวณด่านฯ ชลบุรี ด่านฯ บางนา ด่านฯ บางขุนเทียน 1 และด่านฯ ประชาชื่น ในวันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2567 เวลา 20.00 - 24.00 น. โดยจัดพนักงานจัดการจราจรร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทางด่วน เพื่อกวดขันรถยนต์บรรทุกคนนั่งกระบะท้ายที่ไม่มีหลังคาปกปิดมิดชิดพร้อมทั้ง การบรรทุกสิ่งของไม่เรียบร้อยและควบคุมรถยนต์ที่บรรทุกวัตถุอันตรายให้เป็นไปตามกฎหมาย

​ทั้งนี้ ผู้ใช้ทางพิเศษยังสามารถสอบถามข้อมูลสภาพการจราจรและแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนทางพิเศษ ได้ที่ “EXAT Call Center 1543” ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งให้บริการขอความช่วยเหลือกรณีรถเกิดอุบัติเหตุรถขัดข้องหรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ บนทางพิเศษ ผ่าน Application “EXAT Portal SOS” ได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย

งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษสายศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ได้ว่าจ้าง กิจการร่วมค้า ไอทีดี-วีซีบี (ITD-VCB Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้รับจ้างดําเนินการก่อสร้าง โครงการทางพิเศษสายพระราม3 – ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกสัญญาที่ 3 แจ้งการปิดจราจรชั่วคราวบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณด่านฯ ดาวคะนอง ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ ด้านขวาทางจำนวน 1 ช่องจราจร เพื่อดำเนินการติดตั้งคานขวางของโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 ตลอด 24 ชั่วโมง

กทพ. ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ และขอความร่วมมือผู้ที่ใช้เส้นทางบริเวณดังกล่าวโปรดสังเกตป้ายเตือนสัญญาณจราจรต่างๆ และปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง หากมีข้อเสนอแนะ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-405-4896 ตั้งแต่ 08.00-19.00 และ  062-912-6211 ตลอด 24 ชั่วโมง

นายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง) เป็นประธานในงานวันคล้ายวันก่อตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ครบรอบ 52 ปี โดยมี นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้าง กทพ. ร่วมให้การต้อนรับ ณ หอประชุม 0101 ชั้น 1 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ.

นายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กทพ. เป็นหน่วยงานอันดับต้น ๆ ที่มีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของพี่น้องประชาชน และช่วยแก้ไขปัญหาจราจรในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่ง กทพ. มีการเติบโตอย่างเข้มแข็งมาจนครบ 52 ปีเต็ม สิ่งเหล่านี้เกิดจากความมุ่งมั่น ทุ่มเท ร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างของ กทพ. ทุกคน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กทพ. มีผลงานการพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการให้บริการประชาชนไม่ว่าจะเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติด้วยบัตร Easy Pass รวมถึงการเปิดบริการ Application EXAT Portal และล่าสุดคือการพัฒนาโครงการสะสมคะแนน “EXAT REWARD” เพื่อยกระดับ   การให้บริการบัตร Easy Pass เพิ่มความคุ้มค่าให้กับประชาชนในการใช้ทางพิเศษอีกด้วย

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 52 ปี กทพ. มุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายขยายเส้นทางเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยปัจจุบัน กทพ. ได้เปิดให้บริการทางพิเศษรวม 8 สายทาง รวมระยะทาง 224.6 กิโลเมตร ประกอบด้วย ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และทางพิเศษประจิมรัถยา และมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 โครงการ คือ โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 -ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2568 และโครงการทางพิเศษสายฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา) ที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2568 นอกจากนี้ กทพ. มีแผนการขยายเส้นทางทางพิเศษไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2568 และโครงการทางพิเศษสายฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา) ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในปี 2568 รวมทั้งการทางพิเศษฯ ยังมีโครงการสำคัญในเขตเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ โครงการทางยกระระดับชั้นที่ 2 (ช่วงงามวงศ์วาน -พระราม 9) โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก และโครงการทางพิเศษสายศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และยังมีแผนการขยายเส้นทางทางพิเศษไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ โครงการทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ ๑ (ช่วงกะทู้- ป่าตอง) และ ระยะที่ ๒ (ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้) รวมทั้งอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี และโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด

นอกจากภารกิจหลักในการสร้างทางพิเศษแล้ว กทพ. ยังให้ความสำคัญกับเยาวชน โดยได้สนับสนุนทุนการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 1,247 ทุน เป็นเงินทั้งสิ้น 7,730,000 บาท อีกทั้ง มีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนาและสนับสนุนการแข่งขันกีฬาในระดับประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาล

ในการพัฒนาด้านกีฬาให้เกิดความยั่งยืนโดยได้ให้การสนับสนุนสมาคมกีฬายิงเป้าบิน และสมาคมกีฬาเทคบอลแห่งประเทศไทย กทพ. ยังคำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ที่อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษไปแล้วกว่า 780 กิโลวัตต์ ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 3.7 ล้านบาทต่อปีลดคาร์บอนไดออกไซด์ 412.87 tonCo2e (ตันคาร์บอนไดออกไซด์) ต่อปีหรือเทียบเท่าการปลูกต้นสัก 469,173 ต้น คิดเป็นพื้นที่ป่า 4,692 ไร่ และยังได้รับการรับรองโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก จากองค์การบริการการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ปัจจุบัน กทพ. ได้เปลี่ยนหลอดไฟภายในอาคารสำนักงานเป็นชนิดประหยัดพลังงาน (LED) พื้นที่ปฏิบัติงาน และอาคารศูนย์ควบคุมทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี ทำให้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 12.146 tonCo2 ต่อปี และยังร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ไทยในการเลือกใช้ปูนไฮดรอลิก

ในการก่อสร้างทางพิเศษ ตลอดจนจัดโครงการ EXAT POWER GREEN ภายใต้ชื่อกิจกรรม “EXAT รักษ์โลก” โดยเชิญชวนประชาชนผู้ใช้บริการทางพิเศษ เข้ากิจกรรมฯ ร่วมสร้างพื้นที่ สีเขียวด้วยการร่วมปลูกต้นไม้และร่วมเรียนรู้การอนุรักษ์ธรรมชาติลดปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก อีกด้วย “การทางพิเศษฯ จะมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพในการให้บริการ โดยนำระบบเทคโนโลยี AI เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาจราจร และอำนวยความสะดวกในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ในเมืองและนอกเมือง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ยกระดับมาตรฐานการเดินทาง สร้างความสุขให้กับคนไทย ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 53 ด้วยคำจำกัดความว่า พัฒนาเส้นทาง สร้างแรงบันดาลใจ ก้าวไปสู่ Net Zero Society” นายสุรเชษฐ์ฯ กล่าวในท้ายที่สุด

“องค์กรนวัตกรรมเพื่อการเดินทาง และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Innovation for better drive and better life”

 

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ได้ว่าจ้าง บริษัท เวิร์ล บริดจ์ เทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้าง งานปรับปรุงรอยต่อผิวจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร (Site 3 และทางขึ้น-ลงเพชรบุรีคลองตัน) และทางพิเศษฉลองรัช บริเวณ กม.22+100 ทิศทางจตุโชติ-รามอินทรา ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องปิดการจราจรบริเวณทางต่างระดับท่าเรือ มุ่งหน้าดินแดง ถ.พระราม 9 แจ้งวัฒนะ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยผู้ที่จะต้องใช้เส้นทางดังกล่าว ให้ใช้ทางออกถนนพระราม 4 เป็นการทดแทน

ทั้งนี้ ผู้รับจ้างได้ทำการติดตั้งป้ายแจ้งการจราจรก่อนถึงพื้นที่ก่อสร้างและติดตั้งไฟสัญญาณไฟจราจรต่าง ๆ ป้ายประชาสัมพันธ์การเบี่ยงจราจรพร้อมไฟวับวาบ เพื่อให้ผู้ใช้เส้นทางได้ทราบ

กทพ. ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ และขอความร่วมมือผู้ที่ใช้เส้นทางบริเวณดังกล่าวโปรดสังเกตป้ายเตือน สัญญาณจราจรต่าง ๆ โดยปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของท่านและผู้อื่น และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

หากมีข้อร้องเรียนแจ้งเหตุ หรือ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์สามารถแจ้งได้ที่ 085-346-8455 นายปฏิภาณ ไทรงาม (วิศวกรคุมงานของ กทพ.) และ 086-306-0666 นายยุทธพงษ์ ภู่งาม (วิศวกรคุมงาน   ของผู้รับจ้าง)

Page 1 of 10
X

Right Click

No right click