January 22, 2025

 กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ จัดกิจกรรมค่ายผู้นำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมรวม 3 วัน ให้กับน้อง ๆ ม.ต้น จากโรงเรียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสร้างเสริมทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ และสัมผัสเชื่อมโยงกับธรรมชาติ พร้อมกับพัฒนาทักษะและศักยภาพให้เยาวชนไทยสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยมีนายประทรรศน์ สูตะบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นประธานเปิดค่าย และ ดร.อรทัย พงศ์รักธรรม ผู้จัดการแผนกกิจการด้านความยั่งยืน ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ในแวดวงวิชาการและองค์กรระดับนานาชาติ ร่วมถึงการดำเนินงานในปัจจุบันร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในหลากหลายโครงการด้านการต้านโลกร้อน เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมวงจรรีไซเคิล ร่วมแชร์มุมมอง ชวนน้อง ๆ ขบคิด ตั้งคำถาม และนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้กับโครงการหรือการดำเนินชีวิตประจำวันต่อไปในอนาคตได้ระหว่างการเสวนาหัวข้อ “ทักษะผู้นำเยาวชนในยุคโลกรวน” พร้อมกันนี้ยังได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินโครงการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

 

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจ Global 2023 Gen Z and Millennial Survey ซึ่งเป็นผลการศึกษา สะท้อนมุมมองของเจนซี และมิลเลนเนียลในประเทศไทยที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม

เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในปีเดียวกันของคนในเจเนอเรชั่นเดียวกันทั่วโลก Deloitte Global 2023 Gen Z and Millennial Survey จัดทำขึ้นโดยดีลอยท์ ต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 12 ทำการสำรวจมุมมองแนวคิดเชิงลึกของคนในเจนซี และมิลเลนเนียล มากกว่า 22,000 คนจาก 44 ประเทศทั่วโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะติดตามความเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิดและมุมมองต่าง ๆ ของกลุ่มเจนซีและมิลเลนเนียลที่เป็นกำลังสำคัญในตลาดแรงงานทั่วโลก ในผลสำรวจฉบับนี้ เจนซีหมายถึง ผู้ที่มีอายุ 19-28 ปี และมิลเลนเนียลหมายถึงผู้ที่มีอายุระหว่าง 29-40 ปี สำหรับประเทศไทยนั้น ดีลอยท์ได้ทำการสำรวจเจนซี 200 คน และมิลเลนเนียล 100 คน ในประเทศไทย โดยพบว่าผลการสำรวจสะท้อนมุมมองเชิงลึกคนในเจเนอเรชั่นดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้

ด้านเศรษฐกิจ

จากผลสำรวจพบว่า คนในเจนซีและมิลเลนเนียลในประเทศไทยพึงพอใจกับการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work/life Balance) และความหลากหลาย ความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม (Diversity, Equity and Inclusion : DEI) สูงกว่าคนในเจเนอเรชั่นเดียวกันทั่วโลก โดยร้อยละ 51 และร้อยละ 41 ของเจนซี และมิลเลนเนียล พอใจมากกับการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work/life Balance) สูงกว่าคนในวัยเดียวกันทั่วโลกที่ร้อยละ 34 และร้อยละ 31 ของคนในเจนซีและมิลเลนเนียลทั่วโลกตามลำดับ และร้อยละ 45 ของเจนซี และร้อยละ 24 ของมิลเลนเนียลในไทยพอใจกับการที่องค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องความหลากหลาย ความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม (Diversity, Equity, and Inclusion) สูงกว่าคนในช่วงวัยเดียวกันทั่วโลกที่ร้อยละ 33 และร้อยละ 28 ตามลำดับเช่นกัน

ประเด็นที่คนไทยรุ่นใหม่ทั้งสองเจเนอเรชั่นกังวลมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ค่าครองชีพสูง 2) การว่างงาน และ 3) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่ความกังวลในการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล โดยเจนซี ร้อยละ 67 และมิลเลนเนียล ร้อยละ 62 บอกว่ามีการบริหารจัดการเงินแบบเดือนชนเดือน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าคนในเจเนอเรชั่นเดียวกันทั่วโลกที่ร้อยละ 51 และร้อยละ 52 ตามลำดับ

จากข้อกังวลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้เจนซีและมิลเลนเนียลในประเทศไทย ร้อยละ 66 และมิลเลนเนียล ร้อยละ 71 ตามลำดับ ต้องทำงานเสริมเพื่อให้มีแหล่งรายได้ที่สอง โดยเจนซีนิยมทำงานเป็นกะ เช่น การเป็นพนักงานส่งอาหาร และการเป็น Social Media Influencer และContent Creator มากที่สุด ในขณะที่กลุ่มมิลเลนเนียลส่วนใหญ่นิยมขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์

แม้ว่าจะต้องเผชิญกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 86 ของเจนซี และ ร้อยละ 65 ของมิลเลนเนียลในไทย มีแนวโน้มจะเปลี่ยนงานใหม่ หากบริษัทผู้ว่าจ้างต้องการให้พนักงานกลับไปทำงานเต็มเวลาที่ออฟฟิศ และเกือบร้อย 70 ของทั้งคนไทยรุ่นใหม่ทั้งสองเจเนอเรชั่น มีแนวโน้มที่จะขอให้บริษัทมีนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่น ที่มุ่งส่งเสริมแนวคิดการสร้างสมดุลให้ชีวิตและการทำงาน (Work/life Balance) ครอบคลุม 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) มีทางเลือกในการทำงานร่วมกันได้มากขึ้น 2) ควรหาวิธีทำให้พนักงานพาร์ทไทม์ (part-time) มีโอกาสที่จะก้าวหน้าในอาชีพ และ 3) เปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นต้น

ทั้งนี้รูปแบบการทำงานที่ไม่สามารถสร้างสมดุลให้กับชีวิตส่วนตัวและการทำงานนั้นยังเป็นสิ่งที่เจนซีและมิลเลนเนียลในไทยกังวลอย่างมาก จากผลสำรวจ ร้อยละ 40 ของมิลเลนเนียล ต้องตอบข้อความ หรืออีเมลล์นอกเวลางานทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 32 ของเจนซีต้องตอบข้อความหรืออีเมลล์ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่งผลให้คนในทั้งสองเจเนอเรชั่นเกิดความเครียดจากการทำงานหนัก และร้อยละ 72 ของเจนซีและร้อยละ 63 ของมิลเลนเนียลรู้สึกเบื่อ อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) จากปริมาณงานและความต้องการด้านอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การเงินในอนาคต 2) การเงินในชีวิตประจำวัน และ3) สุขภาพและความเป็นอยู่ของครอบครัว ทำให้มากกว่าร้อยละ 90 ของทั้งเจนซีและมิลเลนเนียลในประเทศไทย สนใจร่วมงานกับองค์กรที่มีนโยบายใส่ใจและส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของพนักงาน ซึ่งสูงกว่าคนในช่วงวัยเดียวกันทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 80

ด้านสังคม

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลด้านความพึงพอใจของทั้งเจนซี และมิลเลนเนียล กับบทบาทขององค์กรต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จากผลการสำรวจ พบว่าความพึงพอใจของคนทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มที่ลดลงในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2021-2023 โดยคนไทยรุ่นใหม่สองกลุ่มนี้ มองว่า นักการเมือง กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคม และผู้สื่อข่าว มีบทบาทสำคัญในการชี้นำประเด็นทางสังคมมากกว่านักแสดง ผู้นำทางศาสนา หรือนักกีฬา

ร้อยละ 82 ของเจนซี และ ร้อยละ 85 ของมิลเลนเนียลในไทย เชื่อว่าตัวเองมีพลังในการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง ซึ่งสูงกว่าคนในช่วงวัยเดียวกันทั่วโลกที่ร้อยละ 58 และ ร้อยละ 55 ตามลำดับ โดยร้อยละ 75 ของเจนซีและร้อยละ 52 ของมิลเลนเนียลปฏิเสธที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมาย หากงานนั้นขัดกับความเชื่อและจริยธรรมส่วนบุคคล และร้อยละ 63 ของเจนซี และร้อยละ 52 ของมิลเลนเนียลปฏิเสธการร่วมงานกับองค์กรที่มีแนวคิดขัดกับความเชื่อและจริยธรรมส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้สิ่งที่คนไทยทั้งสองเจเนอเรชั่น ถือเป็นความภาคภูมิใจในการบอกอัตลักษณ์ความเป็นตัวตน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) งานหลัก 2) เพื่อนและครอบครัว และ 3) งานเสริม นอกจากนี้สิ่งที่คนไทยทั้งสองเจเนอเรชั่นให้คุณค่าในการชื่นชมความสำเร็จของผู้อื่น 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การใช้ชีวิตตามแนวทางของตัวเองโดยไม่ขึ้นหรืออิงกับความคาดหวังของสังคม 2) ความสามารถในการสร้างสมดุลให้กับชีวิตและการทำงาน และ 3) ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ

ด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อถามถึงความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 78 ของเจนซี และ 81 ของมิลเลนเนียล กล่าวว่ารู้สึกกังวลกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยร้อยละ 80 ของเจนซีและ 83 ของมิลเลนเนียลยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการที่ส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้ง 2 คำตอบของคนไทยสูงกว่าคนในเจเนอเรชั่นเดียวกันทั่วโลกที่ประมาณร้อยละ 60 นอกจากนี้ร้อยละ 30 ของคนไทยทั้ง 2 เจเนอเรชั่น เชื่อว่าบริษัทขนาดใหญ่มีการดำเนินการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งสูงกว่าคนในเจเนอเรชั่นเดียวกันทั่วโลก ที่ประมาณร้อยละ 18

คนไทยรุ่นใหม่มองว่าสิ่งที่สามารถลงมือทำด้วยตนเองเพื่อช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม คือการลดการใช้สินค้าฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) เป็นอันดับแรก และสิ่งที่คนไทยรุ่นใหม่ตั้งใจจะลงมือทำในอนาคตเพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) ปรับปรุงบ้านให้ประหยัดพลังงาน และ 2) เปลี่ยนมารับประทานมังสวิรัติหรือวีแกน (Vegan)

นอกจากนี้คนไทยรุ่นใหม่ทั้ง 2 เจเนอเรชั่นยังมีข้อเสนอแนะว่าองค์กรควรที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อจัดการกับความท้าทายในด้านเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบอาคารสำนักงานเป็นพื้นที่สีเขียว 2) การอบรมพนักงานในเรื่องความยั่งยืน และ 3) ให้เงินสนับสนุนแก่พนักงานให้ใช้เลือกสินค้าและบริการที่ส่งเสริมความยั่งยืน

คุณอริยะ ฝึกฝน กรรมการบริหาร ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าวว่า “จากผลสำรวจพบว่า คนไทยรุ่นใหม่มีมิติความคิดที่แตกต่างจากคนในเจเนอเรชั่นเดียวกันของประเทศเพื่อนบ้านและโลกอย่างมีนัยสำคัญ และคนไทยทั้งสองเจเนอเรชั่นเองก็มีความเห็นที่แตกต่างกันในหลายประเด็นเชิงลึกลงไปอีก ดังนั้นการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องบริหารจัดการด้วยความละเอียดอ่อนมากขึ้น”

ดร. โชดก ปัญญาวรานันท์ ผู้จัดการ Clients & Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “การพิจารณาข้อมูลของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในปีเดียวกัน และข้อมูลเปรียบเทียบของประเทศไทยเองในแต่ละปี จะสะท้อนภาพรวมการเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การวางแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

คุณอริยะ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ดีลอยท์ ได้ทำการสำรวจคนในกลุ่มเจนซีและมิลเลนเนียล ติดต่อกันเป็นปีที่ 12 และจะทำการสำรวจคนกลุ่มนี้ต่อไป เพื่อติดตามแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังไม่มีทางเลือกใดที่ตอบโจทย์แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ต้องคำนึงถึงบริบทของแต่ละองค์กรนั้นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่แต่ละองค์กรต้องพิจารณาต่อไป”

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของ Deloitte Global 2023 Gen Z and Millennial Survey ได้ที่ https://www.deloitte.com/global/en/issues/work/content/genzmillennialsurvey.html

ระเบียบวิจัย

Deloitte Global 2023 Gen Z and Millennial Survey ได้ทำการสำรวจจกลุ่มคนในเจนซีจำนวน 14,483 คน และมิลเลนเนียลจำนวน 8,373 คน (ทั้งหมด 22,856 คน) จาก 44 ประเทศทั่วโลก ทั้งในเขตพื้นที่อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา ยุโรปตะวันตกและตะวันออก เขตตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก การสำรวจครั้งนี้จัดทำขึ้นผ่านการสัมภาษณ์ในช่องทางออนไลน์ ที่เปิดให้ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง การสำรวจแบบภาคสนามมีขึ้นระหว่าง 29 พฤศจิกายน จนถึง 25 ธันวาคม 2565 นอกจากนี้ ในเดือนเมษายน 2566 ได้มีการจัดการสำรวจเชิงคุณภาพในกลุ่มเจนซีและมิลเลนเนียลจำนวน 60 คนจากประเทศบราซิล อินเดีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทย ดีลอยท์ได้ทำการสำรวจคนในกลุ่มเจนซี 200 คน และมิลเลนเนียล 100 คน

ในการสำรวจดังกล่าว กลุ่มคนเจนซีที่เข้าร่วมตอบแบบสำรวจเป็นผู้ที่เกิดในระหว่างเดือนมกราคม 2538 ถึงเดือนธันวาคม2547 และกลุ่มมิลเลนเนียลที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้เป็นผู้ที่เกิดในระหว่างเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนธันวาคม 2537

 

 

ผลตอบแทนสูงและวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ครองปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่คนไทยรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ ด้าน Google และปตท. ยังครองแชมป์อันดับบริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยมากที่สุด

ยูนิเวอร์ซัม (Universum) บริษัทผู้นำระดับโลกด้านการวิจัย ให้คำปรึกษา และการสื่อสารแบรนด์ให้แก่องค์กร เผยข้อมูลตลาดแรงงานคนรุ่นใหม่ของไทยล่าสุด ผ่านรายงานผลสำรวจระดับโลก Universum Talent Research ประจำปี 2566 ที่ได้สำรวจความคิดเห็นและความคาดหวังของคนรุ่นใหม่ต่อการทำงานในอนาคต พบว่า นักศึกษาสาขาธุรกิจอยากทำงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง

ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้คนสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตามปกติอีกครั้งตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งสำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสังเกตคือ คนไทยรุ่นใหม่สนใจอยากทำงานในอุตสาหกรรมพลังงานเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นถึง 19% ในกลุ่มนักศึกษาสาขาวิศวกรรม และเพิ่มขึ้น 3.9% ในกลุ่มนักศึกษาสาขาธุรกิจ หลังประเทศไทยเดินหน้าพัฒนาความยั่งยืนในทุกภาคส่วน

การที่อุตสาหกรรมด้านพลังงานได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่คนไทยรุ่นใหม่ สอดคล้องกับเทรนด์ความยั่งยืนที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญมากขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะด้านการผลิตและการหันมาใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน สะท้อนให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ทุกวันนี้ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน และต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตที่ดีกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้นองค์กรที่สามารถสื่อสารนโยบายและเป้าหมายธุรกิจในด้านความยั่งยืนได้อย่างชัดเจน จะมีโอกาสดึงดูดคนเก่งรุ่นใหม่ให้มาร่วมงานได้มากกว่า” นายไมค์ พาร์สันส์ (Mike Parsons) กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของยูนิเวอร์ซัม กล่าว

 

นายไมค์ พาร์สันส์ (Mike Parsons) กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของยูนิเวอร์ซัม

สำหรับ 3 อันดับอุตสาหกรรมยอดนิยมที่นักศึกษาสาขาธุรกิจสนใจมากที่สุด ได้แก่

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ (33%)

วิจัยการตลาด (28%)

และโฆษณา (27%)

ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิต (35%)

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี (30%) และ

การปรึกษาด้านไอทีและวิศวกรรม (28%) คือ 3 อุตสาหกรรมที่นักศึกษาสาขาวิศวกรรมสนใจมากที่สุดในปีนี้

ด้านอันดับบริษัทที่นักศึกษาสาขาธุรกิจอยากทำงานด้วยมากที่สุด กูเกิล (Google) ยังคงรั้งอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GMM Grammy) ยูนิโคล่ (UNIQLO) และไลน์ คอร์ปอเรชั่น (LINE Corporation)

ในขณะเดียวกันผลสำรวจยังเผยว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอยากทำงานกับปตท. (PTT) มากที่สุด ตามด้วยกูเกิล (Google) ปูนซิเมนต์ไทย (Siam Cement Group: SCG) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

รายงานผลสำรวจปีนี้ ยูนิเวอร์ซัมยังได้จัดแบ่งกลุ่มโปรไฟล์คนรุ่นใหม่ตามความต้องการและความสนใจที่ต่างกันเมื่อต้องเข้าทำงานในองค์กร โดยพบว่า

คนไทยส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมตอบแบบสำรวจจัดอยู่ในกลุ่มมองหาไลฟ์สไตล์ที่สมดุล (Balance-Seekers) มากที่สุด (34%) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสมดุลในการใช้ชีวิตและการทำงาน (work-life balance) พวกเขามองหาองค์กรที่มีความมั่นคงและมีบรรยากาศการทำงานที่ดี ให้เงินเดือนที่ไม่น้อยกว่าบริษัทอื่น และมีความยืดหยุ่นที่พวกเขาสามารถบาลานซ์ภาระความรับผิดชอบเรื่องงานและความสนใจด้านอื่น ๆ นอกจากงานได้อย่างเหมาะสม

รองลงมาได้แก่กลุ่มไล่ตามเป้าหมายความท้าทาย (Go-Getters) (24%) ที่พร้อมเปิดรับโอกาสความท้าทายใหม่ ๆ และความรับผิดชอบที่มากขึ้นเพื่อการได้รับการเล็งเห็นถึงศักยภาพความสามารถและการเติบโตในองค์กรแบบก้าวกระโดด ตามมาด้วยกลุ่มเดินทางเพื่อเติมเต็มประสบการณ์การทำงาน (Globe-Trotters) (15%) ที่มองหาโอกาสในการทำงานในองค์กรระดับสากลที่สามารถเดินทางไปต่างประเทศและได้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้าทั่วโลก

และกลุ่มสร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงสังคม (Change-Makers) (14%) ที่อยากร่วมงานกับองค์กรที่ทำงานเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการเพื่อสาธารณะหรือองค์กรเพื่อสังคมก็ตาม โดยให้คุณค่ากับเรื่องความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วมในองค์กร (diversity, equity, and inclusion: DE&I) และรู้สึกมีพลังในการทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม

ปัจจัยด้านผลตอบแทนและวัฒนธรรมองค์กรที่คนไทยรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ

แม้คนไทยรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะชอบการทำงานแบบระยะไกลหรือ remote working แต่พวกเขาก็รู้สึกกังวลว่าจะต้องทำงานเกินเวลา (48%) และไม่สามารถรักษาสมดุลชีวิตกับการทำงานที่ต้องการได้

ขณะที่ปัจจัยอย่าง “เงินเดือนที่ไม่น้อยกว่าบริษัทอื่น” และ “ผลตอบแทนอื่น ๆ” ยังคงเป็นสองปัจจัยสำคัญที่นักศึกษาไทยให้ความสำคัญมากที่สุด แต่พวกเขาก็มีความต้องการในคุณค่าอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ได้แก่ การร่วมงานกับองค์กรที่มีบรรยากาศการทำงานที่ดี มีความมั่นคงด้านอาชีพการงาน มีความยืดหยุ่นในการทำงาน สามารถรักษาสมดุลชีวิตกับการงาน เปิดโอกาสให้พนักงานแสดงศักยภาพความสามารถได้เต็มที่ มีความเคารพต่อพนักงานอย่างเท่าเทียม และมองเห็นโอกาสการเติบโตในหน้าที่การงานที่ชัดเจน

นายพาร์สันส์ กล่าวว่า “ตลาดงานปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมากขึ้น องค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยคุณค่าเหล่านี้เพื่อดึงดูดคนเก่งรุ่นใหม่ นอกจากการให้เงินเดือนและผลตอบแทนที่ไม่น้อยกว่าบริษัทอื่นแล้ว องค์กรควรสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการทำงานที่สนับสนุนและส่งเสริมพนักงาน ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน มีความยืดหยุ่น ส่งเสริมให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร พร้อมมอบโอกาสการเติบโตในเส้นทางอาชีพ เมื่อองค์กรกำหนดนโยบายและผลักดันคุณค่าองค์กรเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถดึงดูดคนเก่งรุ่นใหม่ให้มาร่วมงาน รวมถึงเสริมชื่อเสียงขององค์กรในฐานะบริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วยมากที่สุดด้วย”

คนรุ่นใหม่ศึกษาข้อมูลองค์กรที่อยากทำงานผ่าน “เฟซบุ๊ก”

ในส่วนของช่องทางการสื่อสาร 80% ของนักศึกษาไทยกล่าวว่า พวกเขามักเข้าไปศึกษาข้อมูลขององค์กรที่พวกเขาสนใจทางช่องทางโซเชียลมีเดียขององค์กรนั้น ๆ โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ซึ่งหัวข้อที่คนรุ่นใหม่สนใจมากที่สุด ได้แก่ เรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม เงินเดือนและผลตอบแทน และโอกาสในการเติบโตในอาชีพการงาน ประเด็นเหล่านี้ไม่ใช่เพียงดึงดูดความสนใจของคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ถือเป็นปัจจัยหลักที่คนรุ่นใหม่ใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจเลือกทำงานกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งเลยทีเดียว

“องค์กรควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารประเด็นดังกล่าวผ่านช่องทางออนไลน์ขององค์กรให้มากขึ้น เพราะคนรุ่นใหม่ใช้ช่องทางดิจิทัลในการหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าวัฒนธรรมขององค์กรที่พวกเขาอยากร่วมงานด้วย นอกจากนี้ คนไทยรุ่นใหม่ยังอยากรู้แนวคิดของผู้บริหารองค์กรทั้งด้านคุณค่าที่องค์กรยึดถือ รวมถึงแผนธุรกิจในอนาคต องค์กรจึงควรสื่อสารประเด็นเหล่านี้ให้ชัดเจนในช่องทางออนไลน์เพื่อดึงดูดความสนใจและการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ และสะท้อนความมุ่งมั่นขององค์กรในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนช่วยเหลือพนักงาน พร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้านโอกาสการเติบโตในหน้าที่การงานที่ดีในแต่ละอุตสาหกรรมในอนาคตด้วย” นายพาร์สันส์ กล่าวเสริม

สำหรับความคาดหวังด้านเงินเดือน ผลสำรวจปีนี้เผยว่า เงินเดือนโดยเฉลี่ยที่คนรุ่นใหม่คาดหวังอยู่ที่ 466,379 บาทต่อปี ลดลง 3% จากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 479,000 บาทต่อปี โดยเงินเดือนที่นักศึกษาสาขาธุรกิจคาดหวังอยู่ที่ 441,195 บาทต่อปี ขณะที่เงินเดือนที่นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคาดหวังในปีนี้อยู่ที่ 464,538 บาทต่อปี ความแตกต่างของเงินเดือนที่คาดหวังระหว่างเพศชายและหญิงปีนี้อยู่ที่ 10% โดยเงินเดือนที่คนรุ่นใหม่เพศชายคาดหวังอยู่ที่ 484,303 บาทต่อปี ส่วนเงินเดือนที่คนรุ่นใหม่เพศหญิงคาดหวังอยู่ที่ 437,455 บาทต่อปี

รายงานผลสำรวจ Universum Talent Research ปี 2566 ของประเทศไทย มาจากการจัดทำแบบสอบถามนักศึกษา 8,437 คนที่เรียนสาขาวิชา 112 สาขาจากมหาวิทยาลัยและสถานศึกษา 23 แห่งทั่วประเทศ ระหว่างเดือนกันยายน 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 โดยผู้ตอบแบบสำรวจได้ประเมินและจัดอันดับองค์กรไทยและสากลจำนวน 128 ราย ซึ่งลิสต์จัดอันดับใช้ขั้นตอนการคัดเลือกและประเมินอิสระ

ในบรรดาคุณธรรมทั้งมวล "ความกตัญญู" เป็นคุณธรรมที่มี "มูลค่าทางเศรษฐกิจ" หรือ "Economic Value" สูงที่สุด

ปัจจุบันหลายองค์กรมีนวัตกรรมการจัดการที่แตกต่างกัน ซึ่งช่วยให้เราอ่านใจคนทำงานยุคใหม่ในแง่ของลำดับความสำคัญ การมีส่วนร่วม และบทบาทของบุคลากรภายในองค์กร

X

Right Click

No right click