

แกร็บ ประเทศไทย เดินหน้าปลุกพลังคนรุ่นใหม่ เสริมแรงบันดาลใจให้ Gen Z ผ่านการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark 2024 เปิดเวทีโชว์ศักยภาพในการนำเสนอไอเดียที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี-บิ๊กดาต้าเสริมทักษะด้านธุรกิจและนวัตกรรม พร้อมปลูกฝังแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่ก้าวสู่โลกธุรกิจอย่างมั่นใจ โดย 4 นิสิตจากรั้วจามจุรีสามารถฝ่าด่านการแข่งขันกับผู้สมัครนับพันจาก 32 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จนคว้ารางวัลชนะเลิศด้วยแผนธุรกิจ “Ever Grow and Never Ending” นำเสนอโซลูชันที่ช่วยผลักดันให้บริการซูเปอร์แอปเติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมเชื่อมโยงคนในอีโคซิสเต็มเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนให้ธุรกิจ
นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “นับเป็นปีที่สามแล้วที่ แกร็บ ประเทศไทย ได้จัดการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนิสิตนักศึกษาไทย ซึ่งถือเป็นตัวแทนของ Gen Z ที่จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีอัตราการเติบโตกว่า 2 เท่าของ GDP ในปีนี้1 โดย Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว เห็นโลกกว้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ มองเห็นโอกาสใหม่ๆ และกล้าตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นเจเนอเรชันที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Impact) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจในการดำเนินธุรกิจของแกร็บที่มุ่งพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา (Pain Point) และตอบสนองความต้องการให้กับผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การเปิดเวทีให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพผ่านการนำเสนอแผนธุรกิจถือเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจที่แกร็บต้องการผลักดันให้พวกเขาได้ใช้ความรู้และทักษะที่มีคิดต่อยอดเพื่อพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าและเทคโนโลยีดิจิทัลมาบูรณาการ ทั้งยังส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม พร้อมปลูกฝังแนวคิดด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งอนาคตอีกด้วย”
การประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2022 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GrabCampus ที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับกลุ่มนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยในปีนี้แกร็บได้เปิดโอกาสให้เยาวชนจากทุกสถาบันเข้าร่วมการประกวดแผนธุรกิจภายใต้โจทย์ “The Next Chapter of Superapp: Unlocking Potential for Accelerated Sustainable Growth” เพื่อนำเสนอไอเดียและแผนการตลาดในการผลักดันบริการซูเปอร์แอปให้สามารถเติบโตได้แบบก้าวกระโดดและยั่งยืน โดยมีนิสิตนักศึกษากว่า 1,116 คนจาก 32 มหาวิทยาลัย ทั่วประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อแสดงศักยภาพ และชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และสิทธิพิเศษ Fast-track เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม GrabIntern ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานที่ แกร็บ ประเทศไทย เพื่อสัมผัสประสบการณ์การทำงานในธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม พร้อมต่อยอดสู่การพัฒนาทักษะในระดับมืออาชีพในโลกธุรกิจจริง
ทั้งนี้ หลังผ่านการประกวดที่เข้มข้นและการพิจารณาตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้มากประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในหลายสาขา ทีมที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark 2024 ไปครองคือ ทีม G Good จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โดดเด่นด้วยแผนธุรกิจที่ชื่อ “Ever Grow and Never Ending”
นางสาวคณิตา เนตรดวงมณี ตัวแทนจากทีม G Good กล่าวว่า “แผนธุรกิจของเรามุ่งเน้นไปที่การสร้างความสมดุลระหว่างการสนับสนุนพาร์ทเนอร์ร้านค้าของแกร็บและการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยเรามองเห็นโอกาสในการพัฒนาบริการ GrabFood และ GrabMart ซึ่งมีฐานลูกค้าแข็งแกร่งอยู่แล้ว พร้อมต่อยอดความสำเร็จที่มีอยู่เดิม โดยสำหรับ GrabFood เราได้วิเคราะห์และออกแบบโซลูชันที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้พาร์ทเนอร์ร้านค้า และพัฒนาฟีเจอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้าน ตั้งแต่การเดินทางไปจนถึงการทานอาหารที่ร้าน ส่วน GrabMart เราเน้นการขยายพาร์ทเนอร์ในระบบเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าคุณภาพ พร้อมสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พาร์ทเนอร์ร้านค้าอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังเสนอการทำ Gamification ที่เชื่อมโยงบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความเพลิดเพลินและความผูกพันกับแบรนด์ในระยะยาว โดยเรามั่นใจว่าแผนธุรกิจนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับพาร์ทเนอร์และผู้ใช้บริการ ผ่านกลยุทธ์ที่เน้นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแกร็บในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคม”
งานฟุงานฟุตบอลประเพณีสุดยิ่งใหญ่ สืบสานมายาวนาน ส่งต่อรุ่นพี่สู่รุ่นน้องมาหลายทศวรรษ พร้อมประกาศความยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังจากหยุดการจัดงานมานานกว่า 5 ปี กับการหวนคืนการแข่งขันที่มีประวัติมายาวนานเพื่อเกียรติยศและศักดิ์ศรีกับ “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 พร้อมปลุกพลังในตัวเองกับแมทซ์หยุดโลก!!! ประกาศความพร้อมในทุกส่วนของงานฟุตบอลประเพณีในครั้งนี้ตบอลประเพณีสุดยิ่งใหญ่ สืบสานมายาวนาน ส่งต่อรุ่นพี่สู่รุ่นน้องมาหลายทศวรรษ พร้อมประกาศความยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังจากหยุดการจัดงานมานานกว่า 5 ปี กับการหวนคืนการแข่งขันที่มีประวัติมายาวนานเพื่อเกียรติยศและศักดิ์ศรีกับ “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 พร้อมปลุกพลังในตัวเองกับแมทซ์หยุดโลก!!! ประกาศความพร้อมในทุกส่วนของงานฟุตบอลประเพณีในครั้งนี้
พร้อมร่วมกันสร้างความเป็นหนึ่งของชาวธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ปลุกพลังนิสิตทุกรุ่นทุกสมัย ให้มาเจอกันในนัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง 2 มหาวิทยาลัยเก่าแก่ ที่มีชื่อเสียงอยู่คู่ประเทศไทยมาหลายช่วงยุคสมัย โดยจะกลับมาสร้างความทรงจำครั้งใหม่อีกครั้ง ซึ่งในปีนี้ทางสมาคมธรรมศาสตร์ฯ เป็นเจ้าภาพ สลับกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพในครั้งที่ผ่านมา โดยการจัดงานครั้งนี้ทั้งสองสถาบันได้มีการกำหนดรูปแบบงานที่ยังคงรักษาความยิ่งใหญ่ อลังการ พร้อมรวมความสุข สนุกบันเทิง สะท้อนถึงความรักความสามัคคี รวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกัน
นายลวรรณ แสงสนิท ประธานกรรมการดำเนินงานการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ครั้งที่ 75 กล่าวถึงภาพรวมในงานปีนี้ว่า หากพูดถึงกีฬาของสองสถาบันการศึกษาที่อยู่คู่กันมายาวนานกว่า 90 ปี ก็ต้องคิดถึงการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ที่ห่างหายการจัดงานไปนานกว่า 5 ปี โดยเราพร้อมที่จะจัดงานขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ 75 โดยการเตรียมงานจากความรัก ความสามัคคี ของนิสิตนักศึกษาที่เป็นปัญญาชนของทั้งสองสถาบันทุกคนที่พร้อมสื่อสารผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการแปรอักษร, ขบวนพาเหรด เพื่อให้สังคมได้รับรู้และเห็นถึงความตั้งใจ ทั้งในด้านการกีฬา, กองเชียร์ ตลอดจนการแสดงทางความคิดเชิงสร้างสรรค์ของเส้นทางการเมือง-การปกครองของประเทศชาติ ผ่านการจัดงานในครั้งนี้
“การแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ที่ห่างหายไปนาน โดยมีนักศึกษาบางรุ่นไม่เคยได้สัมผัสงานนี้ ได้กลับมาสร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้ง เราคาดว่าในทุก ๆ กิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นในปีนี้จะต้องยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยอุปกรณ์การเชียร์จะทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ในปีนี้เราตั้งใจทำการแปรอักษรให้ออกมาดีที่สุด เพราะการแปรอักษรถือเป็นเอกลักษณ์ และเสน่ห์ของงานฟุตบอลประเพณี และอีกเสน่ห์ของการแปรอักษรก็คือการที่มีการตอบโต้ระหว่างกันของทั้งสองสถาบัน ผ่านนิสิตนักศึกษามาแปรอักษรจริง ไม่ใช่การแปรอักษรรูปแบบดิจิทัล ซึ่งในปีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่ายินดีที่ทางจุฬาจะเน้นการนำเสนอรูปแบบความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่มีอิสระโดยมีรุ่นพี่ คอยให้คำปรึกษากับรุ่นน้องในการทำงานแต่ละภาคส่วน จึงอยากขอเชิญชวนทุก ๆ ท่านมาพบกันในงานฟุตบอลธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 นี้ครับ”
ทั้งนี้ “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” การแข่งขันที่เป็นไปตามประเพณีดั้งเดิมที่มีมายาวนานระหว่างนักกีฬาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นการแข่งขันที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและประเพณีในวงการศึกษาของไทย จัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477ทซึ่งนอกจากจะเป็นการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังถือเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาวิทยาลัย และมีความสนุกสนานในส่วนของการเชียร์จากผู้ชมที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานด้วย
โดย “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 นี้มีการออกแบบเสื้อฟุตบอลประเพณีโดย นายภูริทัต ชูชัยยะ คณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ผู้ชนะการประกวดแบบเสื้อเชียร์จุฬาฯ ภายใต้แนวคิด “The Time of Tapestry: อดีต อนาคตของปัจจุบัน” ผ่านการดีไซน์ที่ผสมผสานระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ได้อย่างลงตัว
งานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 75 ทุกท่านฯ สามารถมาร่วมงาน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ได้ พร้อมกับนิสิต ทั้งรุ่นพี่ที่จบการศึกษาไปแล้ว และกำลังศึกษาอยู่ ที่จะมาพบกัน อีกหนึ่งสีสันที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ ทีมผู้นำเชียร์แห่งธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์ ปีนี้พร้อมมาก ฟาดแรง ไม่ยั้ง !!! #TEAMCHULA #TEAMTHAMMASAT พร้อมใจส่งแรงเชียร์ ให้ดังกึกก้องไปทั้งสนาม!!! ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ในวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สนามศุภชลาศัย ประตูเปิดเวลา 12.00 น. เป็นต้นไป
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำความภาคภูมิใจให้สถาบันอุดมศึกษาไทยในเวทีโลกอีกครั้ง ครองอันดับ Top 50 ของโลกจาก Times Higher Education Impact Rankings 2024 ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างผลกระทบสูงต่อสังคม
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย THE Impact Rankings 2024 ประเมินจากบทบาทของมหาวิทยาลัยทั้งในด้านงานวิจัย การบริหารหน่วยงาน งานบริการวิชาการ และการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) มีสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 2,152 แห่ง จาก 125 ประเทศ และจุฬาฯ ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของไทยใน SDG 9 Industry, Innovation and infrastructure (การพัฒนานวัตกรรม อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน)
ความสำเร็จของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งติด Top 50 “มหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืน” โดย THE Impact Rankings 2024 สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญในด้าน SDGs Impact โดยได้มีการดำเนินงานในเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ติดตามผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยได้ที่ https://www.timeshighereducation.com/impactrankings
Lord David Cameron อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 53 แห่งสหราชอาณาจักร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร พร้อมด้วย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาระดับอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าเยี่ยมชมห้องแล็บวิจัยด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาสังเคราะห์ ณ บริษัท ไบโอม จำกัด อาคารมหาวชิรุณหิศ (ชั้น11) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. อลิสา วังใน Chief Technology Officer ของบริษัท ไบโอม จำกัด ให้การต้อนรับ ซึ่งบริษัทไบโอม เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างจุฬาฯ และบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) (BBGI) ที่ได้วิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งแรก
ด้าน นายกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BBGI กล่าวว่า พร้อมผนึกความแข็งแกร่ง ร่วมต่อยอดสร้างมูลค่างานวิจัยกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเสริมฐานผู้นำอุตสาหกรรมกลุ่มผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูงในภูมิภาคเอเชีย ในการวางเป้าหมายใช้ไทยเป็นฐานในการส่งต่องานวิจัยผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ไปยังตลาดโลก
นอกจากนี้ BBGI ยังได้รุกธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง (CDMO) ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก ภายใต้บริษัทร่วมทุน BBFB (BBGI Fermbox Bio) ซึ่งเป็นโรงงานเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง (Precision Fermentation) เชิงพาณิชย์แห่งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย คาดโรงงานแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2568 นับเป็นการตอกย้ำ BBGI แข็งแกร่งเตรียมพร้อมสู่โอกาสในอนาคต