January 22, 2025

นายสุรพงษ์ สาเรชพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีพีเอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)หรือ BPS พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ คุณภัทรมน พิธุพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสรรหาและพัฒนาบริษัทจดทะเบียน เอ็ม เอ ไอ พร้อมทีมงานฝ่ายผู้ออกหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในโอกาสมาแนะนำข้อปฏิบัติต่างๆและกิจกรรมใหม่ๆ เพิ่มเติมของตลาด mai พร้อมเยี่ยมชมกิจการของบริษัท เมื่อเร็วๆนี้ 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก้าวสู่ปีที่ 50 ของการดำเนินงาน กำหนดแนวคิด Make it “Work” for Every Future - ร่วมสร้างอนาคต เพื่อโอกาสของทุกคน มุ่งเน้นเดินหน้าสู่เป้าหมายอนาคต ในการยกระดับสู่ตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาค โดยขยายโอกาสระดมทุนสนับสนุนธุรกิจทุกขนาดจากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจครอบครัวขนาดใหญ่ บริษัทต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจในไทย SMEs Startups โดยเน้นสร้างศักยภาพในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ (New Economy) ต่อยอดจากจุดแข็งเดิมของประเทศ พร้อมพัฒนาตลาดทุนแบบดิจิทัลเข้ามาเสริมตลาดทุนดั้งเดิมที่มีความเข้มแข็งในปัจจุบัน นอกจากนี้ จะเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานและการกำกับดูแล และสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยเทคโนโลยี AI ขับเคลื่อนความยั่งยืนทุกมิติ นำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างแข็งแกร่ง พร้อมสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมและอนาคตของสังคมไทยอย่างยั่งยืน

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มเปิดให้มีการซื้อขายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 และก้าวสู่ปีที่ 50 ของการดำเนินงานในปีนี้ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นตลาดทุนแห่งอนาคตที่สนับสนุนผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม โดยกำหนดแนวคิดสำหรับการก้าวสู่ปีที่ 50 ว่า Make it “Work” for Every Future - ร่วมสร้างอนาคต เพื่อโอกาสของทุกคน ทั้งการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์เป้าหมายอนาคตของผู้ออมและผู้ลงทุน เป็นกลไกให้ภาคธุรกิจเข้าถึงโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว นำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศอย่างแข็งแกร่ง พร้อมสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม และอนาคตของสังคมไทยอย่างยั่งยืน

“มองไปในอนาคต ตลาดทุนจะยังพบความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องทั้งจากปัจจัยภายในและนอกประเทศ ความต้องการของภาคธุรกิจและผู้ลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันที่เข้มข้น ตลอดจนเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินหน้าสร้างอนาคต เพื่อโอกาสของทุกคน โดยมองบทบาทที่จะเปลี่ยนไปและมุ่งสู่เป้าหมายอนาคต ใน 5 ด้าน 1) ยกระดับสู่ตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาค ทั้งในด้านการเป็นแหล่งระดมทุนของบริษัทในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการเพิ่มเติมทางเลือกการลงทุนต่างประเทศผ่านกลไกตลาดทุนไทย 2)  ขยายโอกาสการระดมทุน ให้บริษัททุกขนาดในภูมิภาค โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายทั้งบริษัทขนาดใหญ่ รวมถึงธุรกิจครอบครัวขนาดใหญ่ (Mega Family Business) บริษัทต่างชาติที่มีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New Economy) และ SMEs Startups พร้อมส่งเสริมการพัฒนา Data Platform สำหรับบริษัทจดทะเบียน เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่มีคุณภาพ (Data Pools) นำมาต่อยอดเป็นข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Data Analytics) อาทิ Industry Highlights สำหรับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ และพันธมิตร 3)  พัฒนาตลาดทุนแบบดิจิทัลเข้ามาเสริมตลาดทุนดั้งเดิมที่มีความเข้มแข็งในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ระดมทุนและผู้ลงทุนยุคใหม่ 4) เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานและการกำกับดูแล และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดทุนที่แข็งแกร่ง โดยพิจารณาในการนำเทคโนโลยี AI และ Generative AI เข้ามาช่วยพัฒนางานในหลายด้านเพิ่มขึ้น เช่น ระบบกำกับดูแลการซื้อขายและบริษัทจดทะเบียน ระบบช่วยนักวิเคราะห์ในการจัดทำบทวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็ก ระบบแปลเนื้อหาข้อมูลบริษัทจดทะเบียน หรือความรู้ด้านการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนต่างชาติ รวมทั้งแนะนำบริการด้านต่าง ๆ ตามโจทย์พฤติกรรมผู้ลงทุน (Personalization) เป็นต้น และ 5) ขับเคลื่อนความยั่งยืน (Sustainability) ในทุกมิติ โดยมุ่งเน้นการเตรียมบริษัทจดทะเบียน ผู้ลงทุน และบุคลากรตลาดทุน ให้พร้อมรองรับความท้าทายและโอกาสจากประเด็นความยั่งยืน และพัฒนาการของกฎเกณฑ์กำกับใหม่ ๆ อาทิ วิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และสิทธิมนุษยชน (Human Rights)” นายภากรกล่าว

ตลอด 5 ทศวรรษ ตลาดหลักทรัพย์ฯ พัฒนาธุรกิจและตลาดทุนต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นแพลตฟอร์มเพื่อการระดมทุนสำหรับธุรกิจทุกขนาดทั้งในภาวะปกติและวิกฤต ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนกว่า 850 บริษัท มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมกว่า 17.4 ล้านล้านบาท จำนวนผู้ลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องล่าสุดที่กว่า 5.8 ล้านบัญชี และพัฒนาสินค้าบริการเพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนทุกกลุ่ม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงต่างประเทศในหลากหลายรูปแบบ อาทิ DR DRx ETF DW ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาด และสนับสนุนการทำงานของอุตสาหกรรมตลาดทุน ซึ่งรวมถึงการมีแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัล ควบคู่การนำ ESG เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ และขับเคลื่อนตลาดทุนในมิติต่างๆ การให้ความรู้การเงินการลงทุน ดูแลสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมภาคสังคมให้เติบโตไปพร้อมกัน โดยปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนไทยเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนระดับสากล

ทั้งนี้ ระหว่างปี 2567-2568 ภายใต้วาระตลาดหลักทรัพย์ฯ ก้าวสู่ปีที่ 50 จะมีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดพัฒนาการตลาดหลักทรัพย์ฯ อาทิ นิทรรศการ 50 ปี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ห้องสมุดมารวย หนังสือ 50 ปี “5 Decades of SET” และจัดทำซีรีส์สื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริม ESG ทั้งด้านการขับเคลื่อนภาคเอกชนสู่การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้านสังคมที่มีการดูแลกลุ่มเปราะบาง โดยสนับสนุนรถพยาบาลแก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เด็กและเยาวชนด้วย Financial Literacy และส่งเสริมสุขภาวะประชาชนผ่านกีฬาเทเบิลเทนนิส และด้านการส่งเสริม CG ภาคธุรกิจ การประกวดงานวิจัยด้าน ESG ที่จะมีขึ้นในปีนี้ รวมทั้งการจัดทำหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

SET…Make it ‘Work’ for Every Future”

 

 ดีลอยท์ ประเทศไทย ผนึก SME D BANK และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านบริการจาก LiVE Platform จัดโครงการ ‘Incubation Program – Road to LiVE’ หลักสูตรเสริมแกร่งสำหรับ SMEs และ Startups เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ตลาดทุนและสร้างโอกาสในการเติบโต พร้อมโอกาสรับเงินทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) สูงสุด 50,000 บาท

นายวัลลภ วิไลวรวิทย์ Audit & Assurance Partner ดีลอยท์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับเกียรติร่วมเป็นที่ปรึกษาโครงการ Incubation Program - Road to LiVE หรือเส้นทางเตรียมความพร้อมสู่ตลาดทุน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D BANK) จัดขึ้นเพื่อเสริมความพร้อมที่สำคัญให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อม (SMEs) และสตาร์ตอัพไทย (Startups) ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแผนจะเข้าระดมทุนผ่านตลาดทุน ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้กับธุรกิจ

ความร่วมมือครั้งนี้ ดีลอยท์ ได้ส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญร่วมให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางให้ SMEs และ Startups ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถพัฒนาเรียนรู้การสร้างเส้นทางธุรกิจ และสามารถเตรียมความพร้อมในการระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุนได้ตามวัตถุประสงค์ หลักสูตรดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2567 "ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ “Incubation Program - Road to LiVE” ได้เรียนรู้ 4 เรื่องสำคัญคือ การบ่มเพาะเส้นทางธุรกิจ (Incubation) เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง (Driving Change), การสำรวจและวางแผนระบบงาน (Explore) และการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อต่อยอดธุรกิจ (Aspiration) จากผู้เชี่ยวชาญ หลักสูตรการอบรมครอบคลุมตั้งแต่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจสู่ธุรกิจมหาชน การทำแผนธุรกิจ การกำหนดการควบคุมภายใน รวมถึงการดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนอีกด้วย” นายวัลลภ กล่าว

นายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D BANK) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า SME D Bank ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างดีลอยท์ มาอย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ให้เตรียมความพร้อมในการเพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดทุน ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าเป็นสมาชิก DX by SME D Bank สามารถเข้าถึงห้องเรียนผู้ประกอบการออนไลน์ ซึ่งจะให้ความรู้โดย Exclusive Coach และได้รับสิทธิเข้าร่วมกิจกรรม “โอกาสธุรกิจสู่ Global Market” พร้อมสิทธิประโยชน์อื่นอีกมากมาย นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้รับเงินทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการ จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาทอีกด้วย นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ กล่าวว่า “ตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และ Startups เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ผ่านบริการจาก LiVE Platform แพลตฟอร์มที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจ พัฒนาธุรกิจให้เติบโต เตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุน และโครงการ Incubation Program – Road to LiVE เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ (LiVE Academy) โดยหวังว่าบริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้เรียนรู้กลไกการระดมทุน และการเตรียมพร้อมระบบงานที่สำคัญเพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้ธุรกิจ และเข้าร่วมเป็นสมาชิกในฐานะบริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพในตลาดหลักทรัพย์ LiVEx – mai - SET ได้ต่อไป

บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือชี้แจงเบื้องต้นตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกหนังสือฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2567 ขอให้ชี้แจง กรณียอดเงินสดในบัญชีของบริษัทฯ เปรียบเทียบกับหนี้สินที่จะครบกำหนดชำระในระยะเวลา 1 ปี

นายวิษณุ เทพเจริญ ประธานกรรมการบริษัท บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) ฝ่ายบริหารของบริษัทฯได้ทำหนังสือแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า “ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ตามข้อมูลในรายงานงบการเงินบริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ คิดเป็นร้อยละ 0.58 ซึ่งคำนวณจากราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดินของบริษัท ในราคาทุน โดยราคาตลาดของที่ดินมีราคาสูงกว่าราคาทุนมาก อาทิ ที่ดินที่เขาใหญ่ หรือสัตหีบ โดยล่าสุด หุ้นกู้ของบริษัท NUSA242A ซึ่งครบกำหนด วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีการชำระเงินต้นทั้งจำนวนแล้วเสร็จตามกำหนด

ทั้งนี้หุ้นกู้ของบริษัทฯและบริษัทในเครือ เป็นหุ้นกู้มีหลักประกันเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยสูงกว่า 1.2 เท่า ณ ปัจจุบัน โดยบริษัทมีการประมาณการกระแสเงินสดตลอดปี 2567 ที่เพียงพอต่อกำหนดการชำระหนี้ทุกประเภท ” นายวิษณุกล่าว

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งว่าเคทีซีได้รับการประเมิน SET ESG Rating ระดับเรตติ้งสูงสุด AAA ในกลุ่มธุรกิจการเงิน และเป็นสมาชิกของดัชนี SETTHSI เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยเคทีซีจะมุ่งพัฒนาการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในทุกมิติ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี (Environmental, Social and Governance: ESG) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่อไป

ทั้งนี้ ในปี 2566 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ยกระดับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน (SET ESG Ratings) ในรูปแบบของการจัดเรตติ้งโดยแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ AAA, AA, A และ BBB โดยคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนจากการตอบแบบประเมินความยั่งยืนผ่าน 50% ในแต่ละมิติ และผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด เช่น มีผลกำไรสุทธิ 3 ใน 5 ปีย้อนหลัง ไม่เป็นบริษัทที่ถูกกล่าวโทษหรือได้รับการตัดสินความผิดจากหน่วยงานทางการ เป็นต้น โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ไปใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกสมาชิกในดัชนี SETESG เพื่อส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน และเพื่อช่วยให้ผู้ลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุนและผู้จัดการกองทุน มีข้อมูลใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

X

Right Click

No right click