

“ธนาคารออมสิน” และ “เอ้ก ดิจิทัล” ผู้นำธุรกิจด้านวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการตลาดดิจิทัล โชว์ความสำเร็จการยกระดับเตือนภัยมิจฉาชีพทางการเงินให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ผ่านแคมเปญ "จับไต๋ภัยมิจฯ" ใช้พลังดาต้าและเทคโนโนโลยี AI จับอินไซต์ผู้บริโภคแต่ละเจเนอเรชัน วิเคราะห์กลลวงและช่องทางที่มิจฉาชีพหรือมิจจี้ยุคดิจิทัลนิยมใช้ พร้อมนำไปประมวลผลและสร้างสรรค์เป็นหนังสั้นออนไลน์ชุด #จับไต๋ภัยมิจฯ ที่รวมเล่ห์เหลี่ยมและวิธีป้องกันมิจจี้ในรูปแบบที่สนุกสนาน เข้าใจง่าย และจดจำได้เร็ว รวม 20 เวอร์ชัน โดยเผยแพร่ผ่านช่องทาง TikTok GSB Society เพื่อกระตุ้นประชาชนให้ตื่นตัว รู้เท่าทันทุกกลโกง และป้องกันตัวเองด้วยเทคนิคง่ายๆ ไม่คุย ไม่คอล ไม่กด ไม่ส่ง ไม่โอน! รวมตลอดทั้งแคมเปญมียอดชมหนังสั้นรวมกว่า 27 ล้านวิว
ธนาคารออมสิน เล็งเห็งความสำคัญของภัยมิจฉาชีพทางการเงินที่ยังคงระบาดและลุกลามอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาทางธนาคารได้เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยมิจฉาชีพทางการเงิน GSB Contact Center 1115 กด 6 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือแจ้งเหตุภัยมิจฉาชีพผ่านช่องทาง LINE: GSB NOW ซึ่งจากรายงานของศูนย์รับแจ้งเหตุภัยมิจฉาชีพทางการเงินของออมสิน พบว่าตั้งแต่ต้นปี 2566 นับจนถึงเดือนกรกฎาคม 2567 มีผู้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพและโทรแจ้งเหตุกับศูนย์ฯ สูงถึงกว่า 56,000 เคส โดยถูกหลอกลวงด้วยกลโกงหลากหลายรูปแบบและหลากหลายช่องทาง ทำให้กลุ่มลูกค้าของธนาคารสูญเสียเงินจำนวนมากและยังตกอยู่ในสภาวะเครียดทางจิตใจ ธนาคารออมสินจึงต้องการเดินหน้าส่งเสริมความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนไทยทุกคนผ่านแคมแปญ ‘จับไต๋ภัยมิจฯ’ จัดทำคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอสั้นและภาพเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ช่วยชี้ให้เห็นตัวอย่างกลโกงของมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่ เช่น หลอกให้กลัว, หลอกให้ถ่ายรูป หรือถ่ายวิดีโอใบหน้า, หลอกให้บอกรหัส PIN หรือ OTP, หลอกส่ง SMS, หลอกให้กดลิงก์ เป็นต้น พร้อมแนะนำวิธีป้องกัน หรือระมัดระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเมื่อต้องเผชิญกับมิจฉาชีพในสถานการณ์เหล่านั้น
โดยธนาคารออมสินได้ร่วมมือกับเอ้ก ดิจิทัล ยกระดับประสิทธิภาพในการสื่อสารของแคมเปญ โดยเอ้ก ดิจิทัลรับหน้าที่ในการนำความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า พลัง AI และ MarTech Solution มาสนับสนุนแคมเปญในทุกมิติ ทั้งการวางแผนและสร้างสรรค์หนังสั้นในรูปแบบ Edutainment ที่น่าสนใจและตรงใจกลุ่มเป้าหมาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ประชาชนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มที่มีรายได้น้อย ซึ่งมักตกเป็นเหยื่อได้ง่าย และกลุ่มเป้าหมายรองที่เป็นกลุ่มเยาวชนและคนทำงาน จำนวน 20 เวอร์ชัน วางกลยุทธ์การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพตลอดแคมเปญ ซึ่งธนาคารออมสินหวังว่าแคมเปญนี้จะเป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยลดปัญหามิจฉาชีพทางการเงิน พร้อมช่วยให้คนไทยรู้ทันทุกกลโกง ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพทุกรูปแบบ โดยตลอดระยะเวลาการจัดแคมเปญตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม – 31 ธันวาคม มียอดชมหนังสั้นทุกเวอร์ชันรวมกว่า 37 ล้านวิว เกินเป้าหมายไปกว่า 3,000% และสามารถเข้าถึงคนไทยได้มากกว่า 34 ล้านคน (Reach) เกินเป้าหมายไปกว่า 2,000% นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มจำนวนผู้ติดตามถึง109,000 Followers สูงกว่าเป้าหมายถึง 100%
นางสาวรัฐธีร์ เจริญรัตน์วรกุล ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ MarTech Solution บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันมิจฉาชีพพัฒนารูปแบบการหลอกลวงอยู่ตลอดเวลาและเข้าหาเป้าหมายจากหลายช่องทาง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการหลอกลวงไม่ได้เจาะเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ขยายวงกว้างสู่กลุ่มคนทุกเพศทุกวัย นี่ถือเป็นความท้าทายในการร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งเอ้ก ดิจิทัลรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้ เราได้นำ First-Party Data ของธนาคารออมสินและ TikTok มาจัดระเบียบข้อมูลและกำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามพฤติกรรม (Behavioral Segmentation) จากนั้นใช้ศักยภาพ AI ในการหาอินไซต์เชิงลึกเกี่ยวกับประเภทของมิจฉาชีพที่เกิดขึ้นบ่อย, กลุ่มคนที่ตกเป็นเหยื่อ, ช่องทางที่มิจฉาชีพใช้ และเทรนด์คอนเทนต์ที่ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มสนใจ พร้อมนำผลลัพธ์ไป Customize สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
นอกจากนี้ยังใช้ MarTech Solution ในการวางแผนการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ซึ่งถือเป็นชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่ที่เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มแมส โดยบริษัทฯ ผสานความร่วมมือกับ TikTok Creator ที่มีฐานแฟนคลับตรงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างหนังสั้นที่ตรงใจแต่ละกลุ่ม โดยเรื่องราวของหนังแต่ละเวอร์ชันจะสอดแทรกความรู้ในรูปแบบที่สนุกสนาน กระชับ ใช้ภาษาที่คนทุกเพศทุกวัยเข้าใจและจดจำได้ง่าย อีกทั้งยังใช้ AI ช่วยวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การสื่อสาร กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและกำหนดเวลาที่เหมาะสมในเผยแพร่ ตลอดจนติดตามผลการตอบรับของผู้ชมอย่างต่อเนื่องผ่านเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงคอนเทนต์ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นตามการตอบรับของผู้ชม โดยแคมเปญนี้ตั้งเป้าหมายมียอดการชมหนังสั้นไม่ต่ำกว่า 3 ล้านวิว ซึ่งบริษัทฯ สามารถผลักดันยอดวิวให้บรรลุเป้าหมายได้ตั้งแต่เปิดตัวหนังสั้นได้เพียงหนึ่งเดือน”
ธนาคารออมสินและเอ้ก ดิจิทัล อยากให้ทุกคนตั้งสติ หยุดคิด และนำข้อปฎิบัติดี ๆ จากแคมเปญนี้ไปป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพทางการเงิน หากพบเจอสถานการณ์น่าสงสัย อย่าลืม! ไม่คุย ไม่คอล ไม่กด ไม่ส่ง ไม่โอน
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน มอบรางวัลทองคำแท่งหนัก 10 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 26.5 ล้านบาท (ราคา ณ วันที่ 23 เมษายน 2567) ให้แก่ คุณกานดา กาญจนเพิ่มพูน ลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โดยเป็นผู้โชคดีจากการถูกรางวัลสลากออมสินพิเศษ 1 ปี งวดที่ 606 หมวดอักษร G หมายเลขสลาก 8178397 เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 111 ปี ซึ่งมีการออกรางวัลไปเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา
โดยคุณกานดา เป็นลูกค้าธนาคารออมสิน และมีการออมเงินกับธนาคารมาอย่างต่อเนื่อง แต่ได้มีการฝากสลากออมสินเพียง 4 ปี หลังทราบข่าวว่ามีการลุ้นรางวัลใหญ่ และเป็นการเก็บออมเงินด้วย จึงอยากเชิญชวนประชาชนให้มาออมเงินด้วยการฝากสลากออมสิน นอกจากจะได้ลุ้นรางวัลแล้ว การเป็นลูกค้าธนาคารออมสินเท่ากับเราได้ช่วยสังคม ณ ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 สำหรับสลากออมสินพิเศษ 1 ปี หน่วยละ 100 บาท ไม่จำกัดวงเงินรับฝากสูงสุด เมื่อฝากครบกำหนด 1 ปี จะได้รับเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหน่วยละ 0.25 บาท และยังมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลที่ 1 มูลค่า 10 ล้านบาท และรางวัลอื่น ๆ ได้ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน รวม 12 ครั้ง ผู้สนใจสามารถฝากสลากออมสินได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ และแอป MyMo
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการศูนย์กลางการเงิน (Financial Hub) ภายใต้หัวข้อ “Ignite Finance: Thailand’s Vision for a Global Financial Hub เปิดทางนำไทยสู่ศูนย์กลางการเงินโลก” ซึ่งกระทรวงการคลังจัดขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ “Ignite Thailand” ของนายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง 8 อุตสาหกรรมหลัก โดย “Ignite Finance” มีเป้าหมายเพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลก
โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดตัวโครงการ และมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ และนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้นำจากสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ และภาคเอกชน ร่วมงานแถลงข่าว ณ ห้องกำปั่นทอง อาคาร 150 ปี กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้สั่งการให้ธนาคารออมสินเพิ่มมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้กลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือของหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสถาบันการเงินต่าง ๆ ตามที่ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันแล้วนั้น
ล่าสุดธนาคารออมสิน ได้ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมตามข้อสั่งการของรัฐบาล ประกาศลดดอกเบี้ยสินเชื่อกลุ่มครูเป็น 1% ต่อปี สำหรับลูกหนี้ผ่อนชำระดีของสินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. - ช.พ.ส. และโครงการเกื้อกูลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.ค. - ธ.ค. 2567) โดยเป็นการลดดอกเบี้ยอัตโนมัติไม่ต้องลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ และดอกเบี้ยส่วนที่ได้ลดเพิ่มเติมจะถูกนำไปตัดเงินต้นทำให้หมดหนี้เร็วขึ้น ทั้งนี้ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ลูกหนี้กลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นลูกหนี้ประวัติการผ่อนชำระดี มีสถานะลูกหนี้ปกติ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ธนาคารได้ปรับลดดอกเบี้ยของแต่ละโครงการลง 0.5%, 0.75% และ 1% ต่อปีตามเงื่อนไข โดยคาดว่าจะมีลูกหนี้ได้รับประโยชน์จากการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ จำนวนกว่า 230,000 ราย และลดดอกเบี้ยรวมปีละ 1,600 ล้านบาท
อนึ่ง ธนาคารออมสิน เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาหนี้ครูผ่านโครงการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2542 อาทิ โครงการจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้แบบเบ็ดเสร็จ โดยการรวมหนี้ข้าราชการครูทั้งหมดมาอยู่ที่ธนาคารออมสินเพียงแห่งเดียว ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อบุคคลทั่วไปตามนโยบายรัฐ และไม่ได้มีการให้สินเชื่อสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพิ่มอีกตั้งแต่ปี 2558 แต่เน้นดำเนินการแก้ไขหนี้อย่างยั่งยืนแก่ลูกหนี้ อาทิ มาตรการ 4 ไม่ (ไม่ฟ้องแพ่ง ไม่บังคับ ไม่ยึดทรัพย์ ไม่ขายทอดตลาด) และการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการครูเพื่อนำเงินไปรีไฟแนนซ์สินเชื่อครูที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงจากสถาบันการเงินอื่น เป็นต้น