บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน “Sustrends 2025” ณ พิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ ด้วยการส่ง e-PromptMove (อี-พรอมต์มูฟ) โซลูชันผลิตและกักเก็บไฟฟ้าพลังงานสะอาดแบบเคลื่อนที่ เพื่อจ่ายไฟฟ้าที่ใช้ในงาน (ประมาณ 78 กิโลวัตต์ชั่วโมง) และรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi ในการอำนวยความสะดวกผู้เข้าร่วมงานจากรถไฟฟ้า MRT สถานี ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทั้งนี้ เพื่อสร้างประสบการณ์การจัดงานสัมมนาด้วยการใช้พลังงานสะอาด
นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เผยว่า “บ้านปูยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมลดการปล่อยคาร์บอนในงาน Sustrends 2025 ซึ่งนับเป็นปีที่สองที่เราได้นำเทคโนโลยีพลังงานมาสนับสนุนการจัดงาน Sustrends บ้านปูเชื่อว่าการส่งเสริมสังคมคาร์บอนต่ำต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย สำหรับบ้านปู เราให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) ในธุรกิจของเรา เช่น การเพิ่มพอร์ตธุรกิจพลังงานหมุนเวียน แบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน (Battery & Energy Storage System Solutions: BESS) ระบบจัดการการเดินทางและขนส่งด้วยยานพาหนะไฟฟ้า การจัดการพลังงานในอาคารและเมืองอย่างเหมาะสม เป็นต้น”
นอกจากการสนับสนุนโซลูชันพลังงาน e-PromptMove และตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi แล้ว บ้านปูยังได้นำเสนอนิทรรศการแสดงข้อมูลและเรื่องราวความยั่งยืน หรือ ESG ของบ้านปู รวมถึงได้นำผู้ประกอบการเพื่อสังคมในโครงการ “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม (Banpu Champions for Change: BC4C) มาร่วมแบ่งปันแนวคิดการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม ประกอบด้วย insKru (อินสครู) แพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมให้ครูส่งต่อแรงบันดาลใจและไอเดียดีๆ ให้กับเพื่อนครูทั่วประเทศ และ Saen-D (แสนดี) แอปพลิเคชัน AI ผู้ช่วยส่วนตัวเพื่อคนวัยทำงาน
งาน Sustrends 2025 ได้รวบรวม 45 เทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนโลก จาก 15 วงการ จัดโดย The Cloud และได้รับการสนับสนุนจากบ้านปูและอีกประมาณ 20 หน่วยงานด้านความยั่งยืน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ที่มาร่วมผลักดันการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในประเทศไทย
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ได้ลงนามสัญญาเงินกู้ มูลค่า 2.4 พันล้านบาท กับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ซึ่งรวมถึงเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน จำนวน 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐ จากกองทุนเพื่อเทคโนโลยีสะอาด (ADB-Administered Clean Technology) เพื่อเป็นทุนสนับสนุนธุรกิจบริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 6 ที่นั่ง จำนวน 1,500 คัน และการสนับสนุนธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานีชาร์จแบตเตอรี่สำหรับการคมนาคมขนส่งขนาดเล็กในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ รวมถึงการขยายฐานการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาด 1.3 กิกะวัตต์ชั่วโมง ในมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเงินทุนนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานของบ้านปู และสนับสนุนการเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจพลังงานที่สะอาดและฉลาดขึ้น (Greener & Smarter)
นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บ้านปูอยู่ในช่วงของการขยายพอร์ตฟอลิโอธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นรวมถึงธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน ผ่านบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด เพื่อรองรับเทรนด์พลังงานโลก เราขอขอบคุณ ADB ที่สนับสนุนความมุ่งมั่นของเรา ทั้งสององค์กรมีปณิธานตรงกันในการสร้างพลังงานที่ยั่งยืน ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ความพยายามของเราสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนไปพร้อมกัน”
“ADB ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงพลังงานที่มีเสถียรภาพ ราคาสมเหตุสมผล และมีปริมาณคาร์บอนต่ำ ทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งตรงกับกลยุทธ์ Greener & Smarter ของบ้านปู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาธุรกิจอีโมบิลิตี้ และธุรกิจแบตเตอรี่ เราหวังว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในภาคการขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะเป็นปัจจัยการ
เปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” นางซูซานน์ กาบูรี่ ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบัติการภาคเอกชน ธนาคารพัฒนาเอเชีย กล่าว
ปัจจุบัน ธุรกิจอีโมบิลิตี้ ของบ้านปู เน็กซ์ ให้บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าผ่านมูฟมี (MuvMi) ในลักษณะ Ride Sharing ครอบคลุม 12 พื้นที่ในเขตใจกลางกรุงเทพฯ และมีจุดให้บริการกว่า 3,000 จุด สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน บริษัทฯ มีธุรกิจที่ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงบริการโซลูชันด้านแบตเตอรี่ที่เต็มศักยภาพแบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิต จัดจำหน่ายแบตเตอรี่ การนำแบตเตอรี่มาใช้ซ้ำและการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่สำรองไฟ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
โครงการบ่มเพาะกิจการเพื่อสังคมที่อยู่กับสังคมไทยมานานกว่า 12 ปี อย่างโครงการ Banpu Champions For Change (BC4C) โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ และสถาบัน ChangeFusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่บุกเบิกและบ่มเพาะเหล่ากิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ไปกว่า 119 กิจการ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนเบื้องหลังที่มีส่วนสำคัญในการร่วมผลักดันกิจการเพื่อสังคมเหล่านั้นก็คือ “คณะกรรมการ”
คณะกรรมการในโครงการ BC4C ไม่ใช่แค่ผู้คัดเลือกเท่านั้น แต่หลายครั้งที่บรรดากิจการเพื่อสังคมได้เจอจุดเปลี่ยนในการทำธุรกิจ หรือได้ไอเดียต่อยอดในการทำธุรกิจมาจากคำถามหรือข้อแนะนำจากเหล่าคณะกรรมการ โครงการ BC4C จึงสรรหาคณะกรรมการผู้คร่ำหวอดในแวดวงกิจการเพื่อสังคม ที่จะสามารถให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจได้อย่างรอบด้าน มองขาดทั้งปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบที่มีต่อธุรกิจ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และจุดประกายไอเดียเพื่อเร่งเครื่องธุรกิจ SE ให้ไปได้ไกลและเร็วกว่าเดิม
· ไม่ใช่แค่ Passion แต่ต้องอินไซต์ปัญหา-เข้าถึงชุมชนให้เป็นด้วย
คุณสินี จักรธรานนท์ ประธานมูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีสาขาใน 38 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 30 ปีที่อโชก้า คุณสินีจึงมีความเข้าใจปัญหาสังคมที่ลึกซึ้ง มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำงานใกล้ชิดกับชุมชน มีความเข้าใจปัญหาในพื้นที่ต่างๆ
“ที่ผ่านมาเราเห็นผู้ประกอบการบางกลุ่มมี Passion ในการทำงานอย่างแรงกล้า แต่ยังไปไม่ถึงความสำเร็จ ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ดี แต่อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งที่เป็นชิ้นส่วนที่ขาดหายไปคือ ‘การเข้าถึงชุมชนหรือกลุ่มคนเหล่านั้น’ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกต่างๆ และหยิบนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอดและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เรามีความถนัด ซึ่งการคัดเลือกทีม SE ที่จะผ่านเข้ารอบในครั้งนี้ ก็จะนำมิติด้านการทำงานกับชุมชนเพื่อให้เข้าใจปัญหาสังคมอย่างถ่องแท้เข้ามามีส่วนในการประเมินด้วย”
· “สร้างคุณค่าทางธุรกิจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าทางสังคม”
คุณภาวินท์ สุทธพงษ์ CEO บริษัท SpotON International Group - กูรูผู้คลุกคลีวงการบ่มเพาะและการวางแผนธุรกิจกว่า 15 ปี มีส่วนช่วยสร้างสตาร์ทอัพมากว่า 400 ธุรกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับรางวัล การแข่งขันสตาร์ทอัพระดับโลก ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การทำงานที่ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการ
คนรุ่นใหม่ทำให้คุณภาวินท์ทราบถึงปัญหาและกลยุทธ์ในการเอาชนะอุปสรรคในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เดินต่อไปได้ คุณภาวินท์จึงเป็นทั้ง ‘กรรมการและเมนเทอร์’ ในโครงการ BC4C มาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 รุ่น
“ผมได้เห็นคนรุ่นใหม่หรือผู้ประกอบการมีการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสังคมมาโดยตลอด แต่บางคนอาจโฟกัสเรื่องการเติบโตมากไปจนอาจลืมมองกลับมาว่าธุรกิจที่เราทำนั้นสามารถสร้างคุณค่าแก่สังคมได้ อยากให้มองภาพการทำธุรกิจอย่างรอบด้านให้กว้างมากขึ้นและเปิดใจกับการก้าวเข้ามาเป็นกิจการเพื่อสังคม ส่วนคนที่เข้าใจเรื่องกิจการเพื่อสังคมอยู่แล้วนั้น สิ่งที่ควรตระหนักคือ การสร้างคุณค่าและการเติบโตของธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งหากธุรกิจเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน นั่นหมายความว่าเราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมหรือส่งมอบสิ่งที่ดีให้สังคมได้ดียิ่งขึ้นได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน”
· “ยึด 3 หลัก: Insight - Solution - Sustaining Model” หนุนธุรกิจ
คุณอธิชา ชูสุทธิ์ นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) – ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลอินโนเวชัน เบื้องหลังผู้วางแผนการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลของ NIA
“เราเน้นย้ำถึง ‘3 องค์ประกอบหลัก’ ที่ทำให้ผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือ ‘Insight’ ความเข้าใจและองค์ความรู้ที่มีต่อประเด็นปัญหาที่ตนสนใจ ‘Solution’ การพัฒนาและคัดเลือกโซลูชันที่นำไปสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ประเด็นปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างเป็นรูปธรรม และ ‘Sustaining Model’ การพัฒนาแนวทางการขยายผลที่จะทำให้ธุรกิจของตนสามารถเติบโตต่อได้และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ก็จะถูกนำมาใช้ทั้งในการคัดเลือกและเป็นหลักแนะนำให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ BC4C ตามบริบทที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละกิจการ”
· “วิเคราะห์บริบทของปัญหาที่รอบด้าน ‘กว้าง-ชัด-ลึก”
คุณภัฏ เตชะเทวัญ ผู้ก่อตั้ง TP Packaging Solution - อดีตผู้ชนะเลิศจากใน BC4C รุ่นที่ 6 ผู้ซึ่งเคยได้รับการบ่มเพาะจนในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง เป็นหนึ่งในผู้นำด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมแถวหน้าของเมืองไทย ได้นำประสบการณ์จริงของตัวเองมาช่วยสรรหา SE ในโครงการ BC4C
“ผมเห็นว่าสิ่งที่ช่วยให้ SE ประสบความสำเร็จมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การมี ‘มุมมองที่กว้าง (Big Wide) ชัด และลึก’ กล่าวคือมีพื้นฐานของการมองเห็นปัญหาลึกซึ้ง เข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา มี Passion ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามแนวทางของตนเอง และ ‘มีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ที่สูงในทุกบริบทของปัญหา’ คือสามารถรู้เหตุของปัญหา รู้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ และสามารถเสนอแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน ตลอดจนรู้ถึงผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบอย่างรอบด้าน อย่างเช่นโมเดลธุรกิจของผมสมัยที่เข้าประกวด BC4C นั้น ได้หยิบยกปัญหา ‘โฟม’ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนมาเป็นตัวตั้งต้น เนื่องจากหลายภาคส่วนเน้นการรณรงค์เลิกใช้โฟมในภาคประชาชน แต่มันไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้คนเลิกใช้โฟมได้เพราะพวกเขาไม่มีสิ่งทดแทน เราจึงสร้างทางเลือกใหม่ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อทดแทนโฟม เป็นต้น”
คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส - สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “BC4C ในปีที่12 มาพร้อมกับแนวคิด “Champions of the Future Drive: แชมป์ผู้ขับเคลื่อนอนาคต” เราให้ความสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ เขาคืออนาคตของชาติ เขาคือคนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมท่ามกลางโลกที่มีพลวัตและความไม่แน่นอน ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่มีส่วนร่วม ในการพัฒนาศักยภาพ SE ในประเทศไทย เรามีความมั่นใจในกระบวนการคัดเลือก และองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งกรรมการและเมนเทอร์ว่าจะสามารถนำพาผู้ประกอบการ SE ให้เพิ่มศักยภาพตัวเองเพื่อไปต่อยอดกิจการให้สามารถช่วยเหลือคุณภาพชีวิตผู้คนได้ต่อๆ ไป”
ด้าน คุณสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion กล่าวเสริมว่า “โครงการ BC4C ได้บ่มเพาะและผลักดันผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 แล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้เห็นพัฒนาการของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยที่มีหลากหลายครอบคลุมหลายมิติทางสังคมและมีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในฐานะผู้ร่วมดำเนินโครงการและในฐานะกรรมการที่ได้ร่วมคัดสรร SE รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพเข้ามาร่วมบ่มเพาะ ติดอาวุธทางความคิดอย่างรอบด้านไปกับโครงการฯ เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน และเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผนึกกำลังสร้างเครือข่าย SE ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไปอีกด้วย”
สำหรับผู้ประกอบการ SE หรือผู้สนใจในกิจการเพื่อสังคม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Banpu Champions for Change ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/banpuchampions หรือติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 087-075-4815
บ้านปู เน็กซ์ ร่วมผลักดันแผนความร่วมมือระหว่าง “บียอนด์ กรีน” ผู้นำธุรกิจรถไฟฟ้าเอนกประสงค์ครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย และ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ในโครงการผลิตและประยุกต์ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนและโซเดียมไอออนสำหรับรถกอล์ฟไฟฟ้า เดินหน้านำแบตฯ ลิเธียมไอออนไปใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าของ บียอนด์ กรีน ประมาณ 2,000 ชุดต่อปี และสนับสนุนการพัฒนาแบตฯ โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในภาคอีสานของไทย ตั้งเป้าขยายแบตเตอรี่ไทยไปสู่ตลาดโลก
บ้านปู เน็กซ์ ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทลูกของบ้านปู และบียอนด์ กรีน เครือข่ายพันธมิตรที่บ้านปู เน็กซ์เข้าไปร่วมลงทุน ต่างมีความมุ่งมั่นและเป้าหมายเดียวกันคือ ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยและทั่วเอเชียแปซิฟิก ดังนั้น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) ระหว่างบียอนด์ กรีนและ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในโครงการผลิตและประยุกต์ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนและโซเดียมไอออนสำหรับรถกอล์ฟไฟฟ้า จะเป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงช่วยรองรับดีมานต์การใช้แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย Meticulous Research คาดการณ์ว่าตลาดแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีอัตราการเติบโต (CAGR) อยู่ที่ 23.3% ในช่วงปี 2565-2572* นอกจากนี้ การผนึกกำลังของทั้ง 2 องค์กร ยังช่วยต่อยอดความแข็งแกร่งให้ธุรกิจแบตเตอรี่ของบ้านปู เน็กซ์ ให้สามารถนำเสนอโซลูชันที่หลากหลายและครบวงจรยิ่งขึ้นให้กับกลุ่มลูกค้า
บียอนด์ กรีน เป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเอนกประสงค์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ปัจจุบันมีรถกอล์ฟไฟฟ้าในตลาดประมาณ 20,000 คัน ซึ่งเป็นของบียอนด์ กรีน 5,000 คัน โดยในแต่ละปีบริษัทจะมีความต้องการใช้แบตเตอรี่สูงถึง 2,000 ชุด จึงมองหาพาร์ทเนอร์ที่เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าของบริษัท ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ที่สามารถผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูง ปลอดภัย และได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รวมถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังได้คิดค้นและพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในอาเซียน ซึ่งบียอนด์ กรีนเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสในการใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศ จึงเกิดเป็นความร่วมมือครั้งนี้ โดยมุ่งเน้น 2 เรื่อง คือ 1. นำแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูง แบรนด์ kkUVolts ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปทดลองใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าของบียอนด์ กรีนในประเทศไทย จำนวน 2,000 ชุด 2. สนับสนุนการพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออน พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าในเครือข่ายธุรกิจของบียอนด์ กรีนในอนาคต
การร่วมผลักดันความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จและมีส่วนช่วยเสริมให้บ้านปู เน็กซ์ มีพันธมิตรที่เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของตลาดแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิก สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของทีมนักวิจัยไทยที่สามารถพัฒนานวัตกรรมแบตเตอรี่พลังงานยุคใหม่ที่มีคุณภาพระดับสากล ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการผลิตแบตเตอรี่จากพลังงานทางเลือกของโลกในอนาคต ขณะเดียวกันยังช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งในอนาคต บียอนด์ กรีนจะเดินหน้าขยายความร่วมมือนำแบตเตอรี่ทั้ง 2 ชนิดไปใช้กับรถกอล์ฟไฟฟ้าในเครือข่ายธุรกิจ รวมถึงต่อยอดไปใช้กับรถไฟฟ้าเอนกประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย
*ข้อมูลจาก Asia-Pacific EV Battery Market
ขับเคี่ยวกันมาอย่างเข้มข้นตลอดทุกรอบการแข่งขันสำหรับกิจกรรม “Energy on Board” การประกวดออกแบบบอร์ดเกมในหัวข้อ Energy Sustainability