December 23, 2024

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน “Sustrends 2025” ณ พิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ ด้วยการส่ง e-PromptMove (อี-พรอมต์มูฟ) โซลูชันผลิตและกักเก็บไฟฟ้าพลังงานสะอาดแบบเคลื่อนที่ เพื่อจ่ายไฟฟ้าที่ใช้ในงาน (ประมาณ 78 กิโลวัตต์ชั่วโมง) และรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi ในการอำนวยความสะดวกผู้เข้าร่วมงานจากรถไฟฟ้า MRT สถานี ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทั้งนี้ เพื่อสร้างประสบการณ์การจัดงานสัมมนาด้วยการใช้พลังงานสะอาด

 

นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เผยว่า “บ้านปูยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมลดการปล่อยคาร์บอนในงาน Sustrends 2025 ซึ่งนับเป็นปีที่สองที่เราได้นำเทคโนโลยีพลังงานมาสนับสนุนการจัดงาน Sustrends บ้านปูเชื่อว่าการส่งเสริมสังคมคาร์บอนต่ำต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย สำหรับบ้านปู เราให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) ในธุรกิจของเรา เช่น การเพิ่มพอร์ตธุรกิจพลังงานหมุนเวียน แบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน (Battery & Energy Storage System Solutions: BESS) ระบบจัดการการเดินทางและขนส่งด้วยยานพาหนะไฟฟ้า การจัดการพลังงานในอาคารและเมืองอย่างเหมาะสม เป็นต้น”

นอกจากการสนับสนุนโซลูชันพลังงาน e-PromptMove และตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi แล้ว บ้านปูยังได้นำเสนอนิทรรศการแสดงข้อมูลและเรื่องราวความยั่งยืน หรือ ESG ของบ้านปู รวมถึงได้นำผู้ประกอบการเพื่อสังคมในโครงการ “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม (Banpu Champions for Change: BC4C) มาร่วมแบ่งปันแนวคิดการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม ประกอบด้วย insKru (อินสครู) แพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมให้ครูส่งต่อแรงบันดาลใจและไอเดียดีๆ ให้กับเพื่อนครูทั่วประเทศ และ Saen-D (แสนดี) แอปพลิเคชัน AI ผู้ช่วยส่วนตัวเพื่อคนวัยทำงาน

งาน Sustrends 2025 ได้รวบรวม 45 เทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนโลก จาก 15 วงการ จัดโดย The Cloud และได้รับการสนับสนุนจากบ้านปูและอีกประมาณ 20 หน่วยงานด้านความยั่งยืน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ที่มาร่วมผลักดันการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในประเทศไทย

มนุษย์เราอยู่รอดได้ด้วย 3 สิ่ง คือ อาหาร น้ำ และพลังงาน

ที่เหลือมนุษย์ล้วนผลิตขึ้นมาได้  ยิ่งพลังงานด้วยแล้ว ถ้ามีมากและใช้ให้เป็น ก็จะนำมาช่วยผลิตอาหารและน้ำได้จนเพียงพอแก่การบริโภค

 

ประเทศไทยเราโชคดีที่มีอาหารและน้ำเหลือเฟือ แต่พลังงานนั้นเป็นปัญหามาโดยตลอด 

เพราะเราต้องนำเข้าพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าส  และราคาของเหล่านี้ มักขึ้นต่อ Geopolitics หรือการเมืองของโลก  รัสเซียบุกยูเครน ราษฏรของเราก็ต้องซื้อข้าวแพงขึ้น

OPEC ลดการผลิต เราก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และปีหน้าก็ต้องเติมน้ำมันแพงขึ้นอีก

นี่ยังไม่รู้ว่าฮามาสรบกับอิสราเอล จะส่งผลระยะยาวอย่างไรต่อราคาพลังงาน

แต่เชื่อเถอะ ไม่ดีต่อเราแน่ๆ !

คงไม่เฉพาะแต่เรา ประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ผลิตพลังงานเองไม่ได้ หรือได้ไม่พอใช้ ย่อมต้องเจอผลกระทบทางลบทั้งสิ้น

แล้วทำไมเรายังต้องแขวนชะตากรรมของเรากับ Geopolitics แบบนี้ ซึ่งวุ่นวายอยู่ได้ด้วยน้ำมือผู้นำเพียงไม่กี่กลุ่ม และอดีตก็พิสูจน์มาแล้วว่า แหล่งพลังงานมักเป็นเป้าหมายของการรบพุ่งกัน และมันก็คงจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันไปไม่สิ้นสุดในอนาคต

แต่ละครั้ง พวกเราก็ต้องพลอยลำบากไปด้วย เหมือนถูกเขาจับเป็นตัวประกัน ทั้งๆ ที่หาได้เกี่ยวข้องได้เสียอันใดไม่

เราต้องปลดแอก! 

เราต้องวางแผนให้การผลิตพลังงานของเราในอนาคต มีลักษณะไม่รวมศูนย์ หรือ Decentralize ตีตัวออกห่างจากการเมืองในลักษณะ Geopolitics ของโลก ซึ่งในอนาคตจะเข้มข้นขึ้นเมื่อจีนเข้ามาเป็นผู้เล่นเต็มตัว

 ทางเดียวที่จะทำได้คือต้องหันไปหาพลังงานนิวเคลียร์ เพราะมันสะอาด สอดคล้องกับการแก้ปัญหาโลกร้อน อีกทั้งยังผลิตได้ทีละมากๆ และเริ่มจะถูกลงและปลอดภัยขึ้นแล้วด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

พลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นอุดมคติคือ Nuclear Fusion ซึ่งขณะนี้มนุษย์สามารถพัฒนา Reactor ขึ้นมาได้แล้วในระดับห้องทดลองแต่ในระดับ Commercial นั้นยังต้องรอต่อไป

Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้

 นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย

สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน

 

ส่วนพัฒนาการของ Nuclear Fission Reactor นั้น เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor ก็ได้เพิ่มระบบความปลอดภัยที่สูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง  ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ และผลิตได้ทีละมากๆ ขนย้ายไปติดตั้งได้ง่าย ซึ่งผู้พัฒนา (NuScale) ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว


การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..

เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-off

 สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบอยู่ในตัวว่าไทยเรายังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล และทุกข์ของเราจะไม่หมดไป ถ้ายังไม่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

09/10/2566

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำ ระดับเทียร์ 4 เร่งนำพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์มาใช้ สืบสานความมุ่งมั่นสู่การเป็นศูนย์ข้อมูลที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศ พร้อมมอบบริการสำหรับองค์กร และ ผู้ให้บริการระดับไฮเปอร์สเกลต่างๆ รวมถึงภาครัฐ ที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานระบบดิจิทัลที่ดีขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ได้จัดพิธีเปิดตัวแผงพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อขับเคลื่อนศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย พร้อมตอกย้ำตำแหน่งผู้ให้บริการโคโลเคชั่นที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศ ด้วยการเติบโตของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และการตอบสนองเป้าหมายสีเขียวในการปกป้องสิ่งแวดล้อมทั่วโลก รวมถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้พลังงานหมุนเวียนกลายเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนสำหรับศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัย

นายแยป จิน ยี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท กล่าวว่า “ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคเอเชียมาโดยตลอด ซึ่งการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ภายในศูนย์ข้อมูล และการเป็นศูนย์ข้อมูลที่ยั่งยืนที่สุด นับเป็นก้าวสำคัญในการตอกย้ำจุดยืนของเราในฐานะผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในประเทศไทย”

เนื่องจากศูนย์ข้อมูลต้องใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก อีกทั้งไฟฟ้ายังเป็นต้นทุนหลักในการดำเนินงาน ทำให้การเพิ่มพลังงานหมุนเวียนให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ คือกุญแจสำคัญด้านความยั่งยืนของศูนย์ข้อมูล

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย อดีตปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวแสดงความยินดี “ศูนย์ข้อมูลถือเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจ เป็นแกนหลักด้านดิจิทัลของธุรกิจและรัฐบาล ที่รองรับข้อมูลทั่วโลกและทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ และนี่คือเรื่องราวความสำเร็จอีกครั้งของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ที่ปูทางประเทศไทยสู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมระดับโลก ที่เปลี่ยนจากเศรษฐกิจดิจิทัลไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว”

บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (WHAUP) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) เพื่อจัดหาพลังงานสีเขียวให้กับศูนย์ข้อมูล ด้วยบริการครบวงจรจาก WHAUP ที่ให้ความมั่นใจสูงสุด เพื่อตอบสนองเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจของบริษัท โครงการโซล่าฟาร์ม สร้างขึ้นติดกับพื้นที่ศูนย์ข้อมูลของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นอกเขตน้ำท่วมกรุงเทพฯ และใกล้กับสถานีเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างประเทศที่มีการเชื่อมโยงทั่วประเทศไทย

“ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) มอบความสามารถในการให้บริการที่สูงกว่าศูนย์ข้อมูลใดๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การมีซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) เป็นลูกค้าพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยตอกย้ำความเชี่ยวชาญและชื่อเสียงของ WHAUP ในฐานะหนึ่งในผู้ให้บริการชั้นนำด้านระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย” นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าว

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) มีสิทธิบัตรมากกว่า 350 ฉบับ รวมถึงเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่น สถานีสิ่งแวดล้อม และซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องควบคุมอากาศที่ได้รับการจดสิทธิบัตร รับประกันการลดการใช้พลังงานในเชิงกลยุทธ์ ทำให้ศูนย์ข้อมูลของ ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) มีค่า PUE ที่ดีที่สุดในประเทศ ซึ่งระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE) คือตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักที่สำคัญที่สุด เพื่อแสดงว่าศูนย์ข้อมูลใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด

ยิ่งไปกว่านั้น ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ยังใช้น้ำน้อยกว่า 0.05 ลิตร/กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งน้อยกว่าหนึ่งถ้วยสำหรับทุกๆ กิโลวัตต์-ชั่วโมงที่ส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ ตามรายงานของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (WUE) ของศูนย์ข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 1.8 ลิตรต่อ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง

ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) ให้บริการโคโลเคชั่นและระบบคลาวด์ ตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความเป็นผู้นำและให้ความได้เปรียบในการแข่งขัน

X

Right Click

No right click