February 22, 2025

True CyberSafe เซฟลูกค้าทรู ดีแทค จาก SMS และเว็บไซต์อันตรายทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย

 “ธนาคารออมสิน” และ “เอ้ก ดิจิทัล” ผู้นำธุรกิจด้านวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการตลาดดิจิทัล โชว์ความสำเร็จการยกระดับเตือนภัยมิจฉาชีพทางการเงินให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ผ่านแคมเปญ "จับไต๋ภัยมิจฯ" ใช้พลังดาต้าและเทคโนโนโลยี AI จับอินไซต์ผู้บริโภคแต่ละเจเนอเรชัน วิเคราะห์กลลวงและช่องทางที่มิจฉาชีพหรือมิจจี้ยุคดิจิทัลนิยมใช้ พร้อมนำไปประมวลผลและสร้างสรรค์เป็นหนังสั้นออนไลน์ชุด #จับไต๋ภัยมิจฯ ที่รวมเล่ห์เหลี่ยมและวิธีป้องกันมิจจี้ในรูปแบบที่สนุกสนาน เข้าใจง่าย และจดจำได้เร็ว รวม 20 เวอร์ชัน โดยเผยแพร่ผ่านช่องทาง TikTok GSB Society เพื่อกระตุ้นประชาชนให้ตื่นตัว รู้เท่าทันทุกกลโกง และป้องกันตัวเองด้วยเทคนิคง่ายๆ ไม่คุย ไม่คอล ไม่กด ไม่ส่ง ไม่โอน! รวมตลอดทั้งแคมเปญมียอดชมหนังสั้นรวมกว่า 27 ล้านวิว

ธนาคารออมสิน เล็งเห็งความสำคัญของภัยมิจฉาชีพทางการเงินที่ยังคงระบาดและลุกลามอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาทางธนาคารได้เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยมิจฉาชีพทางการเงิน GSB Contact Center 1115 กด 6 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือแจ้งเหตุภัยมิจฉาชีพผ่านช่องทาง LINE: GSB NOW ซึ่งจากรายงานของศูนย์รับแจ้งเหตุภัยมิจฉาชีพทางการเงินของออมสิน พบว่าตั้งแต่ต้นปี 2566 นับจนถึงเดือนกรกฎาคม 2567 มีผู้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพและโทรแจ้งเหตุกับศูนย์ฯ สูงถึงกว่า 56,000 เคส โดยถูกหลอกลวงด้วยกลโกงหลากหลายรูปแบบและหลากหลายช่องทาง ทำให้กลุ่มลูกค้าของธนาคารสูญเสียเงินจำนวนมากและยังตกอยู่ในสภาวะเครียดทางจิตใจ ธนาคารออมสินจึงต้องการเดินหน้าส่งเสริมความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนไทยทุกคนผ่านแคมแปญ ‘จับไต๋ภัยมิจฯ’ จัดทำคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอสั้นและภาพเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ช่วยชี้ให้เห็นตัวอย่างกลโกงของมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่ เช่น หลอกให้กลัว, หลอกให้ถ่ายรูป หรือถ่ายวิดีโอใบหน้า, หลอกให้บอกรหัส PIN หรือ OTP, หลอกส่ง SMS, หลอกให้กดลิงก์ เป็นต้น พร้อมแนะนำวิธีป้องกัน หรือระมัดระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเมื่อต้องเผชิญกับมิจฉาชีพในสถานการณ์เหล่านั้น

 

โดยธนาคารออมสินได้ร่วมมือกับเอ้ก ดิจิทัล ยกระดับประสิทธิภาพในการสื่อสารของแคมเปญ โดยเอ้ก ดิจิทัลรับหน้าที่ในการนำความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า พลัง AI และ MarTech Solution มาสนับสนุนแคมเปญในทุกมิติ ทั้งการวางแผนและสร้างสรรค์หนังสั้นในรูปแบบ Edutainment ที่น่าสนใจและตรงใจกลุ่มเป้าหมาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ประชาชนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มที่มีรายได้น้อย ซึ่งมักตกเป็นเหยื่อได้ง่าย และกลุ่มเป้าหมายรองที่เป็นกลุ่มเยาวชนและคนทำงาน จำนวน 20 เวอร์ชัน วางกลยุทธ์การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพตลอดแคมเปญ ซึ่งธนาคารออมสินหวังว่าแคมเปญนี้จะเป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยลดปัญหามิจฉาชีพทางการเงิน พร้อมช่วยให้คนไทยรู้ทันทุกกลโกง ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพทุกรูปแบบ โดยตลอดระยะเวลาการจัดแคมเปญตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม – 31 ธันวาคม มียอดชมหนังสั้นทุกเวอร์ชันรวมกว่า 37 ล้านวิว เกินเป้าหมายไปกว่า 3,000% และสามารถเข้าถึงคนไทยได้มากกว่า 34 ล้านคน (Reach) เกินเป้าหมายไปกว่า 2,000% นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มจำนวนผู้ติดตามถึง109,000 Followers สูงกว่าเป้าหมายถึง 100%

นางสาวรัฐธีร์ เจริญรัตน์วรกุล ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ MarTech Solution บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันมิจฉาชีพพัฒนารูปแบบการหลอกลวงอยู่ตลอดเวลาและเข้าหาเป้าหมายจากหลายช่องทาง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการหลอกลวงไม่ได้เจาะเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ขยายวงกว้างสู่กลุ่มคนทุกเพศทุกวัย นี่ถือเป็นความท้าทายในการร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งเอ้ก ดิจิทัลรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้ เราได้นำ First-Party Data ของธนาคารออมสินและ TikTok มาจัดระเบียบข้อมูลและกำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามพฤติกรรม (Behavioral Segmentation) จากนั้นใช้ศักยภาพ AI ในการหาอินไซต์เชิงลึกเกี่ยวกับประเภทของมิจฉาชีพที่เกิดขึ้นบ่อย, กลุ่มคนที่ตกเป็นเหยื่อ, ช่องทางที่มิจฉาชีพใช้ และเทรนด์คอนเทนต์ที่ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มสนใจ พร้อมนำผลลัพธ์ไป Customize สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม

นอกจากนี้ยังใช้ MarTech Solution ในการวางแผนการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ซึ่งถือเป็นชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่ที่เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มแมส โดยบริษัทฯ ผสานความร่วมมือกับ TikTok Creator ที่มีฐานแฟนคลับตรงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างหนังสั้นที่ตรงใจแต่ละกลุ่ม โดยเรื่องราวของหนังแต่ละเวอร์ชันจะสอดแทรกความรู้ในรูปแบบที่สนุกสนาน กระชับ ใช้ภาษาที่คนทุกเพศทุกวัยเข้าใจและจดจำได้ง่าย อีกทั้งยังใช้ AI ช่วยวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การสื่อสาร กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและกำหนดเวลาที่เหมาะสมในเผยแพร่ ตลอดจนติดตามผลการตอบรับของผู้ชมอย่างต่อเนื่องผ่านเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงคอนเทนต์ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นตามการตอบรับของผู้ชม โดยแคมเปญนี้ตั้งเป้าหมายมียอดการชมหนังสั้นไม่ต่ำกว่า 3 ล้านวิว ซึ่งบริษัทฯ สามารถผลักดันยอดวิวให้บรรลุเป้าหมายได้ตั้งแต่เปิดตัวหนังสั้นได้เพียงหนึ่งเดือน”

ธนาคารออมสินและเอ้ก ดิจิทัล อยากให้ทุกคนตั้งสติ หยุดคิด และนำข้อปฎิบัติดี ๆ จากแคมเปญนี้ไปป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพทางการเงิน หากพบเจอสถานการณ์น่าสงสัย อย่าลืม! ไม่คุย ไม่คอล ไม่กด ไม่ส่ง ไม่โอน

ในยุคที่ธุรกรรมออนไลน์และการใช้บัตรเครดิตเป็นเรื่องปกติ มิจฉาชีพก็พัฒนากลโกงหลากหลายรูปแบบเพื่อหลอกลวงผู้ใช้บัตรเครดิต การป้องกันตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ! ทรู ร่วมกับ ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) แนะ 10 วิธี ใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย ป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ

 1️. ปรับวงเงินบัตรเครดิตให้เหมาะสม

ตั้งวงเงินการใช้จ่ายตามความจำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงหากบัตรถูกขโมยหรือถูกแฮกโดยมิจฉาชีพ

2. เก็บบัตรเครดิตไว้กับตัว อย่าให้คลาดสายตา

ระวังการให้พนักงานร้านค้า หรือบุคคลอื่นถือบัตรของคุณเป็นเวลานาน เพราะอาจมีการลักลอบถ่ายข้อมูลบัตรโดยที่ไม่รู้ตัว ทุกครั้งที่ส่งให้ใช้งาน ต้องอยู่ในสายตาเสมอ ตัวอย่างเช่น การรูดบัตรในปั้มน้ำมัน

3. ไม่เปิดเผยข้อมูลบัตรเครดิตกับผู้อื่น

เลขบัตรเครดิต วันหมดอายุ และรหัส CVV (เลข 3 ตัวท้าย) เป็นข้อมูลสำคัญที่ไม่ควรบอกใคร แม้แต่เจ้าหน้าที่ธนาคาร ก็จะไม่รู้ข้อมูลทั้งหมดนี้ และเจ้าหน้าที่ตัวจริง ก็จะต้องไม่ขอข้อมูลนี้ผ่านทางโทรศัพท์หรืออีเมล

4. ปิดเลข CVV ด้านหลังบัตร

ใช้เทปกาวสีทึบ หรือเมจิกสีเข้มเขียนทับเลข CVV เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกลักลอบนำไปใช้

5. ใช้บัตรเครดิตกับร้านค้าที่น่าเชื่อถือเท่านั้น

เลือกซื้อสินค้ากับร้านค้าที่มีระบบความปลอดภัยที่ดี และหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ดูไม่น่าไว้ใจ หรือหากเป็นลูกค้าทรู ดีแทค เมื่อมีการเข้าเว็บไซต์ที่ผิดปกติ และระบบ True CyberSafe มีการแจ้งเตือนให้ระวัง ควรต้องหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บนั้น เพื่อลดโอกาสถูกโจรกรรมข้อมูล

6. เปิดระบบแจ้งเตือนธุรกรรมทาง SMS และแอปพลิเคชันธนาคาร

สมัครบริการแจ้งเตือนการใช้จ่ายผ่าน SMS และแอปของธนาคาร เพื่อรับรู้ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ หากมีการใช้จ่ายที่ไม่ได้ทำเอง จะสามารถระงับบัตรได้ทันที การแจ้งเตือนผ่านทั้ง 2 ทางจะช่วยให้ไม่พลาดการรับรู้ทุกการใช้จ่าย

7. หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตผ่าน Wi-Fi สาธารณะ

การกรอกข้อมูลบัตรเครดิตผ่านเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะอาจทำให้ข้อมูลของคุณถูกดักจับโดยแฮกเกอร์ ใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยหรือเครือข่ายมือถือของคุณเองแทน

8. ตรวจสอบรายการใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอ

เช็กใบแจ้งยอดบัญชีทุกเดือน และหากพบธุรกรรมที่ไม่คุ้นเคย ให้ติดต่อธนาคารทันทีเพื่อตรวจสอบและดำเนินการแก้ไข

9. ไม่บันทึกข้อมูลบัตรเครดิตในเว็บไซต์หรือแอปที่ไม่น่าเชื่อถือ

แม้ว่าการบันทึกบัตรจะช่วยให้ซื้อของออนไลน์ได้สะดวกขึ้น แต่หากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันไม่ปลอดภัย อาจถูกแฮกและขโมยข้อมูลได้ ถ้าจะให้ปลอดภัยที่สุด ไม่ควรบันทึกบัตรในแอปช้อปปิ้ง ควรต้องยอมเสียเวลากรอกเลขบัตรทุกครั้งที่จะใช้งานผ่านแอป

10. รีบอายัดบัตรทันทีเมื่อพบความผิดปกติ

หากพบว่า บัตรสูญหาย ถูกขโมย หรือมีธุรกรรมที่ไม่ได้ทำเอง ให้ติดต่อธนาคารทันทีเพื่ออายัดบัตรและป้องกันความเสียหาย

"ป้องกันไว้ดีกว่าแก้" การใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวังและตระหนักถึงความปลอดภัยจะช่วยให้คุณใช้จ่ายได้อย่างมั่นใจ ห่างไกลจากมิจฉาชีพ

รายละเอียดเพิ่มเติม “True CyberSafe” ได้ https://www.true.th/services/true-cyber-safe

 

 

กรุงเทพฯ 28 พฤศจิกายน 2567 – ตามที่มีลูกค้าบางท่านได้รับจดหมายใช้ชื่อและโลโก้ทรมูฟ เอช แจ้งว่าลูกค้ามีการกระทำความผิดตามพรบ. คอมพิวเตอร์และหลอกให้ประสานตรงตำรวจ โดยขอให้เพิ่มเพื่อนใน line เพื่อคุยกับตำรวจนั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น ขอแจ้งเตือนลูกค้าที่ได้รับจดหมายดังกล่าวอย่าหลงเชื่อ เนื่องจาก เอกสารจดหมายดังกล่าว เป็นการกระทำของ”มิจฉาชีพ “อ้างชื่อและนำโลโก้ทรูไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมท้้งใช้ชื่อผู้บริหารทรูเป็นผู้ลงนามซึ่งเป็นการแอบอ้างชื่อ โดยที่ไม่เป็นความจริงและไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

ทรู คอร์ปอเรชั่น ขอยืนยันว่าบริษัทฯ ไม่เคยมีการออกจดหมายแจ้งเตือนดังกล่าว และไม่เคยขอให้ลูกค้าติดต่อตรงกับตำรวจในทุกกรณีแต่อย่างใด ขอลูกค้าโปรดเพิ่มความระมัดระวัง หากมีข้อสงสัยกรุณาติดต่อกลับ 1242

กรุงเทพฯ (26 กันยายน 2567) - ทรูมันนี่ และ แอสเซนด์ นาโน เตือนภัยประชาชนให้ระวังมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อบริษัทฯ โลโก้ หรือชื่อสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงให้ประชาชนสมัครบริการสินเชื่อปลอม แนะนำวิธีสังเกตบริการสินเชื่อที่ถูกต้องบนแอปทรูมันนี่ของจริงว่ามีเพียงบริการ Pay Next / Pay Next Extra โดยบริษัท แอสเซนด์ นาโน จำกัด และวงเงินพร้อมใช้สบายเป๋าที่บริษัทฯ ให้บริการร่วมกับพันธมิตร ณ จุดขาย โดยผู้ที่สนใจต้องสมัครและส่งเอกสารผ่านแอปทรูมันนี่ ที่ดาวน์โหลดจาก App Store และ Google Play Store เท่านั้น ทั้งนี้ จุดสังเกตข้อที่สำคัญคือ ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการสมัครทุกกรณี บริษัทฯ มีความห่วงใยและขอแนะนำประชาชนให้ระมัดระวังและตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมทางการเงินทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

 

ทั้งนี้ ทรูมันนี่ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรักษาความปลอดภัยอย่างไม่หยุดยั้ง อาทิ ระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น TrueMoney 3X Protection ที่ ตรวจ-จับ-หยุด ธุรกรรมที่น่าสงสัยแบบเรียลไทม์ ซึ่งทำงานโดยผสานการทำงานของปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีการอ่านชีวมิติ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ใช้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการทำธุรกรรมในระดับสูงสุด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงมีสายด่วน 1240 กด 6 เพื่อรับแจ้งเหตุต้องสงสัยด้านภัยทางการเงิน และแจ้งอายัดบัญชี ตลอด 24 ชั่วโมง

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click