February 23, 2025

เปิดมุมมองการบริหารของหัวเรือใหญ่แห่ง มูลนิธิรามาธิบดี ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับการดำเนินงานเพื่อสานต่อพันธกิจแห่ง ‘การให้’ ที่ทำให้องค์กรมีแผนการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นพร้อมปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในทุกยุคสมัยและเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้เสมอ มุ่งสู่การให้ที่สร้างความยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมก้าวสู่การเป็นแนวหน้าในการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยให้มีความก้าวหน้าทางด้านศักยภาพของการรักษาพยาบาลอย่างยั่งยืน

คุณพรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผู้จัดการมูลนิธิรามาธิบดีฯ กล่าวว่า “มูลนิธิรามาธิบดีฯ ยึดมั่นในพันธกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีในทุกมิติ มาโดยตลอด โดยให้ความสำคัญกับการมองหาโอกาสในการสื่อสารเพื่อเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันและเส้นทางที่กลุ่มเป้าหมายสามารถพบเจอได้ ผ่านการวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาแคมเปญสร้างสรรค์ที่เข้าถึงกลุ่มคน ทุกเจเนอเรชั่นอยู่เสมอ พร้อมสร้างระบบที่สามารถรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคดิจิทัล โดยในปี พ.ศ. 2568 นี้ มูลนิธิฯ ตั้งใจเพิ่มแนวทางการบริจาคที่สร้างสรรค์เพื่อให้ ทุกคนสามารถเป็น ‘ผู้ให้’ ได้ง่ายยิ่งขึ้น ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมของการบริจาคที่มักจะมาพร้อมกับความตั้งใจในการทำบุญเท่านั้น มูลนิธิฯ จึงผสาน ‘การให้’ ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้คนด้วยการเชื่อมโยงกิจกรรมที่สร้างความสุข ความสนุนสนาน

และโอกาสในการทำบุญเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ความร่วมมือกับบริษัทเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เปิดโอกาสให้ผู้ชมสามารถสนุกไปกับละครเวทีและมีส่วนร่วมในการเป็น ‘ผู้ให้’ ในเวลาเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนแคมเปญที่สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ พร้อมส่งต่อเนื้อหาที่สร้างการรับรู้ถึงความจำเป็นในการเปิดรับบริจาคทุนทรัพย์ไปสู่ประชาชนหลากหลายช่วงวัย พร้อมสร้างความตระหนักถึงผลลัพธ์แห่งการบริจาคที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ เชื่อว่า ‘การให้’ นั้นทำให้เกิดความสุข และ ‘การให้’ สุขภาพที่ดีแก่ผู้คนจะส่งเสริมให้เกิด ‘ความสุขที่ยั่งยืนแก่ทุกคน’”

สำหรับโครงการที่มูลนิธิรามาธิบดีฯ ให้ความสำคัญในปีนี้ ได้แก่ โครงการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาพยาบาลผ่านเทคโนโลยีและทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ พร้อมส่งเสริมการบูรณาการทางการแพทย์สำหรับการวิจัยโรคซับซ้อน สู่การเป็นต้นแบบการรักษาในอนาคต เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในการดูแลสุขภาพประชาชน โครงการนี้คาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการประชาชนในปี 2573

โครงการศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา ศูนย์การแพทย์ที่ก่อตั้งบนพื้นที่ย่านพญาไท โดยมีที่มาจากมูลนิธิรามาธิบดีฯ ที่เล็งเห็นถึงโอกาสในการสร้างเงินทุนหมุนเวียนกลับมาสนับสนุนการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมอย่างยั่งยืน โดยเน้นการให้บริการทางการแพทย์ที่ดูแลร่างกายและจิตใจในเชิงป้องกันเพื่อให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพในทุกช่วงวัย ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้ในปลายปี 2568

โครงการผู้ป่วยยากไร้ มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินบริจาคมาสนับสนุนผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการรักษาพยาบาลให้ได้เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โครงการนี้ถือเป็นโครงการที่ผู้บริจาคให้การช่วยเหลือมากที่สุดอย่างต่อเนื่องทุกปี

นอกจากนี้ มูลนิธิรามาธิบดีฯ ยังให้ความสำคัญกับการสื่อสารถึง ‘ผลลัพธ์จากการให้’ ที่จับต้องได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้บริจาคและสะท้อนความโปร่งใสในการดำเนินงาน โดยเฉพาะการจัดสรรทุนทรัพย์จากการบริจาคของประชาชนเพื่อสร้างสาธารณประโยชน์อย่างแท้จริง เช่น การสนับสนุนงบประมาณการบริหารจัดการ การจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ การซ่อมแซมและบำรุงระบบในอาคารสถานที่ของโรงพยาบาลรามาธิบดี รวมถึงสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โดยเฉพาะอาคารกายวิภาคทางคลินิก (Clinical Anatomy Building) ผ่านการจัดซื้อเครื่องมือการเรียนการสอนที่เป็นสากล เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้กายวิภาคผ่านเทคโนโลยีสามมิติที่ล้ำสมัย เอื้อต่อการเรียนรู้และทบทวนบทเรียน ควบคู่ไปกับการศึกษาจากร่างอาจารย์ใหญ่ เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่เต็มเปี่ยมด้วยความสามารถและความเชี่ยวชาญเข้าสู่ระบบสาธารณสุขไทย

 นอกจากนี้ มูลนิธิรามาธิบดีฯ พัฒนาช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มคนที่หลากหลาย ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะ TikTok ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางสนับสนุนของที่ระลึกและมอบความสุขที่เกิดจาก ‘การให้’ โดยเน้นสร้างเนื้อหาที่เข้ากับยุคสมัย ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ได้รู้จักกับมูลนิธิฯ แม้จะยังไม่เคยมีประสบการณ์ตรงกับโรงพยาบาล

สำหรับภาพรวมในการสร้างสรรค์สินค้าของที่ระลึกการกุศลในปี 2567 ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะความร่วมมือกับ ‘CryBaby’ ศิลปินไทยที่มีชื่อเสียงในตลาดสากล และในปี 2568 นี้ มูลนิธิฯ จะสานต่อความตั้งใจในการสนับสนุนวงการงานอาร์ตของไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการขยายโอกาสไปสู่กลุ่มนักออกแบบหน้าใหม่เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับแสดงศักยภาพไปสู่สายตาคนไทยมากขึ้น นอกจากนี้ ความท้าทายจากการติดต่อลิขสิทธิ์ต่างประเทศที่มีฐานแฟนคลับขนาดใหญ่หลากหลายช่วงวัย เช่น Hello Kitty, Sesame Street, Peanuts และ Peter Rabbit โดยคอลเล็กชั่นใหม่ที่กำลังจะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ คือ เจ้าชายน้อย (The Little Prince)

มูลนิธิรามาธิบดีฯ จะยังคงมุ่งมั่นสานต่อบทบาทของ ‘สะพานแห่งการให้’ โดยให้ความสำคัญกับการสนับสนุนด้าน การขับเคลื่อนความก้าวหน้าของระบบสาธารณสุขในประเทศไทยอย่างยั่งยืน พร้อมเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ด้วยการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย อยู่เสมอ พร้อมสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ควบคู่กับการถ่ายทอด ‘ผลลัพธ์จากการให้’ อย่างต่อเนื่องไปสู่กลุ่มผู้บริจาคในทุกเจเนอเรชั่น เพื่อให้กลุ่มผู้บริจาคมีความรู้สึกร่วมของการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย สู่ การสร้างสังคมแห่ง ‘การให้’ ที่สามารถสร้างและส่งต่อสาธารณประโยชน์ต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด

กรุงเทพฯ 20 กันยายน 2567 – ทรูมันนี่ ผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นตัวกลางส่งต่อกำลังใจแก่ผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือที่ถึงแม้น้ำจะลดแล้วในหลายพื้นที่ ก็ยังต้องการได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดช่องทางให้ผู้บริจาคผ่านแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ เพื่อสมทบทุนการร่วมบริจาคเข้า 5 มูลนิธิและหน่วยงานที่กำลังดำเนินการบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก, สภากาชาดไทย, มูลนิธิปอเต๊กตึ้ง, มูลนิธิกระจกเงา และ มูลนิธิ Soi Dog เพื่อบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือวิกฤติภัยในครั้งนี้ได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้ว ใน 5 ขั้นตอน 1. กดเลือกไอคอน ‘บริจาคให้มูลนิธิ’ บนแอปทรูมันนี่ 2. เลือกมูลนิธิฯ ที่ท่านต้องการบริจาค 3. กรอกยอดเงินบริจาค 4. เลือกช่องทางการชำระเงิน และ 5. กดยืนยันการชำระเงิน

สำหรับผู้สนใจบริจาคฯ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://www.truemoney.com/donatioin/

 

เมื่อเร็วๆ นี้ นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช (กลางขวา) ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนมอบเงินจำนวน 38,067,065 บาท สมทบทุนให้กับ มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผ่านดร. บรรจงเศก ทรัพย์โสภา (กลางซ้าย) ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ ซึ่งเงินบริจาคดังกล่าว สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีได้ร่วมกันใช้คะแนน KTC FOREVER และบริจาคผ่านบัตรเครดิตเคทีซี เพื่อมอบชีวิตใหม่ให้กับเด็กยากไร้ได้ไปโรงเรียน มีอาหารรับประทานอิ่มท้อง และเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป

ดร. บรรจงเศก กล่าวว่า “มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ เป็นองค์การพัฒนาเอกชน ที่ดำเนินพันธกิจในการพัฒนาเด็กด้อยโอกาสในประเทศไทย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาตลอด 65 ปี โดยมีเด็กและเยาวชนกว่า 100,000 คน ได้รับโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการดำเนินงาน “โครงการอุปการะเด็ก” และ “โครงการพิเศษ” อื่นๆ ของมูลนิธิ ”

มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดตัวโครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มุ่งมั่นสนับสนุนการศึกษาแก่คนพิการเพื่อผลิตบัณฑิตกลุ่มวิชาชีพครู หวังยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการในสังคมไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดี สร้างอาชีพ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมร่วมกับ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ชวนผู้ใจบุญ ชมละครเวทีรอบการกุศล “แฟนฉัน เดอะมิวสิคัล” ในวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จัดแสดง ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ รายได้ร่วมสมทบทุนเข้าโครงการทุนสถาบันราชสุดา

สถาบันราชสุดา หรือเดิมทีมีชื่อว่า วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งแรกในประเทศไทย เป็นสถาบันที่ให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และศูนย์กลางเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในประชาคมอาเซียน โดยเปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 นับเป็นเวลากว่า 32 ปีแล้วที่สถาบันแห่งนี้ให้การศึกษาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการไทยกว่าหลายพันคน และในปี พ.ศ. 2566 นี้ วิทยาลัยราชสุดาและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ทำการควบรวมกัน เพื่อร่วมกันทำภารกิจส่งเสริมการศึกษาและสร้างพื้นที่สำหรับคนพิการให้เกิดสังคมแห่งการให้ที่ไม่ทอดทิ้งกัน

 

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “เหตุผลสำคัญของการควบรวมวิทยาลัยราชสุดาและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นโครงการสถาบันราชสุดาแห่งนี้ เพื่อร่วมกันทำภารกิจสำหรับคนพิการให้เกิดสังคมแห่งการให้ที่ไม่ทอดทิ้งกัน สนับสนุนให้เป็นสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาบุคลากรกลุ่มวิชาชีพครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการสอนคนพิการที่มีคุณภาพให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย และ หวังกระจายครูสอนคนพิการไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ส่งเสริมศักยภาพให้คนพิการมีอาชีพที่มั่นคง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สืบเนื่องจากการควบรวมกันนี้ มูลนิธิรามาธิบดีฯ จึงได้มีโอกาสเป็นสะพานบุญแห่งการให้เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายจำเป็นต่าง ๆ ของสถาบันราชสุดา เพื่อให้สถาบันนำไปสานต่อภารกิจต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”

สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดสอนทั้งหมด 6 หลักสูตร แบ่งเป็น

ระดับปริญญาตรี เปิดสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และนักศึกษาที่มีการได้ยิน

1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา วิชาเอกการออกแบบเชิงพาณิชย์

2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา วิชาเอกล่ามภาษามือไทย

3. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาของคนหูหนวก

ระดับปริญญาโท และเอก เปิดสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็น นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว นักศึกษาทั่วไป

4. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

5. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ

6. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

 

ด้าน อ.นพ.สมเกียรติ ลีละศิธร ผู้อำนวยการ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยว่า “กลุ่มนักศึกษาหลักของสถาบันราชสุดาคือกลุ่มคนพิการทางการได้ยิน รวมถึงคนทั่วไปที่สนใจเข้ามาเรียนร่วมในหลักสูตร ศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ที่เมื่อจบไปแล้วสามารถเป็นครูสอนคนพิการ หรือประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้ตามศักยภาพ

นับตั้งแต่เปิดสถาบันราชสุดาแห่งนี้ได้ผลิตบัณฑิตไปแล้วกว่า 692 ราย ปัจจุบันมีจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 และ 3 ทั้งสิ้น 153 ราย แบ่งเป็น นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 84 ราย นักศึกษาที่มีการได้ยิน 69 ราย และคาดว่าจะมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี 2567 จำนวน 54 ราย

ในส่วนของระดับบัณฑิตศึกษา แบ่งเป็นระดับปริญญาโท 49 คน คาดว่าจะเสร็จการศึกษาปี 2566 จำนวน 7 ราย และระดับปริญญาเอก 24 ราย จะสำเร็จการศึกษาปี 2566 จำนวน 8 ราย โดยระดับนี้มีนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็น นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว รวมถึงนักศึกษาทั่วไป

ปัจจุบันมีคนพิการจำนวนมากที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งสาเหตุเหล่านั้นมีทั้งความไม่พร้อมของสถานศึกษาในการรองรับคนพิการ, สภาพแวดล้อมในครอบครัว, ปัจจัยด้านการเดินทาง รวมถึงสถานะทางการเงิน ปัญหาเหล่านี้จึงยิ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นในสังคมไทย การมีอยู่ของสถาบันราชสุดาจึงถือเป็นเรื่องสำคัญในฐานะสถาบันการศึกษาที่จะช่วยสร้างโอกาสให้คนพิการได้เข้าถึงการศึกษา ผ่านการผลิตบัณฑิต และบัณฑิตเหล่านั้นไปส่งต่อความรู้ให้แก่คนพิการทางการได้ยินต่อไป”

 

นางสาวพรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผู้จัดการมูลนิธิรามาธิบดีฯ กล่าวเสริมว่า “การระดมทุนในครั้งนี้ นับเป็นการให้ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างแน่นอน เพราะการศึกษานั้นเป็นรากฐานสำคัญของทุกคน ไม่แบ่งแยกด้วยสภาพร่างกาย เพศ อายุ ดังนั้น มูลนิธิรามาธิบดีฯ จึงมีความภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอด พันธกิจของสถาบันราชสุดาไปยังสังคมวงกว้าง และเป็นสะพานแห่งการให้ที่รับน้ำใจของผู้ที่อยากช่วยให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษา อันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการต่อไปในอนาคต และสร้างสรรค์สังคมที่พวกเราทุกคนสามารถได้ใช้ศักยภาพและความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่”

 

“ในการเปิดตัว โครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ครั้งนี้ มูลนิธิรามาธิบดีฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท ซีเนริโอ จำกัด ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการ “ให้” โอกาสทางการศึกษาแก่คนพิการในสังคมไทยจัดรอบการแสดงละครเวทีการกุศล “แฟนฉัน เดอะมิวสิคัล” ขึ้นในวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 19:30 น. โดยรายได้จากการจำหน่ายบัตรของรอบนี้จะถูกสมทบทุนให้แก่โครงการทุนสถาบันราชสุดา เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการต่อไป อีกทั้งยังได้เชิญชวนตัวแทนนักศึกษาของสถาบันราชสุดามาร่วมชมการแสดงในรอบนี้อีกด้วย” นางสาวพรรณสิรี กล่าว ทิ้งท้าย

 

โครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นับเป็นภารกิจครั้งใหม่ของมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อช่วยสร้างพื้นที่แห่งโอกาสทางการศึกษาให้คนพิการ รวมถึงพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านคนพิการ และการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพของคนพิการนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการในประเทศไทย เพราะการมอบการศึกษาคือหนทางที่จะช่วยสร้างสังคมที่ทุกคนมีคุณค่า ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ในโอกาสนี้จึงขอเชิญชวนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนให้กับโครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ที่ มูลนิธิรามาธิบดีฯwww.ramafoundation.or.th

มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์, SCG พร้อมด้วย PMAT และ SCB เปิดนิทรรศการ “สติ Space” ในบรรยากาศ Art Space นิทรรศการที่รวบรวมกิจกรรม การชมภาพยนตร์ เสวนา และ มุมพักผ่อนหย่อนใจ ให้กลับมารู้ตัว รู้ใจ ด้วยการสื่อสารผ่านจุดเริ่มต้นวิธีพักใจ เพื่อให้คนทํางาน ได้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ด้วยการสร้างการมีสติ (mindfulness) ให้กับกลุ่มคนออฟฟิศ โดยไม่ต้องอิงกับศาสนาเป็นหลัก เริ่มจากการสร้างการรับรู้การมีสติในมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมให้มีความสุขได้บนโต๊ะทำงาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้อํานวยการหอจดหมายเหตุพุทธธาตุอินทปัญโญ เล่าถึงที่มา บทบาท การดำเนินงาน และวัตถุประสงค์ โดยใจความว่า “จากก้าวแรกที่ท่านอาจารย์พุทธทาสสร้างสวนโมกข์ สร้างโรงหนัง (โรงมหรสพทางจิตวิญญาณ, Holly Land) ที่ไชยา กระทั่งมีหอจดหมายเหตุพุทธทาส (สวนโมกข์กรุงเทพ) ที่สวนรถไฟ ซึ่งเปิดให้คนเข้าไปใช้พื้นที่นั้น เรามองว่าการจัดพื้นที่เพื่อให้คนเดินทางไปยังพื้นที่อาจไม่เพียงพอสำหรับยุคนี้ ถึงเวลาที่จะต้องนำองค์ความรู้ออกมาเสิร์ฟให้ถึงที่ที่เขาอยู่ด้วย และมองว่ากลุ่มคนทำงานออฟฟิศเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของสังคม สติ space จึงเลือกสื่อสารแก่กลุ่มนี้เป็นเบื้องต้น”

นายอนุวัฒน์ จงยินดี ที่ปรึกษา คณะกรรมการมูลนิธิเอสซีจี ตัวแทนมูลนิธิ SCG ผู้สนับสนุนห้อง New Gen Space สำหรับจัดนิทรรศการในครั้งนี้ กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการว่า “มูลนิธิเอสซีจีและมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส มีความร่วมมือช่วยเหลือกันมาโดยตลอด นับตั้งแต่แรกก่อตั้ง สำหรับพื้นที่แสดงนิทรรศการนี้ มูลนิธิเอสซีจีเช่าไว้เพื่อให้ ศิลปิน บุคคล ฯลฯ ใช้แสดงงานอยู่แล้ว ซึ่ง “สติ space” เป็นนิทรรศการที่สอดคล้องกับแนวทางของห้อง New Gen Space, การสร้างสติใช้ได้กับทุกเรื่อง มีสติ พอเพียง คิด พูด ทำ ถูกต้อง ฯลฯ มูลนิธิเอสซีจีเห็นประโยชน์ ความสำคัญ และสนับสนุน หวังว่าคนออฟฟิศและผู้สนใจจะเข้ามาใช้และได้รับประโยชน์”

นายปราโมทย์ บุญนำสุข ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย และยุทธศาสตร์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า “ในแต่ละปีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จะให้ทุนแก่องค์กรพัฒนาสื่อ เพื่อประชาชนจะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและอยู่ในระบบนิเวศสื่อที่ดี ซึ่งหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับทุนประเภท Collaborative Grant โดยปีแรก ทำรายการ “ทำอะไรก็ธรรม” และปีนี้เป็นครั้งที่สองในการจัดนิทรรศการ “สติ space” ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ ปรุงแต่งให้เข้ากับรสนิยมคนรุ่นใหม่ ให้กล้ามาชิมลองโดยไม่เคอะเขิน”

นายธนพล ศิริธนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Country CEO บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศ) จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสามย่านมิตรทาวน์ กล่าวว่า “ตอนแรกที่ทีมเข้ามาพูดคุย มองในมุมธุรกิจก็ได้ตั้งคำถามไปหลายข้อ ซึ่งวันนี้ดีใจที่ได้เห็นนิทรรศการ พร้อมตอบรับให้ใช้พื้นที่ เช่น สามย่านมิตรทาวน์ เป็นพื้นที่นำร่อง หากนึกถึงวัยรุ่นก็ต้องนึกถึงสามย่านมิตรทาวน์ พื้นที่แห่งการเรียนรู้ 24 ชม, สำนักงาน, คอนโดมิเนียม บริษัทเฟรเซอร์ฯ มีความมุ่งหมายที่จะสร้างประสบการณ์ที่ดี เพื่อความรู้สึกที่ดี และคิดว่า “สติ space” จะเป็นนิทรรศการที่ช่วยทำให้ใจของทุกคนได้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน”

นายวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล ผู้บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ธุรกิจธนาคารมีการแข่งขันสูงมาก ทำอย่างไรให้พนักงานมีความสุขขึ้นได้บ้าง จากเดิมเราเคยมีชมรมจริยธรรม มีจัดคอร์สภาวนา มีนิมนต์พระมา ฯลฯ สิบปีผ่านไปก็ยังเหมือนๆ เดิม พอได้ฟังเรื่ององค์กรรมณีย์ก็สนใจ เรื่อง สติ Mindfulness ก่อนอื่นหัวหน้าต้องมีสติก่อน จึงจะทำองค์กรให้มีสติได้, ฉันทะสำคัญมาก อีกอันคือวิริยะ และต้องมีสภาพแวดล้อมที่สามารถดึงให้กลับมามีสติ ความสำเร็จไม่ต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวด”

“สติ space” interactive exhibition ที่นำ “สติ” มาเป็นเครื่องมือดูแลกลุ่มคนวัยทำงาน นิทรรศการจำลองบรรยากาศสำนักงาน ชวนกลับมารู้ตัว ดูใจ ด้วยภาษา สัญลักษณ์ ถ้อยคำ ฮาวทู ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลอย่างไรอยากให้มาชิมลองกัน มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ และได้รับความเอื้อเฟื้อพื้นที่จัดแสดง ห้อง new gen จาก SCG เปิดให้ชิมลอง ที่ชั้น 3 ห้อง New Gen หอศิลป์กรุงเทพ เข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้ - 27 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00-20.00 น.

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click