December 23, 2024

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ LPN (Labour Protection Network) ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลให้กับแรงงาน สานต่อโครงการ “ช่องทางรับฟังเสียงพนักงาน และอบรมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน” ให้กับพนักงานของซีพีเอฟ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

นายสมพงค์  สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิ LPN  กล่าวว่า การดำเนินงานของศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน หรือ Labour Voices Hotline by LPN จากความร่วมมือในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวได้รับรู้สิทธิของตน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมาตรฐานสากล รวมทั้งได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ในเรื่องค่าจ้างค่าตอบแทน สุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน การเข้าถึงสิทธิแรงงานต่างๆ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และจัดการอบรมพนักงาน (Worker Training) ของซีพีเอฟ  จำนวนมากกว่า 1,800 คน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 75 เป็นพนักงานต่างด้าว ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานร่วมกันด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน  เป็นต้น

ในปี 2562 ซีพีเอฟได้รับรายงานจากศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน จำนวน 4 สาย จากพนักงานคนไทยและต่างด้าว เป็นเรื่องการสอบถามข้อมูลและการร้องเรียน โดยสอบถามข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับเงื่อนไขตามกระบวนการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MoU) และในส่วนของการร้องเรียนจากการตรวจสอบพบว่ามีสาเหตุมาจากความกังวลและความเข้าใจผิดของแรงงานเรื่องกฎระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน  

 

“ปัจจัยที่ทำให้มีข้อร้องเรียนจากแรงงานซีพีเอฟ ผ่านช่องทาง Labour Voices Hotline by LPN ค่อนข้างน้อย เป็นผลจากบริษัทฯ มีล่ามประจำสถานประกอบการฯของบริษัทฯ คอยเป็นผู้ให้คำแนะนำและปรึกษาพนักงานต่างชาติเบื้องต้น รวมถึง การจัดการแก้ไขปัญหาโดยฝ่ายบุคคลและหัวหน้างานอย่างเป็นระบบและทันท่วงที ประกอบกับการจัดอบรมช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากขึ้น” นายสมพงค์ กล่าว

นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนในองค์กรอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน แรงงานต่างชาติทุกคนเป็นพนักงานของบริษัทฯ ได้รับค่าจ้างและสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับพนักงานคนไทย การดำเนินงานร่วมกับ LPN ช่วยสนับสนุนบริษัทฯ ให้เข้าใจความต้องการ ของแรงงานทุกคนและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างรวดเร็ว สร้างความพึงพอใจและความเข้าใจอันดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

“ซีพีเอฟ มีการทำแบบสำรวจการรับรู้ช่องทางการร้องเรียนผ่านศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน ในพื้นที่ 6 โรงงาน ครอบคลุมทั้งพนักงานไทยและต่างด้าว  ผลสำรวจพบว่า 75% ของแรงงานมีการรับรู้และทราบช่องทางการร้องเรียนผ่านศูนย์นี้ ช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานและลดผลกระทบที่อาจมีต่อธุรกิจ” นายปริโสทัต กล่าว

 

นอกจากนี้  ในปี 2562 บริษัทฯ ได้ทบทวนและดำเนินกระบวนการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ทุกสายธุรกิจในกิจการประเทศไทย ครอบคลุมทุกกลุ่ม ร่วมถึงกลุ่มเปราะบาง (Vulnerable Group) เช่น ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติและศาสนา ผู้บกพร่องทางร่างกาย เป็นต้น โดยให้ความสำคัญ อาทิ เรื่อง สภาพการจ้างงาน สุขภาพและความปลอดภัยในสถานประกอบการ ข้อมูลส่วนบุคคล มาตรฐานการครองชีพและความปลอดภัยของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน ฯลฯ

ซีพีเอฟ ยังยกระดับความปลอดภัยอย่างเข้มข้นสำหรับแรงงานทุกคนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พร้อมทั้งจัดการอบรมให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาด และการป้องกันแก่พนักงานต่างด้าว รวมทั้ง ทำแผ่นป้ายแนะนำในภาษาต่างๆ การจัดเพิ่มจำนวนรถตามแนวทาง social distancing เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าใจและทำงานด้วยความมั่นใจในมาตรการความปลอดภัย จนถึงปัจจุบันไม่มีพนักงานในสายการผลิตติดเชื้อโควิด-19

X

Right Click

No right click