January 23, 2025

 วีซ่า พันธมิตรด้านเทคโนโลยีการชำระเงินอย่างเป็นทางการของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทรนด์การใช้จ่ายของผู้บริโภคในระหว่างสุดสัปดาห์ช่วงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024  

โดยวีซ่าเผยว่าโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 กระตุ้นการค้าในกรุงปารีสให้คึกคักยิ่งขึ้น และสร้างผลบวกให้กับเศรษฐกิจของฝรั่งเศสโดยรวม  ซึ่งประกอบด้วย

  • ธุรกิจขนาดเล็ก และร้านค้ารายย่อยในกรุงปารีสมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 26% จากผู้ถือบัตรวีซ่าในช่วงสุดสัปดาห์แรกของมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 
  • ยอดการใช้จ่ายในกรุงปารีสเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงละคร และพิพิธภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นถึง 159% ธุรกิจเครื่องอุปโภคบริโภค (อาหารและร้านขายของชำ) เพิ่มขึ้น 42%  ร้านอาหารเพิ่มขึ้น 36% ร้านค้าปลีกเพิ่มขึ้น 21% และธุรกิจความบันเทิงต่างๆ เพิ่มขึ้น 18%  
  • โดยชาวต่างชาติที่มีปริมาณการใช้จ่ายมากที่สุดมาจากผู้ถือบัตรวีซ่าจากสหรัฐอเมริกา (29%) ในขณะที่สัดส่วนการใช้จ่ายเพิ่มมากสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมาจากผู้ถือบัตรวีซ่าจากญี่ปุ่น (เพิ่มขึ้น 129%) และบราซิล (เพิ่มขึ้น 33%)   
  • 78% ของการชำระเงินดิจิทัลจากบัตรที่มาจากต่างประเทศในกรุงปารีสเป็นการแตะเพื่อจ่าย (คอนแทคเลส) โดยเพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 
  • ยอดจองเที่ยวบินไปกรุงปารีสก่อนโอลิมปิกเริ่ม สูงขึ้น 39% เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 25662   
  • จำนวนนักเดินทางไปยังกรุงปารีสที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี เพิ่มขึ้นถึง 120% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน3 
  • จำนวนนักเดินทางต่างชาติไปยังกรุงปารีสที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากสหรัฐอเมริกา (เพิ่มขึ้น 64%) ตามด้วยนักเดินทางจากเยอรมนี (เพิ่มขึ้น 61%) และสเปน (เพิ่มขึ้น 27%)  
  • การใช้จ่ายยังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในเมืองต่างๆ ที่มีจัดการแข่งขันกีฬานอกกรุงปารีส ได้แก่ แซ็งเตเตียน (Saint-Etienne) เพิ่มขึ้น 214%, ลีล (Lille) เพิ่มขึ้น 100%, และมาร์เซย์ (Marseille) เพิ่มขึ้น 38%  

ชาล็อต ฮ็อกก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารวีซ่า ประจำยุโรป กล่าวว่า “ในฐานะผู้สนับสนุนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมาร่วม 40 ปี และการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก เกมส์ ที่ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เราทราบดีถึงผลบวกจากมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่ช่วยหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศเจ้าภาพ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของวีซ่าที่ต้องการยกระดับประสบการณ์การใช้จ่ายสำหรับทุกคนในทุกที่ทั่วโลก  ที่สำคัญยิ่งกว่า เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจรายย่อยได้รับอานิสงส์จากการที่ประเทศของเขาเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาระดับโลก โดยตลอดสี่ปีที่ผ่านมาวีซ่าได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่นกว่า 13 ล้านรายทั่วยุโรปให้เข้าถึงระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล  

ในฐานะพันธมิตรด้านเทคโนโลยีการชำระเงินอย่างเป็นทางการของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก เกมส์ วีซ่าได้ทำงานร่วมกับคณะผู้จัดงานตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมา ในการออกแบบและสร้างเครือข่ายการชำระเงินที่เหมาะสำหรับกรุงปารีสและเมืองต่างๆ ที่จัดการแข่งขัน และรองรับการชำระเงินแบบคอนแทคเลสของวีซ่าในกว่า 3,500 จุดขายที่กระจายอยู่ทั่วสนามจัดการแข่งขันโอลิมปิกทั้ง 32 แห่ง และของงานพาราลิมปิกอีก 16 แห่ง  

วีซ่า เปิดตัวแอป Visa Go เพื่อเชื่อมต่อกับผู้เข้าชมการแข่งขันและนักท่องเที่ยวกับธุรกิจท้องถิ่นในช่วงการจัดการแข่งขัน โดยผู้มาเยือนสามารถดาวน์โหลดแอป Visa Go ได้ที่ https://go.paris.visa.com/home 

 

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 - วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก เผยข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจจากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study)1 ที่ชึ้ให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดโดยเฉลี่ยนานถึงเก้าวัน

การศึกษาของวีซ่ายังชี้ให้เห็นถึงเทรนด์การใช้จ่ายแบบไร้เงินสดที่ยังคงเดินหน้าอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทย โดยพบว่ามากถึงแปดในสิบของผู้บริโภค (81%) พยายามจะใช้จ่ายโดยไม่พึ่งพาเงินสด โดยผู้นำเทรนด์เป็นผู้บริโภคจากกลุ่มเจน Z (85%) [อายุระหว่าง 18 ถึง 23 ปี] และเจน Y (85%) [อายุระหว่าง 24 ถึง 39 ปี] นอกจากนี้ และเมื่อพูดถึงความสำเร็จในการใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดก็พบว่าเกือบสี่ในห้าของชาวไทยสามารถทำได้จริงในชีวิตประจำวัน

 

นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เทรนด์การใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดในประเทศไทยถือว่ามาแรงมาก และแนวโน้มเชิงบวกนี้ ยังสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกและการเพิ่มขึ้นของอีคอมเมิร์ซ ที่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายเองต่างให้ความสำคัญกับความสะดวก ปลอดภัย และการรับชำระเงินในรูปแบบดิจิทัล สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสอันดีของผู้ประกอบการที่จะปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”

การศึกษายังแสดงให้เห็นด้วยว่าผู้บริโภคชาวไทยมีความมั่นใจมากขึ้นในการที่จะใช้ชีวิตนอกบ้านโดยถือเงินสดในมือลดลง โดยเกือบครึ่ง (47%) เลือกที่จะถือเงินสดในกระเป๋าสตางค์น้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

เทรนด์นี้เกิดขึ้นจากช่องทางการรับชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลควบคู่ไปกับการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดของผู้บริโภค (อาทิ คิวอาร์โค้ด บัตรชำระเงิน อีวอลเล็ต ฯลฯ) นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุว่าได้สังเกตเห็นช่องทางการรับชำระเงินแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นในหลายหมวดหมู่ โดยเฉพาะ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (79%) การค้าปลีก (67%) การจับจ่ายที่ร้านสะดวกซื้อ (67%) ซูเปอร์มาร์เก็ต (64%) และบริการขนส่ง อาทิ แท็กซี่และบริการใช้รถเดินทางร่วมกัน เป็นต้น (60%)

ขณะที่ภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทยมีแผนที่จะนำเวอร์ชวลแบงก์ออกมาตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค การศึกษายังได้วิเคราะห์ถึงความความสนใจและบริการที่ผู้บริโภคต้องการ โดยจากข้อมูลพบว่า เกินกว่าครึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (54%) สนใจบริการของเวอร์ชวลแบงก์ โดยกลุ่มที่ให้ความสนใจมากที่สุดคือกลุ่มเจน Y (68%) และเจน X (53%) และบริการของเวอร์ชวลแบงก์ที่ผู้ตอบแบบสอบถามกระตือรือร้นที่จะใช้มากที่สุด คือ การบริการตนเองเต็มรูปแบบ (81%) บริการแบบไลฟ์ผ่านแอปพลิเคชันดิจิทัล (80%) และการใช้ข้อมูลทางการเงินทางเลือกสำหรับประเมินสินเชื่อ (78%)

ส่วนปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคชาวไทยพิจารณาในการใช้งานเวอร์ชวลแบงก์นั้น ความปลอดภัยยังฟีเจอร์ที่ได้รับการจัดลำดับให้มีความสำคัญสูงสุด โดย 56% ของผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าต้องการชำระเงินและทำธุรกรรมที่ปลอดภัย ตามด้วยความเร็วในการทำธุรกรรม (55%) และการใช้งานสะดวก ง่ายดาย ไม่ซับซ้อนและสำเร็จได้ภายในไม่กี่คลิก (46%)

“วีซ่ามุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ และตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย และความต้องการที่จะเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสดที่ไม่หยุดนิ่งของอุตสาหกรรมการชำระเงินในประเทศไทย เราหวังว่าข้อมูลเชิงลึกที่เรานำเสนอในทุกปีนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพันธมิตรและร้านค้าต่าง ๆ ที่จะใช้เพื่อปรับตัวรองรับความต้องการของลูกค้า และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของประเทศไทยในการพัฒนาสู่สังคมไร้เงินสด”

 วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก และพันธมิตรด้านเทคโนโลยีการชำระเงินอย่างเป็นทางการของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก เกมส์ ต้อนรับ “วิว” กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เข้าสู่ทีมวีซ่า โดย วิว กุลวุฒิ เป็นแชมป์โลกแบดมินตันชายเดี่ยวคนแรกของประเทศไทยในรายการแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลก บีดับเบิ้ลยูเอฟ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพส์ 2023 (BWF World Championships 2023) และเป็นผู้เล่นชายเดี่ยวคนแรกที่คว้าแชมป์เยาวชนโลก (World Junior Championships) ถึงสามสมัยด้วยชัยชนะเกือบ 300 ครั้งทั่วโลก1 ปัจจุบัน วิว กุลวุฒิ อยู่อันดับที่เจ็ดในการจัดอันดับโลกสำหรับนักแบดมินตันชายเดี่ยว และได้ขึ้นสู่อันดับสามของโลกมาแล้วในปี 2566 อีกทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักกีฬาที่มีชื่อเสียงและน่าจับตามองที่สุดคนหนึ่งของประเทศ

นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “วีซ่า ในฐานะผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับ “วิว” กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เข้าสู่ทีมวีซ่า เรามองว่า วิว กุลวุฒิเป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงดีเอ็นเอของแบรนด์วีซ่าได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยความพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดในทุก ๆ วัน ความมุ่งมั่น และการเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นด้วยพรสวรรค์ที่เปี่ยมล้น เราจะให้การสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ และร่วมกับแฟนกีฬาชาวไทยส่งกำลังใจให้เขาในช่วงระหว่างการเตรียมพร้อม และตลอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 ที่จะถึงนี้ "

โครงการ ทีมวีซ่า ได้ถือกำเนิดขึ้นในพ.ศ. 2543 เพื่อต่อยอดความมุ่งมั่นของวีซ่า ในการสนับสนุนและมอบความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์ ทรัพยากร ตลอดจนคำแนะนำให้แก่เหล่านักกีฬาที่ต้องการสานฝันให้เป็นจริง ไม่ว่าจะอยู่ในสนามหรือนอกสนามก็ตาม นอกจากนี้ วีซ่า ยังเป็นผู้สนับสนุนหลักมานานกว่า 30 ปีในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและมากกว่า 20 ปี สำหรับพาราลิมปิกเกมส์ โดยยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนการรวมความหลากหลายและความแตกต่างของแต่ละบุคคลในวงการของกีฬาต่อไป

สำหรับโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 ทีมวีซ่าร่วมสนับสนุนนักกีฬาจำนวน 117 คน จากมากกว่า 60 ประเทศ ในกีฬากว่า 40 ชนิด ซึ่งนับเป็นการสนับสนุนนักกีฬาจำนวนมากที่สุดและหลากหลายประเภทกีฬาที่สุดในประวัติศาสตร์ของโครงการนี้

ความมุ่งมั่นของวีซ่าคือการเพิ่มขีดความสามารถให้กับนักกีฬา และสร้างเครือข่ายเพื่อขยายโอกาสต่อยอดความสำเร็จในระดับโลกซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ วิว กุลวุฒิ ที่ทำให้เขาเป็นสมาชิกที่แข็งแกร่งของทีมวีซ่าในการสร้างประวัติศาสตร์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 ที่จะถึงนี้” ปุณณมาศ กล่าวสรุป

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 – การแสดงความรักกำลังเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลเมื่อเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยวางแผนที่จะซื้อของขวัญทางออนไลน์เพื่อมอบให้คนรักในช่วงวาเลนไทน์ อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับล่าสุดที่จัดทำโดย YouGov ในนามของวีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก โดยการศึกษาฉบับนี้1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคก่อนวันวาเลนไทน์ รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และการกระทำเช่นใดที่ทำให้คนรักใจละลายได้

หนึ่งในสิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการอ่านใจว่าคนรักของคุณต้องการอะไร อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับนี้พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (59%) ที่เลือกบอกคนรักไปเลยตรงๆ ว่าอยากได้อะไร โดยวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองคือการใช้เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวช่วย ซึ่ง 27 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะบอกสิ่งที่ตนปรารถนาโดยการกระซิบใส่สมาร์ตโฟนของคู่รัก และอีก 22 เปอร์เซ็นต์ เลือกที่จะบอกใบ้คนรักและหวังว่าพวกเขาจะเข้าใจสิ่งที่อยากสื่อไปในที่สุด

เมื่อต้องตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อของขวัญแทนใจสำหรับวันวาเลนไทน์จากที่ไหน เกินกว่าครึ่งของของผู้ตอบแบบสอบถาม (57%) วางแผนที่จะซื้อของจากร้านค้าออนไลน์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ขณะที่เกือบหนึ่งในห้า (20%) ตั้งใจจะซื้อโดยตรงจากร้านค้าบนสื่อโซเชียลอย่าง อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก และไลน์

ความรักปี 2567 มาพร้อมสนนราคา จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ราคาและส่วนลด (58%) คือปัจจัยสำคัญให้คนเลือกว่าจะซื้อของขวัญวาเลนไทน์จากที่ใด ตามด้วยความหลากหลายและคุณภาพสินค้า (50%) นอกจากนี้ยังเลือกพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาของโปรโมชันหรือแพ็กเกจ (30%) การมีประสบการณ์ที่ดีในการซื้อครั้งก่อนกับร้านค้า (27%) และชื่อเสียงของแบรนด์ (21%)

นอกจากนี้ การศึกษายังพบอีกว่า เกือบเจ็ดในสิบของผู้ตอบแบบสอบถาม (68%) วางแผนที่จะใช้จ่ายไม่เกิน 1,000 บาท ในขณะที่ 29 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตั้งใจที่จะใช้จ่ายระหว่าง 1,001 ถึง 10,000 บาท และอีก 3 เปอร์เซ็นต์วางแผนที่จะใช้เงิน 10,000 บาทขึ้นไปกับของขวัญและการฉลองวาเลนไทน์ในปีนี้

เมื่อมาดูในส่วนของประเภทของขวัญที่เลือกซื้อสำหรับวันวาเลนไทน์ พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (30%) บอกว่าเครื่องแต่งกาย กระเป๋าถือ และเครื่องประดับแฟชั่นคือตัวเลือกอันดับหนึ่งสำหรับหวานใจของพวกเขา ตามด้วยของขวัญแนวสื่อแทนใจอย่างช็อกโกแลต (25%) และดอกไม้ (12%)

สำหรับหลาย ๆ คน วิธีสื่อความในใจไม่ได้จำกัดเพียงแค่ของขวัญเท่านั้น และความโรแมนติกของจริงยังมีอยู่เมื่อการกระทำที่ชวนให้ใจละลายมากที่สุดคือการได้ใช้เวลาอันมีค่าร่วมกัน (41%) แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คู่ที่เลือกซื้อของแทนใจเพื่อแสดงความรักระหว่างกัน โดยของขวัญวาเลนไทน์หรือโปรโมชันที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ เซ็ตของขวัญคู่รัก (27%) ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง (22%) ตามมาด้วยบริการแกะสลักชื่อบนสินค้าฟรี (15%) และบัตรกำนัลสปาที่โรงแรม (12%)

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 2 พฤษภาคม 2566: วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด (T2P) บริษัทฟินเทคชั้นนำของประเทศไทย เปิดให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศแบบดิจิทัลสำหรับลูกค้าทั่วไปเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยโซลูชัน วีซ่าไดเร็ค (Visa Direct) ลูกค้าสามารถโอนเงินข้ามประเทศเข้าบัตรเดบิตวีซ่าภายในเวลาอันรวดเร็วเกือบจะเรียลไทม์1

ผู้ส่งเงินในประเทศไทย สามารถโอนเงินไปยังผู้รับในต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย เพียงกรอกเลขบัตรเดบิต 16 หลักของผู้รับเงินในแอปพลิเคชัน DeepPocket ของทีทูพี เงินจะถูกโอนไปยังบัตรของผู้รับโดยตรงภายในเวลาไม่ถึง 30 นาที2 และสามารถนำเงินที่โอนผ่านระบบนี้ไปใช้ได้ในร้านค้าเครือข่ายของวีซ่าที่มีมากกว่า 70 ล้านแห่งทั่วโลก

“เรามีความยินดีที่ได้ร่วมกับ ทีทูพี ในการเปิดตัว วีซ่าไดเร็ค ที่จะทำให้การโอนเงินข้ามประเทศมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยนวัตกรรมโซลูชันการชำระเงินที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การเปิดตัววีซ่าไดเร็คในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยเติมเต็มทั้งด้านความคาดหวังที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการที่แปรเปลี่ยนไปของผู้บริโภค ที่มองหาวิธีการเคลื่อนย้ายเงินแบบไร้รอยต่อ และปลอดภัยในทุกที่ทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ” ซีรีน เกย์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

ทวีชัย ภูรีทิพย์ ประธานบริหาร บริษัท ทีทูพี จำกัด กล่าวว่า "จากการเพิ่มขึ้นของการชำระเงินถึงกันได้โดยตรงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แบบทันทีในประเทศ (instant domestic peer-to-peer payment) เราจึงอยากทำให้การส่งเงินระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับลูกค้า โดยพัฒนาโซลูชันที่ทั้งสะดวก คล่องตัว และปลอดภัย และเพื่อทำตามคำมั่นสัญญานี้ เราจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับวีซ่าในการเปิดใช้โซลูชัน วีซ่าไดเร็ค บนแอป DeepPocket ของเรา ที่ช่วยให้สมาชิก

ในครอบครัวสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ในเรื่องของการเงินไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก นอกเหนือจากฟังก์ชันที่ง่ายต่อการใช้งาน แอปพลิเคชันยังแสดงให้เห็นถึงอัตราแลกเปลี่ยนแบบเรียลไทม์ และช่วยให้ทั้งผู้โอนและผู้รับทราบจำนวนเงินที่แน่นอนซึ่งจะได้รับในบัตรเดบิตของวีซ่าอีกด้วย”

การโอนเงินแบบดิจิทัลกำลังได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก จากผลการวิจัยของ Money Travel: 2023 Remittance Landscape3 พบว่า ระหว่าง 60-70% ของกลุ่มตัวอย่างในอเมริกาเหนือเคยใช้บริการชำระเงินดิจิทัลผ่านแอปเพื่อโอนหรือรับเงินข้ามประเทศ โดยมีเพียง 10-15% ของกลุ่มตัวอย่างที่ยังพึ่งพาการโอนเงินด้วยเงินสด เช็ค และธนาณัติ

ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศหลักด้านบริการโอนชำระเงินในฝั่งของผู้โอน พบว่า สามในห้าของผู้บริโภคที่ร่วมตอบแบบสอบถาม (61%) เลือกใช้บริการแบบดิจิทัลเท่านั้นในการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยให้เหตุผลในเรื่องของความสะดวกในการใช้งานและความปลอดภัย (53%) นอกจากนี้ จากการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคฉบับล่าสุดของวีซ่า4 ยังแสดงให้เห็นว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (48%) กล่าวว่าการโอนเงินแบบดิจิทัลเป็นการทำธุรกรรมที่มีความปลอดภัยมากกว่า

สำหรับโซลูชัน วีซ่าไดเร็ค บนแอป DeePocket นี้ ลูกค้าสามารถโอนเงินได้สูงสุดถึง 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อการทำธุรกรรมหนึ่งครั้ง5

“สิ่งนี้ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการชำระเงินของประเทศไทย ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยที่กำลังมองหาวิธีการส่งเงินไปให้คนที่พวกเขารักในต่างแดน วีซ่ายังจะมุ่งมั่นสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับทุกคน ทุกที่ และทุกเวลา” ซีรีน กล่าวสรุป

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click