January 22, 2025

บริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัด หรือ เบดร็อค ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการข้อมูลประกอบกับการให้บริการแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ และข้อมูลเชิงพื้นที่ (Location Intelligence) หนึ่งในกลุ่ม บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ผนึกกำลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี  และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลและการบริการนักลงทุน เพื่อยกระดับการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาใช้ในการวางแผนพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก บูรณาการด้านข้อมูลเพื่อสนับสนุนการลงทุนให้แก่นักลงทุนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้บริหารจากทั้ง 3 สถานบันร่วมลงนาม พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วมเป็นพยาน ณ อาคารวานิชเพลซ อารีย์ กรุงเทพฯ

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญเพื่อการศึกษาและจัดทำแผนการพัฒนาด้านดิจิทัลสำหรับเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยจะนำเทคโนโลยี AI เข้ามาครอบคลุมการดำเนินงานใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านธุรกิจ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการจัดการที่ดิน เช่น การขอใบอนุญาตต่าง ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยลดกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน ด้านการบริการ มุ่งเน้นสร้างระบบแชทบอท เพื่อให้บริการข้อมูลตอบคำถามได้ทันท่วงทีรวมไปถึงการออกใบอนุญาตดิจิทัล เพื่อลดขั้นตอนการขอใบอนุญาตต่าง ๆ ด้านการจัดการข้อมูล มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ภายในและภายนอกองค์กร สร้างแพลตฟอร์มข้อมูลแบบเปิด ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาระบบด้านไอที เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง การจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัย และรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ทั้งสามสถาบันได้ประสานความร่วมมือเพื่อการวางแผนพัฒนา สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับวิเคราะห์และบริหารจัดการเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลดังกล่าว บริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อการตัดสินใจ อำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ สนับสนุนให้เกิดการลงทุน และจะใช้เป็นต้นแบบไปยังเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ ในพื้นที่อีอีซี ต่อไป 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทยพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของคณะที่ปรึกษาและคณะทำงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ฉบับนี้  ทั้งนี้ ทางคณะฯ จะเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลรวมไปถึงการสนับสนุนบุคลากรให้ร่วมศึกษา และวางแผนการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อจัดทำแผนการพัฒนาด้านดิจิทัลสำหรับพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้  ข้อมูลและงานวิจัยที่ได้จากการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลง จะถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอน โดยทางจุฬาฯ จะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

ด้าน ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ กรรมการบริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือฯ ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคต โดย เบดร็อค ได้นำเสนอแนวทางด้านการบริหารจัดการเมืองและการลงทุน ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลซึ่งเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายในเขตพื้นที่อีอีซี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาไว้ในที่เดียวแบบครบวงจร ได้แก่ 1. Smart Building Permit: ระบบขออนุญาตและควบคุมอาคารอัจฉริยะ ซึ่งช่วยในการตัดสินใจ และทำให้กระบวนการขออนุญาตก่อสร้างรวดเร็วและโปร่งใส 2. City Digital Data Platform: แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองที่รวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายในเขตพื้นที่อีอีซี ทำให้การค้นหา วิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การบริหารจัดการเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่อีอีซี ได้อย่างครบถ้วน และทำให้การวางแผนธุรกิจเป็นไปได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

สอบถามรายละเอียดหรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://bedrockanalytics.ai/ เพจเฟซบุ๊ก Bedrock Analytics ( https://www.facebook.com/BedrockAnalyticsTH) หรือโทร. 02 078 6565

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ร่วมกับ นางสาวฉัตรประอร นิยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายศิริชัย เผ่าบรรจง นายกเทศมนตรีตำบลบางคล้า นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน สกพอ. และ รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา เปิดเส้นทางการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา”เชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนสู่การท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ อีอีซี ณ วัดแจ้งบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อชู

อัตลักษณ์ ความโดดเด่นของสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่านสายน้ำบางปะกง โดยบูรณาการร่วมกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และเครือข่ายในพื้นที่ อีอีซี วิสาหกิจชุมชนนำสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน มาจำหน่ายในเส้นทางการท่องเที่ยว สร้างโอกาสเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวให้ชุมชนในพื้นที่โดยรอบ

 ดร. จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า กิจกรรมฯ ในครั้งนี้ อีอีซี ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะสำนักงานเทศบาลตำบลบางคล้า และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขับเคลื่อนการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวอำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา เชื่อมโยงองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์และของดี ของเด่นในชุมชน ยกระดับบริการด้านการท่องเที่ยวในชุมชนให้มีคุณภาพตรงความต้องการตลาด และนักท่องเที่ยวยิ่งขึ้น ซึ่งเริ่มนำร่องในพื้นที่บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเชื่อมโยงสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวไปยังพื้นที่และชุมชนโดยรอบที่มีศักยภาพ สำหรับรองรับกลุ่มนักลงทุน และผู้ที่จะเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่อีอีซี ให้สามารถท่องเที่ยวได้ทั้งวันหยุด และวันธรรมดา เป็นการสร้างโอกาสเพิ่มรายได้ให้แก่ ชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และบริการที่เกี่ยวเนื่องในท้องถิ่น

สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยว “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา” ในครั้งนี้ มีกิจกรรมหลากหลายทั้งการเยี่ยมชมตลาดน้ำบางคล้าเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว พร้อมเลือกซื้อสินค้า และของดีฉะเชิงเทรา อาทิ ขนมเปี๊ยะ มะม่วง มะพร้าว น้ำตาลสด กุ้งแม่น้ำ และข้าวหอมมะลิจากอำเภอราชสาส์น ที่เป็นต้นกำเนิดของข้าวหอมมะลิ 105 เป็นต้น ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งลุ่มน้ำบางปะกง เช่น ท้าวเวสสุวรรณสามขาเหยียบหีบสมบัติ แห่งวัดแจ้งบางคล้า นั่งเรือชมพระอุโบสถเงิน วัดพุทธพรหมยาน หนึ่งเดียวบนเกาะลัด และร่วมสักการะพระพิฆเนศ

ณ อุทยานพระพิฆเนศคลองเขื่อน พระพิฆเนศเนื้อสำริดองค์ยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขึ้นชื่อเรื่องการขอพรให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนในฉะเชิงเทรา และนักท่องเที่ยวสายมู ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนักท่องเที่ยวควรได้มาท่องเที่ยว และเข้าสักการะเป็นอย่างยิ่ง ซึ่ง สกพอ. ร่วมสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผลักดันให้พื้นที่นี้ เป็นอีกหนึ่ง destination ของนักลงทุนที่มาใช้ชีวิตยามว่าง และพักผ่อนจากการทำงาน

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพิ่มเติมแนบท้าย (Addendum) เรื่อง การส่งเสริมการลงทุนและบริการทางการเงินเพื่อพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ระหว่าง EXIM BANK กับ สกพอ. เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนใน EEC ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจชีวภาพหมุนเวียน และภาคบริการ รวมถึงการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การส่งออก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายของ EXIM BANK ที่มุ่งสู่บทบาท Green Development Bank สนับสนุนธุรกิจไทยสู่เวทีโลกด้วยการบริหารจัดการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน ณ สกพอ. เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567

ความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK และ สกพอ. ในครั้งนี้เป็นการสานพลังจุดแข็งของทั้ง 2 หน่วยงาน ในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาธุรกิจการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการไทย โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของ EXIM BANK และ สกพอ. ต่อยอดความร่วมมือจากเดิม EXIM BANK ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ EEC ไปแล้วมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการค้าการลงทุนให้เกิด Supply Chain การส่งออกที่มีความยั่งยืน ต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชน สังคม ประเทศ และโลกโดยรวม

พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และ ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมลงนามความร่วมมือในโครงการศึกษาและพัฒนาการให้บริการดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล สำหรับพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ (เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล : EECd) โดยจะร่วมกันศึกษาเทคโนโลยี ระบบสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงวิธีการดำเนินงานและรูปแบบการให้บริการด้านระบบโครงข่ายโทรคมนาคม ตลอดจนระบบเทคโนโลยี Digital Solution ที่เหมาะสมเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ EECd โดยมุ่งหวังที่จะร่วมกันพัฒนาระบบสาธารณูปโภค รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) ให้สามารถให้บริการในพื้นที่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมใน EEC ขับเคลื่อนการค้า การลงทุน และการพัฒนาประเทศ

X

Right Click

No right click