December 23, 2024

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ภายใต้โครงการบริการวิชาการ การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสหวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CUGS Academy: Lifelong Learning and Interdisciplinary Graduate School, Chulalongkorn University โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพวิชาชีพของบัณฑิตรุ่นใหม่และบุคลากรในภาคแรงงานไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เป็นผู้ลงนาม พร้อมทั้งเปิดตัวหลักสูตรเชิงปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิต จำนวน 28 หลักสูตร เพื่อพัฒนาศักยภาพนิสิต บัณฑิตจบใหม่ และบุคคลเพิ่งเริ่มทำงาน

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดงานประกาศผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2564  ซึ่งในปีนี้มีองค์กรที่ได้รับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 14 องค์กร โดยมีรายนามคือ 

  • รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่

บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด (บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด เคยได้รับรางวัล TQC ในปี 2549, 2555 - 2557)

  • รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม (Thailand Quality Class Plus: Innovation - TQC Plus: Innovation) จำนวน 2 องค์กร ได้แก่

1) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

2) บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด

  • รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus: Customer - TQC Plus: Customer) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส)

  • รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านบุคลากร (Thailand Quality Class Plus: People - TQC Plus: People) จำนวน 2 องค์กร ได้แก่

1) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2) โรงพยาบาลพญาไท 2

  • รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class: TQC) จำนวน 8 องค์กร ได้แก่

1) เขื่อนสิริกิติ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

2) คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

3) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

4) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

5) บริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด

                6) มหาวิทยาลัยมหิดล

                7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                8) โรงไฟฟ้าวังน้อย

 

              งานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในครั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ มาร่วมเป็นประธาน และกล่าวถึงรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และขีดความสามารถขององค์กรไทยอย่างยั่งยืน

โดยกล่าวว่า “เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เปรียบเสมือนกลไกที่ช่วยขับเคลื่อน และยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมในภาพรวม อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และกระตุ้นให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีความทันสมัย พร้อมสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรไทยทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ  ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคการศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญของการพัฒนาประเทศ รวมถึงภาครัฐที่มีบทบาทต่อการสนับสนุนให้การดำเนินกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว และมี    ผลิตภาพ สอดรับกับกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 13 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อพลิกโฉมประเทศไทย หรือ เปลี่ยนแปลงประเทศขนานใหญ่ ภายใต้แนวคิด Resilience  มุ่งลดความเปราะบาง และสร้างความพร้อมต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตต่าง ๆ สามารถเติบโตและอยู่รอดได้ท่ามกลางความท้าทาย”

                นอกจากนี้ ผศ.ดร.อธิศานต์ วายุภาพ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ยังได้กล่าวรายงานบทบาท และการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2564 – 2565 ว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)  ได้ดำเนินบทบาทเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนและยกระดับศักยภาพขององค์กรไทยอย่างเต็มกำลังความสามารถ มุ่งตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ            โดยเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินตนเองขององค์กร ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท และทุกขนาด เพื่อสร้างความพร้อมต่อการเติบโตขององค์กร ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงสุดท้าทาย ทั้งภายในและภายนอก ยิ่งกว่านั้นในปีนี้ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ยังได้ถูกนำไปปรับใช้อย่างครอบคลุม โดยมีองค์กรจากหลายภาคธุรกิจ ประกอบด้วย ภาคการผลิต การบริการ การสาธารณสุข การศึกษา รวมถึงภาครัฐ และภาครัฐวิสาหกิจ สมัครขอรับรางวัลสูงกว่าเป้าหมาย นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการส่งเสริมให้มีการใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติอย่างแพร่หลายทุกภาคส่วน”

                ทั้งนี้ ผศ.ดร.อธิศานต์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแผนการดำเนินงานของสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2565 ที่สำคัญ อย่างการจัดตั้ง สถาบัน TQA Academy ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้องค์กรไทยนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ไปปรับใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการอย่างเข้าใจ ผ่านการส่งมอบองค์ความรู้ เทคนิค เครื่องมือ เพื่อพัฒนาองค์กรและบุคลากรไทยในด้านต่าง ๆ อย่างครอบคลุม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผ่านระบบออนไลน์

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติมีมติแต่งตั้งให้ ผศ.ดร.อธิศานต์ วายุภาพ ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

X

Right Click

No right click