December 22, 2024

ธนาคารกรุงไทย เทศบาลนครระยอง และกองทุนการออมแห่งชาติ ร่วมจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การวางแผนทางการเงิน เตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ” โดยให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ (อายุ 45 -59 ปี) ในประเด็นรู้ทันภัยการเงิน ผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ สนับสนุนให้ผู้สูงวัยสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข ณ ห้องสมุดประชาชน เทศบาลนครระยอง

ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทยได้นำจุดแข็งในด้านความรู้ทางการเงิน ผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ผ่านการดำเนินงานของสาขาในแต่ละพื้นที่ และการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยส่งมอบองค์ความรู้การเงินขั้นพื้นฐาน แนวทางการจัดการหนี้ การเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน รายรับรายจ่าย เพื่อปลูกฝังและวางรากฐานความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการเงินและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้จ่ายและป้องกันปัญหาภัยคุกคามทางการเงิน ตลอดจนส่งเสริมให้คนไทยเห็นความสำคัญเรื่องการออม และมีวินัยทางการเงิน อันจะส่งผลดีต่อภาพรวมในการพัฒนาประเทศ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “กรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มองภาคเกษตรไทยติดหล่มการพัฒนาจากข้อจำกัดในการสร้างมูลค่าเพิ่มทำให้มีรายได้และกำไรไม่เพียงพอในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยภาคเกษตรต่ำกว่านอกภาคการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ มีสิ่งชักจูงให้คนรุ่นใหม่ละทิ้งภาคเกษตรในขณะที่แรงงานเกษตรในปัจจุบันมีอายุเฉลี่ยสูงที่ใกล้ออกจากตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้น แนะรัฐและเอกชนร่วมมือยกระดับเศรษฐกิจเกษตรไทยให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้ยังมีความต้องการในการทำงานในภาคเกษตรก่อนจะสายเกินไป

เศรษฐกิจภาคการเกษตรนับเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจภูมิภาคและเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนที่มีถิ่นอาศัยในภูมิภาคโดยมีข้อจำกัดในตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรที่มักกระจุกตัวในเขต กรุงเทพ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และในพื้นที่เขตเมืองของจังหวัดในแต่ละภูมิภาคเท่านั้น โดยตามข้อมูลของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชี้เศรษฐกิจภาคการเกษตรของไทยในปี 2565 มีมูลค่าราว 1.53 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 8.8% ของ GDP โดยในปี 2566 ttb analytics ประมาณการว่ามูลค่าเศรษฐกิจภาคการเกษตรคาดว่าจะลดลงเหลือเพียงสัดส่วน 8.6%

สัญญาณของสัดส่วนเศรษฐกิจภาคการเกษตรที่ปรับลดลงเล็กน้อยอาจดูไม่สะท้อนภาพ แต่ถ้ามองลึกลงไปพบว่า บทบาทเศรษฐกิจภาคการเกษตรมีทิศทางลดลงต่อเนื่อง หากเมื่อเทียบกับปี 2555 เศรษฐกิจภาคเกษตรไทยเคยมีสัดส่วน 11.5% ของ GDP ที่มูลค่า 1.42 ล้านล้านบาท โดยเมื่อพิจารณาเพียงผิวเผินอาจมองเป็นเรื่องปกติเนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมและภาคบริการจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าสินค้าเกษตร แต่หากเมื่อมองถึงอัตราการขยายตัวพบว่าภาคเศรษฐกิจการเกษตรไทยยังติดกับดักการสร้างมูลค่าเพิ่ม ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจภาคเกษตรไทยขยายตัวเพียง 7.7% ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ มีการขยายตัวในอัตราที่สูง เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย และเวียดนาม ขยายตัวอยู่ที่ 51.5% 82.7% และ 53.2% ตามลำดับ และรวมถึงประเทศที่เน้นบทบาทของการผลิตภาคอุตสาหกรรม เช่น จีน และเยอรมัน ที่ขยายตัว 68.6% และ 51.0% ตามลำดับ

 

สัญญาณการเติบโตที่ต่ำในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาของภาคการเกษตรไทย แสดงถึงข้อจำกัดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรที่สามารถเพิ่มรายได้สร้างกำไรที่สูงขึ้นย้อนกลับไปหาเกษตรกรเพื่อใช้ยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัว รวมถึงกำไรยังถือเป็นส่วนสำคัญของเกษตรกรที่จะนำมาใช้เพื่อลงทุนพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจในมิติต่าง ๆ เช่น การซื้อที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซื้อเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลงทุนสร้างแหล่งกักเก็บน้ำในช่วงน้ำเยอะสำรองไว้ในช่วงน้ำน้อย หรือการลงทุนในเทคโนโลยีการเพาะปลูกทางการเกษตรที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการเพาะปลูกในระยะยาว ซึ่งตามข้อเท็จจริงสะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรไม่สามารถลงทุนต่อยอดพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตใด ๆ ได้เลยจากรายได้ที่ดูเหมือนจะไม่เติบโตในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทาง ttb analytics ได้สรุปสาเหตุที่ภาคการเกษตรของไทยไม่สามารถขยายตัวได้ ตามเหตุผลหลัก ๆ ต่อไปนี้

1) เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงยึดติดกับการขายสินค้าเกษตรโดยไม่ผ่านการแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากสินค้าเกษตรเมื่อผ่านการแปรรูปย่อมมีมูลค่าเพิ่มจากกรรมวิธีการผลิตที่แปรรูปจากสินค้าเกษตรที่ไม่มีเอกลักษณ์ให้กลายเป็นสินค้าบริโภคที่มีความเฉพาะตัว รวมถึงสามารถเพิ่มมูลค่าผ่านรูปแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่สามารถสร้างให้ตอบโจทย์กับผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มที่มีพฤติกรรมซื้อสินค้าต่างกันออกไป รวมถึงการแปรรูปยังสามารถช่วยลดการพึ่งพิงพ่อค้าคนกลางเพื่อให้ช่วยรับซื้อสินค้าจากข้อจำกัดเรื่องที่สินค้าเกษตรจัดอยู่ในกลุ่มที่เน่าเสียได้ง่าย

2) เกษตรกรไทยเผชิญกับปัญหาการกระจายรายได้จากผลผลิตที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากไม่สามารถก้าวผ่านการเป็นผู้ผลิตเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการได้ จึงยังมีฐานะเป็นเพียงผู้ผลิตสินค้าขั้นกลางให้กับผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย เช่น ในกรณีศึกษาข้าวขาวพบว่า ปี 2566 ข้าวขาวราคาเฉลี่ย 20.7 บาท/กิโลกรัม กำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการก่อนหักต้นทุนการขายและการบริหารที่ราว 4.05 – 5.8 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นการกระจายรายได้จากผลผลิตขั้นสุดท้ายถึงมือผู้ประกอบการที่ 19.6% -24.5% ในขณะที่เกษตรกรไทยได้รับกำไรจากการเพาะปลูกข้าวเพียงราว 0.22 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นการกระจายรายได้ที่ย้อนกลับมาในมือของเกษตรกรคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.1% ของราคาข้าวขาวที่เป็นสินค้าบริโภคขั้นสุดท้าย

ดังนั้น บนสถานการณ์ที่ภาคการเกษตรไทยไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มที่จะทำให้รายได้ย้อนกลับสู่เกษตรกรได้เหมาะสม ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของแรงงานภาคการเกษตรในปี 2565 อยู่ที่เพียง 128,000 บาทต่อคนต่อปี ในขณะที่กลุ่มแรงงานนอกภาคการเกษตรมีรายได้เฉลี่ยถึง 580,000 บาทต่อคนต่อปี ย่อมส่งผลต่อให้คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มละทิ้งภาคการเกษตรและหันเข้าทำงานในกลุ่มนอกภาคการเกษตรจากผลตอบแทนที่สูงกว่า สอดคล้องกับสถิติที่ชี้ชัดว่าในปี 2555 แรงงานในภาคการเกษตรมีจำนวนมากถึง 15.4 ล้านคน ในขณะที่ปี 2565 แรงงานภาคการเกษตรลดลงเหลือเพียง 11.9 ล้านคน และแรงงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นจาก 23.6 ล้านคนเป็น 27.3 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากในเชิงโครงสร้างยังพบว่าเกษตรกรไทยที่เป็นกลุ่มแรงงานในภาคการเกษตรมีอายุเฉลี่ยสูงถึง 62 ปี จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลต่อเนื่องว่าระยะถัดไปที่กลุ่มเกษตรกรเหล่านี้ออกจากตลาดแรงงานบนเงื่อนไขของแรงงานรุ่นใหม่เลือกไม่ทำงานในภาคการเกษตรจากผลตอบแทนที่ต่ำกว่า รวมถึงกลุ่มที่อยู่ในครอบครัวเกษตรและมีประสบการณ์ที่ครอบครัวทำการเกษตรมาตลอดชีวิตแต่ยังไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ก็คงไม่อยากจะเดินตามรอยครอบครัวที่ทำมาในอดีต ด้วยเหตุนี้ทาง ttb analytics จึงมองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องช่วยกันยกระดับพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรไทยเพื่อให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพียงพอเพื่อดึงดูดให้คนรุ่นใหม่มีความสนใจที่ยังทำงานในภาคการเกษตร ก่อนที่ต่อไปประเทศไทยจะไม่มีเกษตรกร คงเกิดคำถามว่าใครจะปลูกข้าวให้เรากิน

ได้เวลาที่ต้องจริงจังกับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณ ให้มีความสุข สนุก สำราญ ไม่เป็นภาระของลูกหลานในอนาคต

สิ่งสำคัญคือ การวางแผนทั้งด้านการเงิน และสุขภาพจะช่วยให้เรามีความมั่นคงและสามารถใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างอิสระและมีความสุขมากที่สุด

GEN HEALTHY LIFE มีแนวคิดการแนะนำ 4 เทคนิค เพื่อให้ ผู้สูงวัยได้เตรียมความพร้อมก่อนเดินทางเข้าสู่วัยเกษียณอย่างเต็มตัว ซึ่งประกอบไปด้วย 4 แนวทาง คือ

เริ่มที่ข้อแรก "จัดการงบประมาณและค่าใช้จ่าย" เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์เงินเดือนเพื่อให้เราได้รู้ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องรับผิดชอบในแต่ละเดือน โดยพิจารณาได้จากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าบ้าน ค่ารักษาสุขภาพ เพื่อประมาณการเป้าหมายการออมและการลงทุนที่ต้องทำในช่วงเวลาที่เหลือจนถึงวัยเกษียณ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าตอนนี้เราอายุ 30ปี ออมเงินเดือนละ 3,000 บาท เมื่อเกษียณตอนอายุ 60 ปี เราจะมีเงินออมทั้งหมด 1,080,000 บาท ลองคำนวณว่าจะใช้เพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอเราต้องหาทางออมด้วยวิธีอื่น หรือหารายได้เสริมให้มากขึ้น ลำดับต่อมา "ลงทุนสำหรับระยะยาว" เราต้องยอมรับว่าภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นได้ทุกวัน การเก็บออมด้วยเงินสดอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด การลงทุนจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจในปัจจุบัน ซึ่งการลงทุนมีหลายรูปแบบให้เราเลือกตามความเหมาะสม อาทิ ลงทุนกับตราสารหนี้ไทย ตราสารหนี้ต่างประเทศ หุ้น ทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมักมีความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุนควรวางแผนและพิจารณาให้รอบคอบ หรือ อาจขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการลงทุน เพื่ออนาคตอันสดใสของวัยเกษียณ

ถัดมา"ประกันเสริมความมั่นใจ" เป็นหนึ่งเรื่องที่หลายคนต่างมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่าหากเราเตรียมพร้อมวางแผนประกันสุขภาพ และ ประกันอื่นๆ แบบระยะยาวตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เราสามารถวางแผนพร้อมสร้างวินัยทางการเงิน และปกป้องความเสี่ยงไปพร้อมกัน ช่วยให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในอนาคต ซึ่งผลิตภันฑ์ประกันภัยนั้นมีหลากหลายรูปแบบให้เลือก เช่น ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ, ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์, ประกันชีวิตแบบบำนาญ , ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นต้น

สุดท้าย "สุขภาพและการใช้ชีวิตที่สมดุล" ถึงแม้สถานภาพทางการเงินจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่อย่าลืมว่าการที่ชีวิตช่วงวัยเกษียณของเราจะมีความสุขที่สุด คือการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วย  การออกกำลังกายและใส่ใจเรื่องของโภชนาการอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องที่เราควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ตอบโจทย์การเกษียณอายุอย่างมีความสุข

การวางแผนทางด้านการเงินเป็นเรื่องสำคัญ แต่อย่าละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพเด็ดขาด เพราะเราจะเป็นผู้เกษียณอายุที่แข็งแรงและมีความมั่นคงในบั้นปลายชีวิตไปพร้อมกัน สำหรับใครที่ชื่นชอบบทความ และเคล็ดลับดีๆ แบบนี้ สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Gen Healthy Life เพราะเรามีเรื่องราวดีๆ มาเสิร์ฟตลอด 24 ชั่วโมง

ก.ล.ต. และพันธมิตร จัดพิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณให้นายจ้างในโครงการ “บริษัทเกษียณสุข” 77 ราย  ส่งเสริมสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กว่า 1.6 แสนคน ให้เห็นความสำคัญของการออมและลงทุนเพื่อวัยเกษียณ และการวางแผนการเงินระยะยาวอย่างจริงจัง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกจ้างจะมีเงินไม่พอใช้ในวัยเกษียณ

จากการที่ ก.ล.ต. ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ให้บริการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จัดโครงการ “บริษัทเกษียณสุข” เชิญชวนบริษัทนายจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เข้าร่วม โดยมีเป้าหมายเพื่อรณรงค์ให้นายจ้างเห็นความสำคัญและนำไปสู่การปฏิบัติจริงในการเตรียมความพร้อมทางการเงินให้ลูกจ้างมีเงินพอใช้สำหรับวัยเกษียณโดยการออมและลงทุนผ่าน PVD ในปี 2562 มีนายจ้างที่มี PVD ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 77 ราย* โดยแบ่งเป็นรางวัลระดับทอง 28 ราย ระดับเงิน 37 ราย และระดับทองแดง 12 ราย ซึ่งมีสมาชิก PVD รวมกันกว่า 1.6 แสนคน จากนายจ้างที่สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 181 ราย ครอบคลุมสมาชิกกว่า 3 แสนคน

ในจำนวนนี้มีนายจ้าง 64 ราย เพิ่มแผนการลงทุนที่หลากหลายให้เหมาะกับลูกจ้าง และมีเงินสมทบให้ลูกจ้างตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป ขณะที่ลูกจ้างมีความกระตือรือร้นที่จะเพิ่มเงินสะสม โดยมีนายจ้าง 28 ราย ที่สมาชิก PVD มากกว่าครึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุนมากกว่าร้อยละ 10

พิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณบริษัทเกษียณสุข ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีนายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ประธานกรรมการ ก.ล.ต. ให้เกียรติเป็นผู้มอบรางวัล โดยมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร และผู้แทนจากบริษัทที่เข้าร่วมโครงการรวมกว่า 300 คน ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก

ทั้งนี้ นายจ้างเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นและสนับสนุนให้ลูกจ้างตระหนักถึงความจำเป็นของการออมเพื่อวัยเกษียณ ซึ่งข้อมูลที่นายจ้างและคณะกรรมการกองทุนได้รับจากการร่วมกิจกรรมในโครงการ อาทิ การกระตุ้นให้ลูกจ้างสะสมเงินเต็มสิทธิร้อยละ 15 ของเงินเดือน การมีแผนลงทุนที่หลากหลายให้เลือกตามความเสี่ยง รวมถึงมีแผนการลงทุนแบบสมดุลตามอายุ (life path) ที่ปรับสัดส่วนการลงทุนอัตโนมัติตามช่วงอายุของสมาชิก จะช่วยกระตุ้นให้ลูกจ้างเห็นความสำคัญของการวางแผนการเงิน การออมและลงทุนเพื่อวัยเกษียณผ่าน PVD จนสามารถมีเงินพอใช้ในวัยเกษียณได้

โครงการ “บริษัทเกษียณสุข” เป็นกิจกรรมหนึ่งของ ก.ล.ต. ที่มีนโยบายส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการออมเงินในระยะยาว เนื่องจาก ก.ล.ต. พบว่า สมาชิก PVD ประมาณร้อยละ 60 ได้รับเงินก้อนไม่ถึง 1 ล้านบาทในวันเกษียณอายุ ในขณะที่ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า คนไทยควรมีเงินอย่างน้อย 3-5 ล้านบาท ณ วันเกษียณเพื่อให้เพียงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้หลังเกษียณ จึงสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่อาจมีเงินไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตหลังจากไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว โดยสาเหตุหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการออมและลงทุนเพื่อวัยเกษียณ

X

Right Click

No right click