ธนาคารกรุงไทยร่วมงาน BOT Bangkok Digital Finance Conference 2023 โชว์ศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบ ชูบริการ “PromptBiz” ตอบโจทย์การทำธุรกิจจนถึงซัพพลายเชน และ “เป๋าตัง” ซูเปอร์แอปฯ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นในทุกวัน
ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ทันสมัยอย่างทั่วถึง ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นได้ในทุกวัน โดยธนาคารเข้าร่วมงาน BOT Bangkok Digital Finance Conference 2023 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Building Ecosystem for Responsible Innovation หรือ การพัฒนาระบบนิเวศการเงินดิจิทัลอย่างรับผิดชอบ ระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน 2566 ที่ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ภายในงาน ธนาคารตอกย้ำศักยภาพบริการทางการเงินดิจิทัลด้วยแนวคิด "Empower Infinite Innovation for All Thais" โดยนำเสนอบริการ “PromptBIZ” ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม Krungthai BUSINESS ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สนับสนุนการทำธุรกรรมการค้าและการชำระเงินรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้ในที่เดียว ช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน จัดการเอกสารการค้าได้ครบวงจร พร้อมจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมการทำรายการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ โดยไม่ต้องออก 50 ทวิให้กับคู่ค้า ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวก รวดเร็วภายใต้ต้นทุนที่เป็นธรรม
ธนาคารยังนำเสนอศักยภาพของ แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ซูเปอร์แอปฯ ที่ถูกพัฒนาเป็น Thailand Open Digital Platform เปิดกว้างให้ประชาชนทุกคนใช้บริการได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทย เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐ ผ่าน G-Wallet และปฏิวัติการลงทุนของประเทศ ทั้งการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ผ่านบริการ “วอลเล็ต สบม.” บริการซื้อขายหุ้นกู้ดิจิทัล บริการซื้อขายทองคำ ผ่าน “Gold Wallet” พร้อมบริการด้านสุขภาพ ผ่าน “Health Wallet” เชื่อมต่อกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ให้ประชาชนตรวจสอบและเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ
นอกจากนี้ บริษัท อะไรส์ บาย อินฟินิธัส จำกัด (Arise by Infinitas) องค์กรสำหรับคนดิจิทัล ได้นำเสนอโอกาสสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการพัฒนาตนเอง ด้วย Program Talent Incubator ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับคนไทยทั้งประเทศ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยให้คนไทยมีประสบการณ์การใช้บริการดิจิทัลที่ดี ภายใต้แนวคิด Make Digital Life Possible for ALL
เนื่องในวันการกุศลสากล Binance Charity หรือหน่วยงานการกุศลของ Binance ผู้นำบล็อกเชนอีโคซิสเต็ม (Blockchain Ecosystem) ระดับโลก ได้เผยผลสำรวจล่าสุดจากผู้คนกว่า 1,126 ราย ที่มาจากตัวแทนของผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม Binance และสาธารณชนในวงกว้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบของการบริจาคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อเป็นแนวทางให้กับ Binance Charity ในการริเริ่มสิ่งใหม่ที่สอดคล้องกับความคิดเห็นและความต้องการของสาธารณชนในด้านการกุศลได้ดียิ่งขึ้น
ประเด็นสำคัญจากผลสำรวจ
● ถึงแม้ว่าการบริจาคด้วยวิธีดั้งเดิม อย่างเช่น การใช้เงินสด เช็ค และบัตรเครดิต จะยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็น 43% ของผู้ตอบแบบสอบถาม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนอีก 32% ได้ให้คำตอบว่าพวกเขาชื่นชอบที่จะทำการกุศลด้วยการบริจาคเหรียญคริปโตมากกว่า
● การสำรวจยังเผยให้เห็นถึงรากฐานอันแข็งแกร่งของการบริจาคและการทำการกุศลด้วยคริปโต เพราะถึงแม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่กว่า 71% จะยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการบริจาคสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการกุศล อย่างไรก็ตาม อีกกว่า 29% ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นได้เริ่มนำแนวทางใหม่ในการบริจาคมาใช้แล้ว
· ผู้ตอบแบบสอบถามได้ชี้ให้เห็นถึง 3 จุดแข็งหลักของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ทำให้คริปโตได้รับความนิยมยิ่งขึ้น โดยกว่า 37% ได้กล่าวชมความสามารถในด้านความโปร่งใส 32% ชื่นชอบประสิทธิภาพต่างๆ ซึ่งรวมถึงความคุ้มค่าของเหรียญคริปโต นอกจากนี้กว่า 28% ได้มองเห็นความสามารถอันแสนเฉพาะตัวของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่มอบความเชื่อมั่นให้กับผู้บริจาค เนื่องจากพวกเขาสามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงินได้ด้วยตนเองอีกด้วย
● ผลการสำรวจของ Binance Charity ยังได้เผยให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้คนในการเลือกสนับสนุนกองทุนการกุศลต่างๆ ดังนี้
o ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ: ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 27% ยืนยันอย่างชัดเจนว่าการมีจริยธรรมและการรายงานแบบเปิดถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่สามารถสร้างความเชื่อใจให้กับผู้บริจาคได้
o วัตถุประสงค์ขององค์กรการกุศล: เกือบ 26% ของผู้ตอบแบบสอบถามร่วมบริจาคเพราะพันธกิจขององค์กร ซึ่งสิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนนั้นมีพลังในการดึงดูดผู้คนได้อย่างมหาศาล
o ผลกระทบทางสังคม: ผู้คนกว่า 18% ให้ความสนใจในด้านผลประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ ซึ่งข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเช่นทุกวันนี้
● เมื่อลงรายละเอียดถึงประเภทองค์กรการกุศลที่ผู้คนให้ความสนใจ ผลสำรวจได้ชี้ให้เห็นว่า
o การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม: 22% ของผู้ตอบแบบสอบถามตระหนักถึงความสำคัญของการมอบความช่วยเหลือให้กับผู้คนที่ประสบภัยได้อย่างทันท่วงทีใน
o การศึกษา: 20% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีความปรารถนาที่จะช่วยยกระดับสังคมผ่านการให้ความรู้และการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส
o ด้านสุขภาพ: 19% เล็งเห็นถึงการมอบโอกาสทางสุขภาพเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการสนับสนุนด้านการศึกษา
· นอกจากนี้ ผลสำรวจยังได้แสดงให้เห็นถึงระดับการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในด้านการกุศล โดยพบว่าผู้คนส่วนใหญ่กว่า 51% จะเข้าร่วมงานการกุศลเมื่อมีเวลาและทรัพยากรที่เอื้ออำนวย ในขณะที่ อีกกว่า 20% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าพวกเขามีความมุ่งมั่นและแสวงหาโอกาสที่จะมอบความช่วยเหลือให้กับผู้ด้อยโอกาสอย่างสม่ำเสมอ
องค์กรการกุศล Binance Charity กับการขับเคลื่อนและส่งต่อพลังอันดีให้กับโลกใบนี้
ผลสำรวจของ Binance Charity ได้แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการบริจาคเพื่อการกุศล ซึ่งสะท้อนถึงกระแสของการนำ คริปโตมาใช้ในบริจาคเพิ่มมากขึ้น โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการริเริ่มสิ่งใหม่ที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่โลกใบนี้ ซึ่ง Binance Charity จะพยายามนำความสามารถของเทคโนโลยีบล็อกเชนมาพัฒนาและสร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านการทำการกุศล ทั้งในด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะฉุกเฉิน การสนับสนุนด้านการศึกษา ไปจนถึงการพัฒนาด้านสาธารณสุข
ที่ผ่านมา Binance ได้บริจาคเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ในรูปแบบคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศยูเครน พร้อมทั้งยังได้เปิดตัวบัตร Binance Refugee Card เพื่อให้การโอนเงินอย่างเร่งด่วนไปยังผู้ที่ต้องการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ถูก และปลอดภัย นอกจากนี้ Binance ยังได้บริจาคเงินโดยตรงกว่า 5 ล้านดอลลาร์ให้กับเหยื่อที่เผชิญเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศตุรกีเพื่อช่วยบรรเทาความสูญเสียให้กับเหยื่อเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ Binance Charity ยังได้ริเริ่มโครงการด้านการศึกษา ด้วยการสนับสนุนของ Binance Academy รวมถึงสถาบันการศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาชั้นนำ อย่าง Women in Tech และ Utiva เพื่อมอบทุนการศึกษาด้านเทคโนโลยีและบล็อกเชน รวมถึงการส่งเสริมผู้หญิงในอุตสาหกรรมคริปโตเพื่อช่วยลดช่องว่างที่เกิดขึ้น โดยที่ผ่านมามีผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการดังกล่าวกว่า 57,000 คนจาก 5 ทวีปทั่วโลก
ไม่เพียงเท่านั้น Binance Charity ยังได้บริจาคเงินกว่า 5.7 ล้านดอลลาร์ผ่านแคมเปญ Crypto Against Covid ในรูปแบบคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อช่วยเหลือด้านสาธารณสุข ผ่านการส่งมอบชุด PPE จำนวนกว่า 2 ล้านชุดและวัคซีนอีกกว่า 500,000 ยูนิตทั่วโลก
Binance Charity ถือเป็นผู้บุกเบิกในด้านการบริจาคคริปโตเพื่อการกุศล พร้อมส่งเสริมและผลักดันให้องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรทั่วโลกยอมรับการบริจาคโดยคริปโตผ่านการใช้งาน Binance Pay หรือ แอปพลิเคชัน DeFi Wallet
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG)
หลังจากที่ บมจ.เจมาร์ท (JMART) ประกาศความสำเร็จ บ.เจ เวนเจอร์ส (JVC) บริษัทย่อยที่ระดมทุน ICO (Initial Coin Offering) สำเร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเปิด Pre-Sale ขาย JFin Coin 100 ล้านโทเคนหมดเกลี้ยงภายใน 55 ชั่วโมง ล่าสุดเดินหน้าแผนธุรกิจตามที่กำหนดไว้ เปิดเกมรุกสินเชื่อในโลกฟินเทค โดยพัฒนา JFin DDLP ระบบสินเชื่อแบบดิจิทัลที่ไม่มีตัวกลาง อีกทั้งเตรียมนำมาต่อยอดผลิตภัณฑ์อื่นๆ ประเดิมใช้งานในกลุ่มเจมาร์ทภายในปี 2562 นี้
อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานหลังจาก บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ JVC (เป็นบริษัทย่อยที่ JMART ถือหุ้นในสัดส่วน 80%) ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ และแอฟพลิเคชั่นทางด้านฟินเทค ลงทุนในธุรกิจสตร์ทอัพ ประสบความสำเร็จจากการระดมทุนด้วยการทำ ICO เป็นรายแรกในประเทศไทยของกลุ่มบริษัทมหาชน ที่สร้างปรากฏการณ์ของโลกการเงิน นำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการทำธุรกิจสินเชื่อ ในชื่อเหรียญ JFin Coin
อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ JFin Coin เปิดเสนอขาย Pre-sale วันแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับเกินคาดหมาย โดยเปิดเสนอขายในคราวนี้จำนวน 100 ล้านโทเคน ที่ราคาขาย 6.60 บาทต่อโทเคน ได้ถูกผู้สนับสนุนจองซื้อหมดเต็มจำนวนเรียบร้อยแล้วภายใน 55 ชั่วโมงแรก ตอกย้ำความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนในแผนธุรกิจที่วางไว้ ในฐานะที่เจมาร์ทเป็นบริษัทมหาชน ก่อตั้งและดำเนินธุรกิจมา 30 ปี การันตีความถูกต้อง และธรรมภิบาลในการบริหารธุรกิจ มุ่งหวังในการเป็นผู้นำเทคโนโลยีทางด้านการเงินอย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้เกิด ICO ที่มีมาตรฐานขึ้นในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ มั่นใจนำเงินที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ โดยเม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนราว 660 ล้านบาท ทีมงานได้เริ่มดำเนินการพัฒนาระบบ Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) ไปตามแผนที่วางไว้เรียบร้อยแล้ว สนับสนุนการเติบโตในธุรกิจสินเชื่อของกลุ่มเจมาร์ท ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นได้
ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ JVC เผยถึงการพัฒนระบบสินเชื่อแบบดิจิทัลที่ไม่มีตัวกลาง (Decentralized Digital Lending Platform หรือ DDLP) คือ ระบบการกู้ยืมเงินแบบดิจิทัลบนเทคโนโลยี Blockchain ที่มีความปลอดภัยสูง รองรับกระบวนการแบบครบวงจร ตั้งแต่การระบุตัวตน (KYC) กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ การประเมินเครดิต การอนุมัติสินเชื่อ และการติดตามหนี้สิน เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการบริการด้านสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมถึงรองรับระบบ P2P Lending ระบบตลาดสินเชื่อออนไลน์ที่เชื่อมต่อให้ผู้กู้ที่มีศักยภาพสามารถกู้เงินได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านธนาคารหรือสถาบันการเงิน ดังนั้น ระบบ DDLP จะเป็นหนึ่งในระบบสำคัญที่เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มบริษัทเจมาร์ทในอนาคตอันใกล้นี้ ตั้งเป้าระบบจะแล้วเสร็จ พร้อมเริ่มใช้งานในปี 2562
สำหรับจุดแข็งของ JFin DDLP คือ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ ทำให้สามารถสร้างระบบการเงินที่ยั่งยืน ขยายตลาด และเข้าถึงประชากรได้อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบธนาคารหรือการให้บริการทางการเงิน โดยบริษัทฯ มุ่งเน้นการจับกลุ่มลูกค้าที่มีเครดิตดี วิเคราะห์จากฐานข้อมูลลูกค้าของกลุ่มเจมาร์ทที่มีรวมกันมากกว่า 3 ล้านราย
โดยเฉพาะบริษัทในเครือ ได้แก่ บมจ.เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) ผู้นำในธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ และรับจ้างติดตามหนี้สิน เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เรามีฐานข้อมูลและสามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้น
รวมถึงการเสริมทัพด้วยการจับมือพันธมิตรและกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เพื่อสนับสนุนข้อมูลให้แก่บริษัทฯ ให้มี Big Data ที่สามารถสร้าง Credit scoring หรือการประเมินการขอสินเชื่อบุคคลโดยอัติโนมัติผ่านเทคนิคการให้คะแนนเครดิตผ่านข้อมูลต่างๆ ที่ระบุไว้ เพื่อให้สามารถคัดเลือกลูกค้าที่มีเครดิตดีได้อย่างแม่นยำมากขึ้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในโลกการเงินอย่างสมบูรณ์แบบ ส่งผลดีต่อ JVC ในฐานะผู้นำในธุรกิจพัฒนาซอฟท์แวร์ และแอฟพลิเคชั่นทางด้านฟินเทคให้ได้รับการตอบรับมากขึ้นในอนาคต
ความชัดเจนในการออกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีบทบาทในการทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป
จากกรณีที่กระทรวงการคลังได้ออกหนังสือเตือนนักลงทุนมาตลอดว่าสกุลเงินดิจิทัล ไม่ใช่สกุลเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย การลงทุนมีความเสี่ยง
ตามด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรม หรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล) ทั้งการเข้าไปลงทุนหรือซื้อขายเพื่อประโยชน์ของสถาบันการเงินและหรือผลประโยชน์ของลูกค้า, การให้บริการรับแลกเปลี่ยน, การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อเป็นสื่อกลางทำธุรกรรมระหว่างลูกค้า, การใช้บัตรเครดิตในการซื้อ และการรับให้คำปรึกษาเพื่อลงทุนหรือการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency
จากนั้นมีความเคลื่อนไหวของ เจ เวนเจอร์ส จำกัด (เจวีซี) บริษัทลูกของบริษัท เจมาร์ทจำกัด (มหาชน) ได้เปิด ICO (Initial Coin Offering) ออก Cryptocurrency ที่มีชื่อว่า "เจฟินคอยน์" โดยมีเป้าหมายเพื่อระดมทุนเงินดิจิทัลสำหรับนำมาเปิดตัวโปรเจคโครงการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามกระแสของโลกยุคดิจิทัล
อย่างไรก็ตามในด้านของความชัดเจนในการออกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัลนั้น รพี สุจริตกุล เลขาธิการกรรมการในคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงการระดมทุนในรูปแบบ ICO อยู่ระหว่างการพิจารณาของ 4 หน่วยงานรัฐ โดยจะมีการพิจารณาเพื่อนำกฎหมายที่มีอยู่มากำกับ Cryptocurrency ซึ่งแนวทางในการกำกับดูแลเป็นเรื่องใหม่ และในปัจจุบันนี้ยังไม่มีประเทศไหนที่มีแนวทางในการกำกับดูแลได้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้แนวทางกำกับดูแลการระดมทุนผ่านเงินสกุลดิจิทัลของก.ล.ต.นั้น กำลังศึกษาแนวทางเพื่อนำข้อสรุปเสนอสู่การพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ กรรมการในคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงประกาศของธปท. ที่ไม่ให้สถาบันการเงินเข้าลงทุนในเงินดิจิทัลนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ขัดกันในนโยบาย
ซึ่งมองว่าธปท.ดำเนินการเพื่อเตือนไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ภายใต้การดูแลเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น และบริษัทที่มีการระดมทุน ICO ก่อนที่เกณฑ์จะออกนั้น ก.ล.ต.ไม่สามารถห้ามไม่ให้บริษัททำธุรกิจได้ และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการดูแล ดังนั้นผู้ที่จะออกต้องคำนึงถึงผลกระทบของราคาหุ้น หรือกิจการของบริษัทจดทะเบียนด้วย ซึ่งบริษัทต้องมีการกำกับดูแลความเสี่ยงด้วย
ในด้านของการพิจารณากฎเกณฑ์การควบคุมสินทรัพย์การลงทุนในรูปดิจิทัล หรือดิจิทัล แอทเซส ที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง และ ธปท. มีความเห็นให้ก.ล.ต.เป็นผู้ดูแลในการดำเนินการหาแนวทางควบคุม
ซึ่งดิจิทัล แอทเซส มีความคล้ายคลึงกับหลักทรัพย์ และสามารถซื้อขายในตลาดรองได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถนำพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เข้าดูแลได้ นั่นเพราะดิจิทัล แอทเซส ไม่ใช่หลักทรัพย์จึงต้องหาแนวทางโดยทำงานร่วมกับทีมกฎหมายของกระทรวงการคลังว่า จะใช้กรอบกฎหมายแบบใดที่จะให้ก.ล.ต.กำกับดูแล ทั้งในด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือ ธุรกิจนายหน้าการซื้อขาย ซึ่งในต่างประเทศ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์การดูแลดิจิทัล แอทเซส มาก่อน จึงต้องหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมถึงดูแลกฎเกณฑ์ ICO เพื่อเสนอสู่การพิจารณาของคณะกรรมการก.ล.ต.ในเวลาต่อไป