November 27, 2024

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมด้วย องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และ Shanghai Taihuixuan Technology Co., Ltd. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จัดตั้งร้านค้า “THAI MALL” ในแพลตฟอร์ม E-commerce ประเทศจีน เชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานโลก ดันสินค้าเกษตรและผลไม้ไทยสู่เมืองเศรษฐกิจ เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ยกระดับภาคการเกษตรไทยในระดับนานาชาติ

นางสาวอนงค์นาถ จ่าแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกเป็นอย่างมาก สะท้อนได้จากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ภาคเกษตรที่มีสัดส่วนจำนวนราวร้อยละ 10 ของมูลค่ารวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกผลไม้ไทยถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยมาจนถึงปัจจุบัน

แม้ในช่วงที่ผ่านมาผลผลิตทางการเกษตร อาจชะลอตัวจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพาะปลูกและปริมาณผลผลิต อย่างไรก็ตามด้วยคุณภาพที่ได้รับการยกย่องให้ผลไม้ไทยเป็นหนึ่งในผลไม้ที่ดีที่สุดในโลก ได้รับการยืนยันจากมาตรฐานสากล ทำให้ผลไม้ไทยยังคงมีความต้องการในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดประเทศจีน ที่มีปริมาณการส่งออกทุเรียน มังคุด ลำไย ในช่วง มกราคม - ตุลาคม 2567 คิดเป็นปริมาณ 1,253,208.1 ตัน หรือมีมูลค่ากว่า 130,372.7 ล้านบาท

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตระหนักถึงศักยภาพและความสำคัญของภาคการเกษตรไทยในการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ จึงมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพสูง มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ตอบสนองความต้องการของตลาดโลก โดยให้การสนับสนุนเกษตรกรในด้านการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเพาะปลูก การปรับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และ รักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐานสากล

นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เปิดเผยว่า อ.ต.ก. พร้อมด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ Shanghai Taihuixuan Technology Co., Ltd. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อจัดตั้งร้านค้า “THAI MALL” ในแพลตฟอร์ม E-commerce ของประเทศจีน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง โดย อ.ต.ก. มีหน้าที่ในการจัดหา คัดเลือกผลไม้ที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดส่งไปยังเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศจีน ได้แก่ มหานครเซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับอีกขั้นของภาคเกษตรไทย เพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตร เชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานให้มีความสมบูรณ์ โดยมีเป้าหมายในการเปิดแบรนด์สินค้าในร้านค้าดังกล่าว ไม่น้อยกว่า 10 ร้าน ภายในเดือนกันยายน ปี 2568

อีกทั้งนับเป็นการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้ภาคการเกษตรของประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มห่วงโซ่อุปทานของโลก (Global E-commerce Platform) ผ่านการขยายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน ในระบบ E-commerce ต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดประเทศจีน ซึ่งมีความต้องการสินค้าเกษตรของไทยในปริมาณสูง และ เป็นการเชื่อมโยงระบบการค้าไทยไปสู่ประเทศอื่นๆ ที่มีศักยภาพในอนาคต

ด้าน Mr.Chen Zhifa ประธานกรรมการบริษัท Shanghai Taihuixuan Technology Co., Ltd. กล่าวว่า ประเทศจีนให้การยอมรับในสินค้าทางการเกษตร รวมถึงผลไม้ของไทยมาอย่างยาวนาน โดยบริษัทมีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือในครั้งนี้ โดยเป็นตัวกลางเชื่อมต่อสินค้าคุณภาพของไทยไปยังแพลตฟอร์มที่ได้มาตรฐาน และไปสู่เมืองที่มีความต้องการสินค้าสูง

โดยบริษัทมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการค้าสินค้าออนไลน์ มีความพร้อมด้านขนส่ง โกดังเก็บสินค้า รวมถึงสามารถเข้าถึง และ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลบนแพลตฟอร์ม E-commerce ของจีนได้เป็นอย่างดี ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย รวมถึงเป็นกำลังในการส่งเสริมความแข็งแกร่งของสินค้าไทยในระดับนานาชาติ

SCB WEALTH เดินหน้ารุกด้าน Financial Privilege มุ่งเน้นการมอบเอกสิทธิ์ทางการเงินและการลงทุน เพื่อนำไปต่อยอดความมั่งคั่งและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ผ่านกิจกรรมสัมมนา

ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา และอาจารย์ด้านกฎหมายและเศรษฐกิจระหว่างประเทศคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นางสาวเกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office ธนาคารไทยพาณิชย์ ภายใต้หัวข้อ “ China Reopening: Challenges and Prospects ” ณ SCB Investment Center ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี

โดยดร.อาร์ม กล่าวในงานสัมมนาว่า คนจีนยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศตนเอง แม้ในระยะสั้น จะเป็นแบบเศรษฐกิจ Square Root Shape กล่าวคือ ดีดตัวขึ้นหลังเปิดเมืองระยะหนึ่งแล้วทรงตัว โดยในไตรมาสแรก GDP Growth อยู่ที่ 4.5% จากคาดการณ์ไว้ที่ 4% การค้าปลีกเติบโต 10% จากการฟื้นตัวการบริโภคภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังค้างอยู่ และ ผล

ประกอบการบริษัทจีนยังไม่ดีอย่างที่คาดหวัง ทำให้ประชาชนไม่แน่ใจกับสถานการณ์เศรษฐกิจ ยังระมัดระวังการใช้จ่าย สิ่งที่นักลงทุนในตลาดหุ้นคาดหวัง คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ และอัดฉีดเม็ดเงิน

ส่วนในระยะกลางเศรษฐกิจจีนจะโตแบบขั้นบันได มีทั้งช่วงที่เศรษฐกิจนิ่งๆ และเติบโตสลับกัน ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง คือ 1)รัฐบาลจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจีนกำลังเจอปัญหาเงินฝืด สวนทางกับชาติอื่นที่มีปัญหาเงินเฟ้อ ประชาชนคาดหวังว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ย อัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 2)ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเริ่มกลับมา หลังรัฐบาลจีน ให้ความเชื่อมั่นในการสนับสนุนภาคธุรกิจ โดยย้ำว่าภาคเอกชนมีความสำคัญกับเศรษฐกิจจีน และ3)ยังมีความท้าทายจากปัญหาอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ส่วนปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ต่างชาติยังลังเลในการเข้ามาลงทุน เพราะไม่มั่นใจว่าความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะลุกลามมากกว่านี้หรือไม่

สำหรับเศรษฐกิจจีนในระยะยาว มีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าประเทศอื่นๆในโลก ซึ่งสหรัฐฯ เจอปัญหาเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ปัญหาภาคธนาคารขาดเสถียรภาพ และปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ด้านยุโรป ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่วนจีน ได้รับผลกระทบจากนโยบาย zero covid การปราบปรามภาคเอกชน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และเทคโนโลยี ที่แรงเกินไป รวมทั้ง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แต่พบว่า จีนได้เลิกนโยบายโควิดและเริ่มกลับมาเน้นภาคเอกชนอีกครั้ง ทำให้นักลงทุนสนใจ และหาจังหวะเข้าลงทุน

ทั้งนี้ หุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ หุ้นกลุ่มดั้งเดิม ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค สนับสนุนการฟื้นตัวในช่วงหลังโควิด ส่วนในระยะยาว แนะนำกลุ่ม Soft Tech ที่ราคามีการปรับลดลงไปมาก จากผลกระทบเรื่องการออกกฎระเบียบจัดการ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ แม้ราคาจะปรับขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ นอกจากนี้ กลุ่มพลังงานสะอาด ซึ่งรัฐบาลยังสนับสนุนเต็มที่ อาจหาจังหวะเข้าลงทุน เมื่อราคาปรับลดลง

X

Right Click

No right click