November 25, 2024

บางครั้งเหตุผลหลักในการไปเที่ยวของหลาย ๆ คนไม่ใช่การเดินดูสถานที่ท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่คือการดื่มด่ำกับหลากหลายอาหารอร่อยในประเทศนั้น เหตุนี้เอง อโกด้า แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยว จึงได้ทำการสำรวจ พร้อมเผย 5 อันดับจุดหมายปลายทางยอดนิยมในเอเชียของนักท่องเที่ยวสายกิน ซึ่งตั้งใจไปเที่ยวเพื่อเพลิดเพลินกับอาหารเป็นหลัก โดยเกาหลีใต้ครองอันดับ 1 เป็นประเทศสุดฮิตของสายกินทั่วเอเชีย

จากข้อมูลการสำรวจที่อโกด้าจัดทำขึ้น มากกว่า 64% ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเกาหลีใต้ระบุว่า อาหารคือเหตุผลหลักในการเดินทางไปเที่ยวเกาหลีใต้ ทั้งนี้เกาหลีใต้ ซึ่งโด่งดังทั้งกิมจิ บาร์บีคิวสไตล์เกาหลี และไก่ทอด เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมในเอเชียอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวสายกิน ตามมาด้วยไต้หวัน (62%) ไทย (55%) ญี่ปุ่น (52%) และมาเลเซีย (49%) การสำรวจครั้งนี้มีผู้ใช้อโกด้ามากกว่า 4,000 ราย ใน 10 ประเทศ ร่วมตอบแบบสอบถามหลังทำการจองที่พักเสร็จสิ้น

คุณเอนริก คาซาลส์, Associate Vice President, Southeast Asia, อโกด้า กล่าวว่า “อาหารไม่ได้เป็นแค่สิ่งหล่อเลี้ยงร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ทางวัฒนธรรมอีกด้วย นักท่องเที่ยวบางคนหลงใหลในอาหารมากถึงขนาดจองร้านอาหารในต่างประเทศก่อนจองตั๋วเครื่องบินเสียอีก ข้อมูลการสำรวจของอโกด้าแสดงให้เห็นชัดเจนว่านักท่องเที่ยวกำลังมองหาจุดหมายปลายทางที่สามารถไปดื่มด่ำกับอาหาร และประเพณีท้องถิ่นได้ ไม่ใช่แค่ไปเดินชมสถานที่ท่องเที่ยว เรารู้สึกภูมิใจที่ได้นำเสนอดีลที่พัก ตั๋วเครื่องบิน และกิจกรรมสุดคุ้มให้ทุกคนได้ไปเที่ยวในราคาที่ประหยัดขึ้น นักท่องเที่ยวจึงังมีงบเหลือเอาไว้ใช้จ่ายกับอาหารจานเด็ดในท้องถิ่นนั้นมากขึ้นด้วย”

 

5 อันดับจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับสายกินทั่วเอเชีย ประกอบไปด้วย:

1. เกาหลีใต้

อาหารเกาหลีใต้ดึงดูดนักกินจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งเห็นได้ชัดว่าความนิยมนี้ส่วนหนึ่งมาจากละคร และภาพยนตร์เกาหลีที่มักจะนำเสนอประสบการณ์การกินอาหารที่ชวนให้ผู้ชมรู้สึกอยากลิ้มรสตาม เช่น เมื่ออยู่บนเกาะเชจู ต้องไม่พลาดอาหารทะเลสด และหมูดำปิ้งบนเตาบาร์บีคิวเกาหลีแบบดั้งเดิมที่นุ่มละลายในปาก หรือใครที่ชื่นชอบอาหารแปลกขึ้นมาหน่อย ควรแวะไปลองคันจังเคจัง (ปูสดดองในซอสถั่วเหลือง) ที่เมืองชายฝั่งอย่างอินชอน สำหรับอาหารโซลฟู้ดที่ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งกินกับครอบครัวที่บ้าน ก็ต้องโชดังซุนดูบู (เต้าหู้เนื้อนุ่มในซุปร้อน) ที่คังนึง ส่วนใครที่ชอบสตรีทฟู้ด ตลาดแบบดั้งเดิมอย่าง ตลาดควังจางในกรุงโซล ก็มีอาหารริมทางอร่อยอยู่มาก เช่น ต็อกโบกี (เค้กข้าวรสเผ็ด) และบินเดต็อก (แพนเค้กถั่วเขียวสไตล์เกาหลี)

2. ไต้หวัน

ไต้หวันเป็นดินแดนแห่งอาหารซึ่งผสมผสานประเพณีโบราณเข้ากับอิทธิพลสมัยใหม่อย่างลงตัว ตลาดกลางคืนยอดฮิตของไทเปอย่าง ซื่อหลินและเหราเหอ เป็นที่ที่สายกินทุกคนต้องแวะไปกินของอร่อยซึ่งมีอยู่ละลานตา เช่น เต้าหู้เหม็นอันเลื่องชื่อ และชาไข่มุกที่โด่งดังไปทั่วโลก หรือที่ไถหนานซึ่งมีอาหารดั้งเดิมอย่าง บะหมี่ตันไซ และซุปปลานวลจันทร์ทะเล แสดงให้เห็นถึงมรดกภูมิปัญญาอาหารอันล้ำค่าของเกาะ นอกจากนี้ไต้หวันยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งชาอู่หลงของอาลีซานนั้นถือเป็นชาโปรดของคนรักชาหลาย ๆ คน

3. ไทย

ไทยเป็นสวรรค์ของคนรักอาหารที่มีวัฒนธรรมอาหารสตรีทฟู้ดที่โดดเด่นไม่เป็นรองใคร แผงขายอาหารแบบดั้งเดิมในเยาวราช หรือที่นิยมเรียกกันว่าไชนาทาวน์ในกรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมอาหารจานเด็ดอย่างหมูสามชั้นทอด ผัดไทย ไข่เจียวหอยนางรม และข้าวเหนียวมะม่วง ซึ่งนอกจากจะอร่อยขึ้นชื่อแล้วยังราคาไม่แพงด้วย ส่วนเมื่อเดินทางไปในภาคเหนือของประเทศอย่าง จังหวัดเชียงใหม่ นักเดินทางก็ต้องไม่พลาดไปรับประทานข้าวซอยรสชาติเข้มข้น ส่วนในภาคใต้ อาหารจานเส้นที่อาจไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนักในหมู่ชาวต่างชาติอย่าง ขนมจีน ก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีทั้งแบบเส้นแป้งสดและแป้งหมักให้เลือกทานพร้อมแกงหลากหลายชนิด

4. ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของสายกิน ด้วยอาหารที่มีให้เลือกหลากหลาย เช่น อาหารทานเล่นแบบอิซากายะ และอาหารไคเซกิแบบฟูลคอร์ส หรือเมื่อไปเที่ยวตลาดสึกิจิรอบนอก ของกรุงโตเกียว นักท่องเที่ยวก็มีหลายร้านซูชิ และซาซิมิสด ๆ ให้เลือกรับประทาน หรือลองชิมอาหารท้องถิ่นอย่าง ทาโกะยากิ (ลูกชิ้นปลาหมึก) และยากิโทริ (ไก่เสียบไม้ย่าง) ในย่านยอดนิยมอย่าง ชินจูกุและกินซ่า สำหรับสายอาหารทะเลไม่ควรพลาดการไปเยือนเมืองท่าโอตารุในฮอกไกโด เพื่อลองปูสด อูนิ (ไข่หอยเม่น) และดงบุริทะเลสด ส่วนใครที่โปรดปรานการกินราเม็ง ลองแวะไปที่ย่านช้อปปิ้งเท็นจินในฟุกุโอกะ ที่มีราเม็งทงคัตสึขึ้นชื่อ เสิร์ฟพร้อมน้ำซุปหมูรสเข้มข้น

5. มาเลเซีย

อาหารมาเลเซียนั้นหลากหลาย เช่นเดียวกับมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ ที่กัวลาลัมเปอร์มีนาซิเลอมักให้เลือกลิ้มลองหลายรูปแบบ เช่น นาซิเลอมักบุงกุส (ข้าวแช่กะทิห่อ เสิร์ฟพร้อมน้ำพริก และผัก) และนาซิเลอมักอายัมโกเร็งเบเรมปาห์ (ไก่รสเผ็ด) ส่วนรัฐปีนังก็พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยอาหารสตรีทฟู้ดคลาสสิกอย่าง ฉ่าก๋วยเตี๋ยว (ก๋วยเตี๋ยวผัด) หมี่ฮกเกี้ยน (เส้นหมี่เหลืองผัด) และเซ็นดอล (น้ำแข็งไสหวานเย็น) ในมาเลเซียตะวันออก โคตาคินาบาลูมีอาหารท้องถิ่นสดใหม่ให้ชิมอยู่มาก เช่น ฮินาวา (สลัดปลาดิบ) และหมี่ตัวรัน หรือ Tuaran Mee ส่วนที่กูชิงก็มีจานเด็ดขึ้นชื่อมานอกปันโซห์ หรือ Manok Pansoh ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวอีบันที่ทำจากไก่ที่ปรุงด้วยสมุนไพรในไม้ไผ่

ทั้งนี้ญี่ปุ่นคือจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับ 1 สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ระบุว่าอาหารคือเหตุผลหลักในการเดินทางไปเที่ยว ตามมาด้วยเวียดนามและลาว (#2) และจีน (#3) สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ระบุว่าอาหารคือเหตุผลหลักในการเดินทางมาเที่ยวไทย ส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเวียดนาม ตามลำดับ

อโกด้าช่วยให้ทุกคนได้เดินทางไปเที่ยวกินอาหารตามที่วางแผนได้ง่ายขึ้น ด้วยที่พักกว่า 4.5 ล้านแห่ง เส้นทางบินกว่า 130,000 เส้นทาง และกิจกรรมกว่า 300,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็นทัวร์ชิมอาหารริมทางในกรุงเทพฯ หรือคลาสเรียนทำซูชิในโตเกียว อโกด้าช่วยให้นักท่องเที่ยวไปสำรวจรสชาติอาหารจากทั่วโลกได้ในราคาที่ประหยัดขึ้น ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ agoda.com หรือดาวน์โหลดแอป Agoda

ซีบร้า เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (NASDAQ: ZBRA) ผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลชั้นนำที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อข้อมูล สินทรัพย์ และผู้คนได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น รายงานผลการสำรวจ 2024 Manufacturing Vision Study ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 61% ของผู้ผลิตทั่วโลกคาดหวังว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 41% ในปี 2024

เมื่อมองลึกลงมาในระดับภูมิภาค 68% ของผู้ผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกคาดหวังว่า AI จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 46% ในปี 2024 ทั้งนี้การนำ AI มาปรับใช้ที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึง 92% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (digital transformation) มากที่สุด ตอกย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ผลิตที่จะปรับปรุงการจัดการข้อมูล และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility) รวมถึงคุณภาพ ตลอดกระบวนการผลิต 

 

แม้ว่า digital transformation จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ผลิต แต่ 30% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกทราบดีว่าเส้นทางสู่ digital transformation นั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค เช่น ต้นทุนแรงงาน จำนวนแรงงานที่ใช้งานได้ การนำโซลูชันเทคโนโลยีมาปรับใช้ และการรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับเทคโนโลยีด้านการดำเนินงาน (IT/OT convergence) 

Visibility เป็นก้าวแรกสู่การเปลี่ยนแปลง โดยการนำ AI และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อระบุ ตอบสนองต่อ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และโครงการได้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพตลอดกระบวนการผลิต เพื่อที่ผลลัพธ์จะได้ออกมาดีที่สุด 

นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ผู้ผลิตหลายรายกำลังเผชิญกับปัญหาในการใช้ข้อมูลของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งพวกเขาทราบดีว่าต้องนำ AI และโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ซีบร้าช่วยให้ผู้ผลิตดำเนินงานได้ง่ายขึ้นด้วยเครื่องมือที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Fixed Industrial Scanning และ Machine Vision FX90 ultra-rugged fixed RFID readers และ ATR7000 RTLS readers ซึ่งจะยกระดับขั้นตอนการทำงานให้มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ส่งผลให้แรงงาน และเทคโนโลยีดำเนินงานไปด้วยกันได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น” 

ปิดช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน 

ถึงแม้ว่าผู้ผลิตส่วนมากบอกว่า digital transformation เป็นเรื่องสำคัญ แต่การทำให้การทำงานในโรงงานเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์นั้นยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย Visibility ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพในกระบวนการผลิต อย่างไรก็ปัญหาช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility gap) ก็ยังคงมีอยู่ มีเพียง 16% ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกที่สามารถติดตามการดำเนินงานตลอดกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ได้ ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 25% ของผู้นำด้านการผลิตที่ทำได้ 

ผู้นำด้านการผลิตเกือบ 6 ใน 10 (57% ทั่วโลก, 63% ในเอเชีย-แปซิฟิก) คาดว่าจะสามารถเพิ่ม visibility ในทุกขั้นตอนการผลิต และในซัพพลายเชนได้ภายในปี 2029 แต่ประมาณ 1 ใน 3 (33% ทั่วโลก, 38% ในเอเชีย-แปซิฟิก) บอกว่าความไม่ลงรอยกันระหว่าง IT และ OT เป็นอุปสรรคที่สำคัญในเส้นทางสู่ digital transformation นอกจากนี้ 86% ของผู้นำการผลิตทั่วโลกยอมรับว่ากำลังเผชิญปัญหาในการตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทัน รวมไปถึงการนำอุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีรวมเข้ากับโรงงาน/สำนักงานและซัพพลายเชน ซึ่ง 82% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกก็กำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน ทั้งนี้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ สามารถนำโซลูชันของซีบร้าไปพัฒนาการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพได้ เพิ่มการรักษาความปลอดภัยและการจัดการให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาใช้ยกระดับธุรกิจต่อ 

เสริมทักษะแรงงาน พร้อมยกระดับคุณค่า และประสิทธิภาพ 

ผลการสำรวจของซีบร้าเผยให้เห็นว่า ผู้ผลิตกำลังปรับกลยุทธ์สำหรับการเติบโต ด้วยการนำ AI และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาปรับใช้ เพื่อปรับโฉมการผลิต พร้อมสร้างเสริมทักษะของแรงงานภายใน 5 ปี ข้างหน้า เกือบ 3 ใน 4 (73%) ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกวางแผนที่จะฝึกแรงงานใหม่ให้มีทักษะด้านการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ส่วนใน ขณะที่ 7 ใน 10 คาดว่าจะนำเทคโนโลยีที่เน้นความคล้องตัวในการใช้งานเป็นหลักมาช่วยพัฒนาแรงงาน ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 76% ของผู้นำด้านการผลิตที่วางแผน และคาดการณ์เช่นเดียวกัน 

 

เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกกำลังปรับใช้ มีทั้งแท็บเล็ต (51% ทั่วโลก, 52% ในเอเชีย-แปซิฟิก), คอมพิวเตอร์พกพา (55% ทั่วโลก, 53% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และซอฟต์แวร์สำหรับจัดการแรงงาน (56% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) นอกจากนี้ 6 ใน 10 ของผู้นำการผลิต (61% ทั่วโลก, 65% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ก็วางแผนที่จะนำคอมพิวเตอร์พกพาแบบสวมได้มาใช้เสริมประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานด้วย 

ผู้นำด้านการผลิตที่เป็นผู้บริหารระดับสูง รวมไปถึงในสาย IT และ OT ทราบดีว่าการพัฒนาแรงงานต้องทำมากกว่าแค่นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ 6 ใน 10 ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลก และ 66% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานอย่างต่อเนื่อง การสร้างเสริมทักษะใหม่ให้พนักงาน (69% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการพัฒนาสานอาชีพ (56% ในเอเชีย-แปซิฟิก) เพื่อดึงดูดแรงงานที่มีความสามารถสูงในอนาคตมากที่สุด 

นำ automation มาช่วยเพิ่มคุณภาพให้ถึงขั้นสุด 

ปัจจุบันผู้ผลิตในแต่ละภาคส่วนให้ความสำคัญกับจัดการคุณภาพมาก แต่ต้องเผชิญกับปัญหาทรัพยากรที่ลดลง ผลสำรวจของซีบร้าชี้ให้เห็นว่า ปัญหาหลักในด้านการจัดการคุณภาพที่ผู้นำด้านการผลิตต้องเผชิญ ประกอบไปด้วยการติดตามการดำเนินงานในซัพพลายเชนได้แบบเรียลไทม์ (33% ทั่วโลก, 40% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การปฏิบัติตามมาตรฐาน และกฎระเบียบใหม่ (29% ทั่วโลก, 30% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การผสานรวมข้อมูล (27% ทั่วโลก, 31% ในเอเชีย-แปซิฟิก), และการรักษาสถานะของการตรวจสอบย้อนกลับให้คงที่ (27% ทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ในอีก 5 ปีข้างหน้า แผนการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ของผู้นำด้านการผลิตจะสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ (65% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบบตรวจสอบคุณภาพการผลิต หรือ machine vision (66% ทั้งทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) RFID (66% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ fixed industrial scanners (57% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ผู้นำด้านการผลิตส่วนมากเห็นตรงกันว่าการโซลูชัน automation เหล่านี้มีหลายปัจจัยเป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะสูงให้กับแรงงาน (70% ทั่วโลก, 75% ในเอเชีย-แปซิฟิก) การบรรลุข้อตกลงด้านระดับการบริการ (69% ทั่วโลก, 70% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการเพิ่มความยืดหยุ่นพื้นที่ (64% ทั่วโลก, 66% ในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ผลการสำรวจที่สำคัญของแต่ละภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (APAC) 

  • แม้ตอนนี้มีเพียง 30% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกที่ใช้ machine vision ในพื้นที่ผลิต แต่ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 67% ของผู้ผลิตนั้นกำลังปรับใช้ machine vision หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ 

ยุโรป, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา (EMEA) 

  • การเสริมทักษะการใช้ข้อมูล และเทคโนโลยีให้ดีขึ้นให้แรงงาน คือกลยุทธ์ขับเคลื่อนการเติบโตอันดับหนึ่งที่ 46% ของผู้นำด้านการผลิตใช้ในปัจจุบัน และ 71% ของผู้นำด้านการผลิตจะค่อย ๆ ใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

ละตินอเมริกา (LATAM) 

  • ในปัจจุบันมีเพียงแค่ 24% ของผู้นำด้านการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีระบบติดตามสินค้า อย่างไรก็ตาม 74% ของผู้นำด้านการผลิตกำลังปรับใช้ หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

อเมริกาเหนือ 

  • 68% ของผู้นำด้านการผลิตให้ความสำคัญกับโปรแกรมพัฒนาทักษะแรงงานมากที่สุด 

 GreenNode หนึ่งในธุรกิจของ VNG ผู้เชี่ยวชาญบริการ AI Cloud และเป็นพันธมิตร NVIDIA Cloud Partner (NCP) เปิดตัวคลัสเตอร์ข้อมูล AI ขนาดใหญ่ หรือ large-scale AI Data cluster ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย อย่างเป็นทางการ โดย GreenNode ตั้งเป้าเป็นผู้นำบริการ AI Cloud ในภูมิภาคเอเชีย ด้วยการเพิ่มทรัพยากร AI ที่มีประสิทธิภาพการประมวลผลขั้นสูงเพื่อเพิ่มศักยภาพแก่ธุรกิจ AI ในภูมิภาค

ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งนี้เป็นหนึ่งในดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลที่รองรับ AI เป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งดำเนินการโดยทีม Cloud Operation Excellence ของ GreenNode

มร.เดนนิส แอง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจองค์กร ประจำภูมิภาคอาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ของ NVIDIA ย้ำถึงองค์ประกอบสำคัญสองประการที่ทำให้องค์กรก้าวนำหน้าท่ามกลางกระแส GenAI ณ ปัจจุบัน ได้แก่ ดาต้าเซ็นเตอร์ AI และ โรงงาน AI ซึ่งเป็นสิ่งที่ NVIDIA ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับทั้งทีม VNG GreenNode และ ST Telemedia Global Data Centres (STT GDC) "จากความร่วมมือนี้ เราได้ร่วมกันสร้างและส่งมอบองค์ประกอบสำคัญทั้งสองด้านนี้ให้แก่ลูกค้า ผมขอแสดงความยินดีกับ VNG GreenNode กับความสำเร็จนี้ และ NVIDIA พร้อมให้ความร่วมมือเพิ่มเติมในอนาคต"

คลัสเตอร์ AI Cloud ของ GreenNode ในดาต้าเซ็นเตอร์ STT Bangkok 1 ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ เป็นไปตามมาตรฐานระดับโลก โดยได้รับการรับรองมากมาย อาทิ LEED ระดับ Gold, TIA 942 Rating-3 DCDV และมาตรฐาน Uptime Tier III ซึ่ง GreenNode มีเป้าหมายสำคัญในการส่งมอบโซลูชันครบวงจรให้กับทุกธุรกิจที่เดินหน้าสู่เส้นทางของ AI โดยปรับใช้โครงสร้างพื้นฐาน AI ที่มีขนาดกำลังไฟสูงถึง 20 เมกะวัตต์ และติดตั้งเครือข่าย InfiniBand ล่าสุด ซึ่งให้แบนด์วิดท์สูงถึง 3.2 เทระไบต์ต่อวินาที สำหรับรันการทำงานเซิร์ฟเวอร์ของ GreenNode รวมถึงมีแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลแบบไฮเปอร์สเกลสำหรับผู้เช่าหลายรายที่แตกต่างกัน พร้อมมอบบริการ AI Cloud ที่แข็งแกร่งและโครงสร้างพื้นฐาน GPU แก่ทุกลูกค้า

ระหว่างการกล่าวบรรยายในช่วงพิธีการของ มร.ลิโอเนล เยียว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้า เซ็นเตอร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "อีก 4 ปีข้างหน้านี้ การลงทุน AI จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประมาณ 30% ซึ่งในภูมิภาคนี้มีความเคลื่อนไหวไดนามิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ความร่วมมือในวันนี้มีความสำคัญยิ่งขึ้น ผมขอแสดงความยินดีกับ VNG GreenNode กับความสำเร็จที่สามารถนำ AI Cloud มาใช้เชิงพาณิชย์ได้ภายในระยะเวลาเพียง 6 เดือน และเชื่อว่าหากเราร่วมมือกัน ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้จะสามารถผลักดันให้ภูมิภาคเอเชียก้าวขึ้นเป็นผู้นำในกระแสเทคโนโลยีระดับโลก

ผลิตภัณฑ์พอร์ตโฟลิโอของ GreenNode ประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กราฟิกการ์ด แบบ Bare Metal ที่มีชิปประมวลผล H100 Tensor Core นับพันตัว, แพลตฟอร์มแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning หรือ ML) และสิทธิ์การเข้าถึงทรัพยากร บริการ หรือ เทคโนโลยีใน NVIDIA AI Factory โดย GreenNode เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการฝึกอบรมโมเดลและแพลตฟอร์ม AI ขั้นสูง โดยอาศัยความเชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพผ่านรูปแบบของตนเอง วิธีการนี้ถือเป็นจุดขายที่ย้ำถึงพันธกิจของ GreenNode ที่มุ่งมั่นสร้างความเป็นเลิศในด้านการดำเนินงาน

GreenNode ยังเป็นผู้บุกเบิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สร้างและนำเสนอแพลตฟอร์มการจัดการพารามิเตอร์ระยะไกล ช่วยให้ลูกค้ากลุ่มธุรกิจในทุกขนาดทั่วโลกสามารถเข้าถึงและปรับขนาดพารามิเตอร์การฝึกอบรมได้อย่างยืดหยุ่น ประหยัดทั้งเวลาและกำลังคน

“การเปิดตัวคลัสเตอร์ข้อมูล AI ครั้งนี้เป็นหมุดหมายสำคัญที่ให้สัญญาณเชิงบวกทั้งในด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและผลการดำเนินงานทางธุรกิจ เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้จริงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น นี่เป็นเพียงก้าวแรกและเรามุ่งมั่นที่จะลงทุนในระยะยาวเพื่อเป็นผู้ให้บริการ AI Cloud ชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มร. เล ฮอง มิน ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ VNG กล่าว

เมื่อเร็ว ๆ นี้ GreenNode ได้บรรลุข้อตกลงมูลค่าหลายล้านดอลลาร์เพื่อมอบโครงสร้างพื้นฐาน AI และโซลูชัน AI ขั้นสูงให้กับลูกค้าทั่วโลก

"GreenNode ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้ให้บริการโซลูชันแบบครบวงจรสำหรับลูกค้าทั่วโลกด้วยพลังจากชิป GPU อันนับพันในดาต้าเซ็นเตอร์มาตรฐานสากลของ Nvidia และ STT GDC อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายสิ่งที่เราต้องทำ รวมถึงการลงทุนอย่างต่อเนื่องในการวิจัยและพัฒนาเพื่อเป็นผู้บุกเบิกด้าน AI ในภูมิภาคนี้" มร. เหงียน ลี ทัน ซีอีโอของ GreenNode และ VNG Digital Business กล่าว

ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี VNG 2024 ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ VNG มร. เล ฮอง มิน ได้เน้นย้ำถึงปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตเชิงกลยุทธ์ของบริษัทในปีต่อ ๆ ไป 3 ประการ ได้แก่ AI, “Go Global” และแพลตฟอร์ม VNG มีความโดดเด่นในฐานะหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีไม่กี่แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปิดรับการใช้งาน AI อย่างรวดเร็วและเต็มรูปแบบ ด้วยการลงทุนจำนวนมากในโครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชัน VNG ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้ให้บริการ AI ชั้นนำในเวียดนามและภูมิภาค

นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (คนกลาง) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ProPak Asia 2024 งานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย ร่วมด้วย Mrs. Luciana Pellegrino President of World Packaging Organization (WPO) (คนแรกซ้าย) Mr. Ali Badarneh Division Chief (Food Systems) United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) (ที่สองจากซ้าย) Ma. Cristina A. Roque, Undersecretary, Micro, Small and Medium Enterprise Development Group the Department of Trade and Industry, Philippines (คนแรกขวา) และนายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย (ที่สองจากขวา) ผู้จัดงานโปรแพ็ค เอเชีย 2024 (ProPak Asia 2024) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เมื่อเร็วๆ นี้

โครงการสำรวจคุณภาพอากาศภายในอาคารระดับโลก โครงการแรกของ Dyson ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในพื้นที่ปิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เก็บข้อมูลจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson กว่า 2.5 ล้านเครื่องทั่วโลก

· ผลสำรวจพบว่าค่าเฉลี่ยต่อเดือนของระดับ PM2.5 ภายในอาคารของทุกประเทศ เกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำอย่างน้อย 6 เดือนต่อปี

· จากผลสำรวจของ Dyson ในประเทศไทย ค่าเฉลี่ยต่อปีของระดับ PM2.5 ภายในอาคารอยู่ที่ 14.70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกเกือบ 200% ทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีค่า PM2.5 ภายในอาคารสูงสุด ลำดับที่ 11 ของโลกและลำดับที่ 6 ของภูมิภาคเอเชีย

· ค่า PM2.5 ภายนอกอาคารโดยเฉลี่ยต่อปีของประเทศไทยอยู่ที่ 22.36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานของ WHO เกือบ 350%

· ช่วงเวลาที่พบ PM2.5 จะอยู่ระหว่างหกโมงเย็นถึงเที่ยงคืน ซึ่งตรงกับเวลาที่ผู้คนมักจะอยู่ภายในบ้าน

กรุงเทพฯ, 22 มกราคม 2567 - Dyson เผยผลลัพธ์โครงการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศระดับโลก (Global Connected Air Quality Data project) เป็นครั้งแรก โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศภายในอาคาร ที่รวบรวมโดยเครื่องฟอกอากาศ Dyson กว่า 2.5 ล้านเครื่อง ตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2566 เพื่อสร้างข้อมูลภูมิทัศน์ (Data Landscape) ของคุณภาพอากาศจริงในบ้านของผู้คนทั่วโลก โดยการศึกษานี้เก็บข้อมูลทั้งขนาดของเม็ดฝุ่น (Granularity) ชนิดของก๊าซและอนุภาคมลพิษต่าง ๆ ตลอดจนวิเคราะห์แนวโน้มตามวัน เดือน ฤดู และตลอดทั้งปี ข้อมูลทั้งหมดเก็บรวบรวมมาจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson ที่เชื่อมต่อกับ แอปพลิเคชัน MyDyson™ ปริมาณข้อมูลที่รวบรวมได้มากกว่าห้าแสนล้านชุดข้อมูล สามารถสะท้อนภาพรวมของสถานการณ์คุณภาพอากาศภายในครัวเรือนของเมืองใหญ่และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ช่วยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ถึงปัญหามลพิษทางอากาศภายในอาคาร

 

PM2.5 คืออะไร? และ VOCs คืออะไร?

โครงการนี้มุ่งเน้นศึกษามลพิษ 2 ประเภท ได้แก่ PM2.5 และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) - PM2.5 หมายถึงอนุภาคที่มีขนาดเล็กเพียง 2.5 ไมครอน ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ทั่วไป ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) การสัมผัสกับ PM2.5 ในระยะยาวอาจ

สร้างผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะต่างๆ เช่น มะเร็งปอด จากรายงานความเข้มข้นของ PM2.5 ตามสัดส่วนของประชากรประจำปีค.ศ. 2019 อ้างอิงจากฐานข้อมูล Global Ambient Air Quality Database ขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าบริเวณที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 สูงที่สุดคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนุภาคเหล่านี้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจได้ อนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้มาจากการเผาไหม้ เตาเผาไม้ การทำอาหารและทำความร้อนด้วยแก๊ส ขนสัตว์เลี้ยง เถ้าและฝุ่น อย่างไรก็ดีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสุขภาพเกี่ยวกับอนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้กำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เป็นมลภาวะในสถานะก๊าซ รวมถึงพวกเบนซีนและฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งอาจปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำความสะอาดหรือการทำอาหารด้วยแก๊ส รวมถึงจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย บอดี้สเปรย์ เทียน เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (EPA) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนทั่วไป เช่น สี สเปรย์ละออง น้ำยาทำความสะอาด และน้ำยาปรับอากาศ เป็นแหล่งที่มาของ VOCs ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO) สาร VOCs เช่น เบนซีน มีความเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและโรคที่ร้ายแรงเฉียบพลันและเรื้อรังมากมาย รวมถึงโรคมะเร็งและผลกระทบต่อระบบเลือด

“ข้อมูลคุณภาพอากาศที่รวบรวมโดย Dyson ช่วยให้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงของมลพิษทางอากาศภายในอาคารทั่วโลก ตลอดจนทำให้เราเข้าใจความท้าทายที่เครื่องฟอกอากาศ Dyson เผชิญในสภาพแวดล้อมจริง และมอบองค์ความรู้ในการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นในการรับมือสภาวะอากาศที่ท้าทาย ข้อมูลที่เรารวบรวมมาไม่ได้เป็นเป็นเพียงแค่เครื่องมือทางวิศวกรรมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เจ้าของบ้านแต่ละคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ข้อมูลนี้จะถูกแบ่งปันผ่านแอปฯ MyDyson™ ในแบบเรียลไทม์และแบบรายงานประจำเดือน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เครื่องฟอกอากาศมีความเข้าใจคุณภาพอากาศในบ้านของตนได้ดีขึ้น” Matt Jennings วิศวกรอำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศของ Dyson กล่าว

“เราทุกคนต่างคิดว่ามลพิษทางอากาศภายนอกอาคารหรือตามริมถนนเป็นปัญหาหลัก แม้ว่าการศึกษาวิจัยมลพิษทางอากาศภายในครัวเรือนกำลังเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังคงมีจำนวนน้อยอยู่ ผลการวิจัยของ Dyson ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าแก่เราเกี่ยวกับระดับมลพิษที่แท้จริงในครัวเรือนทั่วโลก ช่วยให้เราเข้าใจรูปแบบของมลพิษในแต่ละวัน เดือน และตามฤดูกาล ข้อมูลของ Dyson เป็นเครื่องมือการศึกษาที่มีประสิทธิภาพอย่างเหลือเชื่อ และสร้างส่งผลกระทบในเชิงบวกอย่างไม่สิ้นสุด – การทำความเข้าใจมลพิษที่อยู่รอบตัวเราเป็นก้าวแรกในการต่อสู้กับมลพิษ” ศาสตราจารย์ Hugh Montgomery ประธานสาขาเวชศาสตร์การดูแลผู้ป่วยหนักที่ University College London และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของ Dyson กล่าว

“มลพิษทางอากาศภายในครัวเรือนอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการตรวจสอบ การศึกษาของ Dyson แสดงให้เห็นถึงความชุกชุมของคุณภาพอากาศภายในครัวเรือนที่แย่บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และลบล้างความคิดที่ว่าคุณภาพอากาศภายนอกอาคารนั้นแย่กว่าภายในอาคารเสมอ ผลการศึกษาในครั้งนี้ช่วยสร้างความเข้าใจให้ผู้คนเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศภายในครัวเรือน และเป็นการกระตุ้นให้แพทย์มีมุมมองที่ครอบคลุมมากขึ้นในการรับมือกับโรคภูมิแพ้ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด และหลอดลมอักเสบ รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ” ดร. Ong Kian Chung แพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและประธานสมาคมโรคปอดอุดตันเรื้อรัง (COPD) แห่งสิงคโปร์ กล่าว

 

ค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ในประเทศไทยเกินเกณฑ์มาตราฐานตามที่ WHO ระบุไว้เกือบ 3 เท่า!

จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลมาจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson ตลอดปี 2022 สิ่งที่ทำให้ต้องประหลาดใจ คือ เมื่อนำระดับ PM2.5 โดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศมาจัดอันดับ พบว่า อินเดีย จีน และตุรกี ครองตำแหน่ง 3 อันดับแรกตามลำดับ และมีอีก 4 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยติดอยู่ใน 15 อันดับแรกของประเทศที่มีคุณภาพอากาศภายในครัวเรือนแย่ที่สุดในโลก

เนื่องด้วยระดับ PM2.5 โดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 14.70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งประเทศไทยตรวจพบระดับ PM2.5 สูงเกินจากเกณฑ์มาตรฐานไปกว่า 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือเกือบ 200% โดยประมาณ และจากข้อมูลดังกล่าวยังพบว่าในทุกเดือนตลอดปีที่ผ่านมาจะมีระดับ PM2.5 ภายในครัวเรือนสูงเกินจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุไว้ โดยในปี 2022 พบระดับต่ำสุดอยู่ที่ 6.68 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในเดือนสิงหาคม และสูงสุดถึง 21.99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในเดือนเมษายน

เช่นเดียวกับระดับ PM2.5 ภายนอกอาคารโดยเฉลี่ยต่อปีของประเทศไทยตรวจพบอยู่ที่ 22.36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินจากค่ามาตรฐานที่ WHO ได้กำหนดไว้ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 350% โดยประมาณ

 

ทั่วโลกรวมถึงไทย ไม่ชอบใช้โหมด Auto ในเครื่องฟอกอากาศ

จากสถิติทั่วโลกพบว่ามีเพียง 8% ของผู้ใช้งานเครื่องฟอกอากาศ Dyson ที่จะเปิดระบบโหมดอัตโนมัติมากกว่า 3 ใน 4 ของช่วงเวลาที่ใช้งาน ซึ่งกาทำงานของโหมดนี้จะเป็นการช่วยตรวจสอบคุณภาพอากาศและช่วยกรองมลพิษที่ตรวจพบทันทีโดยอัตโนมัติ ชี้ให้เห็นว่าโดยทั่วไปแล้วไม่ได้มีการเปิดใช้เครื่องฟอกอากาศ Dyson เพื่อกำจัดมลพิษภายในครัวเรือนโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงลึกด้านคุณภาพอากาศที่แสดงผลให้เห็น ทั้งนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในลำดับต้นๆ ในการเปิดใช้เครื่องฟอกอากาศในโหมดอัตโนมัติ โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 14%

ผลสำรวจพบว่าเมืองบางแห่งที่มีอัตราส่วนของการใช้งานเครื่องฟอกอากาศในโหมดอัตโนมัติต่ำมีความสัมพันธ์กับค่าระดับมลพิษที่สูงเกินมาตรฐาน จากค่าเฉลี่ยรายวัน และรายเดือน โดยเฉพาะค่าPM2.5 อาทิเช่น เชินเจิ้น (2.2%) เม็กซิโกซิตี้ (2.4%) และเซี่ยงไฮ้ (3%) ซึ่งเป็นเมืองที่มีการเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศในโหมดอัตโนมัติต่ำที่สุด ในประเทศไทยมีเพียง 4% เท่านั้น ที่เปิดใช้โหมด Auto แม้ว่าระดับมลพิษภายในครัวเรือนจะสูงมากแค่ไหนหรืออยู่ในช่วงของฤดูกาลที่มีหมอกควันมากก็ตาม

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click