November 22, 2024

ส่งเสริมการสร้างอาชีพ - พัฒนาสิทธิประโยชน์ – ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ระหว่าง นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเอกชาติ นาคาไชย รองผู้อำนวยการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยว่า “แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นรูปแบบธุรกิจ ที่ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกระหว่างผู้บริโภค ผู้ให้บริการ และผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานได้กำหนดนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับการดูแลสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงแรงงาน จึงมีแนวคิดในการจัดทำบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วยการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ร่วมกับ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ในการหาแนวทางยุติปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างคนทำงานในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกับผู้ให้บริการฯ หรือมีช่องทางในการบริหารจัดการกับปัญหาที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่ชัดเจน รวมถึงการสร้างงาน ให้กับผู้สูงอายุ ที่ต้องการเลือกประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม โดยได้ร่วมมือกับกรมการจัดหางาน ในการส่งตำแหน่งงานว่างเพื่อสร้างอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมการทำงาน หรือสร้างมาตรฐานในการทำงาน ที่ปลอดภัย โดยร่วมกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ซึ่งการลงนามร่วมกันในครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจบริการระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกับผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล และเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงอาชีพของ ผู้ว่างงานและผู้สูงอายุที่ประสงค์จะทำงานอีกด้วย”

 

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแพลตฟอร์มดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการทำงานในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ผ่านการใช้เทคโนโลยี แกร็บให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดูแลพาร์ทเนอร์คนขับ ซึ่งใช้แพลตฟอร์มของเรา เป็นช่องทางในการหารายได้ โดยที่ผ่านมาแกร็บมุ่งเน้นการบริหารค่าตอบแทนที่เหมาะสมและสอดคล้อง กับระบบอุปสงค์อุปทาน ทั้งยังพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของพาร์ทเนอร์คนขับ และสร้างมาตรฐานให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น การจัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้คุ้มครองระหว่างการให้บริการ การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมและเป็นไปตามข้อกำหนดของ ธปท. รวมไปถึงการจัดทำคอร์สอบรมเพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นผ่านโครงการ GrabAcademy เป็นต้น”

“การผนึกความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของแกร็บในการร่วมผลักดันมาตรฐานการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลให้เป็นรูปธรรม โดยเราพร้อมสนับสนุนและ ให้ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการพัฒนาแนวทางในการคุ้มครองแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแพลตฟอร์มเพื่อหารายได้ ตลอดจนดูแลให้แรงงานเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น” นายวรฉัตร กล่าวเสริม

 

ทั้งนี้ บันทึกความร่วมมือระหว่าง แกร็บ ประเทศไทย และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางาน และสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก ที่จะส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านการดำเนินงานใน 3 ส่วนสำคัญ คือ

· การส่งเสริมการให้สิทธิประโยชน์ที่เป็นมาตรฐานกับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและแกร็บจะร่วมหาแนวทางในการสนับสนุนและจัดทำมาตรการในการดูแลผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสม ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดสิทธิประโยชน์ที่เป็นมาตรฐาน ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยที่ผ่านมา แกร็บให้ความสำคัญกับการจัดสรรสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ นอกเหนือจาก การบริหารค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ การจัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้ความคุ้มครองพาร์ทเนอร์

คนขับทุกคนตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังให้บริการแล้ว โดยมีวงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และวงเงินชดเชยสูงสุด 200,000 บาท ในกรณีเสียชีวิต นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพของพาร์ทเนอร์คนขับโดยมีวงเงินสูงสุด 100,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม โดยสามารถแบ่งชำระได้แบบรายวัน เป็นต้น

· การส่งเสริมการสร้างอาชีพและโอกาสในการหารายได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับผู้ที่ว่างงาน รวมถึงผู้สูงอายุ โดยแกร็บและกรมการจัดหางานจะร่วมกันส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ จากแพลตฟอร์มของแกร็บในการหารายได้ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน หรือ บริการด้านเดลิเวอรี ซึ่งที่ผ่านมา แกร็บเปิดโอกาสให้กับคนไทยหลายแสนคน สามารถเข้ามา เป็นพาร์ทเนอร์คนขับเพื่อหารายได้เสริม โดยไม่จำกัดเพศ วัย การศึกษา หรือแม้แต่ผู้ที่มีข้อจำกัด ทางด้านร่างกาย เช่น ผู้พิการทางการได้ยิน นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มโครงการ ‘แกร็บวัยเก๋า’ เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยวัยเกษียณสามารถหารายได้และส่งเสริมคุณค่าในตัวเองผ่านแพลตฟอร์มของแกร็บ โดยปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์คนขับกลุ่มนี้มากกว่า 13,000 คน

· การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยสำหรับแรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยแกร็บและ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจะร่วมกันพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในระหว่างการทำงานให้กับผู้ประกอบอาชีพในระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น การจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน หรือการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อป้องกันภัยต่างๆ เป็นต้น โดยที่ผ่านมา แกร็บให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัย เป็นอันดับต้นๆ เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทุกคนที่ใช้แพลตฟอร์มของแกร็บ โดยได้พัฒนาเทคโนโลยี และมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ระบบตรวจสอบการเดินทางแบบเรียลไทม์ ฟีเจอร์ Safety Centre ที่ทั้งผู้โดยสารและพาร์ทเนอร์คนขับสามารถแชร์ข้อมูลการเดินทางให้กับเพื่อน หรือครอบครัวได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงสามารถขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน และฟีเจอร์ Audio Protect ที่ช่วยบันทึกเสียงระหว่างการเดินทางเพื่อป้องกันเหตุร้ายและใช้เป็นหลักฐานหากเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างการเดินทาง เป็นต้น

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผย ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่มีลักษณะตามมาตรา 16 ภายใต้กฎหมาย DPS จะต้องเตรียมประกาศข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการ หรือ Terms & Conditions (T&C) อาทิ เงื่อนไขการให้บริการ การระงับ การคิดค่าบริการ การจัด Ranking การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ช่วยเหลือ ระงับข้อพิพาท ฯลฯ ให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างชัดเจน เริ่มบังคับใช้พร้อมกัน 3 มกราคม 2567 นี้

นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA เปิดเผยว่า ตามที่ กฎหมาย DPS (Digital Platform Service) หรือ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่ต้องแจ้งให้ทราบ  พ.ศ. 2565 มาตรา 17 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่มีลักษณะบริการตาม มาตรา 16 คือ เป็นบริการแพลตฟอร์มที่มีลักษณะให้บริการโดยคิดค่าบริการ, ให้บริการเป็นสื่อกลางในการเสนอสินค้าหรือบริการ, ผู้ประกอบธุรกิจมีสัญญากับผู้ประกอบการในการเสนอสินค้าหรือบริการ หรือเป็นบริการ Search engine  หรือ เป็นบริการสืบค้นแหล่งที่ตั้งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ จะต้องดำเนินการแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเกี่ยวกับ "ข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการ (Terms & Conditions: T&C)” ก่อนหรือขณะใช้บริการ

การแจ้ง T&C เป็นหนึ่งกลไกที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม ในการให้บริการของแพลตฟอร์มดิจิทัล ให้ผู้ใช้บริการมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ ที่จะเลือกใช้งานแพลตฟอร์มและทราบผลที่จะเกิดขึ้นจากการใช้บริการแพลตฟอร์มนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้มีการดูแลและปกป้องสิทธิของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ…

ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล มีแนวทางในการแจ้งประกาศ T&C ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับกฎหมาย DPS ทาง ETDA จึงได้ออกประกาศ สพธอ. ที่ ธพด. 4/2566 เรื่อง รายละเอียดการประกาศข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้ผู้ใช้บริการทราบ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งตามประกาศดังกล่าว ระบุว่า T&C ที่ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบนั้น อย่างน้อยต้องประกอบไปด้วย 8 เรื่อง ดังนี้ 1. เงื่อนไขในการให้บริการ การระงับหรือการหยุดให้บริการ และการคิดค่าบริการ 2. ปัจจัยหลักของอัลกอริทึมหรือของหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับ (Ranking) หรือ แนะนำรายการสินค้าหรือบริการ (Recommending) 3. ปัจจัยหลักของอัลกอริทึมหรือของหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการนำเสนอโฆษณาสินค้าหรือบริการแก่ผู้ใช้บริการ 4. ปัจจัยหลักของอัลกอริทึมหรือของหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจและการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ 5. การเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลที่ได้รับจากการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ใช้บริการ 6. ช่องทางการให้ความช่วยเหลือ กระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนและการระงับข้อพิพาทและกรอบระยะเวลาดำเนินการ 7. การจัดระดับการนำเสนอสินค้า บริการ หรือเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม และ
8. การดำเนินการกับสินค้า บริการ หรือเนื้อหาที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล จะต้องดำเนินการแจ้ง T&C ให้ผู้ใช้บริการทราบ ตั้งแต่วันนี้ที่ 3 มกราคม 2567 เป็นต้นไป  และต้องยื่นรายงาน T&C พร้อมการแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจรายปี ให้ ETDA ทราบตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด กรณีบุคคลธรรมดา ภายใน 60 วัน นับจากวันสิ้นปีปฏิทิน (ภายใน 29 กุมภาพันธ์ 2567) กรณีนิติบุคคล  ภายใน 60 วัน นับจากวันสิ้นปีบัญชี (ตามวันที่แจ้งกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์)                      

สามารถศึกษารายละเอียดประกาศ T&C ได้ที่  https://bit.ly/47vYJqY หรือขอคำปรึกษาเพิ่มเติม โทร 02-123-1234 (ติดต่อทีมกำกับดูแลกฎหมาย DPS) ในวันและเวลาราชการ (9.00-17.00 น.) หรือ อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เป็นผู้นำด้านอาหารและการท่องเที่ยวในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ขานรับนโยบายรัฐด้านการผลักดันการท่องเที่ยวในประเทศ

ดีป้า เดินหน้าส่งเสริมภาคเอกชนพัฒนา Safe T Travel

X

Right Click

No right click