December 23, 2024

ปลุกพลังผู้ประกอบการร้านอาหาร โชห่วย เตรียมรับกำลังซื้อจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

พลิกทำเลทอง สู่ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหารขนาดใหญ่ ปลุกกำลังซื้อผู้ประกอบการคึกคัก

ใครจะรู้ว่า ผักสลัดหนึ่งต้น จะมีความหมายกับน้องๆ ผู้บกพร่องทางสติปัญญา ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จ.ปทุมธานี มากกว่า การเป็นผักคุณภาพดี ปลอดภัย รับประทานอร่อย

เพราะนี่คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการปลูกผักที่ทำให้น้องๆ ได้ฝึกการดำรงชีวิต ทักษะอาชีพ เพื่อลดภาระของครอบครัว

“การปลูกผัก อาจจะดูง่ายสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา เป็นเรื่องที่ยากมาก”

นางสาววรรณนภา เปรมปรีดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน)  จ.ปทุมธานี บอกเล่า “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จะรับดูแลผู้บกพร่องทางสติปัญญา วัยรุ่น ที่มีอายุตั้งแต่ 15-35 ปี ด้วยกระบวนการพยาบาลและโปรแกรมบางพูนโมเดล ที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะต่างๆ ให้น้องๆ มีศักยภาพในการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ โดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัว”

กิจกรรมปลูกผัก นับเป็น โมเดล ที่ศูนย์ฯ นำมาใช้ในการฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมและส่งต่อน้องๆ กลุ่มนี้เข้าระบบการทำงานตามมาตรา 33 หรือ มาตรา  35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งจะทำให้พวกเขามีอาชีพและรายได้ โดยเรียกโมเดลนี้ว่า “บางพูนโมเดล” ซึ่งมีบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AIS สนับสนุนเทคโนโลยีการปลูกผักด้วย AIS iFarm และ โก โฮลเซลล์ (GO Wholesale) เข้ามาช่วยพัฒนาองค์ความรู้ในการปลูกผักสลัดที่ตลาดมีความต้องการ พร้อมรับซื้อผลผลิตมาจำหน่ายยังสาขา

“เราจะฝึกทักษะให้น้องๆ สามารถดำรงชีวิตขั้นซับซ้อน เช่น การหุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า ซักผ้าด้วยเครื่อง การใช้เงินซื้อของ กวาดพื้น ถูพื้น เพื่อให้น้องๆ ได้ฝึกการใช้ชีวิตประจำวันกับครอบครัว ควบคู่ไปกับการปลูกผักสลัด ที่เป็นกิจกรรมที่สร้างสมาธิ  ทำให้น้องๆ จดจ่ออยู่กับงานที่ทำ มีความอดทน ซึ่งเป็นการเตรียมทักษะพื้นฐานการทำงาน”

หัวใจสำคัญของการฝึกทักษะของบางพูนโมเดลคือ “การทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ” จนกระทั่งน้องๆ เกิดความเข้าใจและรับรู้ว่าเป็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ และเมื่อพวกเขาออกไปใช้ชีวิตภายนอก พวกเขาก็จะสามารถช่วยเหลือตัวเองไม่เป็นภาระของครอบครัว

น้องๆ ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จะลงมือปฏิบัติเริ่มต้นตั้งแต่ การเพาะเมล็ดผักสลัด อาทิ ฟินเลย์ กรีนคอส กรีนโอ๊ค นำต้นกล้าลงแปลงปลูก รดน้ำ เก็บล้างทำความสะอาด และบรรจุถุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา  และเมื่อเขาทำได้ น้องๆ จะเกิดความภาคภูมิใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ

นางสาววรรณนภา กล่าวอีกว่า “หลังจากเก็บผักสลัดแล้ว น้องๆ จะมาช่วยกันแพ็คผักใส่ถุง แปะสติ๊กเกอร์สีเหลืองบางพูน โมเดล และแช่ตู้เย็นไว้ เตรียมส่งให้กับทาง โก โฮลเซลล์ สัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 100 ถุง หรือเฉลี่ย 20-30 กิโลกรัมต่อครั้ง แม้จะไม่มาก แต่นี่คือ  โอกาสสำคัญ ของเด็กๆ กลุ่มนี้”

ผักสลัดทุกถุง ของน้องๆ จากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพราชานุกูล (บางพูน) จังหวัดปทุมธานี จะวางจำหน่ายที่แผนกผักสด ณ  “โก โฮลเซลล์ สาขารังสิต” ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน นี้เป็นต้นไป โดยสังเกตสติ๊กเกอร์สีเหลืองลวดลายการ์ตูนเด็ก พิมพ์ “บางพูน เกษตรปลอดภัย By Bangpoon Model” เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งแม้จำนวนผักจากฝีมือน้องๆ จะมีไม่มาก แต่นี่จะเป็นไอเท็มสำคัญที่หลายคนตามหา

มาร่วมตามหาไอเท็มแห่งโอกาส เพื่อช่วยกันมอบโอกาส กับน้องๆ กลุ่มนี้กันเถอะ

X

Right Click

No right click