November 25, 2024

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชั่วโมงนี้อัตราการแข่งขันเพื่อให้ได้ “งาน” ใน “ตำแหน่ง” ใดก็ตาม มีความยากและมีจำนวนคู่แข่ง มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า จากข้อมูลภาพรวมตลาดการจ้างงานในปี 2564 โดย JobsDB พบว่าอัตราการแข่งขัน ในการหางานของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 20% ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 และมีอัตราส่วนการแข่งขันอยู่ที่ 1:100 นั่นหมายความว่า บริษัทจะต้องเฟ้นหาคนที่ใช่ โดยพิจารณาจาก “ทักษะ” และ “ศักยภาพ” ที่ปรากฏของแต่ละบุคคล ในเวลาเดียวกันก็เป็นช่วงที่นักศึกษา Gen Z เริ่มทยอยเข้าสู่โลกการทำงานจริง ซึ่งอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือดนี้ แต่อะไรจะเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาจบใหม่ กลายเป็นที่ต้องการของตลาดงานได้ หนึ่งในนั้นก็คือ ประสบการณ์การทำงานจากการ “ฝึกงาน”

 ที่ LINE ประเทศไทย เรามองหาพลังขับเคลื่อนใหม่ๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่หยุดนิ่ง โครงการ “LINE Rookie” จึงถูกจัดขึ้นเพื่อเปิดรับนักศึกษาฝึกงาน ซึ่งได้จัดไปแล้ว 2 รุ่น และกำลังจะรับสมัครรุ่นที่ 3 ในเดือนตุลาคมนี้ โครงการนี้จึงเป็นเสมือนการประลองบนสนามจริงของนักศึกษา Gen Z

 ความสำเร็จของโปรแกรมฝึกงาน คือพี่ได้เรียนรู้จากน้องในเวลาเดียวกัน

กานต์ กิมสวัสดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล LINE ประเทศไทยได้เปิดเผยว่า “LINE เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่หยุดนิ่งอยู่แล้ว จึงเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z ที่กำลังจะเข้าสู่โลกการทำงานจริงได้เข้ามามีส่วนร่วม สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จากน้องๆ Gen Z ที่มาฝึกงานกับเรา ทุกคนล้วนมีพลังในการเรียนรู้ล้นเหลือ กล้าคิด กล้าแสดงออก มีทักษะในการนำเสนองานได้คล่องแคล่วและฉลาดใช้เทคโนโลยีมาช่วยในทำงาน เกิดการเรียนรู้กันและกัน ไม่ใช่เพียงแต่น้องๆ จะเรียนรู้จากพี่ๆ แต่พี่ๆ ก็ได้เรียนรู้มุมมอง ไอเดียใหม่ๆ ซึ่งเจเนอเรชันที่ต่างกันทำให้เกิดความหลากหลาย แปลกใหม่ สามารถนำมาปรับใช้ในงานเพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ๆ แก่ผู้ใช้ ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของโปรแกรม LINE Rookie เลยก็ว่าได้”

LINE Rookie แต่ละคนจะมีเมนเทอร์ ซึ่งเป็นพี่ๆ พนักงานของ LINE ดูแลมอบหมายงานต่างๆ และแนะนำอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลา 10 สัปดาห์ของการฝึกงาน โดยน้องๆ จะต้องตั้งทีมและได้รับมอบหมายให้ร่วม ทำโปรเจคกลุ่ม รายงานความคืบหน้า รับคำปรึกษา และนำมาพรีเซนต์ในช่วงท้ายการฝึกงาน พร้อม Training Session แนะแนวด้าน Soft Skill และ Hard Skill ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริง ที่สามารถนำไปต่อยอดทำงานต่อในชีวิตจริงได้เลยทันที ขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขา “รู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น”

 ‘ฝึกงาน From Home’ ต้องทำให้น้องไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง

ในแต่ละปี LINE ประเทศไทยจะเปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงานจากนักศึกษาทั่วประเทศที่ยื่นเข้ามาฝึกในสาขางานต่างๆ ที่สนใจ เมื่อผ่านการคัดเลือกใบสมัครรอบแรก จะได้เข้าไปสัมภาษณ์กับพี่ๆ พนักงาน LINE จริงๆ เพื่อวัดความสามารถ และทัศนคติ ก่อนจะผ่านการคัดเลือก ขณะที่ในปี 2564 ก็ถือความท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อมีการ Work From Home ทำให้การฝึกงานก็ต้อง From Home ตามเช่นกัน

 “แม้จะฝึกงานจากบ้าน การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก น้องๆ จะได้เข้าประชุมและนำเสนองานจริงๆ ขณะเดียวกัน เมนเทอร์และน้องๆ จะมีการนัดหมายลงตารางเวลา เพื่อพูดคุยแบบ Virtual อัปเดตและปรึกษางานอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง” กานต์ อธิบายเสริม

เปิดมุมมองจริง จาก LINE

 Rookie

พี่ๆ สอนให้เห็นภาพใหญ่แต่ต้องไม่ลืมรายละเอียดเล็กน้อย

 ทางด้าน เก็ต-สิทธา มุ่งจิตธรรมมั่น นักศีกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าถึงความเรียลในการฝึกงานครั้งนี้ว่า “การฝึกงานเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผม เพราะจะทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราต้องการจะทำ ตรงกับสิ่งที่เรา จะต้องอยู่กับมันไปตลอดไหม รู้เร็วว่าใช่หรือไม่ใช่ จะได้ไม่เสียเวลา จริงๆ เรียนไฟแนนซ์มา แต่อยากลองทำงานสายงานการตลาดดู มาฝึกงานครั้งนี้ที่แผนก e-Commerce ได้ครบทุกอรรถรส ได้สกิลที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอย่างการออกแบบอาร์ทเวิร์คทุกสัปดาห์ แต่ที่ประทับใจที่สุดคือการได้จัด LINE SHOPPING Academy Bootcamp ที่เริ่มต้นตั้งแต่ ตั้งไข่ โดยพี่ๆ ให้เวทีนี้กับผมอย่างเต็มที่ โปรเจคนี้สำเร็จได้ เพราะมี เมนเทอร์ที่ดีมากๆ ไม่มีกำแพงในการทำงานและ สอนน้องให้เห็นภาพใหญ่แต่ต้องไม่ลืมที่จะใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อีกด้วย”

บรรลุเป้าหมายเพราะได้มีร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคน

 ทรัส-ปิยวัฒน์ อำนวยผลเจริญ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งเดียวที่ได้รับเลือกให้ฝึกงานในตำแหน่ง Engineering Office รับผิดชอบในส่วนของ Data Analyst เล่าให้ฟังว่า “ผมเป็นหนึ่งคนที่เลือกออกไปฝึกงานหลายรอบมาก แบบไม่ต้องรอฝึกจบตอนปีสุดท้ายอย่างเดียวเท่านั้น เพราะมองว่าเรียนทฤษฎีแล้ว ต้องลองไปปฏิบัติ การได้ไปลองสนามในหลายๆ ที่ ทำให้ได้มากกว่าความรู้ ได้เรียนรู้ Culture ขององค์กรนั้นๆ รวมถึงได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่เวลาเราทำงานแล้วมีความสุขเป็นอย่างไร จะได้เลือกได้ถูกว่างานไหนที่ชอบและใช่ สำหรับผมได้ฝึกงานในสายงาน Data ครั้งนี้ รู้สึกว่าเราชอบจริงๆ เพราะมีความสุขเวลาที่หา Insight จากข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ ผมมองว่าหลายอย่าง ที่ผมเจอที่ LINE Rookie ไม่มีสอนในห้องเรียน โดยเฉพาะสิ่งที่เป็น Soft skill ผมได้เพิ่มทักษะการปรับตัวเข้าหาคนอื่น การสื่อสาร ปลุกความกล้าทั้งการพูด การคิด และการทำ เพื่อที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานให้ได้มากที่สุด การได้เข้ามาร่วมโครงการนี้ บรรลุเป้าหมายของผมคือ การได้มีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคน”

ปรับ Mindset มองโลก มุมใหม่เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส

 ขิม-กันต์ฤทัย ปิลันธน์โอวาท นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บอกเล่ามุมมองที่น่าสนใจว่า “ให้ความสำคัญกับการฝึกงาน เพราะรู้ว่าโลกแห่งการทำงานที่รอเราอยู่ มีอะไรใหม่ๆ ที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาย และทำให้เรารู้ว่างานอะไรที่เราชอบ โดยขิมได้ฝึกงานในสายงาน Marketing & Communications ซึ่งตรงกับที่ได้เรียนมา โดยพอได้ลอง มาทำแล้วเห็นทางในอนาคตว่า อาจจะเริ่มต้นด้วยงาน Marketing Communication ก่อนที่จะขยับขยายตาม Career Path ของสายงานนี้ที่กว้างมาก ฝึกงานครั้งนี้นอกจากจะได้ ทำแคมเปญต่างๆ มากมายแข่งกับเวลาแล้ว ยังได้รู้จักและเข้าใจถึงวิธีคิดแบบ Design Thinking ที่ถือเป็นทาง แห่งความสำเร็จของโลกปัจจุบัน รวมถึงการได้ปรับ Mindset มองโลก มุมใหม่เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส”

สำหรับโครงการ LINE Rookie 2022 เปิดรับสมัครนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยปีที่ 3-4 (ปีการศึกษา 2565) จากทุกสถาบัน ทุกสาขาวิชา ผู้สนใจสามารถสมัครร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2021 ได้ที่ https://linerookie.com

#LINEROOKIE #LINEThailand #LINECAREERS

 

###

X

Right Click

No right click