November 19, 2024

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชายสูงวัยและมีแนวโน้มว่าจะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมากมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง นอกจากทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้นแล้ว ยังทำให้การรักษามีความปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการรักษา

ปัจจุบัน มีทางเลือกการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากหลายหลายวิธี ซึ่งเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยที่แตกต่างกันไป ได้แก่

  1. การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มะเร็งเติบโตช้าและยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น แต่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง
  2. การผ่าตัด (Radical Prostatectomy) มี 3 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเปิด (Open Radical Prostatectomy), การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง (Laparoscopic Radical Prostatectomy) และการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic-Assisted Da Vinci Surgery)
  3. การใช้รังสีรักษา (Radiation Therapy) มี 2 รูปแบบ คือ การฉายรังสีและการฝังแร่ มักใช้ในมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ยังไม่ลุกลามออกนอกต่อมลูกหมาก (Localized Prostate Cancer) ซึ่งในขณะฉายรังสีอาจทำให้แสงไปโดนอวัยวะที่อยู่รอบต่อมลูกหมาก เช่น ลำไส้ตรง (Rectum) ซึ่งกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยจะเกิดอาการแทรกซ้อนค่อนข้างมาก คือท้องเสียหรือปวดหน่วงทวารจนต้องใช้ยา และอาจพบลำไส้ทะลุหรือมีเลือดออก ทำให้ต้องผ่าตัดแก้ไขหรือให้เลือด

ไฮโดรเจล (Hydrogel) เป็นนวัตกรรมที่ผลิตจากสารโพลีเอธิลีน ไกลคอล (Polyethylene Glycol: PEG) ช่วยลดผลแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยการฉายรังสีและการฝังแร่ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วว่ามีความปลอดภัย ร่างกายสามารถดูดซึมและย่อยสลายได้ โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้นำนวัตกรรมไฮโดรเจลเข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนมีนาคม 2566

ทั้งนี้ ไฮโดรเจลจะทำหน้าที่เหมือนเป็นหมอนคั่นระหว่างต่อมลูกหมากและลำไส้ตรง ด้วยการเพิ่มช่องว่างระหว่างอวัยวะทั้งสอง ซึ่งปกติอยู่ห่างกันประมาณ 2-3 มม. ให้มีระยะห่างเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ซม. ทำให้ลำไส้ตรงไม่ได้รับรังสีหรือได้รับรังสีน้อยมาก

โดยก่อนการทำหัตถการ แพทย์จะฉีดยาชาหรือยานอนหลับให้กับผู้ป่วย แล้วจึงใช้น้ำเกลือฉีดเข้าไปในช่องว่างระหว่างต่อมลูกหมากกับลำไส้ตรงเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่ง จากนั้นแพทย์จะฉีดสารไฮโดรเจลซึ่งอยู่ในรูปแบบน้ำเข้าไปที่ช่องว่างนั้น เมื่อไฮโดรเจลเข้าสู่ร่างกาย จะเปลี่ยนสภาพเป็นเจลและช่วยขยายช่องว่างระหว่างต่อมลูกหมากกับลำไส้ตรงให้มีขนาดกว้างยิ่งขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลาเพียง 10-20 นาที ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังจากทำหัตถการ โดยร่างกายจะดูดซึมไฮโดรเจลไปตามธรรมชาติจนหมดภายในเวลา 6 เดือน

นพ. ธีระพล อมรเวชสุกิจ แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ เป็นหนึ่งในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์สูง ซึ่งปัจจุบัน ได้ให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะไปแล้วกว่า 1,500 รายต่อปี และประมาณ 300 รายในนั้น คือผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่รักษาด้วยการใช้รังสีรักษา เรามุ่งมั่นและไม่หยุดพัฒนาที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการดูแลรักษาโรคเฉพาะทางได้อย่างครอบคลุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ป่วย

ในปัจจุบัน การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic Medicine) หรือ เวชศาสตร์จีโนม นับเป็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มาพลิกโฉมวงการแพทย์ทั่วโลก โดยใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมมนุษย์มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการพยากรณ์โรคที่แม่นยำ การเลือกรูปแบบการรักษาและการใช้ยาแบบมุ่งเป้าเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ตรงจุด รวมไปถึงการทำนายความเสี่ยงในการเกิดโรค และการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ข้อมูลในเชิงป้องกัน

ดร. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า เรามุ่งมั่นพัฒนาการรักษาในระดับจตุตถภูมิ (Quaternary Care) และเป็นสถาบันด้านวิชาการทางการแพทย์ (Academic Hospital) มีฝ่ายวิจัยและศึกษา ที่มีบุคลากรระดับปริญญาเอก เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการดำเนินความร่วมมือกับสถาบันทางวิชาการและมหาวิทยาลัยในระดับประเทศ รวมถึงบริษัทเอกชนต่างประเทศ เพื่อส่งมอบการดูแลรักษาตามมาตรฐานสากลและความปลอดภัยสูงสุด โดยมุ่งหวังให้ผู้ป่วยและผู้ที่มารับบริการของเราทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ

ผศ.นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล Chief Scientific Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ยกระดับจาก คลินิกพันธุศาสตร์เชิงป้องกัน (Preventive Genomic Clinic) เป็น “ศูนย์เวชศาสตร์จีโนม บำรุงราษฎร์ (Bumrungrad Genomic Medicine Center)” ซึ่งเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีและความรู้ด้านพันธุกรรมมาใช้ในเชิงป้องกันให้แก่ผู้ป่วยอย่างครบวงจรเป็นที่เดียวในประเทศไทย โดยส่งมอบการดูแลรักษาสุขภาพในระยะยาว ที่มุ่งเน้นมาตรฐานคุณภาพในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การตรวจวิเคราะห์พันธุกรรมในเชิงป้องกันเพื่อค้นหาความเสี่ยงในการเกิดโรค ภายใต้ห้องปฏิบัติการของตนเองที่ได้การรับรองมาตรฐานในระดับสากล จากวิทยาลัยพยาธิแพทย์อเมริกัน College of American Pathologists (CAP) โดยทีมแพทย์เฉพาะทาง ผู้เชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการ และผู้ชำนาญคุณวุฒิระดับปริญญาเอก ที่ร่วมกันกำหนดแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ดีและเหมาะสมที่สุด ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง จนทำให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้รับการรับรองเป็น ผู้ให้บริการด้านเวชศาสตร์จีโนม จากกระทรวงสาธารณสุข

นพ. ชนินทร์ ลิ่มวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตระหนักถึงความสำคัญของการบริบาลทางการแพทย์ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งสามารถตรวจวิเคราะห์ถอดรหัสยีนได้อย่างแม่นยำ เพื่อบ่งบอกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉพาะการรักษาโรคซับซ้อน และเพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคบางชนิดที่สามารถส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่มีสาเหตุจากพันธุกรรมและถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในปัจจุบันมีการตรวจรหัสพันธุกรรมเชิงลึก โดยการถอดรหัสพันธุกรรมของยีนทั้งหมดในมนุษย์ (Whole Exome Sequencing) ที่ช่วยค้นหายีนในโรคทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหายาก

นอกจากนี้ การตรวจยีนของคู่สมรสที่วางแผนการตั้งครรภ์ จะช่วยคัดกรองและป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่อาจส่งผลกระทบต่อบุตรได้ โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีการตรวจยีนแฝงที่สามารถช่วยเรื่องการวางแผนการมีบุตร ไม่ว่าจะเป็น การตรวจหาความผิดปกติของยีนคู่สมรสที่สามารถส่งต่อโรคไปยังบุตร การตรวจหาความผิดปกติของยีนก่อเกิดโรคในทารก การตรวจหาโรคทางพันธุกรรมในทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา รวมถึงการตรวจหาความผิดปกติของยีนในตัวอ่อนก่อนฝังเข้าสู่โพรงมดลูก ในกรณีที่ผสมตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว

ศ.ดร.ภก. ชลภัทร สุขเกษม ที่ปรึกษาด้านเภสัชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีการนำนวัตกรรม “การตรวจยีนเพื่อเลือกใช้ยาเฉพาะบุคคล” หรือที่เรียกว่า “เภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ (Pharmacogenomics and Precision Medicine)” มาใช้เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้มารับบริการ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพ้ยา รวมถึงเพื่อให้แพทย์สามารถจ่ายยาได้ในปริมาณที่เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำนวัตกรรมการตรวจยีนเพื่อการปรับขนาดยาเฉพาะบุคคลมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่มโรคต่าง ๆ ด้วยการดำเนินงานภายในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลในระดับสากล ที่มีจุดเด่นในการตรวจวิเคราะห์ยีนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร ในกลุ่มผู้ป่วยทุกเชื้อชาติ และสามารถแปลผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ตามมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยและมอบความมั่นใจอย่างสูงสุดให้กับผู้ป่วย

นอกจากนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ยังเป็นแหล่งฝึกอบรมเภสัชกรเฉพาะทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ รวมถึงเป็นสถาบันร่วมในการเสริมสร้างและสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเวชพันธุศาสตร์ที่หลากหลาย เช่น แพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ และผู้ให้คำปรึกษาด้านพันธุกรรม (Genetic Counselor) ไม่เพียงเท่านั้น ศูนย์เวชศาสตร์จีโนมของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการด้านเภสัชพันธุศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และยังสามารถต่อยอดไปใช้ในการแพทย์เชิงป้องกันในผู้มารับบริการที่มีสุขภาพดี เพื่อให้ผู้มารับบริการมีข้อมูลพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อยาติดไว้กับตัว และสามารถเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมได้ นอกจากนี้ยังดำเนินการขยายการเข้าถึงการตรวจโดยระบบ Home Healthcare และร้านยาใกล้บ้าน ให้ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีความปลอดภัยสูงสุดและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทย

ผศ.นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล กล่าวปิดท้ายว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีและความรู้ด้านพันธุกรรมมาใช้ในการวินิจฉัย ร่วมกับการรักษา ป้องกันโรค และดูแลสุขภาพองค์รวม นอกเหนือจากเรื่องเวชศาสตร์จีโนมแล้ว เรายังนำความรู้เรื่องมัลติโอมิกส์ (Multi-omics) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย มาใช้ในการตรวจรักษา โดยช่วยให้ทราบถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก AI ในการแปรผลยีนเพื่อให้มีความแม่นยำมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้ด้านจีโนมิกส์ สู่การพัฒนาด้านเวชศาสตร์เชิงป้องกัน เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีอย่างยืนยาวและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนอย่างยั่งยืน

นับเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่ไม่เคยหยุดยั้งในการพัฒนาองค์ความรู้ และการแสวงหาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อส่งมอบการบริบาลด้วยความเอื้ออาทรและเพื่อผลลัพธ์การรักษาในเชิงบวก โดยคำนึงถึงคุณภาพการรักษาที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด

สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ศูนย์เวชศาสตร์จีโนม บำรุงราษฎร์ (Bumrungrad Genomic Medicine Center) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ชั้น 3 อาคาร B (โรงพยาบาล) โทร. 02 011 4890 หรือ 02 011 4891 (เวลาทำการ 8:00-18:00 น.)

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขอแสดงความยินดีกับ รศ.คลินิก นพ. ทศพล เกิดศิริชัยรัตน์, FASGE แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในโอกาสที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการการประชุม Digestive Disease Week (DDW) ระหว่างปี 2563-2567 โดยเป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมเสวนาทางวิชาการด้านการตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องติดอัลตราซาวด์ หรือ Endoscopic Ultrasound (EUS) ของสมาคม American Society for Gastrointestinal Endoscopy (ASGE)

รศ.คลินิก นพ. ทศพล มีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกและทบทวนงานวิจัยจากทั่วโลกสำหรับนำเสนอในการประชุมดังกล่าว โดยได้ดำเนินงานร่วมกับคณะผู้บริหารสมาคม ASGE อย่างใกล้ชิด ในการนำเสนอหัวข้อในเวทีสำคัญ ได้แก่

  1. Pancreatic EUS: Navigating Genomic Frontiers
  2. Pioneering Therapeutic EUS Techniques in Pancreatic and Small Bowel
  3. Effective Biliary Drainage - EUS is the New Kid in Town

ยิ่งไปกว่านั้น รศ.คลินิก นพ. ทศพล ยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานประกาศรางวัล Crystal Awards Night ซึ่งเป็นงานสำหรับผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารเท่านั้น โดยได้ร่วมแสดงความยินดีกับ ศ. นพ. มาร์ติน แอล. ฟรีแมน ผู้รับรางวัล ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (mentor) ของ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ขณะศึกษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ได้รับการตอบรับเข้าฝึกอบรมการส่องกล้องขั้นสูงที่ Johns Hopkins University

นอกจากนี้ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ยังได้ร่วมแสดงความยินดีกับลูกศิษย์ ในฐานะที่ปรึกษาที่สามารถผลักดันลูกศิษย์ให้ได้รับการตอบรับเข้าฝึกอบรมการส่องกล้องขั้นสูงที่ Johns Hopkins University ได้ โดยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเพียงคนเดียวที่อาศัยอยู่นอกสหรัฐอเมริกาของสมาคม ASGE และสมาคม American College of Gastroenterology (ACG)

การได้รับเกียรติในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมและความทุ่มเทของ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ในการพัฒนาองค์ความรู้และการปฏิบัติทางการแพทย์ในระดับโลก 

ชูความพร้อมการรักษาโรคยากและซับซ้อนในเด็ก ร่วมด้วยแขกรับเชิญสุดพิเศษ “ลีเดีย ศรัณย์รัชต์”

ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ปี 2566 เป็นอีกหนึ่งปีที่น่าประทับใจของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยโรงพยาบาลฯ ได้รักษาผู้ป่วยให้กลับบ้านอย่างปลอดภัยกว่า 1 ล้านคน ซึ่งแบ่งเป็นผู้ป่วยไทยและ expat เป็นจำนวนกว่า 660,000 ครั้ง และ ผู้ป่วยต่างชาติ เป็นจำนวน 351,000 ครั้ง จากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก โดย 97% ของผู้ที่มารับการบริบาลทั้งหมดกลับมาหาเรา แสดงถึงความเชื่อมั่นในการรักษา ด้วยมาตรฐาน ความปลอดภัยสูงสุด

อย่างไรก็ดี เราตระหนักดีถึงความท้าทายในปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของระบบการดูแลรักษาที่กำลังจะมาถึง ทำให้เราไม่สามารถหยุดนิ่ง และพอใจกับความสำเร็จที่ผ่านมาได้ ไม่ว่าจะเป็น ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางการแพทย์ โมเดลการดูแลสุขภาพ นวัตกรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงสุขภาพดิจิทัล การแพทย์ทางไกล และปัญญาประดิษฐ์ ที่เราต้องนำมาปรับเปลี่ยนใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งไม่ใช่แค่เพื่อรักษาความเป็นเบอร์หนึ่งเท่านั้น แต่เพื่อใช้โอกาสการเปลี่ยนแปลง และ disruption ที่จะมาถึง สร้างประโยชน์กับผู้ป่วยและพนักงานของเรา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จึงได้วางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจปี 2567 ให้เป็น Year of Transformation โดยมุ่งมั่นพัฒนา 5 เสาหลัก ได้แก่

1) Clinical Transformation, 2) Safety and Quality Transformation, 3) Operation Process Transformation, 4) Service Excellence Transformation, 5) People Transformation

รศ.นพ. ทวีสิน ตันประยูร ประธานปฏิบัติการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ในการทำให้เกิด Clinical transformation นอกจากการรักษาแบบครบวงจรในแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลแล้ว เรายังจัดให้มีศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โดยรวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีประโยชน์กับผู้ป่วยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกันให้การบริบาล โดยในปีนี้เรามีศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Centers of Excellence) 8 ศูนย์ ได้แก่ สถาบันโรคหัวใจ สถาบันกระดูกสันหลัง ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน ศูนย์โรคระบบประสาท ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ศูนย์จักษุ ศูนย์เต้านม และศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ขณะที่ศูนย์การรักษาอื่น ๆ ยังคงให้การบริบาลด้วยคุณภาพมาตรฐานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานของบำรุงราษฎร์ทุกประการ และเพื่อให้เกิดระบบการควบคุมคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น เราได้นำระบบธรรมาภิบาลทางการแพทย์มาใช้ในโรงพยาบาล คือทำให้เกิดธรรมาภิบาลกับผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดด้วยนวัตกรรมและความรู้ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน และให้เกิดธรรมาภิบาลกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้ได้รับความสะดวกสบายในการมาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

นอกจากนี้เรายังได้สร้างระบบการถ่ายทอดความรู้ในองค์กรในการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งสั่งสมมากว่า 43 ปีให้กับแพทย์และบุคลากรจากรุ่นใหญ่สู่รุ่นใหม่ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยของเราเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย และอยู่ในขอบเขตของจริยธรรมและมาตรฐานทางการแพทย์ที่ดีที่สุด เพื่อให้องค์กรของเราเป็นองค์กรทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือที่สุด สำหรับผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างประเทศ

นพ.รุจาพงศ์ สุขบท รองประธานอาวุโสปฏิบัติการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวเสริมว่า การแพทย์ นับเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้รับบริการ โดยเราจะสร้าง patient engagement การมีส่วนร่วมกับผู้ป่วยโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง patient centric ในทุกสิ่งที่เราทำ ควบคู่ไปกับการนำ Innovation มาใช้เสริมประสิทธิภาพในการรักษาและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในองค์กร (sustainable growth) ผ่านการบ่มเพาะวัฒนธรรมองค์กรซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญ และการ empower พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ให้ได้ใช้ความรู้ความชำนาญการในแต่ละสาขาอาชีพได้อย่างเต็มศักยภาพ และทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย ทั้งหมดนี้คือวัฒนธรรมที่เราจะสร้างให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำทางการแพทย์ในศตวรรษที่ 22 ต่อไป

นพ.นิพัฒน์ กุหลาบขาว รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ในเรื่อง Operation Transformation โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้มีการนำระบบ Digital Healthcare มาใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เพื่อการให้บริบาลแก่ผู้ป่วยอย่างปลอดภัย ถูกต้อง และรวดเร็ว   และมุ่งเน้นในการดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร และไร้รอยต่อ  โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล  ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยรับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล  และรวมถึงหลังจากที่เสร็จสิ้นการรักษาไปแล้ว  โดยระบบ Digital Healthcare ที่เราใช้อยู่นี้ จะมีการ update ระบบให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพอยู่ตลอด  เช่น ระบบจัดเก็บเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์แบบ EMR (Electronic Medical Record) เพื่อช่วยให้ทีมแพทย์เฉพาะทางของเรา และทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ เช่น พยาบาล เภสัช นักรังสีเทคนิค นักกายภาพ เป็นต้น ได้สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและแผนการรักษาของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และเป็นระบบ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการการสื่อสารทั้งภายใน และภายนอกองค์กรของเราอีกด้วย นอกจากนี้ เรามี Bumrungrad Application ที่ใช้ในการสื่อสารและให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย โดยมีด้วยกันหลายภาษาหลักตามกลุ่มผู้ป่วยของเรา ทั้งไทย อังกฤษ อารบิค พม่า จีน ญี่ปุ่น  โดยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการ Transform Operation นี้จะมุ่งเน้นในเรื่องของการเพิ่ม operation efficiency ซึ่ง focus อยู่ 4 ข้อหลัก ๆ โดยยึดหลักของ F A S T; Friendly use, Accuracy, Safety – patient, Timeliness   

ในขณะเดียวกัน เมื่อเราได้มีการ Transform operation process ที่ดีแล้ว ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เอง ก็ได้มีพัฒนาในเรื่องของ การให้บริบาลให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพที่เหนือความคาดหมายแก่ผู้ป่วยและครอบครัว  โดยทางเราได้มีการนำเครื่องมือที่ชื่อว่า วิถีแห่งบำรุงราษฎร์ (Bumrungrad Way) มาใช้  เป็นแนวปฏิบัติของบุคลากรในการบริบาลผู้ป่วยของทุกแผนก ทุก patient touch point ซึ่งเป็นแบบฉบับของบำรุงราษฎร์เอง และทางเราได้มีการปรับให้สอดคล้อง ตามยุคสมัย ตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน เพราะผู้ป่วยของเราเดินทางมาจากทั่วทุกมุมโลก และต้องการการดูแลแบบ personalized  ซึ่ง Bumrungrad Way นี้เป็นแนวปฏิบัติที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง นำไปสู่การให้บริบาลด้วยความเท่าเทียม และเอื้ออาทร นอกจากนั้น เรายังได้เสาะหาและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยี AI เข้ามาปรับใช้เพื่อยกระดับการบริบาลของเราให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยของเราเกิดความประทับใจ และส่งต่อเรื่องราวดี ๆ ไปยังบุคคลรอบตัว โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ นับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นที่ดีที่สุดของ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า เรื่องของ People Transformation  เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ตลอดระยะเวลากว่า 43 ปีเข้าสู่ปีที่ 44 ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สิ่งที่บำรุงราษฎร์ให้คุณค่ามากที่สุด คือ เรื่องของบุคลากร ปัจจุบันเรามีพนักงานอยู่กว่า 4,000 คน มีแพทย์อีกกว่า 1,300 คน เราปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร คือ iAIC (Inclusion, Agility, Innovation, Caring) ซึ่งเป็น DNA ของคนบำรุงราษฎร์ เน้นเรื่องการปลูกฝัง Agile mindset ของเราที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในเรื่อง Transformation ทำให้พนักงานเปิดใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง และ เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราฝ่าวิกฤตต่าง ๆ มาได้

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน เรามีแผนงานการสืบทอดตำแหน่งงาน (succession planning) มีการวาง career path และ career development ที่ชัดเจน และพัฒนาผู้นำจากภายใน มุ่งเน้นด้านการพัฒนาฝึกฝนกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่และตระเตรียมการเสริมสร้างผู้นำในอนาคต ที่จะสืบสานการดำเนินงานของโรงพยาบาลอย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายทอดองค์ความรู้ จากผู้นำรุ่นปัจจุบันเพื่อรักษาจุดแข็ง ในขณะเดียวกันก็สามารถเติมเต็มและพัฒนาองค์กรให้เหมาะสมกับสภาวะในอนาคตที่จะมาถึง 

หนึ่งในกิจกรรมที่บำรุงราษฎร์ทำมาโดยตลอด คือ การสร้างและพัฒนาให้มีบุคลากรด้านการแพทย์และการพยาบาลที่ทรงคุณค่าให้แก่โรงพยาบาลและแก่ประเทศชาติ รวมถึงการให้ทุนการศึกษาแก่พยาบาล โดยโรงพยาบาลมีสถาบันทางวิชาการที่ส่งเสริมด้านการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ ถือได้ว่าปัจจุบันบำรุงราษฎร์เป็น ‘สถาบันวิชาการทางการแพทย์ภาคเอกชน’ หรือ Academic Private Hospital อย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังสนับสนุนให้แพทย์และบุคลากรได้มีโอกาสทำงานวิจัย ตีพิมพ์ผลงานในวารสารทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และมีความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ เพื่อพัฒนางานวิจัยทางการแพทย์และนวัตกรรมการรักษา ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

ภญ. อาทิรัตน์ อธิบายต่อว่า Safety and Quality Transformation คุณภาพและความปลอดภัย คือ หัวใจสำคัญอีกประการของบำรุงราษฎร์ ไม่มีสิ่งใดสำคัญไปกว่าความปลอดภัยของผู้ป่วยและพนักงานของเรา และเราจะไม่ประนีประนอมในเรื่องของความปลอดภัยเด็ดขาด ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงที่เกิดการระบาดของโรค บำรุงราษฎร์แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี เรามีการถอดบทเรียน มี knowledge management นำปัญหามาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต และพัฒนาในเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง (risk management) ได้อย่างดี ซึ่งสามารถที่จะป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจขึ้นได้ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมเรื่องของ no-blame policy ทำให้พนักงานกล้าที่จะพูดคุยในปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ที่สำคัญ เราไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาเรื่องของเทคโนโลยีเพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในองค์กร อย่าง Hospital Information Management System (HIMS) การบริหารจัดการด้านระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ที่ช่วยควบคุม quality ลดข้อผิดพลาด และส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยในการบริหารจัดการของโรงพยาบาลมีผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการให้องค์กรอิสระภายนอกเข้ามาตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง อาทิ มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล (JCI) ซึ่งทางโรงพยาบาลได้ผ่านการต่ออายุการรับรอง re-accreditation ครั้งที่ 7 เมื่อปลายเดือน ธ.ค. 2566 , มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ‘ขั้นก้าวหน้า’ (A-HA), การรับรองจาก Global Healthcare Accreditation (GHA) ในระดับความเป็นเลิศมาตรฐานสากลในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เดินทางเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทย, ความเป็นเลิศในมาตรฐานด้านการปฏิบัติงานด้านพยาธิวิทยาและเวชศาสตร์ชันสูตรของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากวิทยาลัยพยาธิแพทย์อเมริกัน (CAP) ซึ่งคุณภาพและความปลอดภัย นับเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของคุณภาพของสถานพยาบาล

 

สุดท้ายนี้ เราจะไม่สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ของการเป็น The Most Trusted Healthcare and Wellness Destination ได้ หากปราศจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ซึ่งเป็นสถาบันเวชศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ เป็นผู้บุกเบิกและวางรากฐานเวชศาสตร์เชิงป้องกันเป็นแห่งแรกในเอเชีย ซึ่งไวทัลไลฟ์มีแนวทางการดูแลสุขภาพเพื่อการมีอายุยืนยาว โดยใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยในด้าน Longevity Medicine ผสมผสานกับเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ ในการวิเคราะห์ อายุชีวภาพ (biological age) หรืออายุที่แท้จริงลึกถึงระดับเซลล์ของร่างกาย เพื่อช่วยวางแผนเฉพาะบุคคลในการลดอายุทางชีวภาพเพื่อชะลอความเสื่อม ป้องกันก่อนเกิดโรคและฟื้นฟูสภาพความเสื่อมให้กลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงและมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงการตรวจรหัสพันธุกรรมโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการทางเวชศาสตร์จีโนม เพื่อหาความเสี่ยงของ ปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล

ด้วยการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ผู้มารับบริการของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ จะทำให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuum of care) เสริมศักยภาพการเป็นจุดหมายแห่งการดูแลสุขภาพและสุขภาวะที่น่าเชื่อถือที่สุด และยังเป็นการเสริมจุดแข็งด้านการแพทย์ของไทย สู่เป้าหมายของการเป็น ‘ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ’ หรือ ‘การแพทย์ครบวงจร’ (Medical Hub) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเป็น 1 ในท็อป 100 โรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของ Newsweek ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click