January 21, 2025

บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ได้ปรับราคาพื้นฐานของหุ้น WICE ขึ้นเป็น 7 บาท พร้อมคงคำแนะนำ "ซื้อ" เนื่องจากเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวของอัตราค่าขนส่งทั้งทางทะเลและทางอากาศ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังที่คาดว่าจะเติบโตตามเป้า หลังจากอัตราค่าระวางเรือปรับตัวดีขึ้น และปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้น

WICE มีโครงการใหม่ที่น่าสนใจ เช่น การขนส่งเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจาก สปป.ลาวมายังท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อนำส่งต่อไปยังญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ นอกจากนี้ยังมีโครงการขนส่งเมล็ดกาแฟดิบจาก OR ที่ใช้ยานยนต์เชื้อเพลิงไฟฟ้า (EV) ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาสที่ 3 ส่งผลให้แนวโน้มธุรกิจในครึ่งปีหลังเติบโตตามเป้าหมาย

นายชูเดช คงสุนทร กรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ WICE เปิดเผยว่า บริษัทได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วหลังค่าระวางเรือและปริมาณการขนส่งเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและจีน นอกจากนี้ WICE ยังเดินหน้าขยายธุรกิจผ่านการจัดตั้งบริษัทย่อยในฟิลิปปินส์และจีน ซึ่งจะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าและขยายบริการในต่างประเทศ คาดว่ารายได้ทั้งปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของธุรกิจและการฟื้นตัวของตลาดขนส่ง

นอกจากนี้ นายชูเดช ยังมั่นใจว่า สถานการณ์ธุรกิจขนส่งจะกลับมาสู่ภาวะปกติหลังจากที่ช่วงหลังโควิดค่าระวางเรือปรับขึ้นอย่างรุนแรงและปรับลงในปี 2566 โดยครึ่งปีหลังนี้คาดว่าจะเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ ส่งผลให้ผลประกอบการของ WICE เติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้

บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หนึ่งในผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มภายใต้กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย และผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของไทย ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เสริมสร้างและพัฒนาทักษะด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนให้กับบุคลากรบริษัทฯ และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฯ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกอบรมโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งสองฝ่าย อีกทั้งส่งเสริมบุคลากรที่มีคุณภาพและเปิดโอกาสสร้างบุคลากรหน้าใหม่เข้าสู่วงการ เตรียมพร้อมรับการขยายตัวของตลาดเครื่องดื่มไทย

นายชาญวิทย์ ชรินธร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซัพพลายเชน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มีชื่อเสียงด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในครั้งนี้ถือเป็นกลยุทธ์ของไทยน้ำทิพย์ ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นไม่หยุดยั้งในการยกระดับและพัฒนาองค์กรให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและการ

เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอผ่านการพัฒนาและส่งเสริมทักษะในด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนให้กับบุคลากร เพื่อให้สามารถกระจายสินค้าและส่งมอบความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการเตรียมความพร้อมบัณฑิตและผลิตบุคลากรใหม่ๆ ที่มีคุณภาพเข้าสู่แวดวงอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ตอกย้ำจุดยืนของไทยน้ำทิพย์ ในฐานะผู้นำและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของไทยอย่างแท้จริง”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมสัน โสมณวัตร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาวิทยาเขตนครปฐม กล่าวว่า “ทางมหาวิทยาลัยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกันกับไทยน้ำทิพย์ ในครั้งนี้ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทั้งสององค์กร ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงวิชาการและปฏิบัติการในองค์ความรู้สาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของทั้งสองฝ่าย รวมถึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการจริงอีกด้วย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นส่งเสริมความชำนาญในด้านต่างๆ  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับแนวหน้าและสร้างนวัตกรรมองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์สู่สังคม”

ความร่วมมือระหว่างไทยน้ำทิพย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มีระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่กรกฎาคม 2566 มีจุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของทั้งบุคลากรบริษัทฯ และนักศึกษามหาวิทยาลัยฯ โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจะเป็นผู้จัดหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นวิทยากรให้แก่บริษัทฯ ให้การสนับสนุนและบริการทางวิชาการ และพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามข้อตกลงกับทางบริษัทฯ ส่วนไทยน้ำทิพย์ จะให้การสนับสนุนจัดหาวิทยากร การจัดการเรียนการสอนผ่านการปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการ รวมถึงสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ อีกทั้งส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรเข้าศึกษาต่อหรือฝึกอบรมในด้านที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ และ อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ ผนึกกำลัง จัดงาน “ไทล็อก-โลจิสติกซ์ 2023”

บอร์ด WHA ไฟเขียว ทุ่มงบลงทุน 912 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน SO ในสัดส่วน 20% เสริมธุรกิจครบวงจร ต่อยอดการให้บริการกับลูกค้าของ WHA รองรับการเติบโตของภาคธุรกิจโลจิสติกส์ และนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA เปิดเผยข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ระบุว่า ตามมติคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 อนุมัติให้บริษัท ดับบลิวเอชเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ WHA เข้าไปลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บมจ.สยามราชธานี หรือ SO จำนวน 111,597,905 ล้านหุ้น หรือเทียบเท่า 20% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลังการเพิ่มทุน ที่ราคาเสนอขายหุ้นละ 8.1720 บาท โดยภายหลังจากที่เข้าทำรายการซื้อหุ้นสามัญของ SO เสร็จสิ้น WHA จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ลำดับที่ 2 ของ SO ถัดจากตระกูลวิมลเฉลา ซึ่งถือหุ้นรวมกัน 58.2%

คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การเข้าไปลงทุนใน SO ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการดำเนินตามภารกิจ Mission to the Sun โดยเป็นการเอาจุดแข็งของ WHA ที่มี Ecosystem ที่ครบวงจร และจุดแข็งของ SO เรื่อง Lean Operation มาผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่เป็น Total Sustainable Solutions ให้กับลูกค้าของเรา"

ซึ่ง WHA มองว่า SO เป็นผู้นำในธุรกิจ Outsourcing Service ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการสรรหา และบริหารจัดการบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมไปถึงเรื่องการฝึกอบรม เสริมทักษะให้กับบุคลากรเพื่อตอบสนองตลาดแรงงาน นอกจากนี้ SO ยังมีความโดดเด่นเรื่อง Lean Business Process ที่นำ Technology มาพัฒนาเป็น Solutions ต่างๆ ช่วยลูกค้าในการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจเพื่อลดต้นทุนในการบริหารงาน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ ระบบบริหารจัดการคนขับรถและยานพาหนะ (Fleet Management) ซึ่งอยู่ในแผนการขยายธุรกิจ Green Logistics ของ WHA อีก

ทั้ง SO มีผลการดำเนินงานที่มั่นคงมาโดยตลอด และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคตตามเทรนด์ Lean Organization” คุณจรีพรกล่าวสรุปว่า “การลงทุนใน SO นอกจากจะก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างยั่งยืนในเชิงกลยุทธ์ และโอกาสในการต่อยอดธุรกิจในเครือของทั้งสองบริษัทมากมาย ยังคาดว่าจะให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีกับบริษัทด้วย”

นายณัฐพล วิมลเฉลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สยามราชธานี หรือ SO เปิดเผยว่า “การขายหุ้นเพิ่มทุน 20% ให้ WHA ซึ่งเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในด้านโลจิสติคส์ นิคมอุตสาหกรรมและการให้บริการโซลูชั่นครบวงจรแก่ลูกค้าภาคอุตสาหกรรม ถือเป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) ที่สำคัญของบริษัท ซึ่งจะเข้ามาสร้าง Synergy ให้กับ SO ทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ โดย WHA จะช่วยให้ SO สามารถขยายขอบเขตการให้บริการ Outsource ให้มีความหลากหลาย และครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากขึ้น รวมถึงร่วมกันพัฒนาธุรกิจ หรือ Solutions ใหม่ๆ ที่จะส่งเสริมให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด SO จึงมั่นใจว่า ด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจของ WHA และ SO จะทำให้ทั้งสองบริษัทก้าวสู่การเป็น Technology Company และเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน”

ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือในเฟสแรกจะมุ่งเน้นเรื่อง

· Center of Shared Services เป็นการขยายธุรกิจ Outsource ไปยังลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่มีการเติบโตสูง โดยเฉพาะใน EEC ซึ่งเป็นฐานลูกค้านิคมอุตสาหกรรมของ WHA ที่มีกว่า 1,000 ราย และเป็นบริษัทขนาดใหญ่ทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มการใช้บริการ Outsource สูง

· Workforce Excellence Academy เป็นการพัฒนาบุคลากรและแรงงานให้พร้อมรองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในอนาคต (New S-curve Industries) ที่จะเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศและดึงดูด FDI

· EV Fleet Rental and Management ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผน Green Logistics

· ESG และ Carbon Credit เป็นการจัดการพื้นที่สีเขียวในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและเพิ่มคาร์บอนเครดิต

การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว บมจ.สยามราชธานี จะนำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ครั้งที่ 1/2566 เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งหากได้รับอนุมัติ คาดว่าการเข้าลงทุนจะแล้วเสร็จภายในกลางเดือนกรกฎาคม 2566

 ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ พรอสเพค โลจิสติกส์และอินดัสเทรียล หรือ “PROSPECT REIT” เตรียมเสนอขายหน่วยทรัสต์เพิ่มทุนครั้งที่ 1 จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 130,000,000 หน่วย พร้อมเปิดให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์เดิมที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 (Record Date)

จองซื้อในวันที่ 8-14 มีนาคม 2566 ที่ราคาสูงสุด 9.70 บาทต่อหน่วยทรัสต์ สามารถเลือกจองซื้อได้ 2 ช่องทาง 1) ระบบออนไลน์ www.tiscosec.com และ 2) ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด (ผู้จัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์) กำหนดอัตราส่วนใช้สิทธิจองซื้อที่ 1 หน่วยทรัสต์เดิม ต่อ 0.4775 หน่วยทรัสต์ที่ออกและเสนอขายเพิ่มเติม สำหรับนักลงทุนทั่วไป จองซื้อในวันที่ 16-20 มีนาคม 2566 ช่องทางเดียว ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด จองซื้อในราคาเสนอขายสุดท้าย ซึ่งจะประกาศภายในวันที่ 15 มีนาคม 2566 ผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังสำรวจความต้องการจองซื้อจากนักลงทุนสถาบัน (Bookbuilding) ซึ่งการจัดสรรหน่วยทรัสต์เพิ่มทุนให้นักลงทุนทั่วไปตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์

ในกรณีที่ราคาเสนอขายสุดท้ายต่ำกว่า 9.70 บาท ผู้ถือหน่วยเดิมที่ได้จองซื้อหน่วยทรัสต์เพิ่มทุนทุกราย จะได้รับเงินส่วนต่างค่าจองซื้อคืนในภายหลังวันจองซื้อวันสุดท้าย ทั้งนี้ คาดการณ์ผลตอบแทนภายหลังการเพิ่มทุนและเข้าลงทุนในทรัพย์สินเพิ่มเติม สูงกว่า 8% ต่อปี

นางสาวอรอนงค์ ชัยธง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรอสเพค รีท แมเนจเมนท์ จำกัด ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ PROSPECT REIT เปิดเผยว่า “การเพิ่มทุนครั้งแรกของ PROSPECT REIT เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนของกองทรัสต์ เพื่อนำไปลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินศักยภาพสูงของบริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำนวน 2 โครงการ พื้นที่เช่ารวม 70,129 ตร.ม. รวมมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1,800 ล้านบาท ได้แก่ โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน 2 (BFTZ 2) ถนนเทพารักษ์ มีพื้นที่เช่า 20,996 ตารางเมตร เป็นอาคารสำเร็จรูป Ready Built จำนวน 12 ยูนิต แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ คลังสินค้า โรงงานแบบ Stand-alone และโรงงานขนาดเล็ก เป็นการลงทุนในรูปแบบสิทธิการเช่า ระยะเวลาลงทุนไม่เกิน 28 ปี และโครงการบางกอกฟรีเทรดโซน 3 (BFTZ 3) ถนนบางนา-ตราด กม.19 มีพื้นที่เช่า 49,133 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารคลังสินค้าสำเร็จรูป 23 ยูนิต โดยที่โครงการ BFTZ 3 ส่วนที่เข้าลงทุนเป็นพื้นที่ Free Zone ทั้งหมด เป็นการลงทุนในรูปแบบกรรมสิทธิ์”

นายมานพ เพชรดำรงค์สกุล หัวหน้าธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทนที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์ PROSPECT REIT กล่าวว่า “ภายหลังการเข้าลงทุนในทรัพย์สินเพิ่มเติมครั้งนี้ ประมาณการการจ่ายเงินออกให้ผู้ถือหน่วยของ PROSPECT REIT จะเพิ่มขึ้นจาก 0.84 บาทต่อหน่วย เป็น 0.86 บาทต่อหน่วย (ช่วงเวลาประมาณการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566) ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจผันผวนในปัจจุบัน จึงเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุน”

สำหรับทรัพย์สินศักยภาพสูงทั้งสองโครงการที่ PROSPECT REIT วางแผนเข้าลงทุน มีจุดเด่นคือ อยู่ในทำเลที่มีศักยภาพโซนบางนา-ตราด จุดยุทธศาสตร์ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ รองรับกิจการทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

อีกทั้งอยู่ในพื้นที่ผังเมืองสีม่วงสำหรับประกอบการอุตสาหกรรม ประกอบกิจการได้ทั้งคลังสินค้าและโรงงาน ที่สำคัญ การลงทุนครั้งนี้จะทำให้ PROSPECT REIT มีพื้นที่ภายใต้การจัดการที่เป็นเขตปลอดอากร หรือ Free Zone เพิ่มขึ้น และเป็นการลงทุนในรูปแบบกรรมสิทธิ์ (Freehold) ถึง 76% ของมูลค่าลงทุนในครั้งนี้ รวมถึงมีทรัพย์สินแบบ Leasehold ที่มีระยะเวลาสิทธิการเช่าที่ยาวขึ้น ซึ่งจะเพิ่มเสถียรภาพให้กับกองทรัสต์ ช่วยสร้างโอกาสการเติบโตที่ส่งผลให้สามารถจ่ายผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแก่ผู้ถือหน่วย

ภายหลังการเพิ่มทุนและเข้าลงทุนเพิ่มเติม กองทรัสต์จะมีทรัพย์สินภายใต้การบริหารรวม 292,332 ตารางเมตร คาดว่าจะมีมูลค่าสินทรัพย์ตามงบการเงินของกองทรัสต์เพิ่มจาก 3,538 ล้านบาท เป็น 5,338 ล้านบาท

 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click