January 22, 2025

มีองค์กรในไทยเพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มี ‘ความพร้อมเต็มที่’ (Mature) ในการรับมือกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยุคใหม่ ตามที่ระบุไว้ในรายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity Readiness Index) ประจำปี 2567” ของซิสโก้

รายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประจำปี 2567” ของซิสโก้ ได้รับการจัดทำขึ้นในยุคที่มีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างหลากหลาย (hyperconnectivity) และสถานการณ์ภัยคุกคามมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ บริษัทต่างๆ ยังคงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยเทคนิคที่แตกต่างมากมาย ตั้งแต่ฟิชชิ่งและแรนซัมแวร์ ไปจนถึงการโจมตีจากซัพพลายเชนและโซเชียล เอนจิเนียริ่ง ถึงแม้ว่าองค์กรต่างๆ จะมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการโจมตีเหล่านี้ แต่ก็ยังคงประสบปัญหาในการป้องกันภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีความซับซ้อนมากจนเกินไป เนื่องจากมีการติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมาก ก็ส่งผลให้องค์กรประสบความยากลำบาก ปัญหาท้าทายเหล่านี้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบกระจายในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลสามารถแพร่กระจายไปยังการให้บริการ อุปกรณ์ แอปพลิเคชั่น และผู้ใช้จำนวนมากอย่างไม่จำกัด อย่างไรก็ตาม 89% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามยังคงรู้สึกมั่นใจใน ‘ระดับปานกลางถึงระดับสูงมาก’ เกี่ยวกับความสามารถในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ความแตกต่างระหว่าง ‘ความเชื่อมั่น’ และ ‘ความพร้อม’ นี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ อาจมีความมั่นใจที่ผิดเกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการรับมือกับภัยคุกคาม และอาจไม่สามารถประเมินความรุนแรงที่แท้จริงของปัญหาท้าทายกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างถูกต้อง

รายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประจำปี 2567” ของซิสโก้: บริษัทที่ ‘ไม่เตรียมพร้อมและมีความมั่นใจมากเกินไป’ ต้องเผชิญและรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

รายงานดัชนีนี้ประเมินความพร้อมของบริษัทใน 5 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ระบบอัจฉริยะด้านข้อมูลบุคคล, ความยืดหยุ่นของเครือข่าย, ความน่าเชื่อถือของแมชชีน, ความแข็งแกร่งของคลาวด์ และการเสริมกำลังด้วย AI ซึ่งประกอบด้วยโซลูชั่นและฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้อง 31 รายการ โดยอิงจากการสำรวจความคิดเห็นแบบปกปิดสองทาง (Double-Blind) ของผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยและฝ่ายธุรกิจขององค์กรเอกชนมากกว่า 8,000 คนใน 30 ประเทศทั่วโลก โดยการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ดำเนินการโดยองค์กรอิสระ ผู้ตอบแบบสอบถามถูกขอให้ระบุว่ามีโซลูชั่นและฟีเจอร์ใดบ้างที่พวกเขาได้ติดตั้งใช้งาน รวมถึงระดับของการใช้งาน จากนั้นบริษัทต่างๆ ถูกแบ่งกลุ่มตามระดับความพร้อม 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ Beginner (ระดับเริ่มต้น), Formative (ระดับสร้างฐานความพร้อม), Progressive (ระดับก้าวหน้า) และ Mature (ระดับพร้อมเต็มที่)

จีทู พาเทล, รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัยและการทำงานร่วมกันของซิสโก้ กล่าวว่า “เราไม่ควรละเลยความเสี่ยงจากภัยคุกคามที่เกิดจากความมั่นใจเกินไปของเรา องค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนในแพลตฟอร์มแบบครบวงจร และนำ AI มาใช้เพื่อการดำเนินการของแมชชีน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการป้องกันมากขึ้น”

 

ข้อมูลที่พบจากผลการศึกษาโดยรวมแล้ว จากผลการศึกษาพบว่า บริษัทในไทยมีเพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่พร้อมรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบัน โดยองค์กรมากกว่าครึ่งหนึ่ง (54%) มีความพร้อมในระดับเริ่มต้น หรือระดับสร้างฐานของความพร้อม ขณะที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลก 3% มีระดับความพร้อมเต็มที่ นอกจากนั้น:

· เหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต: 65% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า เหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จะทำให้ธุรกิจของพวกเขาหยุดชะงักใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า การที่องค์กรขาดความพร้อมอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายที่มีมูลค่าสูงมาก โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 51% กล่าวว่าพวกเขาประสบกับเหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ 69% ขององค์กรที่ได้รับผลกระทบระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายอย่างน้อย 300,000 ดอลลาร์

· การติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดมากเกินไป: แนวทางแบบเดิมๆ ในการติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมากสำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดย 92% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่าการมีโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมากส่งผลให้ทีมทำงานได้ช้าลงในการตรวจจับการโจมตี การตอบสนอง และการกู้คืนระบบ ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก โดย 75% ขององค์กรกล่าวว่าพวกเขาได้ติดตั้งโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยแบบเฉพาะจุด 10 โซลูชั่นขึ้นไป ขณะที่ 35% มีอย่างน้อย 30 โซลูชั่น

· อุปกรณ์ที่ ‘ไม่ปลอดภัย’ และ ‘ไม่มีการจัดการ’ สร้างความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น: 94% ของบริษัทกล่าวว่าพนักงานของตนเข้าถึงแพลตฟอร์มของบริษัทจากอุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการ และ 42% ของบริษัทเหล่านั้นใช้เวลาหนึ่งในห้า (20%) ในการล็อกออนเข้าสู่ระบบเครือข่ายของบริษัทจากอุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการ นอกจากนี้ 26% รายงานว่าพนักงานมีการสลับไปมาระหว่างเครือข่ายต่างๆ อย่างน้อยหกเครือข่ายในหนึ่งสัปดาห์

· การขาดแคลนบุคลากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง: องค์กรต่างๆ ไม่สามารถพัฒนาด้านความปลอดภัยอย่างเต็มศักยภาพเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ โดยบริษัท 91% เน้นย้ำว่าปัญหานี้นับเป็นเรื่องสำคัญ และที่จริงแล้ว บริษัท 43% พบว่าพวกเขายังคงขาดแคลนบุคลากรในตำแหน่งงานที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากกว่า 10 อัตราในช่วงที่มีการสำรวจความคิดเห็น

· การลงทุนด้านไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต: บริษัทต่างๆ ตระหนักถึงปัญหาท้าทายดังกล่าว และกำลังดำเนินการเพื่อยกระดับการป้องกัน โดย 65% มีแผนที่จะอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีครั้งใหญ่ใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก 47% ที่วางแผนจะทำเช่นนั้นในปีที่แล้ว โดยองค์กรต่างๆ วางแผนที่จะอัปเกรดโซลูชั่นที่มีอยู่ (70%) ปรับใช้โซลูชั่นใหม่ (53%) และลงทุนในเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI (61%) นอกจากนี้ เกือบทั้งหมด (99%) ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะเพิ่มงบประมาณด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ใน 12 เดือนข้างหน้า และ 94% กล่าวว่างบประมาณของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10%

 เพื่อเอาชนะปัญหาท้าทายเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบัน บริษัทต่างๆ ต้องเร่งดำเนินการลงทุนที่สำคัญในระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เป็นนวัตกรรมใหม่, การปรับใช้แนวทางแพลตฟอร์มการรักษาความปลอดภัย, การเสริมความยืดหยุ่นของเครือข่าย, การใช้งาน Gen AI อย่างเหมาะสม และเพิ่มบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อลดช่องว่างของทักษะด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้

วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย และเมียนมาร์ กล่าวว่า “สถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ขณะที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมอย่างเพียงพอ รายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ล่าสุดของเราเปิดเผยว่า บริษัทในไทยเพียง 9% เท่านั้นที่มี ‘ความพร้อมอย่างเต็มที่’ ในการรับมือกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยุคใหม่ ซึ่งลดลงจากปี 2566 ที่องค์กรมีความพร้อมอยู่ที่ 27% องค์กรธุรกิจในไทยจึงจำเป็นที่จะต้องปรับใช้แนวทางแพลตฟอร์มแบบหลายทาง (multi-pronged platform approach) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ตั้งแต่การลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไปจนถึงการใช้ประโยชน์จาก Gen AI เพื่อปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย ลดช่องว่างด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และวางรากฐานสำหรับการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ส่วนทั่วทั้งองค์กร”

มัลแวร์ที่ขโมยข้อมูล และข้อมูลส่วนบุคคลเป็นภัยคุกคามสองอันดับแรกต่อธุรกิจ SMB ในปี 2023 ซึ่งคิดเป็นเกือบ 50% ของมัลแวร์ทั้งหมดที่ Sophos ตรวจพบในธุรกิจนี้ แรนซัมแวร์ยังคงเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดสำหรับธุรกิจ SMB การโจมตีผ่านอีเมลธุรกิจมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พร้อมด้วยเทคนิคการหลอกลวง (Social Engineering) ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

โซฟอส (Sophos) องค์กรด้านนวัตกรรม และการให้บริการความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดรายงานสำรวจภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์ ปี 2024 โดยรายงานในปีนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับ “Cybercrime on Main Street” และภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดที่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMBs*) กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งตามรายงานในปี 2023 พบว่าการตรวจจับมัลแวร์เกือบ 50% สำหรับธุรกิจ SMB นั้นเกิดขึ้นในรูปแบบคีย์ล็อกเกอร์ สปายแวร์ และสตีลเลอร์ ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่ผู้โจมตีใช้เพื่อขโมยข้อมูล และข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้โจมตีจะใช้ข้อมูลที่ขโมยมานี้เพื่อเข้าถึงจากระยะไกลโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อขู่กรรโชกเหยื่อ ปล่อยแรนซัมแวร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย

รายงานของโซฟอส ยังวิเคราะห์ Initial Access Brokers (IABs) ซึ่งเป็นอาชญากรที่เชี่ยวชาญในการเจาะเข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งรายงานพบว่า เหล่า IABs กำลังใช้ดาร์กเว็บ (Dark Web) เพื่อโฆษณาความสามารถ และการบริการของพวกเขาในการเจาะเข้าสู่เครือข่ายของธุรกิจ SMB โดยเฉพาะ หรือขายการเข้าถึง SMBs ที่พวกเขาได้เจาะระบบเรียบร้อยแล้ว

 

 Sophos X-Ops พบตัวอย่างการโพสต์โฆษณาในดาร์กเว็บที่สามารถเข้าถึงบริษัทบัญชีขนาดเล็กในสหรัฐฯ รวมถึงตัวอย่างเพิ่มเติมของโฆษณาในฟอรัมอาชญากรทางไซเบอร์ที่กำหนดเป้าหมายธุรกิจ SMB ตามกลุ่มอุตสาหกรรม และประเทศ จากรายงานภัยคุกคามของโซฟอส ประจำปี 2024

คริสโตเฟอร์ บัดด์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย Sophos X-Ops ของ โซฟอส กล่าวว่า “มูลค่าของ 'ข้อมูล' เป็นเหมือนเงินที่เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณในหมู่อาชญากรไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจ SMB ซึ่งมักใช้หนึ่งเซอร์วิส หรือแอปพลิเคชันต่อหนึ่งฟังก์ชันสำหรับการดำเนินการทั้งหมด ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าผู้โจมตีใช้การขโมยข้อมูล (infostealer) บนเครือข่ายของเป้าหมายเพื่อขโมยข้อมูลประจำตัว และนำรหัสผ่านที่ได้ไปใช้เข้าถึงบริษัทซอฟต์แวร์บัญชี ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการเงินของบริษัทเป้าหมาย และส่งโอนเงินเข้าสู่บัญชีของตนเอง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมว่า 90% ของการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งหมดในรายงานของโซฟอส ปี 2023 ถึงเกี่ยวข้องกับการขโมยข้อมูล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะผ่านการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ การขู่กรรโชกข้อมูล การเข้าถึงระยะไกลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการขโมยข้อมูลทั่วไป”

แรนซัมแวร์ ยังคงเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับธุรกิจ SMB

แม้ว่าจำนวนการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ต่อธุรกิจ SMB นั้นค่อนข้างคงที่ แต่แรนซัมแวร์ยังคงเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับธุรกิจ SMB ที่ไม่ควรมองข้าม ตัวอย่างเคสของธุรกิจ SMB ที่จัดการโดยหน่วยงานการตรวจจับ และวิเคราะห์ภัยคุกคามของโซฟอส (Sophos Incident Response: IR) ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือองค์กรในขณะที่การโจมตีที่เกิดขึ้น พบว่า LockBit ถือเป็นแก๊งแรนซัมแวร์อันดับต้นๆ ที่สร้างความหายนะให้แก่ธุรกิจ ตามมาด้วย Akira และ BlackCat เป็นอันดับสองและสามตามลำดับ จากรายงานพบว่าธุรกิจ SMB ยังเผชิญกับการโจมตีจากแรนซัมแวร์รุ่นเก่า และที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก เช่น BitLocker และ Crytox อีกด้วย

จากรายงานยังพบอีกว่าผู้ใช้แรนซัมแวร์ยังคงเปลี่ยนเทคนิคใช้แรนซัมแวร์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงจากการเข้ารหัสระยะไกล และกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ให้บริการการจัดการ (Managed Service Providers: MSP) โดยระหว่างปี 2022 ถึง 2023 จำนวนการโจมตีแรนซัมแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสระยะไกล ในรูปแบบที่ผู้โจมตีใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีการควบคุม ทำการเข้ารหัสไฟล์บนระบบอื่นๆ ในเครือข่ายเพิ่มขึ้นถึง 62%

นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมา ทีมตรวจจับและตอบสนองต่อการโจมตีทางไซเบอร์ (Managed Detection and Response: MDR) ของ โซฟอส ได้เข้าไปจัดการดูแล 5 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดเล็กโดยถูกโจมตีผ่านช่องโหว่ของ MSP ที่ใช้ซอฟต์แวร์การตรวจสอบ และการจัดการระยะไกล (Remote Monitoring and Management: RMM) มีการโจมตีโดยวิธีการหลอกลวง (Social Engineering) รวมทั้งทางอีเมลธุรกิจ (BEC) เพิ่มมากขึ้น

นอกจากแรนซัมแวร์แล้ว การโจมตีโดยการหลอกลวงผ่านทางอีเมลธุรกิจ (BEC) ถือเป็นการโจมตีที่สูงเป็นอันดับสองที่ Sophos IR รับมือในปี 2566 ตามรายงานของโซฟอส +การโจมตีแบบ BEC และการหลอกลวงต่างๆ มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น แทนที่จะส่งอีเมลพร้อมไฟล์แนบที่เป็นอันตราย ผู้โจมตีมีแนวโน้มที่จะมีปฎิสัมพันธ์กับเป้าหมายมากขึ้นโดยการส่งอีเมลสนทนาตอบกลับไปมา หรือแม้แต่โทรหาเหยื่อ ผู้โจมตีมีความพยายามที่จะหลบเลี่ยงการตรวจจับด้วยเครื่องมือป้องกันสแปมแบบดั้งเดิม โดยปัจจุบันผู้โจมตีกำลังทดลองใช้การโจมตีรูปแบบใหม่ ๆ ที่ประกอบด้วยเนื้อหาที่เป็นอันตราย การฝังรูปภาพที่มีโค้ดที่เป็นอันตราย หรือการส่งไฟล์แนบที่เป็นอันตรายใน OneNote หรือ archive formats ต่างๆ ยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่งที่โซฟอสเข้าตรวจสอบ ผู้โจมตีได้ส่งเอกสาร PDF พร้อมภาพขนาดย่อของ “ใบแจ้งหนี้” ที่เบลอ และไม่สามารถอ่านได้ พร้อมปุ่มดาวน์โหลดโดยลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย เป็นต้น

สำหรับรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปยังธุรกิจ SMB เพิ่มเติม โปรดอ่านรายงานภัยคุกคามของโซฟอสปี 2024: Cybercrime on Main Street บนเว็บไซต์ Sophos.com

 

ปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปต่างเป็นส่วนหนึ่งของโลกไซเบอร์ เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลมีส่วนช่วยให้เราสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและใช้งานได้อย่างสะดวกสบายขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ ที่ทำให้เราไม่ต้องเดินทางไปที่ธนาคารเอง หรือการส่งเอกสารผ่านอีเมล ทำให้ข้อมูลสำคัญจำนวนมากถูกส่งถึงกันได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที อย่างไรก็ตาม ความสะดวกสบายเกินไปก็อาจกลายเป็นดาบสองคม เพราะมันทำให้บางครั้งหลายฝ่ายอาจไม่ได้นึกถึงประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวหรือความปลอดภัย จนเกิดเป็นปัญหาลุกลามด้านการฉ้อโกง การขโมยข้อมูลสำคัญ หรือแม้แต่การเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์กับองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ประเด็นเรื่อง “ความปลอดภัยทางไซเบอร์” จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องหันมาร่วมมือกันพัฒนาความปลอดภัยของระบบ รวมถึงเร่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านดิจิทัลที่ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ของระบบโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เสี่ยงจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงที และพร้อมรับกับทั้งโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะมาถึง

หน่วยงานภาครัฐอย่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรบุคคลด้านดิจิทัลและด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่จะต้องถูกป้อนเข้าตลาดแรงงานไทยให้เพียงพอ จึงได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในภาคเอกชนอย่าง บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2023 ขึ้น โดยมุ่งหวังพัฒนาทักษะให้กลุ่มคนรุ่นใหม่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลที่เหมาะสม จนสามารถเป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉพาะ และเป็นผลงานคุณภาพจากภาคการศึกษาไทยที่จะเดินทางเข้าสู่หน่วยงานหรือองค์กรไทยทุกแห่งในอนาคต

 การแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2023 แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษา และระดับประชาชนทั่วไป โดยล่าสุดทีม Rebooster แชมป์เก่าตัวแทนจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ คว้ารางวัลชนะเลิศกลายเป็นแชมป์สมัยที่ 2 ติดต่อกัน หลังเอาชนะทีมจำนวน 354 ทีมจากทั่วประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน ถือเป็นครั้งแรกที่สถาบันในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยสามารถทำได้ ส่งให้สมาชิกของทีมประกอบด้วย นรต.วรรณกร นุ่นประดิษฐ์ นรต.ทัศไนย มานิตย์ และ นรต.สุดฤทธิ์ วงษ์สุวรรณ จะได้รับสิทธิเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2023 ที่มีผู้ชนะจากทั่วภูมิภาคมาร่วมประชันฝีมือ

 Image preview

นรต.สุดฤทธิ์ วงษ์สุวรรณ ตัวแทนจากทีม Rebooster ผู้ชนะการแข่งขันได้กล่าวถึงประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2023 ว่า “การเข้าร่วมการแข่งขันทำให้ผมได้เจอกับเพื่อน ๆ หลายคน และยังได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนคนอื่น ๆ ในวงการ Cyber Security ของประเทศไทย ระหว่างการแข่งผมได้เรียนรู้เทคนิคในการเจาะระบบเพิ่มขึ้นมาก ทีมงานจะให้เรามาแข่งแฮกระบบและเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยมีโจทย์มาให้เราทำ ฝั่งหนึ่งเป็นคนเจาะระบบและอีกฝั่งเป็นคนป้องกัน ซึ่งทีมผมก็ทำทั้งสองฝั่งและมีการวิเคราะห์ไฟล์ต่าง ๆ ซึ่งทีมเรามีคะแนนรวมสูงที่สุดจากผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 831 ทีม จึงได้รางวัลชนะเลิศ ก่อนการแข่งขันผมได้เรียนรู้เรื่องไซเบอร์จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่ได้ทำ MOU กับหัวเว่ย ให้ใช้เทคโนโลยีหัวเว่ย คลาวด์ จึงได้เรียนรู้ค่อนข้างมาก ซึ่งในอนาคตผมสนใจไปทำงานที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ที่มักจะรับคนที่มีความรู้ทักษะเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มาทำงาน ไปเป็นตำรวจที่ทำหน้าที่จับผู้ร้ายที่เปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมาย เช่น เว็บพนัน หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ต้องตามหาต้นตอให้เจอ บางคนในทีมของเราอาจจะไปทำงานด้านพิสูจน์หลักฐาน เช่น การจัดการกับหลักฐานที่ถูกทำลายอย่างฮาร์ดดิสก์ ทุกครั้งที่มีการจัดการแข่งขันเกี่ยวกับด้านไซเบอร์ ผมรู้สึกดีใจมากที่คนไทยให้ความสนใจอยากรู้ว่ามันเกี่ยวกับอะไร ตัวผมเองก็ได้มีโอกาสไปหาความรู้ในด้านนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเชื่อว่าคนไทยหลายคนทั้งที่ร่วมแข่งและไม่ได้เข้าร่วมก็อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน”

เขายังมองว่าการจะทำให้ประเทศไทยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจจะเริ่มจากการให้องค์กรต่าง ๆ ในไทยให้ข้อมูลที่สอดแทรกความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แก่คนไทยมากขึ้น เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การเจาะระบบในรูปแบบฟิชชิง (Phishing) หรือการสร้างเว็บไซต์อย่างไรให้ว่าไม่มีช่องโหว่หรือมีช่องให้แฮกน้อย ซึ่งข้อมูลจากหลายปีที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าเว็บไซต์ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีช่องโหว่ที่ตรวจพบได้เยอะมาก เนื่องจากเจ้าของเว็บไซต์เขียนโค้ดได้ไม่ปลอดภัย หรืออาจจะใช้บริการที่มีช่องโหว่ ทำให้แฮกเกอร์สามารถเจาะระบบเข้าไปได้ง่าย ๆ

 

ด้านนรต.วรรณกร นุ่นประดิษฐ์ ยังให้ข้อมูลเสริมว่าเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยป้องกันภัยคุกคามได้ แต่ก็ยังมีความแม่นยำต่ำและสามารถช่วยได้ในระดับพื้นฐานเท่านั้น จึงต้องรอการพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคต ซึ่งปัจจุบันระบบ Cyber Security ของหัวเว่ยและผู้พัฒนาอีกหลายราย ๆ ก็ได้รับการออกแบบมาป้องกันภัยคุกคาม ได้ดี โดยผลิตภัณฑ์จะมีการอัปเดตอยู่เสมอเพื่อป้องกันช่องโหว่ใหม่ ๆ เพราะทุกระบบจะมีช่องโหว่อยู่ แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะถูกตรวจพบเมื่อไหร่ ซึ่งเทคโนโลยีของหัวเว่ยมีคุณภาพที่ดีเยี่ยม เพราะมีระบบการตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน และทำได้ง่าย

ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในความคืบหน้าสำคัญของโครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทยของทาง สวทช. ที่มุ่งสร้างบุคลากรดิจิทัลในหน่วยงานรัฐของประเทศไทยที่ปัจจุบันมีเพียง 0.5% จากบุคลากรทั้งหมด 460,000 คน โดยการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent เป็นการร่วมมือกับ บริษัท

หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่จัดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปี เพื่อพัฒนาบุคลากรไทยในด้านดิจิทัล ผ่านการจัดกิจกรรม การแข่งขัน การฝึกอบรม การเขียนโค้ดให้มีความรัดกุมปลอดภัย และยังสนับสนุนไปถึงเรื่องการสอบใบรับรองด้านวิศวกรเครือข่ายในรูปแบบต่าง ๆ อีกด้วย

ทั้งนี้บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด มีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยมีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เช่นเดียวกับทาง สกมช. โดยได้นำเทคโนโลยีชั้นนำเข้ามาช่วยสนับสนุนทางด้านการศึกษาให้กับหลาย ภาคส่วนของประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้ร่วมสนับสนุนโครงการแข่งขันทักษะทางไซเบอร์กับ สกมช. และหน่วยงานอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลของประเทศไทยผ่านการบ่มเพาะบุคลากร ตามพันธกิจของหัวเว่ยที่ว่า 'เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย' เพื่อการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืนในระดับภูมิภาคต่อไปในอนาคต

ส่งให้เบอร์เกอร์คิง บราซิลมีศักยภาพในการมองเห็นแอปพลิเคชั่นและควบคุมเครือข่ายได้ทั่วถึง ช่วยยกระดับความปลอดภัยได้ทั่วทั้งองค์กรและที่ร้านสาขา

ใช้ซีเคียวริตี้แฟบริคสร้างความปลอดภัยไดนามิคขั้นสูง ปรับขนาดได้ตามธุรกิจ

X

Right Click

No right click