LINE SHOPPING ผู้ให้บริการโซเชียลคอมเมิร์ซของไทย ประกาศเปิดเวที LINE SHOPPING INCUBATOR 2024 เฟ้นหาสุดยอดนักพัฒนาไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์และพัฒนาแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซของไทยภายใต้ธีม “Reshaping a new paradigm for social commerce growth” เปิดโอกาสให้นักพัฒนาทั่วไทยร่วมโชว์ศักยภาพผ่านการสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ พร้อมดันออกสู่ตลาดจริง เพื่อตอบโจทย์เทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ และยกระดับประสบการณ์การใช้งานที่ดีกว่าเดิม ผ่าน LINE SHOPPING API เปิดรับสมัครเข้าร่วมแข่งขันแล้ว ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 พ.ย. 2566 พร้อมชิงเงินรางวัลสูงสุด 100,000 บาท

 

นายเลอทัด ศุภดิลก ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจอีคอมเมิร์ซ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซ LINE SHOPPING มีความเชี่ยวชาญด้านพัฒนาออกแบบเครื่องมือให้ตรงกับพฤติกรรมการซื้อขายที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยผ่านการแชทหรือการพูดคุยที่สร้างให้เกิดความสัมพันธ์และความเป็นมนุษย์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่คุ้นเคยกัน การให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์การใช้งานแพลตฟอร์ม ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่เรามุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วันนี้จึงเปิดเวที LINE SHOPPING INCUBATOR 2024 เพื่อเฟ้นหานักพัฒนาไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาแพลตฟอร์มผ่าน LINE SHOPPING API เพื่อสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจและคนไทย ภายใต้ธีม “Reshaping a new paradigm for social commerce growth” โดยมีจุดประสงค์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการช้อปปิ้งยุคใหม่ พร้อมยกระดับประสบการณ์ในการใช้งานของคนไทยที่ดีขึ้นอย่างไร้รอยต่อ สอดคล้องกับความตั้งใจของ LINE

SHOPPING ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซของไทย ที่ต้องการปลดล็อกทุกข้อจำกัดในการช้อปปิ้งออนไลน์”

“เราจึงต้องการเชิญชวนนักพัฒนาไทย รวมไปถึงผู้ให้บริการ API มาเข้าร่วม LINE SHOPPING INCUBATOR 2024 นอกจากจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบริการและโซลูชั่นไปพร้อมกับเราแล้ว LINE SHOPPING นักพัฒนายังจะได้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกจากแพลตฟอร์มเพื่อนำข้อมูลไปต่อยอดสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ ๆ และหากโซลูชั่นนั้นผ่านการคัดเลือกจากกรรมการ จะได้รับการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจในการเป็นพันธมิตรกับ LINE SHOPPING เพื่อผลักดันโซลูชั่นสู่การใช้งานจริงโดยร้านค้าซึ่งปัจจุบันมีอยู่ถึง 576,000 ร้านบน LINE SHOPPING และสร้างอิมแพคต่อผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านคนบนแอปฯ LINE อีกด้วย

นอกจากนี้เราคาดหวังว่า LINE SHOPPING INCUBATOR 2024 จะเป็นโอกาสใหม่ที่ทำให้ตลาดได้เห็นโซลูชั่นใหม่ ๆ ด้านอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในตลาดอื่น ๆ และสามารถทำได้อย่างรวดเร็วโดย commerce infrastructure จาก LINE SHOPPING”

LINE SHOPPING INCUBATOR 2024 จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของเมืองไทย และเป็นโอกาสสำคัญที่เหล่านักพัฒนาไทยและผู้ให้บริการ API ไม่ควรพลาด เปิดรับสมัครบุคคลอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในรูปแบบทีม ซึ่งแต่ละทีมมีสมาชิกได้สูงสุด 5 คน ซึ่งทุกทีมจะได้รับประสบการณ์การทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญจาก LINE ประเทศไทยตลอดการทำงาน ตั้งแต่การให้คำปรึกษา คิดค้น ลงมือทำ พร้อมชิงรางวัลมูลค่าสูงสุด 100,000 บาท

ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมประชันไอเดียได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 พฤศจิกายน 2566 และสามารถเข้าฟังรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมกันได้ในกิจกรรม Openhouse Webinar ในวันที่ 10 พฤศจิกายน นี้ ติดตามและดูรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมสมัครได้ที่ https://lineshoppingincubator.landpress.line.me/landingpage

ปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่กับครั้งแรกในประเทศไทย ของงาน LINE Conference Thailand 2023 หรือ #LCT23 งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีสุดยิ่งใหญ่จาก LINE ประเทศไทย กับการเผยวิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก LINE สำหรับเมืองไทยโดยเฉพาะ มุ่งสู่การเป็น “Open platform” หรือ แพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย นอกจากเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจได้ต่อยอดนำเทคโนโลยีบน LINE สร้างการเติบโตแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสครั้งใหญ่สำหรับนักพัฒนาไทย ในการสรรค์สร้างโซลูชั่นใหม่ๆ มาเชื่อมต่อกับ LINE ได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพขึ้น

 

ภายในงานเต็มไปด้วยข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะการอัปเดตโร้ดแมปผลิตภัณฑ์ของ LINE ที่หลากหลายผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีการคิดค้นโดยทีมงาน LINE ประเทศไทย เพื่อตลาดไทยโดยฉพาะมาแล้ว เช่น เครื่องมือ MyCustomer, บริการ LINE SHOPPING และ LINE MELODY เป็นต้น โดยในช่วงปี 2023-2024 LINE มีโร้ดแมปใหม่ๆ มากมาย ที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ในด้าน API & Plug-in ซึ่งมุ่งเน้นเปิดขยายการเชื่อมต่อ API ให้ครอบคลุมและหลากหลาย ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโซลูชั่นใหม่ตอบโจทย์เฉพาะด้านได้มากขึ้น อาทิ

1. LINE SHOPPING API เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของนักพัฒนาไทยที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาระบบสินค้าของร้านค้าบน LINE SHOPPING ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระบบการขายได้ดียิ่งขึ้น ผ่าน 4 API ได้แก่

· Product API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบคำสั่งจัดการบริหารข้อมูลสินค้า อัปเดตสินค้าจำนวนมากเข้าสู่หน้ารายการสินค้าได้โดยอัตโนมัติ

· Inventory API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบคำสั่งจัดการบริหารสต๊อกสินค้า เติมสินค้าเข้าหน้าร้านโดยอัตโนมัติเมื่อสินค้าหมดสต๊อก

· Order API ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบการเข้าถึงข้อมูลออเดอร์ได้ เพื่อเข้าดูข้อมูลออเดอร์โดยละเอียด

· Webhook Order ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบการแจ้งเตือน ส่งแจ้งเตือนสถานะการสั่งซื้อไปยังผู้ขายหรือแอดมิน เช่น สั่งซื้อแล้ว, จ่ายเงินแล้ว ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ

โดยในอนาคต LINE มีแผนพัฒนา API ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์การทำงานให้นักพัฒนาไทยที่ต้องการจัดการระบบการขายบน LINE SHOPPING ได้ดียิ่งขึ้นอย่าง Chat Invoice API ให้นักพัฒนาสามารถสร้างลิงก์ชำระเงินของสินค้าบน LINE SHOPPING ส่งให้ลูกค้าผ่านช่องทางใดก็ได้ เพื่อกลับมายังหน้าการซื้อขายบน LINE SHOPPING อีกครั้งได้โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

2. LINE OA Plus Plug-in Store ต่อยอดการพัฒนาจาก LINE OA Store เพื่อเป็นช่องทางให้นักพัฒนาภายนอกองค์กรสามารถพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ เฉพาะด้าน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มเครื่องมือภายใต้ LINE OA Plus ไม่ว่าจะเป็น MyShop, MyCustomer และ MyRestaurant โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมนำเสนอให้กับนักการตลาด หรือแบรนด์ที่มองหาโซลูชั่นเฉพาะด้าน

3. New Messaging API เพิ่มประสิทธิภาพ Messaging API เพื่อขยายศักยภาพการพัฒนาโซลูชั่นบนแชท LINE ให้นักพัฒนาไทย ตัวอย่างเช่น

· Audience Created for Step messages เปิดให้นักพัฒนาไทย สามารถนำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการใช้งาน Messaging API มาประยุกต์ใช้กับการส่งข้อความหากลุ่มลูกค้าผ่านฟีเจอร์ Step Messages บน LINE OA ได้

· Quote messages ฟังก์ชั่นใหม่ในการพัฒนาแชทบอท ให้ทั้งผู้ใช้และบอทสามารถส่งข้อความตอบกลับโดยอ้างอิงจากข้อความก่อนหน้าในห้องแชทได้

· Rich Menu Link/Unlink Batch อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาไทย สามารถออกชุดคำสั่งเปลี่ยน Rich Menu แบบ Personalize ใน LINE OA ให้แสดงผลสู่กลุ่มเป้าหมายจำนวนมากขึ้นได้ ด้วยชุดคำสั่งเดียว

· อัปเดตฟังก์ชั่นใหม่ๆ ในการสร้างข้อความรูปแบบ Flex Message เช่น การขยายขนาดของกล่องข้อความให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น นักพัฒนาสามารถเลือกได้ตามต้องการ และความสามารถในการกำหนดขนาดตัวอักษรและไอคอน ให้แสดงผลตามการตั้งค่าในแอปฯ LINE ของผู้ใช้แต่ละคนได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ LINE ยังได้เปิดตัวบริการใหม่อย่าง LON หรือ LINE Official Notification ข้อความแจ้งเตือนผ่านเบอร์โทรศัพท์ให้ผู้ใช้งานด้วยการแสดงผลผ่าน LINE OA ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างแบรนด์หรือองค์กร ไปยังลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและมั่นใจด้านความปลอดภัย ด้วยความหลากหลายของรูปแบบข้อความแจ้งเตือนให้นักพัฒนาได้เลือกใช้ โอกาสของนักพัฒนาไทยในการสร้างโซลูชั่นการแจ้งเตือนรูปแบบใหม่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น พร้อมลดปัญหาข้อความสแปม

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างเทคโนโลยีที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาไทย จากงาน LCT23 เพื่อการต่อยอดสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ ให้ตอบโจทย์ในหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอกย้ำถึงจุดมุ่งหมายของ LINE ในการเป็นองค์กร

เทคฯ ที่ส่งเสริมความแข็งแกร่งให้เหล่านักพัฒนาไทย เพื่อร่วมขับเคลื่อน เพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไทย ให้เติบโตในยุคดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว และอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก LINE สำหรับนักพัฒนาไทย ได้ที่ LINE OA: @linedevth, เฟซบุ๊ก LINE Developers Thailand หรือ LINE Developers Group Thailand

ครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย กับงานสัมมนาด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ LINE Conference Thailand 2023 หรือ #LCT23 พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ ทิศทาง และกลยุทธ์ก้าวต่อไปในการพัฒนาและดำเนินการด้านเทคโนโลยีใหม่แห่งปี สู่การเป็น “แพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย” เปิดโอกาสเชื่อมต่อเทคโนโลยีอย่างไร้รอยต่อ พร้อมเผยแผนการพัฒนาโซลูชั่นภายใต้ความเข้าใจผู้ใช้ชาวไทย พันธมิตร และนักพัฒนา ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินชีวิต (Life Infrastructure) ยุคใหม่

“เปิดโอกาส” สู่อนาคตแห่งนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี Hyper-localized

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย เปิดเผยว่า กว่า 12 ปีที่ LINE ประเทศไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน ภายใต้พันธกิจ "Closing the Distance" ผ่านแพลตฟอร์มและบริการที่มีผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านคน ตอกย้ำการเป็นโครงสร้างพื้นฐานชีวิตในยุคดิจิทัล (Life Infrastructure) พร้อมผลักดันจุดแข็งแห่งการมีทีมนักพัฒนาประจำประเทศไทย ที่จะเป็นบันไดสู่อนาคตขั้นถัดไปของนวัตกรรมในการขับเคลื่อน Smart Country ด้วยเทคโนโลยี Hyper-Localized เพื่อ “เปิดโอกาส” ให้คนไทยเติบโตในยุคดิจิทัลได้ในหลากหลายมิติอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ไม่ทิ้งจุดแข็ง Group Chat เล็งพัฒนาโซลูชั่นเพื่อการทำงาน

ภายในงาน นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ยังได้เผยถึงบริการพื้นฐานอย่าง ‘แชท’ ที่เป็นจุดแข็งของ LINE ซึ่งยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Group Chat ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนไทย สะท้อนจากสถิติการเติบโตที่สูงขึ้นกว่า 56% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และอัตราการส่งข้อความประเภทต่าง ๆ ทั้งรูปภาพ ไฟล์ เสียง และวิดีโอ มีอัตราการเติบโตสูงกว่าประเทศอื่นทั่วโลก

โดยผลสำรวจจาก LINE ประเทศไทยพบว่า หมวดหมู่ Group Chat ยอดนิยม ได้แก่ กลุ่มเพื่อน 82% ครอบครัว 80% ที่ทำงาน 77% และโรงเรียน 27% สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มผู้ใช้และวิธีการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้กว่า 77% ระบุว่ากลุ่มแชทครอบครัวช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่วงวัยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน Group Chat ยังสามารถช่วยให้

กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดสังคมการทำงานที่มีประสิทธิภาพกว่าในอดีต นำมาสู่ความมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ Work Group สำหรับคนไทย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน การใช้ชีวิต และครอบครัวไปด้วยกัน

 

นอกจากนี้ นายนรสิทธิ์ ยังได้เผยถึงแผนเปิดตัว LINE STICKERS PREMIUM บริการสติกเกอร์จ่ายรายเดือน/รายปี สำหรับคนไทย อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการเลือกใช้งานชุดสติกเกอร์ได้หลากหลายและคุ้มค่ายิ่งขึ้น ถือเป็นส่วนหนึ่งในทิศทางการพัฒนาจุดแข็งของแพลตฟอร์ม LINE ด้านการสื่อสารดิจิทัลให้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เปิดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปีครั้งแรกของ LINE ประเทศไทย

นายวีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ (CPO) กล่าวว่า LINE ประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะองค์กรเทคฯ เพื่อคนไทย โดยในช่วง 5 ปีจากนี้ LINE จะมุ่งสู่การเป็น “แพลตฟอร์มเปิด” ที่พร้อมเปิดรับการเชื่อมต่อกับหลากหลายเทคโนโลยีนำสมัย นำมาซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทย ทั้งในด้านผู้ใช้งาน ธุรกิจ และพันธมิตร โดยอาศัยแนวคิดตั้งต้นจากทีมงาน LINE ประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสำหรับตลาดไทยโดยเฉพาะ ผ่าน 4 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่

1. Extensive Plug-Ins เปิดการเชื่อมต่อกับระบบหรือโซลูชั่นอื่น ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งโซลูชั่นที่คิดค้นเพิ่มเติมโดย LINE เอง และระบบที่พาร์ทเนอร์หรือนักพัฒนาทั่วไปได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ชาวไทยในมิติที่กว้างและลึกขึ้น

2. Data Utilization ส่งเสริมให้พันธมิตรและนักพัฒนาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างไร้รอยต่อ นำไปสู่การใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตได้อย่างแท้จริง

3. Performance Marketing เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดบนแพลตฟอร์ม ด้วยศักยภาพการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่แข็งแกร่งขึ้น สร้างการเติบโตให้ภาคธุรกิจผ่านโซลูชั่นต่าง ๆ ของ LINE ได้อย่างยั่งยืน

4. Privacy Focused คงไว้ซึ่งการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างเคร่งครัด

ปู 3 โร้ดแมป ยกระดับเทคโนโลยี

1. Customer Data Tools เพิ่มขีดความสามารถในจัดการข้อมูลลูกค้าผ่านเครื่องมือ MyCustomer ในการเก็บรวบรวม 1st Party Data ของผู้บริโภค โดยให้อำนาจร้านค้าในการเข้าถึงและจัดการข้อมูลได้มากกว่าที่เคย ภายใต้ขอบเขตการยินยอมจากผู้บริโภคตามกฎหมาย โดยมีแผนการเปิดตัว MyCustomer สำหรับกลุ่มธุรกิจรายย่อย (SME) และในอนาคต สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ต้องการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการทำ CRM โดยเฉพาะ

2. Ads Improvement ปรับปรุงเครื่องมือสำหรับการโฆษณาบน LINE ให้สามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่แบรนด์ได้มาเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น อาทิ การเพิ่ม Segment ในการหากลุ่มเป้าหมายผ่าน Persona Targeting ให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และการเปิดให้ภาคธุรกิจ ร้านค้า สามารถนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคบน LINE SHOPPING มาวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม เพื่อการยิงโฆษณาผ่าน LINE ADS ได้แม่นยำและครอบคลุมขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น

3. API & Plug-In เปิดขยายการเชื่อมต่อ API ให้มีความหลากหลายและตอบโจทย์เฉพาะด้านได้อย่างครอบคลุมขึ้น อาทิ LINE SHOPPING API, Messaging API รวมถึงแผนการเปิดตัว LINE OA Plus Plug-in Store แหล่งรวมโซลูชั่นสำหรับนักพัฒนานอกองค์กร LINE ในการนำเสนอโซลูชั่นใหม่ ๆ และยังเป็นโอกาสสำหรับภาคธุรกิจไทย ในการมองหาโซลูชั่นให้ตรงกับความต้องการ

 

LINE ประเทศไทย จัดกิจกรรมพิเศษเวิร์คช็อป LINE STICKERS Creator แก่เยาวชนจากมูลนิธิออทิสติกไทย โดยมุ่งถ่ายทอดเนื้อหาการสร้างสรรค์และวิธีจำหน่าย LINE STICKERS ซึ่งเป็นการผสานงานศิลปะลงบนเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้มีความสามารถด้านศิลปะสู่การต่อยอดสร้างอาชีพและรายได้ ตอกย้ำการผลักดันโอกาสบนแพลตฟอร์ม LINE ที่มุ่งขับเคลื่อน Smart Country ด้วย LINE Economy ระบบเศรษฐกิจบนแอปพลิเคชั่น LINE ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 54 ล้านคน ทั้งนี้ นางสาวณิชารัศมิ์ อาชญาสิทธิวัตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด พร้อมด้วยพนักงาน ร่วมเป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคแก่มูลนิธิฯ เป็นจำนวน 123,700 บาทในนามพนักงานบริษัทฯ จากการจัดกิจกรรมประมูลฉลองโอกาสครบรอบ 12 ปี แอปพลิเคชั่น LINE โดยนายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย เป็นตัวแทนรับมอบ ณ ออฟฟิศ LINE ประเทศไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้

 

LINE Corporation ประกาศได้รับการผ่านการรับรองมาตรฐาน OpenChain ISO/IEC 5230 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการปฏิบัติตามกฎข้อกำหนดด้านซอฟต์แวร์บนระบบโอเพนซอร์ส โดยโครงการ OpenChain เป็นหนึ่งในแคมเปญที่พัฒนาขึ้นโดย Linux Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรชั้นนําที่มุ่งเน้นการส่งเสริมนวัตกรรมผ่านโอเพนซอร์สและเพื่อร่วมพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ สําหรับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ฮาร์ดแวร์ เกณฑ์มาตรฐาน และการจัดการข้อมูล

จากการได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 5230 ทำให้ LINE ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่ามีการใช้งานที่มีการจัดการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ โดยนักพัฒนาของ LINE จำนวนหลายพันคนทั่วโลก ที่ทำงานอยู่ในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ต่างใช้งานและพัฒนาระบบโอเพนซอร์สตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ทีมงานโอเพนซอร์สของ LINE ยังยึดหลักปฏิบัติงานตามกฎระเบียบหลักในการจัดการด้านโอเพนซอร์สอย่างเคร่งครัด

ก่อนหน้านี้ LINE ยังเคยนำเอาเทคโนโลยีที่พัฒนาเองภายในมาออกเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้นักพัฒนาภายนอกได้ใช้งานอย่างเช่น Armeria ซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์คที่ทำงานแบบ Asynchronous (ทำงานแบบไม่เป็นลำดับ) ซึ่งเป็น

เทคโนโลยีหลักของระบบแชทของ LINE นอกจากนี้ LINE ยังเป็นผู้สนับสนุนระดับซิลเวอร์ของ Apache Software Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรของอเมริกาที่สนับสนุนด้านการพัฒนาโอเพนซอร์สตั้งแต่ปี 2022 โดยตั้งแต่ปี 2021 LINE ได้จัดงาน LINE Open Source Sprint ซึ่งเป็นกิจกรรมภายในที่นักพัฒนาระบบของ LINE สามารถเข้าร่วมในโครงการโอเพนซอร์สต่าง ๆ ได้เป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน การจัดกิจกรรมเช่นนี้ไม่เพียงช่วยให้ LINE ได้มีโอกาสสนับสนุนการเติบโตของนักพัฒนาแบบรายบุคคล แต่ยังช่วยตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะสร้างวัฒนธรรมด้านโอเพนซอร์สที่เต็มไปด้วยความร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบนิเวศโอเพนซอร์สต่าง ๆ ในทั่วโลก

สโนว์ ควอน CTO แห่ง LINE Plus กล่าวว่า “LINE มีประวัติความสำเร็จอันยาวนานในการบุกเบิกเทรนด์เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในทุกสาขา ได้แก่ ด้าน การส่งข้อความ, ปัญญาประดิษฐ์, บล็อกเชน และฟินเทค ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ เราจึงรักษามาตรฐานสูงสุดในการปฏิบัติตามข้อกําหนดและกฎเกณฑ์ของโอเพนซอร์สอย่างเคร่งครัด โดยการผ่านการรับรอง OpenChain ในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่แสดงถึงการยอมรับในความสามารถที่เรามีมาอย่างยาวนานในด้านนี้ และยังเป็นสัญญาณความมุ่งมั่นของเราในการก้าวไปข้างหน้าสู่การพัฒนาระบบโอเพนซอร์สที่ดียิ่งขึ้น”

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click