January 22, 2025

กรุงเทพ, ประเทศไทย, 21 มกราคม 2568 - อโกด้า แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยว เปิดตัวโปรแกรม Eco Deals ครั้งที่สี่ในการประชุมการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Forum) เสริมสร้างความร่วมมือกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล(WWF) ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญในเอเชีย ภายใต้แนวคิด "ร่วมกันผลักดัน: กำหนดอนาคตการท่องเที่ยวของอาเซียน" โครงการนี้จึงไม่เพียงแต่เสริมสร้างประสบการณ์การเดินทางที่ยั่งยืน แต่ยังช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย

อโกด้าตั้งเป้าหมายรับบริจาคสูงถึง 1.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย 1 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โดยในปีนี้ได้ขยายโปรแกรมไปยังญี่ปุ่นและเกาหลี รวมเป็น 10 ประเทศทั่วเอเชีย และเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา อโกด้าจะบริจาค 1 ดอลลาร์ให้กับความพยายามในการอนุรักษ์ของ WWF สำหรับทุกการจองกับโรงแรมที่เข้าร่วม นับเป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

โครงการ Eco Deals สนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำในญี่ปุ่น การปกป้องนกปากช้อนในเกาหลี และโครงการสำคัญอื่น ๆ เช่น การอนุรักษ์เสือในมาเลเซีย การปกป้องฉลามวาฬในฟิลิปปินส์ การอนุรักษ์ช้างในไทย การปกป้องซาโอล่าในเวียดนาม การฟื้นฟูระบบนิเวศในอินโดนีเซีย การพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำในสปป. ลาว หรือการสนับสนุนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในกัมพูชา โครงการ Eco Deals นี้จะเปิดให้ทำการจอง ได้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 ถึง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2568 นับเป็นโอกาสในการร่วมมือในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสร้างผลกระทบที่ยั่งยืน

สำหรับส่วนหนึ่งของโครงการ Eco Deals ในกรอบการทำงานปี 2568 อโกด้ายังได้เปิดตัวกองทุน Sustainable Tourism Impact Fund ร่วมกับ WWF-Singapore และ UnTours Foundation ซึ่งกองทุนนี้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถมอบเงินลงทุนที่สามารถเข้าถึงง่าย เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่มุ่งมั่นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในด้านความยั่งยืนในภาคการท่องเที่ยว โดยอโกด้าได้จัดสรรงบประมาณ 100,000 ดอลลาร์ และจะเพิ่มเป็น 150,000 ดอลลาร์ เมื่อยอดบริจาคครบ 1.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้นับเป็นการลงทุนที่มุ่งหวังสร้างอนาคตที่สดใสและยั่งยืนในวงการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

เรียงจากซ้ายไปขวา นายวีเวค คูมาร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WWF ประเทศสิงคโปร์, นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประเทศไทย, นางดารณี พรมมาวงศ์สา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ประเทศลาว, นายอัลวิน ทาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศสิงคโปร์, นายโฮ อัน ฟอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ประเทศเวียดนาม, นายเตียง คิง สิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรม ประเทศมาเลเซีย, เดเมี่ยน เฟิร์ช, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ อโกด้า, ดร. อับดุล มานัฟ เมตุซิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรขั้นพื้นฐานและการท่องเที่ยว ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม, ฮัก ฮูต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ประเทศกัมพูชา, นางวิดิยานี พุทธรี วาร์ดานา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว อินโดนีเซีย, นางคริสตินา การ์เซีย ฟราสโก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฟิลิปปินส์

 

Damien Pfirsch, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้าของอโกด้า กล่าวว่า, Eco deals ในปีพ.ศ. 2568 “เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความพยายามในการปกป้องจุดหมายปลายทางต่าง ๆ และสัตว์ป่าในภูมิภาคเอเชียมากยิ่งขึ้น โดยเรามีเป้าหมายร่วมกับ WWF ในการทำให้คนรุ่นต่อไปสามารถสำรวจโลกได้อย่างเข้าถึงได้ ในขณะเดียวกันก็รักษาความงดงามตามธรรมชาติเอาไว้ โปรแกรม Eco Deals เป็นโครงการสำคัญสำหรับพันธมิตรโรงแรมของเรานับตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปีพ.ศ. 2565 โดยทำให้พวกเขาสามารถร่วมกันอนุรักษ์และดูแลที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าได้อย่างง่ายขึ้น ในปีนี้เราจะตั้งเป้าเพิ่มการรับบริจาคเป็น 1.5 ล้านดอลลาร์และขยายโครงการไปยัง 10 ประเทศ ซึ่งจะสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับโรงแรมอีกด้วย นอกจากนี้การเปิดตัวกองทุน Sustainable Tourism Impact Fund จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) มีส่วนร่วมในอนาคตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอีกด้วย”

ในการเข้าร่วมโครงการ Eco Deals พันธมิตรโรงแรมสามารถเสนอราคาลดสูงสุดถึง 15% ให้กับลูกค้า พร้อมทั้งได้รับตรา Eco Deals เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และจะได้รับการโปรโมตบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของอโกด้า

ไม่ว่าจะเป็นบนสื่อออนไลน์ โฆษณาแบนเนอร์ อีเมลที่ส่งถึงลูกค้า และการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชัน ซึ่งช่วยเสริมสร้างการมองเห็นให้กับโรงแรมอีด้วย นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถค้นหา Eco Deals ได้ผ่านหน้า Landing Page ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะในอโกด้า เพื่อให้การค้นหาบนเดสก์ท็อปและอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นไปอย่างสะดวกและราบรื่น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรมของมาเลเซีย Dato Sri Tiong King Sing กล่าวว่า “เราสนับสนุนทั้งภาคสาธารณะและภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนทั่วอาเซียน ในฐานะที่เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีการท่องเที่ยวอาเซียนปีพ.ศ. 2568 เรารู้สึกยินดีที่เห็นความร่วมมือระหว่างอโกด้าและ WWF ในการส่งเสริมการเดินทางที่สามารถมอบประโยชน์ให้กับจุดหมายปลายทางต่าง ๆ ได้ ซึ่งสอดคล้องกันอย่างพอดีกับแนวคิด "เอกภาพในการเคลื่อนไหว: กำหนดอนาคตการท่องเที่ยวของอาเซียน" และเข้ากับเป้าหมายของ Visit Malaysia Year 2026 ในการพัฒนาความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในมาเลเซียและอื่น ๆ อีกด้วย”

Vivek Kumar, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ WWF-Singapore กล่าวเสริมว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลก เชื่อมโยงกับความเป็นอยู่ที่ดีของเรา ตอนนี้เราก้าวเข้าสู่ปีที่สี่ ของกรอบความร่วมมือที่สำคัญระหว่างอโกด้าและ WWF ซึ่งเราได้มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ทั่วภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการปกป้องประชากรเสือในมาเลเซีย ฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้ที่เสื่อมโทรมในอินโดนีเซีย และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับช้าง รวมถึงการลักลอบล่าสัตว์ในไทย ทั้งนี้ด้วยการขยายขอบเขตไปยังญี่ปุ่นและเกาหลี เรามีโอกาสที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยรายงาน Living Planet Report 2024 ของ WWF เปิดเผยว่าประชากรสัตว์ป่าทั่วโลกลดลงอย่างน่าใจหายถึง 73% ทำให้ความจำเป็นในการดำเนินการมีความเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น เราจะร่วมมือกับอโกด้าเพื่อสร้างอนาคตที่ผู้คนและธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน”

กองทุน Sustainable Tourism Impact Fund สร้างขึ้นมาเพื่อมอบเงินลงทุนให้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) ในภาคการท่องเที่ยว โดยครอบคลุมหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและพัฒนาการอนุรักษ์ ช่วยกำหนดอนาคตของการท่องเที่ยวในแนวทางที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

กองทุนนี้เปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) สามารถเข้าถึงเงินทุน เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนในภาคการท่องเที่ยว โดยสามารถขอกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ ตั้งแต่ 10,000 ถึง 25,000 ดอลลาร์ ซึ่งกองทุนนี้บริหารจัดการโดย UnTours Foundation มีการดำเนินการและคัดกรองใบสมัครอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันอโกด้าจะมีส่วนร่วมในการจัดหาเงินทุน ตัดสินใจลงทุน และให้คำปรึกษา ทั้งนี้ WWF-Singapore จะสนับสนุนในด้านการให้คำแนะนำด้านสิ่งแวดล้อมและตรวจสอบความเหมาะสม ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถส่งใบสมัครได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ทางการของกองทุนที่ https://untoursfoundation.org/sustainable-tourism-impact-fund

ด้วยความร่วมมือกับเครือข่ายระดับโลกที่ให้บริการที่พักและประสบการณ์การท่องเที่ยวที่หลากหลาย อโกด้ามุ่งมั้นที่จะสร้างอนาคตการเดินทางที่ยั่งยืนมากขึ้น ประกอบกับความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำ เช่น WWF และ UnTours Foundation จะช่วยเสริมสร้างความพยายามของอโกด้าในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจสังคม ให้ทุกการเดินทางมีคุณค่าและส่งเสริมการอนุรักษ์ในทุกจุดหมายปลายทาง

กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีแนวโน้มดัน GDP ไทยโตขึ้น 0.3% จากการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสร้างงานใหม่ ๆ ในภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจโดยรวม

ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก และยังเป็นจุดหมายปลายทางที่คนไทยเดินทางกลับไปเยือนมากที่สุดอีกด้วย อโกด้า แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยวขอแนะนำเคล็ดลับการแช่ออนเซ็น ซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของดินแดนอาทิตย์อุทัย สำหรับนักเดินทางที่ไปญี่ปุ่นครั้งแรกอาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและมารยาทในการแช่ออนเซ็น อย่างไรก็ตามการทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้นักเดินทางได้สัมผัสประสบการณ์การแช่ออนเซ็นได้อย่างดียิ่งขึ้น

ออนเซ็น หรือ บ่อน้ำร้อนญี่ปุ่น มอบประสบการณ์ที่ผ่อนคลายและทำให้นักเดินทางได้สัมผัสเสน่ห์ทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ที่พักหลาย ๆ ที่ในประเทศญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นโรงแรมทั่วไป หรือ เรียวคัง (โรงแรมขนาดเล็กสไตล์ญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม) ล้วนมีออนเซ็น อย่างไรก็ตามมารยาทในการแช่ออนเซ็นอาจจะดูซับซ้อน อโกด้าจึงรวบรวมหลักปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับการแช่ออนเซ็น เพื่อให้นักเดินทางได้สัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นแบบคนญี่ปุ่นอย่างแท้จริง

1. ทำความเข้าใจยูกาตะ: ก่อนเข้าบริเวณบ่อน้ำร้อน ผู้ใช้บริการมักจะได้รับชุด “ยูกาตะ” ซึ่งเป็นชุดกิโมโนสไตล์ลำลอง ต้องสวมให้ด้านซ้ายอยู่เหนือด้านขวาและผูกด้วยผ้าคาดเอว ชุดนี้ทั้งสบายและเหมาะสำหรับการเดินไปมาในบริเวณออนเซ็น ทั้งนี้รองเท้าแตะสามารถเก็บไว้ที่ทางเข้าของออนเซ็น เพราะไม่อนุญาตให้สวมรองเท้าในพื้นที่แช่น้ำ

2. การชำระล้างร่ายกายก่อนลงแช่ออนเซ็น: เป็นธรรมเนียมที่จะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อนเข้าลงแช่ในบ่อน้ำพุร้อน เพื่อความสะอาดและให้เกียรติกับผู้ใช้บริการท่านอื่น ๆ ออนเซ็นส่วนใหญ่จะมีสบู่และแชมพูให้บริการ ข้างบ่อน้ำมักมีอ่างเล็ก ๆ พร้อมถังน้ำสำหรับล้างตัวครั้งสุดท้ายก่อนลงแช่ออนเซ็น ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “คาเคยุ”

3. ให้เกียรติผู้อื่นด้วยความเงียบสงบ: ออนเซ็นเป็นสถานที่สำหรับการผ่อนคลายและความสงบ ควรหลีกเลี่ยงการพูดคุยและใช้เสียงให้เบาที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การว่ายน้ำหรือสาดน้ำขณะแช่ออนเซ็นก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเช่นกัน

4. มารยาทในการใช้ผ้าเช็ดตัว: เนื่องจากในบริเวณออนเซ็นไม่อนุญาตให้สวมเสื้อผ้า รวมถึงชุดว่ายน้ำ ผ้าเช็ดตัวขนาดเล็กที่ให้มาสามารถใช้ปิดบังร่างกายบางส่วน เมื่อเดินไปรอบ ๆ บ่อน้ำ อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการวางผ้าเช็ดตัวในน้ำ และควรนำไปวางไว้ที่ข้างบ่อน้ำแทน

5. ปกปิดรอยสัก: ในออนเซ็นบางที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับรอยสัก เนื่องมาจากความเชื่อทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ควรตรวจสอบข้อปฏิบัติของออนเซ็นนั้น ๆ ก่อนเข้าใช้บริการ หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์ปกปิดรอยสักหากจำเป็น

คุณฮิโรโตะ โอกะ, รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อโกด้า กล่าวว่า การแช่ออนเซ็นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของญี่ปุ่น อโกด้ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้นักเดินทางได้สัมผัสประสบการณ์การนี้ในแบบฉบับคนท้องถิ่น เพียงแค่ทำความเข้าใจเคล็ดลับและมารยาทในการใช้บริการ นักเดินทางก็จะสามารถเพลิดเพลินกับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และการแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมจะได้รับการชื่นชมอย่างมากจากคนท้องถิ่นอีกด้วย

ตลาดฟรีแลนซ์ในไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความต้องการจ้างงานอิสระที่มีมากขึ้นทั่วโลก และรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 - 2566 แพลตฟอร์มจ้างงาน ประเภทฟรีแลนซ์ในไทยมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 50% โดยมีฟรีแลนซ์หน้าใหม่มากกว่า 23,700 คนเข้าร่วมแพลตฟอร์ม อาทิ Fastwork ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มฟรีแลนซ์ที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเภทงานยอดนิยมที่เป็นที่ต้องการ ได้แก่ แปลภาษา ออกแบบเว็บไซต์ และการป้อนข้อมูล เป็นต้น และมีผู้ที่ต้องการจ้างงานจากหลากหลายประเทศอย่าง อินเดีย สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

ยิ่งไปกว่านั้นมีการรายงานว่าฟรีแลนซ์ชาวไทยเป็นที่ต้องการอย่างมากบนแพลตฟอร์มจ้างงาน อย่าง Freelancer.com โดยเฉพาะในงานแปลภาษา ออกแบบเว็บไซต์ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และการป้อนข้อมูล ในประเทศต่าง ๆ นอกจากประเทศไทย อาทิ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นนายจ้างหลักของฟรีแลนซ์ชาวไทย

ปัจจุบันฟรีแลนซ์หันมาพึ่งพาแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้นในการหางาน โดย 73% ระบุว่าเทคโนโลยี ทำให้กระบวนการนี้เป็นไปอย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Fastwork ได้มุ่งพัฒนาการใช้งาน ของแพลตฟอร์มอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยการบูรณาการการสื่อสารแบบเรียลไทม์ของ Agora จากการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้มีผู้ใช้งานมากกว่า 3 ล้านคน และมีฟรีแลนซ์หน้าใหม่ลงทะเบียนมากกว่า 230,000 คน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงาน (Conversion Rate) เป็นสองเท่า ทำให้การเชื่อมต่อระหว่าง ธุรกิจกับฟรีแลนซ์เป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ก่อนหน้านี้ Fastwork เผชิญกับความท้าทายในด้านอัตราการจ้างงาน จากลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ ผ่านฟังก์ชันแชท และด้วยการเติบโตของตลาดฟรีแลนซ์ในประเทศไทยที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น Fastwork ได้นำโซลูชันการสื่อสารเรียลไทม์จาก Agora เข้ามาใช่ เพื่อเชื่อมต่อฟรีแลนซ์กับธุรกิจผู้จ้างงาน และแก้ปัญหาที่เคยมีมาก่อนหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการบูรณาการบริการโทรแบบเรียลไทม์ของ Agora ฟรีแลนซ์และลูกค้าสามารถพูดคุย เจรจาข้อตกลง และทำงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ ฟีเจอร์นี้มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้แพลตฟอร์ม และเสริมสร้างความเชื่อมั่นระหว่างลูกค้ากับฟรีแลนซ์

“Fastwork มีอัตราการแปลงจากการแชทไปสู่การชำระเงินเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า หลังจากที่ได้ผสาน การโทรแบบเรียลไทม์ของ Agora เข้าไปในแพลตฟอร์มทำให้ผู้จ้างงานและฟรีแลนซ์เชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน ได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน” คุณชนะสิทธิ์ ธนเสถียรวิชญ์ Product Manager ของ Fastwork กล่าว

Fastwork เลือกใช้ Agora เพราะความสามารถในการเชื่อมต่อระบบได้อย่างราบรื่น และบริการการสื่อสาร แบบเรียลไทม์ที่มีคุณภาพสูงและเชื่อถือได้ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้แพลตฟอร์ม ยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ เพิ่มอัตราการจ้างงาน และในที่สุดทำให้ Fastwork ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดฟรีแลนซ์ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโซลูชันของ Agora ที่เชื่อมต่อง่าย เป็นส่วนหนึ่งในการ ช่วยให้ทีมพัฒนาของ Fastwork ปรับปรุงฟังก์ชันแพลตฟอร์มได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้

บางครั้งเหตุผลหลักในการไปเที่ยวของหลาย ๆ คนไม่ใช่การเดินดูสถานที่ท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่คือการดื่มด่ำกับหลากหลายอาหารอร่อยในประเทศนั้น เหตุนี้เอง อโกด้า แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยว จึงได้ทำการสำรวจ พร้อมเผย 5 อันดับจุดหมายปลายทางยอดนิยมในเอเชียของนักท่องเที่ยวสายกิน ซึ่งตั้งใจไปเที่ยวเพื่อเพลิดเพลินกับอาหารเป็นหลัก โดยเกาหลีใต้ครองอันดับ 1 เป็นประเทศสุดฮิตของสายกินทั่วเอเชีย

จากข้อมูลการสำรวจที่อโกด้าจัดทำขึ้น มากกว่า 64% ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเกาหลีใต้ระบุว่า อาหารคือเหตุผลหลักในการเดินทางไปเที่ยวเกาหลีใต้ ทั้งนี้เกาหลีใต้ ซึ่งโด่งดังทั้งกิมจิ บาร์บีคิวสไตล์เกาหลี และไก่ทอด เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมในเอเชียอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวสายกิน ตามมาด้วยไต้หวัน (62%) ไทย (55%) ญี่ปุ่น (52%) และมาเลเซีย (49%) การสำรวจครั้งนี้มีผู้ใช้อโกด้ามากกว่า 4,000 ราย ใน 10 ประเทศ ร่วมตอบแบบสอบถามหลังทำการจองที่พักเสร็จสิ้น

คุณเอนริก คาซาลส์, Associate Vice President, Southeast Asia, อโกด้า กล่าวว่า “อาหารไม่ได้เป็นแค่สิ่งหล่อเลี้ยงร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ทางวัฒนธรรมอีกด้วย นักท่องเที่ยวบางคนหลงใหลในอาหารมากถึงขนาดจองร้านอาหารในต่างประเทศก่อนจองตั๋วเครื่องบินเสียอีก ข้อมูลการสำรวจของอโกด้าแสดงให้เห็นชัดเจนว่านักท่องเที่ยวกำลังมองหาจุดหมายปลายทางที่สามารถไปดื่มด่ำกับอาหาร และประเพณีท้องถิ่นได้ ไม่ใช่แค่ไปเดินชมสถานที่ท่องเที่ยว เรารู้สึกภูมิใจที่ได้นำเสนอดีลที่พัก ตั๋วเครื่องบิน และกิจกรรมสุดคุ้มให้ทุกคนได้ไปเที่ยวในราคาที่ประหยัดขึ้น นักท่องเที่ยวจึงังมีงบเหลือเอาไว้ใช้จ่ายกับอาหารจานเด็ดในท้องถิ่นนั้นมากขึ้นด้วย”

 

5 อันดับจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับสายกินทั่วเอเชีย ประกอบไปด้วย:

1. เกาหลีใต้

อาหารเกาหลีใต้ดึงดูดนักกินจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งเห็นได้ชัดว่าความนิยมนี้ส่วนหนึ่งมาจากละคร และภาพยนตร์เกาหลีที่มักจะนำเสนอประสบการณ์การกินอาหารที่ชวนให้ผู้ชมรู้สึกอยากลิ้มรสตาม เช่น เมื่ออยู่บนเกาะเชจู ต้องไม่พลาดอาหารทะเลสด และหมูดำปิ้งบนเตาบาร์บีคิวเกาหลีแบบดั้งเดิมที่นุ่มละลายในปาก หรือใครที่ชื่นชอบอาหารแปลกขึ้นมาหน่อย ควรแวะไปลองคันจังเคจัง (ปูสดดองในซอสถั่วเหลือง) ที่เมืองชายฝั่งอย่างอินชอน สำหรับอาหารโซลฟู้ดที่ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งกินกับครอบครัวที่บ้าน ก็ต้องโชดังซุนดูบู (เต้าหู้เนื้อนุ่มในซุปร้อน) ที่คังนึง ส่วนใครที่ชอบสตรีทฟู้ด ตลาดแบบดั้งเดิมอย่าง ตลาดควังจางในกรุงโซล ก็มีอาหารริมทางอร่อยอยู่มาก เช่น ต็อกโบกี (เค้กข้าวรสเผ็ด) และบินเดต็อก (แพนเค้กถั่วเขียวสไตล์เกาหลี)

2. ไต้หวัน

ไต้หวันเป็นดินแดนแห่งอาหารซึ่งผสมผสานประเพณีโบราณเข้ากับอิทธิพลสมัยใหม่อย่างลงตัว ตลาดกลางคืนยอดฮิตของไทเปอย่าง ซื่อหลินและเหราเหอ เป็นที่ที่สายกินทุกคนต้องแวะไปกินของอร่อยซึ่งมีอยู่ละลานตา เช่น เต้าหู้เหม็นอันเลื่องชื่อ และชาไข่มุกที่โด่งดังไปทั่วโลก หรือที่ไถหนานซึ่งมีอาหารดั้งเดิมอย่าง บะหมี่ตันไซ และซุปปลานวลจันทร์ทะเล แสดงให้เห็นถึงมรดกภูมิปัญญาอาหารอันล้ำค่าของเกาะ นอกจากนี้ไต้หวันยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งชาอู่หลงของอาลีซานนั้นถือเป็นชาโปรดของคนรักชาหลาย ๆ คน

3. ไทย

ไทยเป็นสวรรค์ของคนรักอาหารที่มีวัฒนธรรมอาหารสตรีทฟู้ดที่โดดเด่นไม่เป็นรองใคร แผงขายอาหารแบบดั้งเดิมในเยาวราช หรือที่นิยมเรียกกันว่าไชนาทาวน์ในกรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมอาหารจานเด็ดอย่างหมูสามชั้นทอด ผัดไทย ไข่เจียวหอยนางรม และข้าวเหนียวมะม่วง ซึ่งนอกจากจะอร่อยขึ้นชื่อแล้วยังราคาไม่แพงด้วย ส่วนเมื่อเดินทางไปในภาคเหนือของประเทศอย่าง จังหวัดเชียงใหม่ นักเดินทางก็ต้องไม่พลาดไปรับประทานข้าวซอยรสชาติเข้มข้น ส่วนในภาคใต้ อาหารจานเส้นที่อาจไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนักในหมู่ชาวต่างชาติอย่าง ขนมจีน ก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีทั้งแบบเส้นแป้งสดและแป้งหมักให้เลือกทานพร้อมแกงหลากหลายชนิด

4. ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของสายกิน ด้วยอาหารที่มีให้เลือกหลากหลาย เช่น อาหารทานเล่นแบบอิซากายะ และอาหารไคเซกิแบบฟูลคอร์ส หรือเมื่อไปเที่ยวตลาดสึกิจิรอบนอก ของกรุงโตเกียว นักท่องเที่ยวก็มีหลายร้านซูชิ และซาซิมิสด ๆ ให้เลือกรับประทาน หรือลองชิมอาหารท้องถิ่นอย่าง ทาโกะยากิ (ลูกชิ้นปลาหมึก) และยากิโทริ (ไก่เสียบไม้ย่าง) ในย่านยอดนิยมอย่าง ชินจูกุและกินซ่า สำหรับสายอาหารทะเลไม่ควรพลาดการไปเยือนเมืองท่าโอตารุในฮอกไกโด เพื่อลองปูสด อูนิ (ไข่หอยเม่น) และดงบุริทะเลสด ส่วนใครที่โปรดปรานการกินราเม็ง ลองแวะไปที่ย่านช้อปปิ้งเท็นจินในฟุกุโอกะ ที่มีราเม็งทงคัตสึขึ้นชื่อ เสิร์ฟพร้อมน้ำซุปหมูรสเข้มข้น

5. มาเลเซีย

อาหารมาเลเซียนั้นหลากหลาย เช่นเดียวกับมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ ที่กัวลาลัมเปอร์มีนาซิเลอมักให้เลือกลิ้มลองหลายรูปแบบ เช่น นาซิเลอมักบุงกุส (ข้าวแช่กะทิห่อ เสิร์ฟพร้อมน้ำพริก และผัก) และนาซิเลอมักอายัมโกเร็งเบเรมปาห์ (ไก่รสเผ็ด) ส่วนรัฐปีนังก็พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยอาหารสตรีทฟู้ดคลาสสิกอย่าง ฉ่าก๋วยเตี๋ยว (ก๋วยเตี๋ยวผัด) หมี่ฮกเกี้ยน (เส้นหมี่เหลืองผัด) และเซ็นดอล (น้ำแข็งไสหวานเย็น) ในมาเลเซียตะวันออก โคตาคินาบาลูมีอาหารท้องถิ่นสดใหม่ให้ชิมอยู่มาก เช่น ฮินาวา (สลัดปลาดิบ) และหมี่ตัวรัน หรือ Tuaran Mee ส่วนที่กูชิงก็มีจานเด็ดขึ้นชื่อมานอกปันโซห์ หรือ Manok Pansoh ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวอีบันที่ทำจากไก่ที่ปรุงด้วยสมุนไพรในไม้ไผ่

ทั้งนี้ญี่ปุ่นคือจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับ 1 สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ระบุว่าอาหารคือเหตุผลหลักในการเดินทางไปเที่ยว ตามมาด้วยเวียดนามและลาว (#2) และจีน (#3) สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ระบุว่าอาหารคือเหตุผลหลักในการเดินทางมาเที่ยวไทย ส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเวียดนาม ตามลำดับ

อโกด้าช่วยให้ทุกคนได้เดินทางไปเที่ยวกินอาหารตามที่วางแผนได้ง่ายขึ้น ด้วยที่พักกว่า 4.5 ล้านแห่ง เส้นทางบินกว่า 130,000 เส้นทาง และกิจกรรมกว่า 300,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็นทัวร์ชิมอาหารริมทางในกรุงเทพฯ หรือคลาสเรียนทำซูชิในโตเกียว อโกด้าช่วยให้นักท่องเที่ยวไปสำรวจรสชาติอาหารจากทั่วโลกได้ในราคาที่ประหยัดขึ้น ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ agoda.com หรือดาวน์โหลดแอป Agoda

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click