September 28, 2024

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI) โดยให้การสนับสุนนทางการเงินแก่ผู้ประกอบการไทยที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและการดำเนินธุรกิจสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปรับโมเดลธุรกิจ นำพาประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ความร่วมมือครั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยหรือต้องการไปลงทุนในต่างประเทศเข้าถึงบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ตามความต้องการ และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของทั้งสองหน่วยงาน โดยเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สมาคมอุตสาหกรรม และบริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจ EXIM BANK พร้อมทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการในเครือข่ายสมาชิกหรือลูกค้าของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) สัมมนาอบรมความรู้ด้านการค้าและการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตลอดจนสนับสนุนเครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการค้าและการลงทุน

ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ EXIM BANK นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินในอัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และดำเนินธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีในปีแรก สำหรับสินเชื่อ EXIM Green Goal และสินเชื่อ EXIM Solar D-Carbon Financing สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ภายในกิจการ เช่น การติดตั้ง Solar Rooftop, Solar Farm และ Solar Floating พร้อมได้สิทธิในการขึ้นทะเบียนคาร์บอนและรับรองคาร์บอนเครดิต รวมถึงสินเชื่อ EXIM Extra Transformation สำหรับผู้ส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรม S-curve เพื่อยกระดับภาคการผลิตของไทย การลงทุนเพื่อซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ ต่อเติม/ปรับปรุง/ก่อสร้างอาคารโรงงาน พัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและยกระดับกิจการ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น

นายนฤตม์ เปิดเผยว่า การลงนามใน MOU ระหว่าง BOI และ EXIM BANK ในวันนี้ ถือเป็นการผนึกกำลังและประสานจุดแข็งของทั้งสององค์กร เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขยายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการดึงดูดกลุ่มนักลงทุนเป้าหมายจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทย โดย EXIM BANK เป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ทั้งสินเชื่อในรูปแบบต่าง ๆ การประกันความเสี่ยง และบริการสนับสนุนการนำเข้า-ส่งออก ในขณะที่ BOI เป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนที่มีเครือข่ายนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติที่กว้างขวาง มีสำนักงานในต่างประเทศ 17 แห่ง และในภูมิภาค 7 แห่งที่พร้อมดูแลนักลงทุนในพื้นที่ อีกทั้งมีเครื่องมือสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนในด้านต่าง ๆ เช่น การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การอนุญาตให้ถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม การอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน และเงินอุดหนุนผ่านกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ เป็นต้น

นอกจากนี้ BOI ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการไทย เช่น หลักสูตรอบรม "สร้างนักลงทุนไทยในต่างประเทศ” ซึ่งได้จัดทุกปีรวมกว่า 21 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรมแล้วกว่า 740 คน และออกไปลงทุนต่างประเทศแล้วกว่า 300 ราย รวมทั้งมีการจัดงาน Thai Subcontractor Exhibition (Thai Subcon) และ Sourcing Day ร่วมกับบริษัทชั้นนำจากทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร เพื่อส่งเสริมการยกระดับผู้ประกอบการไทยให้เข้าสู่ Supply Chain ระดับโลก

“BOI และ EXIM BANK มีภารกิจร่วมกันในการเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ทั้งในแง่การขยายกิจการในประเทศและการออกไปแสวงหาโอกาสทางธุรกิจในต่างประเทศ รวมถึงการสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทย การผนึกกำลังความร่วมมือของ BOI และ EXIM BANK ในครั้งนี้จะช่วยประสานจุดแข็งของทั้งสององค์กร เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการลงทุนต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากยิ่งขึ้น” นายนฤตม์ กล่าว

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า EXIM BANK มุ่งสู่บทบาท Green Development Bank พร้อมเติมความรู้ เติมโอกาส และเติมเงินทุนให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยและโลกโดยรวม ผ่านบริการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ทั้งการลงทุนของต่างประเทศในไทย (Foreign Direct Investment : FDI) และการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ (Thai Direct Investment : TDI) เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการทุกระดับตลอด Supply Chain โดยเฉพาะ Green Export Supply Chain

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และธนาคาร เอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของทั้งสององค์กร ผ่านการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในไทยอย่างครบวงจร โดยอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจของธนาคารเอชเอสบีซีใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง ความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนองค์กรข้ามชาติในการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมทั้งแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัลของธนาคารเอชเอสบีซี เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติเข้าถึงโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจในประเทศไทย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมชักจูงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการลงทุนในโครงการสำคัญของบริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 72 ทั้งนี้ บีโอไอเชื่อว่ากระแสการลงทุนจากต่างประเทศจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรก ปี 2567 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94 มูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าการลงนามเป็นพันธมิตรกับธนาคารเอชเอสบีซีในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ และความสามารถในการประสานงานกับนักลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเร่งการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต

”ความร่วมมือครั้งนี้ธนาคารเอชเอสบีซีจะใช้เครือข่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการขยายธุรกิจมาสู่ประเทศไทย ทั้งในรูปแบบของโซลูชันทางการเงินและการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีจะจัดกิจกรรมโรดโชว์ในตลาดสำคัญ เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย อาเซียน ยุโรป และสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมประเทศให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค 

ความร่วมมือระหว่างบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่บริษัทรายใหญ่ระดับโลกมีความต้องการที่จะขยายธุรกิจและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งวันนี้อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่น และไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีความเหมาะสมจะเป็นฐานลงทุนแห่งใหม่ของตลาดโลก บีโอไอมั่นใจว่าเครือข่ายระดับโลกของธนาคารเอชเอสบีซี จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและเร่งการลงทุนใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ของบีโอไอ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานสะอาด และสนับสนุนการตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนกว้างขึ้น โดยบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อผลักดันการลงทุนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน” นายนฤตม์ กล่าว

 

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่ธุรกิจระหว่างประเทศต้องการลงทุน โดยบทวิจัย HSBC Global Connections ระบุว่า ร้อยละ 37 ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้วในปัจจุบัน ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ ตามมาด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตและจำนวนประชากรที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนของโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยถือเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมียอดการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของประเทศทั้งหมดในภูมิภาค ส่งผลให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี)”

“ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่ใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง และเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยซึ่งมีประสบการณ์ในการธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 135 ปี เราจึงเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับนักลงทุนทั่วโลก ผ่านการนำเสนอ โซลูชันด้านการเงินที่ครบวงจรและแพลตฟอร์มนวัตกรรมด้านการเงินดิจิทัล โดยธนาคารฯ พร้อมให้การสนับสนุนบีโอไอในกิจกรรมโรดโชว์ต่าง ๆ และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเศรษฐกิจดิจิทัล”

รายงานของธนาคารเอชเอสบีซียังชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจระหว่างประเทศร้อยละ 18 ที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจในไทยมีแผนจะขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจและมองว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้และโซลูชันด้านการเงินระหว่างประเทศชั้นนำของเอชเอสบีซีจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการร่วมปลดล็อคโอกาสการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมั่นคง” นายกัมบา กล่าวปิดท้าย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 2 จากขวา),

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 3 จากขวา), นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ (ที่ 1 จากขวา) และนายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 4 จากขวา)

 

ภายหลังพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ปลดล็อคโอกาสการลงทุนในไทย” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ได้แก่ นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ, นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย, นายแฟรงค์ คอนสแตนต์ ผู้ร่วมก่อตั้ง คอนสแตนท์ เอนเจอร์จี ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานหมุนเวียน และนายยี่ เสี่ยวผิง รองประธาน ไฮเซ่นส์ อาเซียน โดยผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเจาะตลาดไทยควบคู่ไปกับการตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ในอาเซียน โดยการสนับสนุน อาทิ ฟรีวีซ่าและความตกลงการค้าเสรี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย นอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ภายในงานยังมีบุคคลสำคัญและผู้แทนจากสถานทูตและหอการค้าระหว่างประเทศเข้าร่วมงาน เช่น สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม องค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย หอการค้าเกาหลี – ไทย และหอการค้าอังกฤษ-ไทย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของทั้งสององค์กร ผ่านการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในไทยอย่างครบวงจร โดยอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจของธนาคารเอชเอสบีซีใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง ความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนองค์กรข้ามชาติในการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมทั้งแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัลของธนาคารเอชเอสบีซี เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติเข้าถึงโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจในประเทศไทย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมชักจูงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการลงทุนในโครงการสำคัญของบริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 72 ทั้งนี้ บีโอไอเชื่อว่ากระแสการลงทุนจากต่างประเทศจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรก ปี 2567 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94 มูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าการลงนามเป็นพันธมิตรกับธนาคารเอชเอสบีซีในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ และความสามารถในการประสานงานกับนักลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเร่งการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต”

ความร่วมมือครั้งนี้ธนาคารเอชเอสบีซีจะใช้เครือข่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการขยายธุรกิจมาสู่ประเทศไทย ทั้งในรูปแบบของโซลูชันทางการเงินและการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีจะจัดกิจกรรมโรดโชว์ในตลาดสำคัญ เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย อาเซียน ยุโรป และสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมประเทศให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค

“ความร่วมมือระหว่างบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่บริษัทรายใหญ่ระดับโลกมีความต้องการที่จะขยายธุรกิจและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งวันนี้อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่น และไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีความเหมาะสมจะเป็นฐานลงทุนแห่งใหม่ของตลาดโลก บีโอไอมั่นใจว่าเครือข่ายระดับโลกของธนาคารเอชเอสบีซี จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและเร่งการลงทุนใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ของบีโอไอ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานสะอาด และสนับสนุนการตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนกว้างขึ้น โดยบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อผลักดันการลงทุนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน” นายนฤตม์ กล่าว

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่ธุรกิจระหว่างประเทศต้องการลงทุน โดยบทวิจัย HSBC Global Connections ระบุว่า ร้อยละ 37 ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้วในปัจจุบัน ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ ตามมาด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตและจำนวนประชากรที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนของโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยถือเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมียอดการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของประเทศทั้งหมดในภูมิภาค ส่งผลให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี)”

“ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่ใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง และเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยซึ่งมีประสบการณ์ในการธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 135 ปี เราจึงเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับนักลงทุนทั่วโลก ผ่านการนำเสนอโซลูชันด้านการเงินที่ครบวงจรและแพลตฟอร์มนวัตกรรมด้านการเงินดิจิทัล โดยธนาคารฯ พร้อมให้การสนับสนุนบีโอไอในกิจกรรมโรดโชว์ต่าง ๆ และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเศรษฐกิจดิจิทัล”

“รายงานของธนาคารเอชเอสบีซียังชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจระหว่างประเทศร้อยละ 18 ที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจในไทยมีแผนจะขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจและมองว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้และโซลูชันด้านการเงินระหว่างประเทศชั้นนำของเอชเอสบีซีจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการร่วมปลดล็อคโอกาสการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมั่นคง” นายกัมบา กล่าวปิดท้าย

ภายหลังพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ปลดล็อคโอกาสการลงทุนในไทย” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ได้แก่ นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ, นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย, นายแฟรงค์ คอนสแตนต์ ผู้ร่วมก่อตั้ง คอนสแตนท์ เอนเจอร์จี ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานหมุนเวียน และนายยี่ เสี่ยวผิง รองประธาน ไฮเซ่นส์ อาเซียน โดยผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเจาะตลาดไทยควบคู่ไปกับการตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ในอาเซียน โดยการสนับสนุน อาทิ ฟรีวีซ่าและความตกลงการค้าเสรี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย นอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ภายในงานยังมีบุคคลสำคัญและผู้แทนจากสถานทูตและหอการค้าระหว่างประเทศเข้าร่วมงาน เช่น สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม องค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย หอการค้าเกาหลี – ไทย และหอการค้าอังกฤษ-ไทย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการ ผนึกกำลังสร้างโอกาสทางธุรกิจ ชักจูงการลงทุนในไทยและอาเซียน

บันทึกข้อตกลงนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจใน ประเทศไทยพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการขยายการลงทุนไปต่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น

ผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนในประเทศไทย หรือผู้ประกอบการไทยที่ต้องการจะไปลงทุนในต่างประเทศ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของธุรกิจ และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระดับภูมิภาคของธนาคารเพื่อเชื่อมต่อกับหน่วยงานภาครัฐ สมาคมอุตสาหกรรม และบริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการขยายธุรกิจทั่วภูมิภาคเอเชีย  ซึ่งบีโอไอพร้อมที่จะทำงานร่วมกับธนาคารยูโอบีในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งานจับคู่ธุรกิจ นิทรรศการด้านการค้าการลงทุน และงานสัมมนาเพื่อชักจูงการลงทุน

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า “ปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทชั้นนำจากต่างประเทศเดินหน้าเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมสำคัญ ภาพที่เห็นได้ชัดเจนคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม - กันยายน 2566) มีจำนวน 910 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49 คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 398,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 โดยเป็นการลงทุนจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ

การเติบโตของการลงทุนในประเทศไทยนี้ สอดรับกับการประกาศยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ของบีโอไอในปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะมีการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ แล้ว ยังรวมถึงการปรับเพิ่มบทบาทของบีโอไอในการชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศเชิงรุก ผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตร รวมถึงสำนักงานบีโอไอที่ตั้งอยู่ใน 16 ประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน และอีก 3 แห่งที่จะจัดตั้งเพิ่มเติมในปีนี้ ได้แก่ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย นครเฉิงตู ประเทศจีน และประเทศสิงคโปร์ 

“การผนึกกำลังระหว่างบีโอไอกับธนาคารยูโอบีครั้งนี้ จะช่วยยกระดับความร่วมมือระหว่างกันในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ โดยส่งเสริมการลงทุน 2 ทาง ทั้งการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย และการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพให้ออกไปแสวงหาโอกาสและขยายตลาด

ในต่างประเทศ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจให้แก่นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้ขยายธุรกิจเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมระดับโลก เพื่อตอบโจทย์การเป็นฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาค” นายนฤตม์ กล่าว

 

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยมีศักยภาพในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรม ซัพพลายเชน และแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว ด้วยเครือข่ายของธนาคารยูโอบีที่เข้มแข็งครอบคลุมทั่วภูมิภาค และยังมีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของธนาคารทั้ง 10 แห่งทั่วเอเชีย เราพร้อมที่จะให้การสนับสนุนธุรกิจทั้งสำหรับบริษัทต่างชาติที่สนใจจะมาตั้งฐานการผลิตในไทย และช่วยเหลือบริษัทไทยที่สนใจไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านโดยธนาคารจะร่วมมือกับบีโอไอในการเชื่อมโยงภาคธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมในประเทศไทยและเพิ่มโอกาสในการค้าข้ามพรมแดนทั่วภูมิภาค”

ตั้งแต่ที่ธนาคารยูโอบีได้จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในปี 2554 ธนาคารได้สนับสนุนธุรกิจกว่า 4,200 บริษัทในการขยายธุรกิจในภูมิภาค ซึ่งมี 370 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และนับตั้งแต่ปี 2562 หน่วยงานนี้ได้ช่วยให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทย รวมมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐและการจ้างงานอีกกว่า 18,000 ตำแหน่งทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ช่วยเหลือธุรกิจไทยอีกกว่า 210 บริษัทในการออกไปลงทุนในประเทศต่าง ๆ อาเซียน โดยมี สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนามเป็นจุดหมายหลัก

X

Right Click

No right click