November 22, 2024

การประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดยคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) เมื่อวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ผลกระทบนี้ส่งผลชัดเจนอย่างยิ่งต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มักมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจมหภาค เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจช่วยเสริมสภาพคล่อง และโอกาสในการเติบโต โดยเฉพาะการลดต้นทุนการกู้ยืมที่สามารถกระตุ้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนหลายคนจึงมองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

ภาพรวมพื้นฐานเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย และนโยบายล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐฯ

อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดโดยธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายทางการเงิน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการกู้ยืม การใช้จ่าย และการตัดสินใจลงทุน ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ได้ลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 23 ปีที่ 5.25%-5.50% ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการควบคุมเงินเฟ้ออย่างเข้มงวดในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา โดยเงินเฟ้อได้ลดลงจาก 7.1% มาอยู่ที่ 2.5% โดยหลังจากวิกฤตโควิด-19 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้มีปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นถึง 11 ครั้งภายในช่วงเวลาเพียงหนึ่งปี เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อโดยไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

ศักยภาพในการฟื้นตัวของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล

ในแง่ของสินทรัพย์ดิจิทัล ผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะโดยทั่วไปแล้ว สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น บิทคอยน์ มักมีปฏิกิริยาเชิงลบต่อการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่มุ่งควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ในทางกลับกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมักถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์เสี่ยง

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไบแนนซ์ ทีเอช (BINANCE TH)  เผยความเห็นต่อทิศทางนี้ว่า “เราคาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อมูลค่าของสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงิน ซึ่งจะกระตุ้นความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น บิทคอยน์ที่เคยมีมูลค่าพุ่งสูงขึ้นถึง 375% ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึง 2565 ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยใกล้แตะระดับศูนย์”

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยลดต้นทุนการกู้ยืม ส่งผลให้เกิดการไหลเข้ามาของเงินทุนที่มักมุ่งไปยังสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติในการต้านภาวะเงินเฟ้อ อาจยิ่งทำให้บิทคอยน์มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผู้คนเกิดความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ จากการคาดการณ์การใช้จ่ายและการกู้ยืมเงินที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมักเกิดขึ้นพร้อมกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อาจยิ่งช่วยทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้น ในฐานะเกราะป้องกันความเสี่ยงจากลดค่าของเงินตรา

 

ปัจจัยเฉพาะที่มีผลต่อสินทรัพย์ดิจิทัล

นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคแล้ว บิทคอยน์และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ยังมีลักษณะเฉพาะที่อาจส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโต หนึ่งในนั้นคือ การเกิด Bitcoin Halving ที่ในอดีตมักส่งผลให้มูลค่าของบิทคอยน์ปรับตัวสูงขึ้นภายในระยะเวลา 6-8 เดือน ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ในอดีตจะไม่สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ปรากฏการณ์ Bitcoin Halving อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ทิศทางให้กับเหล่านักลงทุน และเมื่อผสานรวมกับการเข้ามาของ Spot ETFs รวมถึงสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ยิ่งอาจส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดคริปโตมากขึ้นตามไปด้วย

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า “การเกิดปรากฏการณ์ Bitcoin Halving และการเปิดตัวของ Spot ETFs ในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่อาจมีส่วนช่วยเสริมสภาพคล่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งถึงแม้ว่าเดือนกันยายน มักเป็นช่วงที่สินทรัพย์ดิจิทัลอ่อนตัว แต่ราคาก็มักจะฟื้นตัวและดีดสูงขึ้นอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ คาดว่าจะยิ่งเสริมแรงส่งให้ราคาดีดกลับตัวสูงขึ้นยิ่งกว่าเดิม”

นอกจากนี้ ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ กำลังเดินหน้าเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน การประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ อาจนำไปสู่ยุคใหม่ของการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ (Economic recalibration) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโตได้เช่นกัน

ถึงแม้ว่าผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลต่ออุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นยังคงมีความไม่แน่นอน แต่สัญญาณต่างๆ ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งนี้ อาจเป็นจังหวะที่ดีสำหรับนักลงทุน เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลง และสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลมีความน่าสนใจ นอกจากนี้ จากการศึกษาเทรนด์ในอดีต รวมถึงปัจจัยเฉพาะด้านเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ยังตอกย้ำให้เห็นว่าการปรับนโยบายในครั้งนี้ อาจเป็นแรงกระตุ้นที่เร่งให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลได้อีกด้วย” นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล กล่าวปิดท้าย

ไบแนนซ์ ทีเอช บาย กัลฟ์ ไบแนนซ์ (BINANCE TH by Gulf Binance) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ไบแนนซ์ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัทภายในเครือของไบแนนซ์ แพลตฟอร์มที่มีปริมาณการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ บริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด พาส่องเทรนด์โลกสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนายนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ในหัวข้อ ‘คว้าโอกาสในโลกบิทคอยน์ ไปทางไหน’ ในงาน The Secret Sauce Summit 2024 มุ่งเจาะลึก 3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์ ทั้งในกลุ่มนักลงทุนระดับย่อยและนักลงทุนสถาบัน พร้อมเผยเทคนิคการเลือกแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3 สัญญาณการเติบโตของบิทคอยน์

1. การยอมรับการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล

เทรนด์การลงทุนในยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ อาทิ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ กระเป๋า หรือนาฬิกา แต่ตอนนี้ผู้คนทั่วโลกหันมานิยมลงทุนใน ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ โดยเฉพาะ บิทคอยน์ มากยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านมูลค่าตลาดของบิทคอยน์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแตะระดับสูงสุด

(All Time High - ATH) ที่ 73,750 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบิทคอยน์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา รวมถึงยังเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดติด 10 อันดับแรกของโลกอีกด้วย

ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2555 สมัยบารัก โอบามา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าบิทคอยน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกๆ 4 ปี ช่วงเวลาเดียวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คนใหม่ ซึ่งสำหรับการเลือกตั้งในปีนี้เอง ยังคงต้องจับตาดูอีกครั้งว่าแนวโน้มมูลค่าของบิทคอยน์จะเป็นอย่างไรต่อไป

กราฟแสดงมูลค่าของบิทคอยน์ (ดอลลาร์สหรัฐ) ระหว่างปี 2554 ถึง กลางไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โดย ChartsBTC

2. สินทรัพย์ดิจิทัลกับการใช้งานในชีวิตจริง

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด แสดงเส้นทางการใช้งานบิทคอยน์ในชีวิตจริงนับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา

บิทคอยน์ ถูกใช้งานจริงครั้งแรกในวันที่ 22 พฤษภาคม 2553 เพื่อใช้ซื้อพิซซ่า ซึ่งทำให้ทุกวันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปี ได้ถูกเรียกว่าเป็น ‘Bitcoin Pizza Day’ เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าเราสามารถนำบิทคอยน์มาซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งหลังจากนั้นปรากฎการณ์การยอมรับบิทคอยน์ได้มีให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดตัว Bitcoin ATM เครื่องแรกต่อสาธารณะ ในปี 2556 ณ ร้านกาแฟในเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา รวมถึงการที่หลากหลายแบรนด์ชั้นนำยอมรับให้ซื้อสินค้าด้วยบิทคอยน์ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Dell และ PayPal รวมถึงแบรนด์หรู อย่าง Hublot เป็นต้น นอกจากนี้ ในปี 2564 เอลซัลวาดอร์ ยังถือเป็นประเทศแรกที่ยอมรับบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ (Legal Tender) และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

ล่าสุดในปี 2567 บิทคอยน์ยังคงเดินหน้าสู่การยอมรับในวงกว้างมากขึ้น เห็นได้ชัดจากที่หลายประเทศ เริ่มเล็งเห็นบิทคอยน์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ยกตัวอย่างเช่น

· ฮ่องกง เป็นประเทศที่ทางรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันให้เป็นประเทศ ‘ศูนย์กลางคริปโตเคอร์เรนซีแห่งเอเชีย’ เชื่อมต่อระหว่างโลกเกมเข้ากับบิทคอยน์ พร้อมชูให้เป็นหนึ่งในนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

· รัสเซีย ประกาศทดลองใช้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อประยุกต์ใช้ในระบบการเงินของประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

· สหภาพยุโรป เริ่มยอมรับการใช้บิทคอยน์ภายในประเทศสมาชิกทั้ง 28 ประเทศ โดยมีผลบังคับใช้กฎระเบียบ MiCA (Markets in Crypto-Assets Regulation) เพื่อรับประกันเสถียรภาพทางการเงินในกลุ่มประเทศสมาชิกทั้งในแง่ของการเป็นเจ้าของ การซื้อขาย และการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล

3. การมาถึงของ Spot Bitcoin ETFs สู่การยอมรับของนักลงทุนสถาบัน

 

นาย นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด เผยให้เห็นรายชื่อกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่สนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล

นับตั้งแต่การเปิดตัว Spot Bitcoin ETFs เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน Spot Bitcoin ETFs ได้มีมูลค่าการทำธุรกรรมมากถึง 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้ตอนนี้ การลงทุนในบิทคอยน์ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น แต่ได้มีผู้เล่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันสนใจเข้ามาสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก อาทิ Morgan Stanley JPMorgan Chase & Co CitiBank Goldman Sachs และ Wells Fargo เป็นต้น

เริ่มต้นลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล แพลตฟอร์มแบบไหน ใช่ที่สุด

ในประเทศไทย มีแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลมากมายให้เลือกลงทุน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนในแพลตฟอร์มใด ผู้ลงทุนจึงควรต้องศึกษารายละเอียดและฟีเจอร์ที่ให้บริการอย่างรอบคอบ แพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในประเทศ ให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน และรองรับการใช้งานให้แก่ผู้ใช้งานคนไทยโดยเฉพาะ โดยผู้ใช้สามารถมีอิสระในการซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล ด้วยการดำเนินงานที่รวดเร็ว สะดวก ค่าธรรมเนียมต่ำ อีกทั้ง ผู้เริ่มต้นลงทุนด้านสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหม่ยังสามารถทำความเข้าใจ และใช้งานแพลตฟอร์มได้โดยง่าย ที่สำคัญแพลตฟอร์ม BINANCE TH by Gulf Binance ยังรองรับการลงทุนของคนทุกกลุ่มทั้งนักลงทุนนิติบุคคล และนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย เพื่อมอบประสบการณ์ด้านการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแบบครบวงจร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่มุ่งหวังส่งเสริมความเท่าเทียมทางการเงินให้แก่ทุกคน

หมดปัญหาเศษเหรียญล้นพอร์ต! กัลฟ์ ไบแนนซ์ (Gulf Binance) ส่งฟีเจอร์ Small Convert มอบโอกาสให้นักลงทุนนำเศษสกุลเงินดิจิทัล (Crypto Dust) ที่เหลือจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในพอร์ตโฟลิโอ มาแปลงเป็นเหรียญ Binance Coin (BNB) เพื่อเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ พร้อมต่อยอดการลงทุน โดยนักลงทุนทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนเศษสกุลเงินดิจิทัลเป็นเหรียญ BNB บนแพลตฟอร์ม ไบแนนซ์ ทีเอช บาย กัลฟ์ ไบแนนซ์ (Binance TH by Gulf Binance) ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

เศษสกุลเงินดิจิทัล (Crypto Dust) คืออะไร?

เศษสกุลเงินดิจิทัล หรือ Crypto Dust คือเศษเหรียญหรือโทเค็นจำนวนเล็กน้อยจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่หลงเหลืออยู่ในพอร์ตโฟลิโอของนักลงทุน โดยเศษเหรียญดังกล่าวมีมูลค่าไม่มากพอที่จะนำไปต่อยอดเพื่อทำธุรกรรมอื่นๆ หรือถือครองเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการลงทุนได้

“ด้วยวิสัยทัศน์ของ กัลฟ์ ไบแนนซ์ ที่ต้องการเสริมประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างความคุ้มค่าในการลงทุน เราจึงได้พัฒนาฟีเจอร์ Small Convert เพื่อให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม Binance TH by Gulf Binance ได้ถือครองเหรียญ BNB ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุด ผ่านการแลกเปลี่ยนเศษสกุลเงินดิจิทัลที่ตกค้างสะสมอยู่ในพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มโอกาสต่อยอดการลงทุนให้มากยิ่งขึ้น” นายนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด กล่าว

 

ทำความรู้จัก BNB หรือ Binance Coin

เหรียญ BNB หรือ Binance Coin เป็นโทเค็นที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยไบแนนซ์ (Binance) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเหรียญดังกล่าวเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2017 บนเครือข่าย Ethereum ภายใต้มาตรฐาน ERC20 ที่ต่อมาภายหลังเหรียญ BNB ได้ถูกย้ายมาอยู่บนเครือข่าย Binance Chain ซึ่งเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่พัฒนาขึ้นโดยไบแนนซ์ และถือเป็นหนึ่งในระบบนิเวศในโลกคริปโตเคอร์เรนซีและเทคโนโลยีบล็อกเชนที่กว้างขวางและหลากหลายที่สุด โดย Binance Chain ทำหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกและรองรับการทำธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นเครือข่ายแบบกระจายอำนาจ ทำให้มีความปลอดภัยสูงและสามารถเชื่อถือได้

โดย ณ ปัจจุบัน เหรียญ BNB ถือเป็นเหรียญที่มีมูลค่าตลาดสูงเป็นอันดับที่ 4 รองจาก Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), และ Tether (USDT) ด้วยจุดเด่นด้านการใช้งานมากมาย เช่น ส่วนลดค่าธรรมเนียมแก่ผู้ใช้งานเมื่อใช้เหรียญ BNB ทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์ม Binance TH by Gulf Binance นอกจากนี้ ประวัติการเติบโตที่แข็งแกร่งของเหรียญ BNB ในอดีตยังทำให้เหรียญ BNB เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะแก่การลงทุนในระยะยาวบนพอร์ตโฟลิโออีกด้วย

 เปลี่ยนเศษสกุลเงินดิจิทัลสู่เหรียญ BNB ด้วยฟีเจอร์ Small Convert ใน 4 ขั้นตอน

ฟีเจอร์ Small Convert ถูกออกแบบมาเพื่อมอบโอกาสให้เหล่านักลงทุนนำเศษเหรียญที่เกิดจากการซื้อขายในพอร์ตโฟลิโอของตัวเองมาแลกเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าอย่างเหรียญ BNB โดยผู้ที่สนใจสามารถทำการแปลงเศษสกุลเงินดิจิทัลตามขั้นตอนง่ายๆ ได้ดังนี้

1. เข้าสู่ระบบและเลือกเมนูกระเป๋าเงินของฉัน (My Wallet) บนแพลตฟอร์ม Binance TH by Gulf Binance

2. เลือกโทเค็นสำหรับการแปลงเศษสกุลเงินดิจิทัล

3. ตรวจสอบรายละเอียดการแปลงเศษสกุลเงินดิจิทัล และคลิก “ยืนยัน” เพื่อดำเนินการทำธุรกรรมการแปลงสกุลเงินดิจิทัลให้เสร็จสมบูรณ์

4. ตรวจสอบประวัติการแปลงเศษสกุลเงินดิจิทัล สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ Binance TH by Gulf Binance X: Binance TH และ Facebook: Binance TH

ไบแนนซ์ (Binance) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีปริมาณการแลกเปลี่ยนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตอกย้ำความมุ่งมั่นในด้านการกำกับดูแลนโยบายต่อต้านการฟอกเงิน (AML) กับการประกาศความสำเร็จในการได้รับการจดทะเบียนเป็นหน่วยงานนิติบุคคลที่รายงานขึ้นตรงต่อหน่วยข่าวกรองทางการเงินของประเทศอินเดีย (FIU-IND) ซึ่งถือเป็นการบรรลุเป้าหมายด้านกฎระเบียบระดับโลก (global regulatory milestone) อีกครั้งของไบแนนซ์ และตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลระดับโลก

 

นายริชาร์ด เทงระธานเจ้าหน้าที่บริหารของไบแนนซ์ กล่าวถึงความก้าวหน้าในครั้งนี้ว่า “การจดทะเบียนระหว่างไบแนนซ์และหน่วยข่าวกรองทางการเงินของประเทศอินเดียถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของเรา ซึ่งด้วยศักยภาพที่แข็งแกร่งของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในอินเดีย การที่เราได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่สามารถให้คำแนะนำในด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เหมาะสม จะทำให้เราสามารถส่งมอบการบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานชาวอินเดียได้ ซึ่งการขยายขอบเขตการให้บริการของแพลตฟอร์มไบแนนซ์อันล้ำสมัยมายังอินเดียในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศอินเดียต่อไป”

ทั้งนี้ จากรายงานดัชนีการเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลของทั่วโลกของ Chainalysis ในปี 2565 (Chainalysis’ 2023 Global Crypto Adoption Index) ได้เผยให้เห็นว่า ประเทศอินเดียถือเป็นผู้นำของโลกในด้านการยอมรับการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมทั้งยังติดกลุ่ม 5 อันดับแรกในด้านปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์และแบบกระจายศูนย์ แพลตฟอร์มการกู้ยืม สินทรัพย์คริปโต (Lending Protocols) และสัญญาอัจฉริยะของโทเค็น (Token Smart Contracts) ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ย้ำให้เห็นถึงความตื่นตัวและศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศอินเดีย รวมถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ที่ประเทศนี้จะมีต่อโลกการเงินในอนาคตอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ ไบแนนซ์ จึงได้นำโปรแกรมระดับโลกด้านการปฏิบัติตามตามกฏระเบียบข้อบังคับมาประยุกต์ใช้ โดยโปรแกรมดังกล่าว ครอบคลุมถึงนโยบายต่อต้านการฟอกเงินที่เข้มงวด และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้กับการก่อการร้าย (Combating the financing of terrorism - CFT) โดยไบแนนซ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการนำกรอบการทำงานนี้มาใช้ในประเทศอินเดีย จะสามารถช่วยยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศทั้งหมด พร้อมไปกับการเสริมยังช่วยสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานทุกคนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือความเข้มงวดด้านจากการกำกับดูแลตามนโยบายต่อต้านการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ของการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ไบแนนซ์ให้ความสำคัญ อย่าง กระบวนการยืนยันตัวตน KYC และหน่วยงานการกำกับดูแลด้านอาชญากรรมทางการเงิน (FCC) ชั้นนำของอุตสาหกรรม ซึ่งทำหน้าที่ในการช่วยเหลือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการสืบสวนอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมร่วมพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถ เพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัยร่วมกันของระบบนิเวศ โดย นายริชาร์ด เทง ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความมุ่งมั่นของเราในการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเข้มงวดเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจของไบแนนซ์ เพราะเรามีเป้าหมายที่ต้องการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม”

เว็บไซต์และแอปพลิเคชันของ Binance พร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบสำหรับผู้ใช้ชาวอินเดียตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ความผันผวนของตลาดการลงทุนที่เกิดขึ้นล่าสุดได้ส่งผลกระทบให้เห็นเป็นวงกว้างทั้งในแวดวงสินทรัพย์ดิจิทัลและตลาดหุ้น สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นจากการประกาศรายงานการจ้างงานของสหรัฐอเมริกาที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น สืบเนื่องต่อไปยังความผันผวนของวอลล์สตรีท (Wall Street) เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่นักลงทุนจำนวนมาก ต่างโยกย้ายเงินทุนออกจากสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงอย่างสินทรัพย์ดิจิทัล  ซึ่งเมื่อมาผนวกกับการที่นักลงทุนได้รับผลตอบแทนลดลงจากการที่ปีนี้เป็นฤดูร้อนของคริปโต (Crypto Summer)  ที่ชะลอตัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ยิ่งทำให้นักลงทุนต่างพิจารณามองหาสินทรัพย์ประเภทอื่นมากยิ่งขึ้น 

 อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความผันผวนนี้ ยังมีแนวโน้มเชิงบวกเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ในตลาดจะดิ่งลง เหล่าผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้มีการกล่าวถึงการสร้างคลังสำรองบิทคอยน์แห่งชาติ ที่ชี้ให้เห็นถึงการยอมรับสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการเล็งเห็นศักยภาพของบิตคอยน์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ลาร์รี ฟิงก์ (Larry Fink) ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ BlackRock บริษัทจัดการสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยังได้ประกาศในรายการ CNBC ว่าเขามองบิทคอยน์เป็นตราสารทางการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงความคิดครั้งสำคัญ เนื่องจากก่อนหน้านี้เขาย้ำให้สาธารณชนเห็นถึงความไม่เชื่อมั่นในบิทคอยน์ที่เขามี 

ทั้งนี้ เทรนด์การเติบโตของการยอมรับบิทคอยน์ในระดับสถาบันและกลุ่มการเมืองไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น เพราะเมื่อสี่เดือนที่แล้ว ประเทศเอลซัลวาดอร์ ที่ถือว่าเป็นประเทศแรกที่ยอมรับบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่สามารถนำมาชำระหนี้ (Legal Tender) และใช้แทนเงินสดได้ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ดำเนินการโยกย้ายบิทคอยน์ส่วนใหญ่ไปเก็บรักษาแบบออฟไลน์หรือ “Cold Storage” ที่สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณะ จากข้อมูล วันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา คลังของเอลซัลวาดอร์มีจำนวนบิทคอยน์ทั้งสิ้น 5,825 บิทคอยน์ หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 405 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในบิทคอยน์ว่าเป็นสินทรัพย์ที่มั่นคงและเป็นปัจจัยสำคัญเชิงกลยุทธ์ทางการเงินของประเทศ 

แต่อย่างไรก็ตาม สภาพตลาดในปัจจุบันก็ยังคงเผชิญหน้ากับความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากความผันผวนของตลาดล่าสุด ซึ่งจะส่งผลให้แผนการจัดตั้งคลังสำรองยิ่งต้องทวีความซับซ้อนทั้งทางด้านกระบวนการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 

เมื่อไม่นานมานี้ ไบแนนซ์ ทีเอช (Binance TH) ได้เผยกรอบการทำงาน CPT Framework (Capital, People, Technology) ที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้วิเคราะห์ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่อาจส่งผลต่อพลวัตของตลาด ที่ชี้ให้เห็นว่าการจัดตั้งคลังสำรองบิทคอยน์เชิงกลยุทธ์จะส่งผลกระทบต่อทั้งสามปัจจัยของกรอบการทำงาน CPT (Capital, People, Technology) ที่จะส่งเสริมต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโตในระยะยาว 

การที่คลังสำรองบิทคอยน์แห่งชาติถูกพูดถึงถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับสกุลเงินดิจิทัล เพราะยิ่งหน่วยงานรัฐบาลและสถาบันต่างๆ ตระหนักถึงศักยภาพของบิทคอยน์ ยิ่งถือเป็นการเพิ่มโอกาสที่เราจะได้เห็นการยอมรับและการผสานสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ากับระบบการเงินโลกให้เป็นไปอย่างก้าวกระโดด เพื่อปูทางสู่การเดินหน้าไปยังอนาคตทางการเงินที่มีความครอบคลุมและก้าวหน้ายิ่งกว่าเดิม 

สุดท้ายนี้ ถึงแม้ว่าสภาพตลาดในปัจจุบันจะมีความผันผวน แต่แนวโน้มระยะยาวของบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ ยังมีทิศทางที่ดีและน่าจับตามอง การผนึกกำลังระหว่างการสนับสนุนทางการเมือง การยอมรับระดับสถาบัน และปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณแห่งอนาคตที่เต็มไปด้วยความสดใสและความหวังของสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะผลิบานต่อไป 

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click